เซ็ตซีโร่มหาเถรสมาคม
ก็เป็นคำสั้นๆ กับคำว่า "เซ็ตซีโร่" ซึ่งอ่านมาจากภาษาอังกฤษตรงๆ เลย นั่นคือ "Set Zero" หรือ "Set-0" ซึ่งคำว่า Set - Set up นั้นเป็นกิริยา ท่านแปลว่า จัดตั้ง วางระบบ กำหนด สามารถนำไปใช้ได้กับนามได้หลากหลาย เช่น เวลา (ตั้งเวลา) สิ่งของ (จัดตั้ง) หรือกลุ่มคน (จัดกำลัง) ส่วนคำว่า "0-Zero" นั้น ก็แปลว่า ศูนย์ เซ็ตซีโร่จึงหมายถึง การตั้งค่าหรือจัดระเบียบใหม่ ไปเริ่มต้นที่ศูนย์ ซึ่งคำๆ นี้ก็ยังถือว่าใหม่ ถ้าใช้คำไทยเดิมๆ ก็คงจะใกล้เคียงกับคำว่า "ล้างหน้าไพ่" ซึ่งหมายถึงการ โละ รวม แล้วตั้งสลับไพ่ใหม่ แจกไพ่ใหม่ เริ่มเล่นกันใหม่ กับไพ่ชุดใหม่ ไม่เอาไพ่ใบเก่า ไม่ว่าจะอยู่ในมือใคร มีแต้มเท่าไหร่ ให้ถือว่าหมดค่าไปทันที
กรณีที่รัฐบาลทำการแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ในหมวดว่าด้วยมหาเถรสมาคมและการปกครองคณะสงฆ์ โดยทำเป็น "มติลับ" ลงมติกันในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 จากนั้นอีกเพียงหนึ่งวัน ร่างดังกล่าวก็ถูกส่งไปถึงมือกฤษฎีกา ซึ่งได้ออกประกาศให้สาธารณชนทั้งพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสญาติโยม ได้แสดงความคิดเห็นภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 27 มิถุนายน และได้ประกาศ "ปิดรับความคิดเห็น" ตรงเวลาเป๊ะ จากนั้นอีกเพียง 3 วัน ร่างดังกล่าวก็กลับคืนสู่คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีก็ตีเรื่องเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งวันที่ 2 กรกฏาคม นั้น ดร.วิษณุ เครืองาม ได้ออกมาแย้มฝาบาตรว่า ร่าง พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับดังกล่าว ได้ส่งไปถึงมือ สนช. เรียบร้อยแล้ว รอพิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันดับสุดท้าย ประกาศในราชกิจจาฯเมื่อใด ก็ถือว่าเริ่มต้นใช้กฎหมายสงฆ์ใหม่ทันที
ทีนี้ว่า ถ้ากลับไปดูช่วงเวลาที่รัฐบาล คสช. ได้เข้ามาบริหารประเทศนั้น 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ได้มีการแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ ไปแล้วครั้งหนึ่ง ในวันที่ 6 มกราคม 2560 คือเมื่อปีกลาย ตอนนั้นแก้ มาตรา 7 หมวดสมเด็จพระสังฆราช "ยึดอำนาจมหาเถรสมาคม" ไม่ให้มีอำนาจเสนอนามตั้งสมเด็จพระสังฆราช แต่ให้ "นายกรัฐมนตรี" มีอำนาจในการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช แต่เพียงผู้เดียว สรุปก็คือ รัฐบาลยึดอำนาจมหาเถรสมาคมในการตั้งพระสังฆราช !
มาครั้งนี้ รัฐบาลได้แก้ไขในหมวดว่าด้วยกรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะใหญ่-เจ้าคณะภาค ว่าจะได้รับการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักโดยตรง ซึ่งความจริงแล้วก็ต้องชงเรื่องผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนกรณีสมเด็จพระสังฆราชนั่นแหละ ก็จึงแปลว่า หลังจากยึดอำนาจ มส. ในการตั้งสังฆราชเมื่อปีกลายแล้ว ตกปีนี้ รัฐบาลจึงปลดกรรมการ มส. ทั้งชุด (ยกเว้นสมเด็จพระสังฆราช) รวมทั้งเจ้าคณะผู้ปกครองระดับสูง ได้แก่ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาค ทั้งมหานิกายและธรรมยุต เซ็ตซีโร่ทั้งประเทศ ใช่แต่แค่มหาเถรสมาคมเท่านั้น
1. รัฐบาล ยึดอำนาจพระสังฆราช ไปถวายในหลวง เพราะเห็นว่า ถึงจะให้สมเด็จพระสังฆราชมีอำนาจในการตั้งกรรมการ มส. ต่อไป แต่สุดท้ายก็มาติด "โควต้า" จนได้ แต่ถ้าใช้ "พระราชอำนาจ" ก็สามารถตั้ง "ข้ามนิกาย" ได้ จึงหันมาใช้สูตรนี้
2. รัฐบาลต้องการโละปัญหาใน มส. ทั้งจากกรรมการโดยตำแหน่งและแต่งตั้ง จึงเซ็ตซีโร่ ครั้นเซ็ตแล้วก็จะ "รีเซ็ต" หรือตั้งใหม่เองทั้งหมด สมเด็จพระสังฆราชไม่มีโอกาสจับปากกาเซ็นอีกต่อไป ตราบใดที่ยังทำการ "รวมนิกาย" ไม่สำเร็จ ก็ไม่มีทางที่คลื่นในพระศาสนาของประเทศไทยจะสงบได้
3. ไหนๆ ก็จะเซ็ตซีโร่แล้ว ตำแหน่งเจ้าคณะผู้ปกครอง ระดับ หน-ภาค ก็ถือว่าสำคัญไม่ด้อยไปกว่ากรรมการ มส. จึงดึงมาพ่วงไว้ในบัญชีซีโร่ในครั้งนี้ด้วย เรียกว่าตั้งศูนย์ปรับพื้นฐานตั้งแต่ระดับภาคขึ้นไปถึง มส. ถ้ายังไม่สวยก็คงไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว แค่นี้ "รัฐบิ๊กตู่" ก็แทบจะกลายเป็น "เทวทัต" ในสายตามหาชนแล้ว
เรื่องแสดงความคิดเห็นว่า "คณะสงฆ์วัดไทยลาสเวกัสและวัดในเครือ ไม่เห็นด้วยที่จะให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการเสนอชื่อกรรมการ มส. เจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาค ทั่วประเทศ แต่เพียงผู้เดียว" นั้น ก็ได้แสดงไปแล้ว จะฟังหรือไม่ก็สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจ ดังนั้น ประเด็นนี้จึงผ่านไป
ประเด็นที่จะพูดถึงในวันนี้ ก็มีความเกี่ยวเนื่องต่อจาก พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับใหม่ (แก้ไข) ที่จะออกใช้ไวๆ นี้ ว่าจะมีผลต่อใครอย่างไรบ้าง
เริ่มแรก หมวดกรรมการมหาเถรสมาคม
กรรมการมหาเถรสมาคม ชุดปัจจุบัน ที่ยังขึ้นกับ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น กำหนดให้มีกรรมการ 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 กรรมการโดยสมณศักดิ์หรือโดยตำแหน่ง ได้แก่สมเด็จพระราชาคณะทั้ง 8 รูป เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จฯ กฎหมายก็กำหนดให้เป็น "กรรมการมหาเถรสมาคม" โดยอัตโนมัติ จะลาออกก็ไม่ได้ ต้องเป็นไปจนตาย ยกเว้นแต่ ลาสิกขา และถูกถอดยศ จึงจะสิ้นสุดสถานภาพ
ประเภทที่ 2 กรรมการโดยแต่งตั้ง แต่เดิมกำหนดให้มีกรรมการประเภทนี้จากทั้ง 2 นิกายๆ ละ 6 รูป รวมเป็น 12 รูป ทั้งนี้ กำหนดให้ "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงมีพระอำนาจในการแต่งตั้ง
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมการประเภทที่ 2 นี้ ถือว่าเป็นโควต้าของสองนิกาย แบ่งกันฝ่ายละครึ่ง สมเด็จพระสังฆราชซึ่งจะทรงเป็นพระสงฆ์ในนิกายใดนิกายหนึ่ง จึงสงวนมารยาทที่จะไม่ก้าวก่ายในอีกนิกายหนึ่ง จึงให้อำนาจฝ่ายนั้น "เสนอชื่อ" เข้าไป เสนอใครไปก็โปรดแต่งตั้งไปตามนั้น ไม่มีการทักท้วงหรือทบทวนใดๆ ทั้งสิ้น
รวมไปถึงตำแหน่ง "เจ้าคณะใหญ่-เจ้าคณะภาค" ก็ใช้ระบบเดียวกัน เรียกระบบนี้ว่า ระบบโควต้า แบบว่าพระเถระรูปใด ได้เป็นเจ้าคณะใหญ่ในหนไหน ก็ส่งคนของตนเองเข้าไปกินโควต้าเพื่อรักษาฐานอำนาจ และสืบทอดตำแหน่งต่อจากตนเอง หลังจากตายไป แบ่งประเทศไทยออกเป็นชิ้นๆ ตามหลักการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" นั่นเอง
จึงเห็นได้ว่า เมื่อเจ้าคณะใหญ่มรณภาพตายไป พระในสายก็จะเข้ามารับตำแหน่งสืบต่อไป ปิดทางวัดหรือสายอื่นๆ ไม่ให้ได้เข้ามามีอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์เลย
แม้แต่ตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าคณะภาค 1 และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่ก่อนนั้น จะตั้งเฉพาะ "เจ้าคณะ" ส่วนตำแหน่ง "รอง" นั้นจะว่างไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้มหาเถรสมาคม สามารถหมุนบุคคลากรจากทั่วประเทศ ได้เข้ามานั่งในตำแหน่งสำคัญนี้ แต่ภายหลัง กลับมีการตั้งตำแหน่งรอง "ซ้อนเอาไว้" ไม่ต่างจากภาคอื่นๆ จึงกลายเป็นว่า ทุกภาค รวมทั้ง กทม. ได้เข้าสู่ระบบโควต้าอีก ไม่เหลือพื้นที่ว่างให้หายใจเลย
อย่าลืมด้วยว่า ตำแหน่งในทางพระสงฆ์นั้น ถึงจะไม่มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนทหารตำรวจหรือนักการเมือง แต่ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนั้น "ยาวนานที่สุดในโลก" คือเป็นจนสิ้นชีวิต มีน้อยมากที่จะลาออก ถูกปลด หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ดังนั้น ตำแหน่งทางคณะสงฆ์จึงถือว่า "ทรงอิทธิพลที่สุด" เพราะมีอำนาจนานที่สุดนั่นเอง แต่หลังจากนี้ไป จะไม่มีอีกแล้วกับคำว่า "อมตะ" เพราะทุกอย่างจะกลับเข้าสู่กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา !
ยิ่งตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ที่ พรบ.พ.ศ.05 กำหนดว่า "ต้องเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมไปจนสิ้นชีวิต" ยกเว้นถูกปลด หรือลาสิกขา เท่านั้น ลาออกไม่ได้ ไม่มีการเลือกตั้งหรือมีวาระ (เทอม) ในการดำรงตำแหน่ง นั่นจึงเท่ากับว่า ยศหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั่น เป็นตำแหน่งอมตะ ใครได้เป็นสมเด็จก็ปิดประตูแห่งความตกต่ำ เพราะสามารถครองยศไปจนวันตาย แถมตำแหน่งก็ติดกับยศไปจนวันตายเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่ได้พานพบพระนิพพาน ขอได้เป็นสมเด็จ ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว
แต่เพราะความเป็นอมตะที่แปลว่า ตายยาก นี่แหละ ที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับกรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จฯ เนื่องเพราะกว่าจะได้เป็นสมเด็จนั้น ตั้งผ่านด่านอรหันต์ ตั้งแต่พระครู เจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม ชั้นพรหม (รองสมเด็จ) และรอเวลา "สมเด็จว่าง" เพราะถ้าไม่ว่างก็ตั้งใหม่ไม่ได้ ตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั้น แบ่งออกเป็นนิกายละ 4/4 รวมเป็น 8 อรหันต์ เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น กว่าพระรูปใดจะได้เป็นสมเด็จฯ ก็แก่งัก หูตาฝ้าฟาง ส่วนใหญ่ก็มีหมอประจำตัว ซึ่งโรคนิยมของพระสงฆ์ไทยก็ได้แก่ เบาหวาน ไขมันหรือครอเรสเตอรอล และความดันสูง ยังไม่นับโรคอื่นๆ อีกเพียบ เพราะยิ่งสูงก็ยิ่งหนาว วันๆ ได้แต่นั่งรับแขก ไม่มีเวลาพักผ่อน หรือออกกำลังกาย สุดท้ายจึงเหมือนเร่งเวลาเข้าโรงพยาบาล
อย่างสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช นั้น ก็ทรงประชวรร่วมๆ 10 ปี จนรัฐบาลทักษิณอ้างเป็นเหตุให้ตั้ง "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช"
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ ก็อาวุโสเกิน 100 ปี อย่านับแต่จะไปประชุม มส. ที่พุทธมณฑลเลย หมอห้ามออกนอกห้องนอนด้วยซ้ำ
อ่านต่อขอบคุณเวบอะลิตเติ้งบุดด้า
http://alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%20169.html
เซ็ตซีโร่มหาเถรสมาคม ข่าวที่คนพุทธที่เสียผลประโยชน์ไม่อยากให้คุณได้อ่าน ข่าวนี้จริงหรือเปล่าคะ
ก็เป็นคำสั้นๆ กับคำว่า "เซ็ตซีโร่" ซึ่งอ่านมาจากภาษาอังกฤษตรงๆ เลย นั่นคือ "Set Zero" หรือ "Set-0" ซึ่งคำว่า Set - Set up นั้นเป็นกิริยา ท่านแปลว่า จัดตั้ง วางระบบ กำหนด สามารถนำไปใช้ได้กับนามได้หลากหลาย เช่น เวลา (ตั้งเวลา) สิ่งของ (จัดตั้ง) หรือกลุ่มคน (จัดกำลัง) ส่วนคำว่า "0-Zero" นั้น ก็แปลว่า ศูนย์ เซ็ตซีโร่จึงหมายถึง การตั้งค่าหรือจัดระเบียบใหม่ ไปเริ่มต้นที่ศูนย์ ซึ่งคำๆ นี้ก็ยังถือว่าใหม่ ถ้าใช้คำไทยเดิมๆ ก็คงจะใกล้เคียงกับคำว่า "ล้างหน้าไพ่" ซึ่งหมายถึงการ โละ รวม แล้วตั้งสลับไพ่ใหม่ แจกไพ่ใหม่ เริ่มเล่นกันใหม่ กับไพ่ชุดใหม่ ไม่เอาไพ่ใบเก่า ไม่ว่าจะอยู่ในมือใคร มีแต้มเท่าไหร่ ให้ถือว่าหมดค่าไปทันที
