เกริ่นนำ 1
ทองคำก็แค่ก้อนกวาด ถ้าเราไม่รู้คุณค่า (ยิ่งศึกษา ยิ่งรู้ ยิ่งหลงใหล) การอ่านก็เช่นกัน ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้ ยิ่งเห็นคุณค่า มีอะไรมากมายที่เราไม่รู้ และก็มองข้ามมัน
เกริ่นนำ 2 และเข้าเรื่องของวันนี้
ในทุกๆครั้งที่ผ่านศาลหลักเมือง ถ้าไม่ติดธุระอะไรเร่งด่วน เวลาพอเหลือบ้าง ก็จะแวะเข้ามาไหว้สักการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง “เพื่อความเป็นสิริมงคล” เอาฤกษ์เอาชัย ในการประกอบสัมมาอาชีพต่อไป
ประวัติศาลหลักเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามว่ากรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา หรือเรียกกันต่อมาว่า "กรุงเทพมหานคร" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น มีลักษณะเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ลงรักปิดทองยอดเสารูปบัวตูม ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จัตวาศก ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 ฤกษ์ เวลา 6 นาฬิกา 54 นาที ชัยภูมิที่ตั้ง หลักเมืองนั้นอยู่ประมาณใจกลางของพระนครใหม่
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อปีพุทธศักราช 2394 ทรงมีพระราชดำริว่า เสาหลักเมืองต้นที่สร้างไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา กอปรกับทรงเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น โดยเสาหลักเมืองต้นใหม่มีลักษณะเป็นเสาไม้สักประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญแผ่นทองคำจารึกดวงชาตากรุงเทพมหานคร ที่ได้ประกอบพิธีจารึกดวงชาตา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เข้าบรรจุที่ยอดเสาหลักเมืองแล้วประกอบพิธีบวงสรวงเชิญพระหลักเมือง เข้าประดิษฐานในรูปเทวดาบนยอดเสาหลักเมืองต้นใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2396 ส่วนหลักเมืองต้นเดิมนั้นโปรดให้เชิญขึ้นจากหลุมตั้งพิงไว้ในศาลใกล้กับหลักเมืองต้นใหม่
ในปีพุทธศักราช 2525 กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชหลักเมืองและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงเทพารักษ์ ณ ศาลหลักเมือง เมื่อวันพุธที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525 การนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงศาลหลักเมือง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมืองขึ้น และได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง โดยได้แปลงลักษณะรูปศาลเป็นแบบจตุรมุข ส่วนยอดปรางค์นั้นให้คงไว้เช่นเดิม โดยเชิญเสาหลักเมืองต้นเดิมไปประดิษฐานไว้คู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน เมื่อการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2529
สำหรับขั้นตอนในการไหว้สักการะบูชาภายในศาลหลักเมืองประกอบไปด้วย 5 จุดหลักๆ ดังนี้
จุดที่ 1 หอพระพุทธรูป
- กราบสักการะพระพุทธรูป พระบรมสาธีริกธาตุ และถวาย ดอกบัว 1 ดอก โดยไม่ต้องจุดธูปและเทียน
- ใส่บาตรพระประจำวันเกิด
จุดที่ 2 ศาลาถวายเครื่องสักการะ
- กราบสักการะองค์หลักเมืองจำลอง ถวายธูป เทียน และปิดทอง ผูกผ้าแพร 3 สีที่องค์หลักเมืองจำลอง โดยให้ผูกพร้อมกันทั้ง 3 ผืน
จุดที่ 3 องค์พระหลักเมือง
- กราบสักการะองค์พระหลักเมือง และ ถวายพวงมาลัย งดจุดธูป เทียน และปิดทอง โดยเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 1 มียอดเสาเป็นรูปบัวตูม ส่วนเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 4 ยอดเสาเป็นยอดเม็ดทรงมัณฑ์
จุดที่ 4 ศาลเทพารักษ์
- กราบสักการะ องค์เทพารักษ์ทั้ง 5 โดยถวายพวงมาลัย 5 พวง ประกอบไปด้วย พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ เจ้าหอกลอง
หน้าที่เทพารักษ์ทั้ง ๕ องค์
1. พระเสื้อเมือง เป็นเทพารักษ์ที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรรักษาบ้านเมือง ให้ร่มเป็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
2. พระทรงเมือง เป็นเทพารักษ์รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
3. พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
4. เจ้าเจตรุปต์ เป็นบริการพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอพระยม
5. เจ้าหอกลอง เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่า คอยรักษาเวลาย่ำรุง ย่ำคำ และเที่ยงคืนเกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร
จุดที่ 5 เติมน้ำมันตะเกียง
พระประจำวันเกิด และสะเดาะเคราะห์
- เติม น้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิดครึ่งขวด เพื่อความสว่างไสวในชีวิต มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
- อีกครึ่งขวดเติมลงตะเกียงสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีทุกข์โศกโรคภัยออกไปจากตัวเรา
ศาลหลักเมือง เปิดให้การบริการตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.30 น. ทุกวัน และเปิดบริการตลอดคืนในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน
พิกัด: ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
https://maps.app.goo.gl/uLMKptPre5V5jy6R7?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2567
31 May 2024
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
ศุกรวาร(ศ) วิสาขมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2024 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243
สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
#ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://ppantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai
ศาลหลักเมือง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ทองคำก็แค่ก้อนกวาด ถ้าเราไม่รู้คุณค่า (ยิ่งศึกษา ยิ่งรู้ ยิ่งหลงใหล) การอ่านก็เช่นกัน ยิ่งอ่าน ยิ่งรู้ ยิ่งเห็นคุณค่า มีอะไรมากมายที่เราไม่รู้ และก็มองข้ามมัน
เกริ่นนำ 2 และเข้าเรื่องของวันนี้
ในทุกๆครั้งที่ผ่านศาลหลักเมือง ถ้าไม่ติดธุระอะไรเร่งด่วน เวลาพอเหลือบ้าง ก็จะแวะเข้ามาไหว้สักการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง “เพื่อความเป็นสิริมงคล” เอาฤกษ์เอาชัย ในการประกอบสัมมาอาชีพต่อไป
ประวัติศาลหลักเมือง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครใหม่ โดยย้ายจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามว่ากรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา หรือเรียกกันต่อมาว่า "กรุงเทพมหานคร" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น มีลักษณะเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้แก่นจันทน์ประกับนอก ลงรักปิดทองยอดเสารูปบัวตูม ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล จัตวาศก ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 ฤกษ์ เวลา 6 นาฬิกา 54 นาที ชัยภูมิที่ตั้ง หลักเมืองนั้นอยู่ประมาณใจกลางของพระนครใหม่
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อปีพุทธศักราช 2394 ทรงมีพระราชดำริว่า เสาหลักเมืองต้นที่สร้างไว้แต่ครั้งรัชกาลที่ 1 นั้นได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา กอปรกับทรงเชี่ยวชาญในโหราศาสตร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น โดยเสาหลักเมืองต้นใหม่มีลักษณะเป็นเสาไม้สักประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญแผ่นทองคำจารึกดวงชาตากรุงเทพมหานคร ที่ได้ประกอบพิธีจารึกดวงชาตา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เข้าบรรจุที่ยอดเสาหลักเมืองแล้วประกอบพิธีบวงสรวงเชิญพระหลักเมือง เข้าประดิษฐานในรูปเทวดาบนยอดเสาหลักเมืองต้นใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2396 ส่วนหลักเมืองต้นเดิมนั้นโปรดให้เชิญขึ้นจากหลุมตั้งพิงไว้ในศาลใกล้กับหลักเมืองต้นใหม่
ในปีพุทธศักราช 2525 กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชหลักเมืองและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงเทพารักษ์ ณ ศาลหลักเมือง เมื่อวันพุธที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2525 การนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงศาลหลักเมือง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมืองขึ้น และได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง โดยได้แปลงลักษณะรูปศาลเป็นแบบจตุรมุข ส่วนยอดปรางค์นั้นให้คงไว้เช่นเดิม โดยเชิญเสาหลักเมืองต้นเดิมไปประดิษฐานไว้คู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน เมื่อการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พุทธศักราช 2529
สำหรับขั้นตอนในการไหว้สักการะบูชาภายในศาลหลักเมืองประกอบไปด้วย 5 จุดหลักๆ ดังนี้
จุดที่ 1 หอพระพุทธรูป
- กราบสักการะพระพุทธรูป พระบรมสาธีริกธาตุ และถวาย ดอกบัว 1 ดอก โดยไม่ต้องจุดธูปและเทียน
- ใส่บาตรพระประจำวันเกิด
จุดที่ 2 ศาลาถวายเครื่องสักการะ
- กราบสักการะองค์หลักเมืองจำลอง ถวายธูป เทียน และปิดทอง ผูกผ้าแพร 3 สีที่องค์หลักเมืองจำลอง โดยให้ผูกพร้อมกันทั้ง 3 ผืน
จุดที่ 3 องค์พระหลักเมือง
- กราบสักการะองค์พระหลักเมือง และ ถวายพวงมาลัย งดจุดธูป เทียน และปิดทอง โดยเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 1 มียอดเสาเป็นรูปบัวตูม ส่วนเสาหลักเมือง รัชกาลที่ 4 ยอดเสาเป็นยอดเม็ดทรงมัณฑ์
จุดที่ 4 ศาลเทพารักษ์
- กราบสักการะ องค์เทพารักษ์ทั้ง 5 โดยถวายพวงมาลัย 5 พวง ประกอบไปด้วย พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ เจ้าหอกลอง
หน้าที่เทพารักษ์ทั้ง ๕ องค์
1. พระเสื้อเมือง เป็นเทพารักษ์ที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากรรักษาบ้านเมือง ให้ร่มเป็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน
2. พระทรงเมือง เป็นเทพารักษ์รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
3. พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
4. เจ้าเจตรุปต์ เป็นบริการพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอพระยม
5. เจ้าหอกลอง เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่า คอยรักษาเวลาย่ำรุง ย่ำคำ และเที่ยงคืนเกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร
จุดที่ 5 เติมน้ำมันตะเกียง
พระประจำวันเกิด และสะเดาะเคราะห์
- เติม น้ำมันตะเกียง พระประจำวันเกิดครึ่งขวด เพื่อความสว่างไสวในชีวิต มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง
- อีกครึ่งขวดเติมลงตะเกียงสะเดาะเคราะห์ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ดีทุกข์โศกโรคภัยออกไปจากตัวเรา
ศาลหลักเมือง เปิดให้การบริการตั้งแต่เวลา 06.30 - 18.30 น. ทุกวัน และเปิดบริการตลอดคืนในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน
พิกัด: ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
https://maps.app.goo.gl/uLMKptPre5V5jy6R7?g_st=com.google.maps.preview.copy
บันทึกความทรงจำ
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2567
31 May 2024
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๙ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
ศุกรวาร(ศ) วิสาขมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2024 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243
สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร
#ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://ppantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai