การตัดสินใจของบอร์ดบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ในการขายทรัพย์สินทั้งหมดและที่เกี่ยวข้องในแหล่งน้ำมันดิบมอนทาราในประเทศออสเตรเลีย ไม่ใช่หมายถึงการถอนตัวทั้งหมดจากการลงทุนในออสเตรเลียแต่อย่างใด
หากยังไม่ลืมความหลังกัน ในปี 2552 PTTEP ได้ตัดสินใจลงทุนข้ามประเทศ ไปซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัท Coogee Resources Limited ประเทศออสเตรเลีย ซึ่ง ปตท.สผ. ได้ซื้อหุ้นทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย(PTTEPAA) ข้อมูลยามนั้นที่สืบค้นได้ ระบุว่า โครงการที่ PTTEPAA ได้รับสัมปทาน ประกอบด้วย 3 แหล่ง คือ แหล่งจาบิรู/ชาลลิส แหล่งมอนทารา และแหล่งแคช/เมเปิ้ล ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลติมอร์ ประมาณ 650 กิโลเมตร ทางตะวันตกของ เมือง Darwin ในเขต Northern Territory เพียงแต่แหล่งมอนทาร่านั้นรู้จักคุ้นปากมากกว่าเพราะเริ่มขุดเจาะพบแหล่งน้ำมันแล้ว แต่รอดำเนินการเชิงพาณิชย์อยู่
ย่านขุดเจาะดังกล่าวที่ PTTEPAA ได้มานั้น ถือว่าใหญ่มากทีเดียว คิดเป็นผลผลิตร้อยละ 70 ของการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท (Condensate) ของประเทศออสเตรเลียทีเดียว ทำให้เข้าใจผิดกันว่า มอนทารานั้นมีผลผลิตมหาศาล
ในยามนั้นมอนทารา กลายเป็นความหวังอันเรืองรองของ PTTEP และแม่ PTT อย่างมากเพราะจะเป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ในต่างประเทศที่ทำได้ หลังจากที่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีก๊าซธรรมชาติมากกว่าน้ำมันดิบ
ตอนนั้น มอนทาร่าคือโอกาส มากกว่าความเสี่ยง ทั้งทางด้านวิศวกรรมขุดเจาะ และพาณิชย์ ในการเคลื่อนตัวจากก๊าซธรรมชาติ ไปหาแหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปยังแหล่งตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งมีน้ำมันดิบคุณภาพสูงกว่า แต่มีพี่เบิ้มจับจองเต็มไปหมด สถานการณ์พลิกผันเมื่อความเสี่ยงไม่คาดฝันเกิดขึ้น ในช่วงทดลองก่อนทำการผลิตจริง เกิดปัญหาบ่อขุดเจาะเกิดรั่ว มีค่าเสียหายเบื้องต้น 5000 ล้าน ต้องทำการผลิตจริงล่าช้า และเมื่อได้เวลาผลิตจริงไม่นานเกิดเคราะห์ซ้ำอีกเมื่อเกิดเพลิงไหม้แท่นขุดเจาะมอนทาราขึ้นมา เป็นข่าวโด่งดังทั่วโลก
การเกิดเพลิงไหม้ ไม่มีผลต่อรายได้และการเงินของ PTTEP เพราะแท้ที่จริงแล้วผู้ที่ต้องแบกรับความเสียหายคือ ผู้รับเหมาที่โดนไปเต็มๆ แต่ภาพลักษณ์ภายนอก ถือว่าเสียหายพอสมควร มอนทาร่า ซึ่งเป็นส่วนนึ่งของแหล่งขุดเจาะสำคัญ
เหตุการณ์ร้ายที่ตามมาหลอกหลอนยาวนาน เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ที่มีการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันมอนทารา เป็นเหตุให้มีน้ำมันดิบและก๊าซรั่วไหลออกมาในทะเลเป็นจำนวนมาก
หลังเหตุเกิดขึ้นและผ่านไป PTTEPAA ได้ส่งผ่านบทบาทการทำความสะอาดคราบน้ำมันให้หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลของออสเตรเลีย (The Australian Maritime Safety Authority : AMSA) จัดการ ด้วยวิธีการล้อมคราบน้ำมันและดูดกลับรวมถึงฉีดสารเคมี (ยกเว้นการเผาที่ไม่ได้ทำ) โดยใช้เวลาในการระงับเหตุทั้งหมด 74 วัน มีน้ำมันดิบรั่วไหลออกมาเฉลี่ยวันละประมาณ 400 บาร์เรลต่อวัน (รวมแล้วประมาณ 4 ล้านลิตร) คราบน้ำมันที่แพร่กระจายไปในทะเลกินพื้นที่ถึง 90,000 ตารางกิโลเมตร.... นับว่าเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่ง แม้จะไม่ใช่เลวร้ายสุดของประเทศออสเตรเลีย
ต่อมา ในรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง (The Montara Inquiry Commission’s Report) ได้นำเสนอต่อสาธารณะในเดือนพฤศจิกายน 2553 ระบุว่า “การที่บริษัท PTTEP ติดตั้งแนวกั้นในบ่อน้ำมันเพื่อป้องกันการรั่วไหลเพิ่มเติมนั้นดำเนินการอย่างไม่เพียงพอ และยังไม่ได้ติดตั้งแนวกั้นอันที่สองที่จำเป็นต้องทำอีกด้วย”
นอกจากนี้รัฐมนตรีคนหนึ่งของออสเตรเลียที่เกี่ยวข้องยังออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงลบว่า หาก PTTEP ซึ่งดำเนินการแท่นขุดเจาะมอนทาราและรัฐบาลท้องถิ่น ทำงานของตนอย่างเหมาะสม การระเบิดและรั่วไหลของน้ำมันออกสู่ทะเลติมอร์อย่างมหาศาลนี้จะไม่เกิดขึ้น
ท้ายสุด เมื่อมีการประเมินความเสียหายและผลกระทบเสร็จ ทางด้าน PTTEP และ PTTEPAA ได้แสดงความรับผิดชอบ ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไปแล้วกว่า 9.7 พันล้านบาท (ไม่รวมที่สามารถเคลมประกันได้) แต่ทางPTTEPอ้างในภายหลังว่า ไม่ใช่การจ่ายค่าเสียหาย แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้ำมันรั่ว ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมแท่นและหลุมผลิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อวิจัยผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
หลังกรณีมอนทารา PTTEPAA ยังคงได้รับการอนุญาตและมีบทบาทในการลงทุนทำธุรกิจดำเนินการสำรวจและขุดเจาะก๊าซและน้ำมัน รวมถึงการเจาะหลุมใหม่เพิ่มในทะเลติมอร์คือแหล่ง Cash and Maple gas fields สำหรับโครงการ LNG มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
ประเด็นคือรัฐบาลอินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออกที่มองว่า ตนเองก็ได้รับความเสียหายเช่นกันจ้องหาเหตุเรียกค่าเสียหายบ้าง โดยที่ต่อมา รัฐบาลอินโดนีเซียดำเนินการฟ้องร้องในกรณีน้ำมันรั่วจากแหล่งมอนทารา หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนานมาก
ทางด้าน PTTEP ก็มีประเด็นต่อสู้ว่า ทั้งสองประเทศ ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับ PTTEP ได้ เนื่องจากประเทศไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอจะเอาผิดได้ ประกอบกับแผนที่กระแสน้ำทางทะเลที่ PTTEP นำมาใช้อ้างอิง ระบุว่า ทิศทางของกระแสน้ำในเขตมหาสมุทรบริเวณนั้นที่ไม่พัดเข้าไปในเขตน่านน้ำของทั้งสองประเทศ
แม้ล่าสุด การฟ้องร้องมีแนวโน้มยุติลง แต่ผลประกอบการของแหล่งมอนทาร่าเอง กลับไม่ดีขึ้น เป็นภาระ มากกว่าโอกาส เพราะ 1) แหล่งมอนทาราซึ่งสามารถทำการผลิตได้ไม่มาก(คิดเป็นแค่ 3% ของผลผลิตน้ำมันดิบทั้งหมดของออสเตรเลีย) มีผลตอบแทนการลงทุนที่ถดถอยลง เป็น declining stage และหากดำเนินการต่อจะได้รับผลกระทบและจะไม่คุ้ม เพราะต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ที่สูงประมาณ 66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยของบริษัทอยู่ที่ 30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล 2) อัตรากำไร EBITDA margin ของมอนทาราค่อนข้างต่ำประมาณ 50% เมื่อเทียบกับอัตรากำไรเฉลี่ยของ PTTEP ในแหล่งอื่น ๆ ที่ 70% ที่สำคัญ ผู้บริหารของPTTEP ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ที่จะเน้นให้ทรัพย์สินจากการดำเนินงานหลักอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และลดความเสี่ยงในแหล่งผลิตที่อยู่ไกล แต่มีโอกาสที่จะได้ผลผลิตในเชิงพาณิชย์น้อย
การตัดสินใจใช้ Exit Strategy ถอนตัวเมื่อยังมีกำไร ก่อนที่จะต้องจำยอมตัดขาดทุน จึงมีข้ออ้างที่ดีสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่
รายได้จากการขายแหล่งมอนทาร่า ตามที่มีการแถลงตรงกันของผู้ขายคือ PTTEP และผู้ซื้อ Jadestone Energy (Eagle) Pty Ltd คือ 195 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อาจจะมีการปรับขึ้นอีกไม่เกิน 160 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการมีข้อตกลงที่ PTTEP อาจจะได้ Upside เพิ่มเพราะราคาน้ำมันยังมีโอกาสปรับขึ้น รวมถึงอาจจะมีผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการดำเนินงานในอนาคต
เงินจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว น่าจะลงตัวในเวลาบรรจบกับการที่ PTTEP ต้องเตรียมเงินสดก้อนใหญ่เพื่อประมูลแหล่งแก๊สในอ่าวไทย 2 แหล่งปลายปีนี้
ส่วนคำถามว่า มูลค่าที่ขายมอนทารา แพงไป ขาดทุน หรือถูกเกิน เป็นข้อถกเถียงที่ไม่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ แต่เกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็น และข้อสงสัยเท่านั้น
สำหรับ PTTEP แล้ว ฝันร้ายของมอนทาราถือว่ายุติลงเบ็ดเสร็จ
/////////////////////
ขอบคุณบทความจาก
www.facebook.com/Share2Trade/
http://www.share2trade.com
PTTEP กับ Exit Strategy(โดย มิตร กัลยาณมิตร เว็บ Share2Trade)
หากยังไม่ลืมความหลังกัน ในปี 2552 PTTEP ได้ตัดสินใจลงทุนข้ามประเทศ ไปซื้อกิจการทั้งหมดของบริษัท Coogee Resources Limited ประเทศออสเตรเลีย ซึ่ง ปตท.สผ. ได้ซื้อหุ้นทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็นโครงการ พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย(PTTEPAA) ข้อมูลยามนั้นที่สืบค้นได้ ระบุว่า โครงการที่ PTTEPAA ได้รับสัมปทาน ประกอบด้วย 3 แหล่ง คือ แหล่งจาบิรู/ชาลลิส แหล่งมอนทารา และแหล่งแคช/เมเปิ้ล ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลติมอร์ ประมาณ 650 กิโลเมตร ทางตะวันตกของ เมือง Darwin ในเขต Northern Territory เพียงแต่แหล่งมอนทาร่านั้นรู้จักคุ้นปากมากกว่าเพราะเริ่มขุดเจาะพบแหล่งน้ำมันแล้ว แต่รอดำเนินการเชิงพาณิชย์อยู่
ย่านขุดเจาะดังกล่าวที่ PTTEPAA ได้มานั้น ถือว่าใหญ่มากทีเดียว คิดเป็นผลผลิตร้อยละ 70 ของการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสท (Condensate) ของประเทศออสเตรเลียทีเดียว ทำให้เข้าใจผิดกันว่า มอนทารานั้นมีผลผลิตมหาศาล
ในยามนั้นมอนทารา กลายเป็นความหวังอันเรืองรองของ PTTEP และแม่ PTT อย่างมากเพราะจะเป็นแหล่งขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ในต่างประเทศที่ทำได้ หลังจากที่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีก๊าซธรรมชาติมากกว่าน้ำมันดิบ
ตอนนั้น มอนทาร่าคือโอกาส มากกว่าความเสี่ยง ทั้งทางด้านวิศวกรรมขุดเจาะ และพาณิชย์ ในการเคลื่อนตัวจากก๊าซธรรมชาติ ไปหาแหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปยังแหล่งตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งมีน้ำมันดิบคุณภาพสูงกว่า แต่มีพี่เบิ้มจับจองเต็มไปหมด สถานการณ์พลิกผันเมื่อความเสี่ยงไม่คาดฝันเกิดขึ้น ในช่วงทดลองก่อนทำการผลิตจริง เกิดปัญหาบ่อขุดเจาะเกิดรั่ว มีค่าเสียหายเบื้องต้น 5000 ล้าน ต้องทำการผลิตจริงล่าช้า และเมื่อได้เวลาผลิตจริงไม่นานเกิดเคราะห์ซ้ำอีกเมื่อเกิดเพลิงไหม้แท่นขุดเจาะมอนทาราขึ้นมา เป็นข่าวโด่งดังทั่วโลก
การเกิดเพลิงไหม้ ไม่มีผลต่อรายได้และการเงินของ PTTEP เพราะแท้ที่จริงแล้วผู้ที่ต้องแบกรับความเสียหายคือ ผู้รับเหมาที่โดนไปเต็มๆ แต่ภาพลักษณ์ภายนอก ถือว่าเสียหายพอสมควร มอนทาร่า ซึ่งเป็นส่วนนึ่งของแหล่งขุดเจาะสำคัญ
เหตุการณ์ร้ายที่ตามมาหลอกหลอนยาวนาน เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ที่มีการระเบิดของแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขึ้นที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันมอนทารา เป็นเหตุให้มีน้ำมันดิบและก๊าซรั่วไหลออกมาในทะเลเป็นจำนวนมาก
หลังเหตุเกิดขึ้นและผ่านไป PTTEPAA ได้ส่งผ่านบทบาทการทำความสะอาดคราบน้ำมันให้หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลของออสเตรเลีย (The Australian Maritime Safety Authority : AMSA) จัดการ ด้วยวิธีการล้อมคราบน้ำมันและดูดกลับรวมถึงฉีดสารเคมี (ยกเว้นการเผาที่ไม่ได้ทำ) โดยใช้เวลาในการระงับเหตุทั้งหมด 74 วัน มีน้ำมันดิบรั่วไหลออกมาเฉลี่ยวันละประมาณ 400 บาร์เรลต่อวัน (รวมแล้วประมาณ 4 ล้านลิตร) คราบน้ำมันที่แพร่กระจายไปในทะเลกินพื้นที่ถึง 90,000 ตารางกิโลเมตร.... นับว่าเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่ง แม้จะไม่ใช่เลวร้ายสุดของประเทศออสเตรเลีย
ต่อมา ในรายงานของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง (The Montara Inquiry Commission’s Report) ได้นำเสนอต่อสาธารณะในเดือนพฤศจิกายน 2553 ระบุว่า “การที่บริษัท PTTEP ติดตั้งแนวกั้นในบ่อน้ำมันเพื่อป้องกันการรั่วไหลเพิ่มเติมนั้นดำเนินการอย่างไม่เพียงพอ และยังไม่ได้ติดตั้งแนวกั้นอันที่สองที่จำเป็นต้องทำอีกด้วย”
นอกจากนี้รัฐมนตรีคนหนึ่งของออสเตรเลียที่เกี่ยวข้องยังออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงลบว่า หาก PTTEP ซึ่งดำเนินการแท่นขุดเจาะมอนทาราและรัฐบาลท้องถิ่น ทำงานของตนอย่างเหมาะสม การระเบิดและรั่วไหลของน้ำมันออกสู่ทะเลติมอร์อย่างมหาศาลนี้จะไม่เกิดขึ้น
ท้ายสุด เมื่อมีการประเมินความเสียหายและผลกระทบเสร็จ ทางด้าน PTTEP และ PTTEPAA ได้แสดงความรับผิดชอบ ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายไปแล้วกว่า 9.7 พันล้านบาท (ไม่รวมที่สามารถเคลมประกันได้) แต่ทางPTTEPอ้างในภายหลังว่า ไม่ใช่การจ่ายค่าเสียหาย แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้ำมันรั่ว ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมแท่นและหลุมผลิต รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อวิจัยผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
หลังกรณีมอนทารา PTTEPAA ยังคงได้รับการอนุญาตและมีบทบาทในการลงทุนทำธุรกิจดำเนินการสำรวจและขุดเจาะก๊าซและน้ำมัน รวมถึงการเจาะหลุมใหม่เพิ่มในทะเลติมอร์คือแหล่ง Cash and Maple gas fields สำหรับโครงการ LNG มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