กรณีที่รัฐบาลทำการแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ในหมวดว่าด้วยมหาเถรสมาคมและการปกครองคณะสงฆ์ โดยทำเป็น "มติลับ" ลงมติกันในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 จากนั้นอีกเพียงหนึ่งวัน ร่างดังกล่าวก็ถูกส่งไปถึงมือกฤษฎีกา ซึ่งได้ออกประกาศให้สาธารณชนทั้งพระภิกษุสงฆ์และฆราวาสญาติโยม ได้แสดงความคิดเห็นภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 ถึง 27 มิถุนายน และได้ประกาศ "ปิดรับความคิดเห็น" ตรงเวลาเป๊ะ จากนั้นอีกเพียง 3 วัน ร่างดังกล่าวก็กลับคืนสู่คณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีก็ตีเรื่องเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ซึ่งวันที่ 2 กรกฏาคม นั้น ดร.วิษณุ เครืองาม ได้ออกมาแย้มฝาบาตรว่า ร่าง พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับดังกล่าว ได้ส่งไปถึงมือ สนช. เรียบร้อยแล้ว รอพิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันดับสุดท้าย ประกาศในราชกิจจาฯเมื่อใด ก็ถือว่าเริ่มต้นใช้กฎหมายสงฆ์ใหม่ทันที
ทีนี้ว่า ถ้ากลับไปดูช่วงเวลาที่รัฐบาล คสช. ได้เข้ามาบริหารประเทศนั้น 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า ได้มีการแก้ไข พรบ.คณะสงฆ์ ไปแล้วครั้งหนึ่ง ในวันที่ 6 มกราคม 2560 คือเมื่อปีกลาย ตอนนั้นแก้ มาตรา 7 หมวดสมเด็จพระสังฆราช "ยึดอำนาจมหาเถรสมาคม" ไม่ให้มีอำนาจเสนอนามตั้งสมเด็จพระสังฆราช แต่ให้ "นายกรัฐมนตรี" มีอำนาจในการเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช แต่เพียงผู้เดียว สรุปก็คือ รัฐบาลยึดอำนาจมหาเถรสมาคมในการตั้งพระสังฆราช !
มาครั้งนี้ รัฐบาลได้แก้ไขในหมวดว่าด้วยกรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะใหญ่-เจ้าคณะภาค ว่าจะได้รับการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักโดยตรง ซึ่งความจริงแล้วก็ต้องชงเรื่องผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนกรณีสมเด็จพระสังฆราชนั่นแหละ ก็จึงแปลว่า หลังจากยึดอำนาจ มส. ในการตั้งสังฆราชเมื่อปีกลายแล้ว ตกปีนี้ รัฐบาลจึงปลดกรรมการ มส. ทั้งชุด (ยกเว้นสมเด็จพระสังฆราช) รวมทั้งเจ้าคณะผู้ปกครองระดับสูง ได้แก่ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาค ทั้งมหานิกายและธรรมยุต เซ็ตซีโร่ทั้งประเทศ ใช่แต่แค่มหาเถรสมาคมเท่านั้น
1. รัฐบาล ยึดอำนาจพระสังฆราช ไปถวายในหลวง เพราะเห็นว่า ถึงจะให้สมเด็จพระสังฆราชมีอำนาจในการตั้งกรรมการ มส. ต่อไป แต่สุดท้ายก็มาติด "โควต้า" จนได้ แต่ถ้าใช้ "พระราชอำนาจ" ก็สามารถตั้ง "ข้ามนิกาย" ได้ จึงหันมาใช้สูตรนี้
2. รัฐบาลต้องการโละปัญหาใน มส. ทั้งจากกรรมการโดยตำแหน่งและแต่งตั้ง จึงเซ็ตซีโร่ ครั้นเซ็ตแล้วก็จะ "รีเซ็ต" หรือตั้งใหม่เองทั้งหมด สมเด็จพระสังฆราชไม่มีโอกาสจับปากกาเซ็นอีกต่อไป ตราบใดที่ยังทำการ "รวมนิกาย" ไม่สำเร็จ ก็ไม่มีทางที่คลื่นในพระศาสนาของประเทศไทยจะสงบได้
