.
ขออนุญาตนำส่วนที่ถูกตัดออก มาเรียบเรียงเล่าขยายแบบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ...
ในบทนวนิยายเรื่องดังกล่าว ตอนที่เกิดเหตุร้ายขึ้นในเมืองสุพรรณภูมิ (ปัจจุบันคือพื้นที่บางส่วนในจังหวัดสุพรรณบุรี) ซึ่งระบุว่าตรงกับ “
พุทธศักราช ๑๙๐๓ ปีชวด โทศก ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า” และบรรยายว่าตรงกับวันขึ้นปีใหม่ มีการจัดฉลองสมโภชใหญ่กว่าทุกปีเพราะเป็นวันขึ้นรอบนักษัตรใหม่...
จินตนาการนี้มีพื้นฐานจากการที่ในสมัยโบราณ ชนชาติในคาบสมุทรสุวรรณภูมินิยมนับปฏิทินทางจันทรคติ (ข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์) โดยนับสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันย้ายจักรราศีของดวงดาวบนท้องฟ้า การยกศักราชใหม่ก็นับกันในวันนี้...
ยกตัวอย่างคือ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ยังเป็น
ปีกุน พุทธศักราช ๑๙๐๒ พอข้ามมาอีก ๑ วัน ก็เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕
ปีชวด พุทธศักราช ๑๙๐๓ ข้ามปี และข้ามวงรอบนักษัตร ๑๒ ปี จากปีกุนซึ่งเป็นนักษัตรสุดท้าย มาเริ่มปีชวด เริ่มวงรอบนักษัตรใหม่ จึงมีการจัดงานสมโภชใหญ่กว่าทุกปี
ประจวบกับเมืองอโยธยาซึ่งก่อตั้งครบ ๑๐ ปีในวันขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ ปีพุทธศักราช ๑๙๐๓ จัดงานสมโภชพระนครขึ้น องค์ขุนหลวงพะงั่วจึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์ บรรดาอำมาตย์และขุนทหารไปยังเมืองอโยธยา ทำให้การป้องกันภายในเมืองสุพรรณภูมิไม่เข้มแข็ง อีกทั้งมีงานรื่นเริงทั่วเมือง เป็นช่องให้เกิดเหตุร้ายขึ้นที่หอกลองใหญ่...
ที่ไม่เคยตี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ส่วนการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่นั้น เกิดขึ้นจากการที่สยามมีการติดต่อค้าขายกับชาติทางตะวันตกมากขึ้น จึงเริ่มนิยมใช้ปฏิทินทางสุริยคติ (นับการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ๓๖๕ วันในหนึ่งปี)
ครั้นปีพุทธศักราช ๒๔๓๒ พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงกำหนดวันขึ้นปีใหม่ไทยตามสุริยคติ ในปีนั้นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑ เมษายน จึงทรงกำหนดให้วันที่ ๑ เมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย
และได้มายกเลิกในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยประกาศของคณะรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย
.........
-----------------------------------
อีกประเด็นหนึ่ง คือเรื่องการระบุ ศก...
เช่น โทศก เบญจศก หรือ ฉศก คืออะไร...
ศก เป็นการระบุปีของจุลศักราช โดยกำหนดตามเลขปีลงท้าย (หลักหน่วย) เช่น ปีที่ลงท้ายด้วย ๑ เรียก เอกศก ปีที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เรียก โทศก... ไล่เลียงกันไป (ตามรูปประกอบข้างบน)
ดังนั้น ถ้าจะระบุศก.. ต้องแปลงปีพุทธศักราชให้เป็นปีจุลศักราชก่อน โดยปีที่ตั้งจุลศักราชอยู่หลังการกำเนิดปีพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี จึงใช้จำนวน ๑๑๘๑ ลบออกจากปีพุทธศักราช ก็จะได้ปีจุลศักราช
พุทธศักราช ๑๙๑๖ เมื่อลบด้วย ๑๑๘๑ จะได้ ปีจุลศักราช ๗๓๕
ปีลงท้ายด้วยเลข ๕ จึงเป็นปี เบญจศก... นี่คือปีเปิดเรื่องในบทแรก ที่อ่าวปตานี
พุทธศักราช ๑๙๐๓ เมื่อลบด้วย ๑๑๘๑ จะได้ ปีจุลศักราช ๗๒๒
ปีลงท้ายด้วยเลข ๒ จึงเป็นปี โทศก... นี่คือปีที่เกิดเหตุร้ายในเมืองสุพรรณภูมิ
หากเพื่อนผู้อ่านท่านใดมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรืออยากเขียนพูดคุยกัน...
ถือเป็นความยินดีมากและขอขอบคุณครับ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขออนุญาตฝากเพจ ด้วยครับ...
(ลิงค์ไปที่โพสล่าสุดของเพจครับ)
https://www.facebook.com/Kal.Ananta/photos/a.352199258604342.1073741828.351877341969867/410739209417013/?type=3¬if_id=1532230662447121¬if_t=page_post_reaction
ราชาสิบสองนักษัตร ศึกรวมสุโขทัย - บทบรรยายที่ถูกตัดออก
ขออนุญาตนำส่วนที่ถูกตัดออก มาเรียบเรียงเล่าขยายแบบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ...
ในบทนวนิยายเรื่องดังกล่าว ตอนที่เกิดเหตุร้ายขึ้นในเมืองสุพรรณภูมิ (ปัจจุบันคือพื้นที่บางส่วนในจังหวัดสุพรรณบุรี) ซึ่งระบุว่าตรงกับ “พุทธศักราช ๑๙๐๓ ปีชวด โทศก ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า” และบรรยายว่าตรงกับวันขึ้นปีใหม่ มีการจัดฉลองสมโภชใหญ่กว่าทุกปีเพราะเป็นวันขึ้นรอบนักษัตรใหม่...
จินตนาการนี้มีพื้นฐานจากการที่ในสมัยโบราณ ชนชาติในคาบสมุทรสุวรรณภูมินิยมนับปฏิทินทางจันทรคติ (ข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์) โดยนับสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันย้ายจักรราศีของดวงดาวบนท้องฟ้า การยกศักราชใหม่ก็นับกันในวันนี้...
ยกตัวอย่างคือ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ยังเป็น ปีกุน พุทธศักราช ๑๙๐๒ พอข้ามมาอีก ๑ วัน ก็เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด พุทธศักราช ๑๙๐๓ ข้ามปี และข้ามวงรอบนักษัตร ๑๒ ปี จากปีกุนซึ่งเป็นนักษัตรสุดท้าย มาเริ่มปีชวด เริ่มวงรอบนักษัตรใหม่ จึงมีการจัดงานสมโภชใหญ่กว่าทุกปี
ประจวบกับเมืองอโยธยาซึ่งก่อตั้งครบ ๑๐ ปีในวันขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ ปีพุทธศักราช ๑๙๐๓ จัดงานสมโภชพระนครขึ้น องค์ขุนหลวงพะงั่วจึงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์ บรรดาอำมาตย์และขุนทหารไปยังเมืองอโยธยา ทำให้การป้องกันภายในเมืองสุพรรณภูมิไม่เข้มแข็ง อีกทั้งมีงานรื่นเริงทั่วเมือง เป็นช่องให้เกิดเหตุร้ายขึ้นที่หอกลองใหญ่...ที่ไม่เคยตี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
-----------------------------------
อีกประเด็นหนึ่ง คือเรื่องการระบุ ศก...
เช่น โทศก เบญจศก หรือ ฉศก คืออะไร...
ศก เป็นการระบุปีของจุลศักราช โดยกำหนดตามเลขปีลงท้าย (หลักหน่วย) เช่น ปีที่ลงท้ายด้วย ๑ เรียก เอกศก ปีที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เรียก โทศก... ไล่เลียงกันไป (ตามรูปประกอบข้างบน)
ดังนั้น ถ้าจะระบุศก.. ต้องแปลงปีพุทธศักราชให้เป็นปีจุลศักราชก่อน โดยปีที่ตั้งจุลศักราชอยู่หลังการกำเนิดปีพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี จึงใช้จำนวน ๑๑๘๑ ลบออกจากปีพุทธศักราช ก็จะได้ปีจุลศักราช
พุทธศักราช ๑๙๑๖ เมื่อลบด้วย ๑๑๘๑ จะได้ ปีจุลศักราช ๗๓๕
ปีลงท้ายด้วยเลข ๕ จึงเป็นปี เบญจศก... นี่คือปีเปิดเรื่องในบทแรก ที่อ่าวปตานี
พุทธศักราช ๑๙๐๓ เมื่อลบด้วย ๑๑๘๑ จะได้ ปีจุลศักราช ๗๒๒
ปีลงท้ายด้วยเลข ๒ จึงเป็นปี โทศก... นี่คือปีที่เกิดเหตุร้ายในเมืองสุพรรณภูมิ
หากเพื่อนผู้อ่านท่านใดมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรืออยากเขียนพูดคุยกัน...
ถือเป็นความยินดีมากและขอขอบคุณครับ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้