ประเด็นคือรัฐบาลอินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออกที่มองว่า ตนเองก็ได้รับความเสียหายเช่นกันจ้องหาเหตุเรียกค่าเสียหายบ้าง โดยที่ต่อมา รัฐบาลอินโดนีเซียดำเนินการฟ้องร้องในกรณีน้ำมันรั่วจากแหล่งมอนทารา หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนานมาก
ทางด้าน PTTEP ก็มีประเด็นต่อสู้ว่า ทั้งสองประเทศ ไม่สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับ PTTEP ได้ เนื่องจากประเทศไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอจะเอาผิดได้ ประกอบกับแผนที่กระแสน้ำทางทะเลที่ PTTEP นำมาใช้อ้างอิง ระบุว่า ทิศทางของกระแสน้ำในเขตมหาสมุทรบริเวณนั้นที่ไม่พัดเข้าไปในเขตน่านน้ำของทั้งสองประเทศ
แม้ล่าสุด การฟ้องร้องมีแนวโน้มยุติลง แต่ผลประกอบการของแหล่งมอนทาร่าเอง กลับไม่ดีขึ้น เป็นภาระ มากกว่าโอกาส เพราะ 1) แหล่งมอนทาราซึ่งสามารถทำการผลิตได้ไม่มาก(คิดเป็นแค่ 3% ของผลผลิตน้ำมันดิบทั้งหมดของออสเตรเลีย) มีผลตอบแทนการลงทุนที่ถดถอยลง เป็น declining stage และหากดำเนินการต่อจะได้รับผลกระทบและจะไม่คุ้ม เพราะต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ที่สูงประมาณ 66 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ค่าเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยของบริษัทอยู่ที่ 30 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล 2) อัตรากำไร EBITDA margin ของมอนทาราค่อนข้างต่ำประมาณ 50% เมื่อเทียบกับอัตรากำไรเฉลี่ยของ PTTEP ในแหล่งอื่น ๆ ที่ 70% ที่สำคัญ ผู้บริหารของPTTEP ปรับยุทธศาสตร์ใหม่ที่จะเน้นให้ทรัพย์สินจากการดำเนินงานหลักอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และลดความเสี่ยงในแหล่งผลิตที่อยู่ไกล แต่มีโอกาสที่จะได้ผลผลิตในเชิงพาณิชย์น้อย
การตัดสินใจใช้ Exit Strategy ถอนตัวเมื่อยังมีกำไร ก่อนที่จะต้องจำยอมตัดขาดทุน จึงมีข้ออ้างที่ดีสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือไม่
รายได้จากการขายแหล่งมอนทาร่า ตามที่มีการแถลงตรงกันของผู้ขายคือ PTTEP และผู้ซื้อ Jadestone Energy (Eagle) Pty Ltd คือ 195 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่อาจจะมีการปรับขึ้นอีกไม่เกิน 160 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการมีข้อตกลงที่ PTTEP อาจจะได้ Upside เพิ่มเพราะราคาน้ำมันยังมีโอกาสปรับขึ้น รวมถึงอาจจะมีผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการดำเนินงานในอนาคต
เงินจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว น่าจะลงตัวในเวลาบรรจบกับการที่ PTTEP ต้องเตรียมเงินสดก้อนใหญ่เพื่อประมูลแหล่งแก๊สในอ่าวไทย 2 แหล่งปลายปีนี้
ส่วนคำถามว่า มูลค่าที่ขายมอนทารา แพงไป ขาดทุน หรือถูกเกิน เป็นข้อถกเถียงที่ไม่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ แต่เกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็น และข้อสงสัยเท่านั้น
สำหรับ PTTEP แล้ว ฝันร้ายของมอนทาราถือว่ายุติลงเบ็ดเสร็จ
/////////////////////
ขอบคุณบทความจาก www.facebook.com/Share2Trade/
http://www.share2trade.com