3. ไหนๆ ก็จะเซ็ตซีโร่แล้ว ตำแหน่งเจ้าคณะผู้ปกครอง ระดับ หน-ภาค ก็ถือว่าสำคัญไม่ด้อยไปกว่ากรรมการ มส. จึงดึงมาพ่วงไว้ในบัญชีซีโร่ในครั้งนี้ด้วย เรียกว่าตั้งศูนย์ปรับพื้นฐานตั้งแต่ระดับภาคขึ้นไปถึง มส. ถ้ายังไม่สวยก็คงไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว แค่นี้ "รัฐบิ๊กตู่" ก็แทบจะกลายเป็น "เทวทัต" ในสายตามหาชนแล้ว
เรื่องแสดงความคิดเห็นว่า "คณะสงฆ์วัดไทยลาสเวกัสและวัดในเครือ ไม่เห็นด้วยที่จะให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการเสนอชื่อกรรมการ มส. เจ้าคณะใหญ่และเจ้าคณะภาค ทั่วประเทศ แต่เพียงผู้เดียว" นั้น ก็ได้แสดงไปแล้ว จะฟังหรือไม่ก็สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจ ดังนั้น ประเด็นนี้จึงผ่านไป
ประเด็นที่จะพูดถึงในวันนี้ ก็มีความเกี่ยวเนื่องต่อจาก พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับใหม่ (แก้ไข) ที่จะออกใช้ไวๆ นี้ ว่าจะมีผลต่อใครอย่างไรบ้าง
กรรมการมหาเถรสมาคม ชุดปัจจุบัน ที่ยังขึ้นกับ พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น กำหนดให้มีกรรมการ 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 กรรมการโดยสมณศักดิ์หรือโดยตำแหน่ง ได้แก่สมเด็จพระราชาคณะทั้ง 8 รูป เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จฯ กฎหมายก็กำหนดให้เป็น "กรรมการมหาเถรสมาคม" โดยอัตโนมัติ จะลาออกก็ไม่ได้ ต้องเป็นไปจนตาย ยกเว้นแต่ ลาสิกขา และถูกถอดยศ จึงจะสิ้นสุดสถานภาพ
ประเภทที่ 2 กรรมการโดยแต่งตั้ง แต่เดิมกำหนดให้มีกรรมการประเภทนี้จากทั้ง 2 นิกายๆ ละ 6 รูป รวมเป็น 12 รูป ทั้งนี้ กำหนดให้ "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงมีพระอำนาจในการแต่งตั้ง
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมการประเภทที่ 2 นี้ ถือว่าเป็นโควต้าของสองนิกาย แบ่งกันฝ่ายละครึ่ง สมเด็จพระสังฆราชซึ่งจะทรงเป็นพระสงฆ์ในนิกายใดนิกายหนึ่ง จึงสงวนมารยาทที่จะไม่ก้าวก่ายในอีกนิกายหนึ่ง จึงให้อำนาจฝ่ายนั้น "เสนอชื่อ" เข้าไป เสนอใครไปก็โปรดแต่งตั้งไปตามนั้น ไม่มีการทักท้วงหรือทบทวนใดๆ ทั้งสิ้น
รวมไปถึงตำแหน่ง "เจ้าคณะใหญ่-เจ้าคณะภาค" ก็ใช้ระบบเดียวกัน เรียกระบบนี้ว่า ระบบโควต้า แบบว่าพระเถระรูปใด ได้เป็นเจ้าคณะใหญ่ในหนไหน ก็ส่งคนของตนเองเข้าไปกินโควต้าเพื่อรักษาฐานอำนาจ และสืบทอดตำแหน่งต่อจากตนเอง หลังจากตายไป แบ่งประเทศไทยออกเป็นชิ้นๆ ตามหลักการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" นั่นเอง
จึงเห็นได้ว่า เมื่อเจ้าคณะใหญ่มรณภาพตายไป พระในสายก็จะเข้ามารับตำแหน่งสืบต่อไป ปิดทางวัดหรือสายอื่นๆ ไม่ให้ได้เข้ามามีอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์เลย
แม้แต่ตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าคณะภาค 1 และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่ก่อนนั้น จะตั้งเฉพาะ "เจ้าคณะ" ส่วนตำแหน่ง "รอง" นั้นจะว่างไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้มหาเถรสมาคม สามารถหมุนบุคคลากรจากทั่วประเทศ ได้เข้ามานั่งในตำแหน่งสำคัญนี้ แต่ภายหลัง กลับมีการตั้งตำแหน่งรอง "ซ้อนเอาไว้" ไม่ต่างจากภาคอื่นๆ จึงกลายเป็นว่า ทุกภาค รวมทั้ง กทม. ได้เข้าสู่ระบบโควต้าอีก ไม่เหลือพื้นที่ว่างให้หายใจเลย
อย่าลืมด้วยว่า ตำแหน่งในทางพระสงฆ์นั้น ถึงจะไม่มีอำนาจล้นฟ้าเหมือนทหารตำรวจหรือนักการเมือง แต่ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนั้น "ยาวนานที่สุดในโลก" คือเป็นจนสิ้นชีวิต มีน้อยมากที่จะลาออก ถูกปลด หรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ดังนั้น ตำแหน่งทางคณะสงฆ์จึงถือว่า "ทรงอิทธิพลที่สุด" เพราะมีอำนาจนานที่สุดนั่นเอง แต่หลังจากนี้ไป จะไม่มีอีกแล้วกับคำว่า "อมตะ" เพราะทุกอย่างจะกลับเข้าสู่กฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา !
ยิ่งตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ที่ พรบ.พ.ศ.05 กำหนดว่า "ต้องเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมไปจนสิ้นชีวิต" ยกเว้นถูกปลด หรือลาสิกขา เท่านั้น ลาออกไม่ได้ ไม่มีการเลือกตั้งหรือมีวาระ (เทอม) ในการดำรงตำแหน่ง นั่นจึงเท่ากับว่า ยศหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั่น เป็นตำแหน่งอมตะ ใครได้เป็นสมเด็จก็ปิดประตูแห่งความตกต่ำ เพราะสามารถครองยศไปจนวันตาย แถมตำแหน่งก็ติดกับยศไปจนวันตายเช่นกัน ชาตินี้แม้ไม่ได้พานพบพระนิพพาน ขอได้เป็นสมเด็จ ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว
แต่เพราะความเป็นอมตะที่แปลว่า ตายยาก นี่แหละ ที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นกับกรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นสมเด็จฯ เนื่องเพราะกว่าจะได้เป็นสมเด็จนั้น ตั้งผ่านด่านอรหันต์ ตั้งแต่พระครู เจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม ชั้นพรหม (รองสมเด็จ) และรอเวลา "สมเด็จว่าง" เพราะถ้าไม่ว่างก็ตั้งใหม่ไม่ได้ ตำแหน่งหรือสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จนั้น แบ่งออกเป็นนิกายละ 4/4 รวมเป็น 8 อรหันต์ เท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนั้น กว่าพระรูปใดจะได้เป็นสมเด็จฯ ก็แก่งัก หูตาฝ้าฟาง ส่วนใหญ่ก็มีหมอประจำตัว ซึ่งโรคนิยมของพระสงฆ์ไทยก็ได้แก่ เบาหวาน ไขมันหรือครอเรสเตอรอล และความดันสูง ยังไม่นับโรคอื่นๆ อีกเพียบ เพราะยิ่งสูงก็ยิ่งหนาว วันๆ ได้แต่นั่งรับแขก ไม่มีเวลาพักผ่อน หรือออกกำลังกาย สุดท้ายจึงเหมือนเร่งเวลาเข้าโรงพยาบาล
อย่างสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช นั้น ก็ทรงประชวรร่วมๆ 10 ปี จนรัฐบาลทักษิณอ้างเป็นเหตุให้ตั้ง "ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช"
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ ก็อาวุโสเกิน 100 ปี อย่านับแต่จะไปประชุม มส. ที่พุทธมณฑลเลย หมอห้ามออกนอกห้องนอนด้วยซ้ำ
อ่านต่อขอบคุณเวบอะลิตเติ้งบุดด้า
http://alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%20169.html