1. ตักศิลาทางไสยเวทย์ภาคใต้
หากพูดถึง เรื่องของไสยศาสตร์ เวทมนต์ ความคงกระพันชาตรี อักขระเลขยันต์ แหล่งวิทยาคม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ที่ใด ณ ที่ด้ามขวานแห่งนี้ 1 ในตำนานที่ยังมีเรื่องราวที่ถูกกล่าวขานมาแสนนานกับการ "กินเหนียว กินมัน แช่น้ำว่าน" พิธีกรรมโบราณที่เชื่อกันว่าเหนียว ! แน่ ๆ และวันนี้เราจะพาทุกท่านมาพบกับอีกมุมของความสวยงามของวัดแห่งนี้
2. สายเหนียว แดนใต้
อีกหนึ่งแลนด์มาร์คในดวงใจ หลังจากดูภาพยนต์ของไทยหลาย ๆ เรื่อง และหากใครได้ศึกษาอีกศาสตร์คู่ขนานกับวิทยาศาสตร์ ความชอบและเลื่อมใสศรัทธาที่อิงเรื่องราวในพระพุทธศาสนา และพราหมณ์ เรื่องราวที่เล่าส่งต่อกันมา ทำให้ต้องเดินทางมารับรู้สัมผัสให้เห็นกับตาว่าเป็นเช่นไร
วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นวัดสำคัญและมีความเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีชื่อปรากฏในสารตราของพระยานครศรีธรรมราชที่มีมาถึงพระยาแก้โกรพพิชัยบดินทรเดชอภัยพิริยะพาหะ เจ้าเมืองพัทลุง เขียนขึ้นเมื่อวันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๐๓ เป็นวัดโบราณที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางไสยศาสตร์ และวิทยาการทางด้านการแพทย์ ในปัจจุบันมีชื่อเลื่องลือมาจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล และที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางก็จะมาจาก พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือขุนพันธ์ ที่ประวัติของท่านมีความเกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนี้ด้วย
3. สายบุญ
เมื่อเข้าวัดมาแล้วจะพบโบถส์เก่าแก่สวยงาม ด้านหลังจะเป็นวิหารสวยงามเป็นอย่างมากด้านในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป และรูปหล่อบูรพคณาจารย์ ปรมาจารย์แห่งวัดเขาอ้อตั้งแต่ในอดีตเรื่อยมาอีกทั้งมีความสวยงาม เข้มขลังเป็นอย่างมาก ยังไงมาบ้านท่านถึงสถานที่ท่านแล้วก็แวะทำความเคารพผู้ใหญ่เจ้าของบ้าน เข้ากราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นศิริมงคลกันก่อน
4. 109 ขั้น
ถัดออกจากวิหารเดินไปทางด้านขวาของวิหาร เขาว่ากันว่าหากมาถึงที่แห่งนี้แล้วไม่ได้ขึ้นเขาอ้อ ก็เหมือนมาไม่ถึง บันไดปูนทอดยาวเป็นทางขึ้นจำนวน 109 ขั้น เป็นเครื่องวัดใจ วัดสภาพร่างกายกันเลยทีเดียว ระหว่างทางเดินขึ้นไปจะพบกับรางซิเมนต์แช่ว่านยาศักดิ์สิทธิ์ ที่มีไว้สำหรับทำพิธีกรรมในการแช่น้ำว่าน
มาถึงตรงนี้เรายังต้องเดินต่ออีกหน่อย ( ยัง ๆ ไม่ถึง ) ด้านบนที่เป็นจุดหมายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์น้อย พระพุทธบาทจำลอง หลวงพ่อโต ถ้ำน้อยจำศีลให้ลาภ และของรางวัลอันล้ำค่าไม่แพ้กันก็คือวิวทิวทัศน์ความสวยงามของทัศนียภาพกับลมเย็นที่พัดมาให้กำลังใจปลอบประโลมว่า เยี่ยมมากนายทำดีมาก
5. ถ้ำฉัททันต์บรรพต วัดเขาอ้อ
เมื่อลงมาแล้วด้านล่างของเขาที่เราเดินขึ้นไปเมื่อสักครู่ ภายในเป็นถ้ำโบราณขนาดใหญ่ สวยงามอลังการตระการตาเลยทีเดียว อีกทั้งความสลัวของแสงที่กำลังพอดีทำให้รับรู้และรู้สึกได้ถึงความเข้มขลังและความศักดิ์สิทธิ์ร่มเย็นทั้งกาย สบายทั้งใจเป็นอย่างมาก ถ้ำแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า "ถ้ำฉัททันต์บรรพต" ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อด้านไสยเวทย์ การปลุกเสกวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง และบำเพ็ญศีลภาวนา แสงสลัวและความเย็นสบายชวนเรียกหาให้เราเข้าไปหา
และหากเดินไปทางซ้ายของถ้ำฉัททันต์บรรพต เราก็จะพบทางเดินทอดยาวไปบนภูเขา ทางเดินบันไดปูนที่ขันประมาณหนึ่งแต่ไม่มากนัก หากความเชื่อและศรัทธามีมาก ๆ พอกับกำลังวังชา ก็อาจจะสามารถพาร่างกายที่เปี่ยมไปด้วยหัวใจไปได้ถึง แต่เวลาของเรานั้นมีน้อยเกินไปจึงเดินไปได้ไม่ไกลนัก ไว้มีโอกาสในคราหน้าเราจะมาใหม่ ปลายทางเราคงได้เจอกันอีก
ก่อนกลับแวะเช่าของฝาก ที่ระลึกเพื่อเสริมศิริมงคลติดกลับบ้านแถวยังได้ร่วมทำบุญกับทางวัดด้วย
พุทธัง อาราธนานัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ นะอะระหัง
ธัมมัง อาราธนานัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ นะอะระหัง
สังฆัง อาราธนานัง นะโมพุทธายะ มะอะอุ นะอะระหัง
ไม่มีธรรมอันใดที่จะสำคัญเท่ากับ “สติ” “สติ” นี้เป็นธรรมที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติ เพราะถ้าเราไม่มีสติ
เราจะไม่สามารถดึงใจให้เข้ามาข้างในได้ เมื่อใจไม่เข้าข้างใน ใจก็จะไม่เห็นอริยสัจ ๔ จะไม่เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะไม่สามารถดับความทุกข์ใจได้ แต่ถ้าใจกลับเข้ามาข้างในได้ เวลาเกิดความทุกข์ใจนี้ ใจจะเห็นชัดเลยว่าเกิดจากความอยากของใจ
คำตรัสของพระพุทธเจ้า
ข้อความจาก พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
สวัสดี
-เสือซ่อนยิ้ม-
ติดตามกานต์เดินทางครั้งก่อนได้ที่
[CR] เที่ยวสำนักตักศิลาไสยเวทย์ วัดเขาอ้อ พัทลุง
วัดเขาอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นวัดสำคัญและมีความเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีชื่อปรากฏในสารตราของพระยานครศรีธรรมราชที่มีมาถึงพระยาแก้โกรพพิชัยบดินทรเดชอภัยพิริยะพาหะ เจ้าเมืองพัทลุง เขียนขึ้นเมื่อวันเสาร์ เดือน ๙ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๐๓ เป็นวัดโบราณที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางไสยศาสตร์ และวิทยาการทางด้านการแพทย์ ในปัจจุบันมีชื่อเลื่องลือมาจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล และที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางก็จะมาจาก พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือขุนพันธ์ ที่ประวัติของท่านมีความเกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนี้ด้วย
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้