พออายุมากขึ้น มีใครเริ่มรู้สึกว่าเรื่องความรักมันเป็นเรื่องไร้สาระมั้ยครับ แต่ในใจลึกๆก็ยังอยากมีใครสักคน

ได้อ่านกระทู้แบบว่า เค้าชอบเรารึป่าว แบบนี้จะนกมั้ย หรือจะจีบเค้ายังไง ทำไมผมรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้มันไร้สาระมากเลย เหมือนผมจะไม่มีความรู้สึกแบบนี้อีกแล้ว
จะให้มานั่งจีบกัน กุ๊กกิ๊กๆเหมือนเด็กๆก็คงทำไม่ได้
แต่ในใจลึกๆก็ยังคงหวังเอาไว้ว่าอยากมีใครสักคน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 27
ความรักเชิงชู้สาว​ มีแฟน​ แต่งงาน​ อยู่ด้วยกัน​ อะไรทำนองนี้ใช่มั้ย

ไม่ได้มองเป็นเรื่องไร้สาระนะ
แต่มองว่ามันไม่ได้สำคัญอะไรขนาดนั้น

คือผ่านมาจนรู้สึกว่า​ ตอนมีก็ดีแบบนึง
ถ้าเจอความรักดีๆ​ มันจะเป็นขุมพลัง
เวลาทุกข์มีคนช่วยหาร​ เวลาสุขมีคนช่วยคูณ
ยังศรัทธา​ในความรักนะ​ รู้ว่ารักดีๆ​ เป็นยังไง

ส่วนเวลาผ่านเรื่องแย่ๆ​ ก็ธรรมดาโลกอ่ะ​
มีสุขมีทุกข์ปะปน​ เวลาทุกข์ก็ขอแค่ก่วให้ผ่าน
เวลาสุขก็จดจำ
เราไม่ชอบเวลาคนอกหักแล้วจะเบลมว่าผู้ชายมันเลวผู้หญิงมันชั่ว
ตอนรักกันนะ​ ก็รักจริงแหละ​ แต่ตอนไม่รักก็ไม่รักแล้วไง​

แต่ทั้งหมด​ มันไม่ใช่ว่าขาดไม่ได้​ ต้องมี
แต่ก็นั้นแหละพูดในฐานะคนผ่านมาแล้ว
ส่วนคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์​
ของแบบนี้ก็สอนกันไม่ได้​ ก็ไม่แปลกที่เค้าจะโหยหา

คนยังไม่เคยกินเค้กอร่อยๆ
ทั้งที่คนรอบข้างมีเค้กกินไปแล้วก็ไม่แปลกที่อยากลองอยากกินมั่ง
มันเป็นเรื่องจังหวะชีวิตของมนุษย​์โลก
บางคนกินเค้กอร่อยก็ติดใจเสพติดอยากกินอีก
บางคนมีโอกาสกินเค้ก​ อ่าวววไม่อร่อยอย่างที่คิด
ก็เสียใจ​ มันปกติมาก


เพราะฉะนั้นไม่ไร้สาระค่ะ
เป็นเรื่องปกติ

ส่วนตอนนี้​ จะให้จีบๆมุ้งมิ้งๆ​ ให้มีก็ทำได้
เวลาเรามีคนรักมันเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ​
คิดถึงเค้า​ อยากคุยกับเค้า​ เห็นของอร่อยก็อยากให้มากินด้วยกัน
.... มันเรียกว่าแชร์ชีวิต​ รักชอบสไตล์ไหน​ ก็แชร์ให้อีกฝ่ายรู้  อะไรทำนองนี้

แต่เบื่อเรื่องหึงหวง​ นอกใจอะไรแบบนี้มากกว่า​
อันนี้ไร้สาระของแท้​
ถ้าไม่มั่นใจบั่นทอนความรักก็ควรหาใหม่ไปเลย​
ไม่รู้จะทำให้เสียเวลาชีวิตไปทำไม
ความคิดเห็นที่ 3
มันไม่เชิงไร้สาระแต่เมื่อเริ่มคิดว่า benefit to cost ratio มันต่ำเกินไป กับ risk สูงเกินไปเลยเริ่มไม่อยากลงทุนกับความรักอีก
ความคิดเห็นที่ 28
http://johjaionline.com/opinion/ไม่ขอรัก/

"สำหรับบางคน เรื่องที่ความสัมพันธ์จะกลายเป็นความรัก กลับเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง แต่เมื่อคำนึงถึงสัดส่วนของชีวิตคู่ที่ล้มเหลว 50% สำหรับการแต่งงาน และมากกว่านั้นหากนับเอาคู่ที่ยังไม่แต่งงาน หรือยิ่งมากกว่านั้นอีก หากนับเอาคู่ที่ยังอยู่ด้วยกันแต่ไม่มีความสุข ที่ทำให้อัตราล้มเหลวคาดไปถึง 70-75%  ดังนั้น ความกลัวชีวิตคู่หรือกลัวความรัก คงไม่ใช่เรื่องที่ไร้เหตุผลเป็นแน่ - ถึงแม้ว่าจะดูขัดแย้งกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่โหยหาก็ตาม

บางคนหาทางออกด้วยการจบลงที่เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวกัน ส่วนในบางคนไม่มีความสนใจใดๆทั้งสิ้นกับชีวิตคู่นี้ ไม่แม้แต่คิดจะเริ่มมองใคร กับอีกบางคนที่ หวาดกลัวชีวิตคู่ในระดับ phobia ไปเลย หรือที่เรียกว่า Philophobia จนมีอาการผิดปกติ เช่น ความดันขึ้น ใจสั่น เมื่อคิดว่ามีใครมาสนใจ  
แต่อีกหลายคนที่ไม่ได้ปิดกั้นความรักเสียทีเดียว หากเลือกที่จะไม่ปลงใจกับใครง่ายๆ โดยปกป้องตนเองด้วยการเล่นบทเอาชนะ ”mean strategy”  คือทำตัว mean หรือหยิ่ง อย่างที่ Game Theory เรียกว่า dominant strategy เพราะเชื่อว่าวิธีนี้ ตนน่าจะเจ็บตัวน้อยที่สุด และน่าจะได้ความรักมาในรูปแบบที่ต้องการที่สุด โดยผู้เล่นจะยืนกรานในสิ่งที่ตนต้องการ ไม่ยอมคล้อยตาม ไม่ประนีประนอม ผลคือ จะได้สิ่งที่ตนเองต้องการทั้งหมดโดยไม่เสียอะไรเลย และไม่เสี่ยงกับการอกหัก เพราะอีกฝ่ายยอมทุกอย่าง

แต่ในความเป็นจริง จะหาอีกฝ่ายที่ยอมขนาดนั้นได้ยาก ผลจริงคือ ไม่มีคนยอมเล่นด้วย และในที่สุด ผู้ที่เลือก dominant strategy กลับจะไม่ได้สิ่งที่ตนต้องการกลับไป นั่นคือ ความรัก  และถึงแม้ dominant strategy นี้ จะได้ผลในแง่ความปลอดภัย นั่นคือ ผู้เล่นไม่เจอเรื่องอกหักก็จริง แต่นั่นก็เป็นเพียงเพราะเขายังไม่ได้สัมผัสกับความรักเลย ก็เลยไม่มีทางอกหัก

ในโลกสมัยใหม่ ที่คนเราสามารถดูแลตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งชีวิตคู่ ความรักจึงเป็นสิ่งที่ถูกเลื่อนขึ้นมาวางไว้บนยอดปีรามิดของ Maslow จากเดิมที่เคยวางอยู่กึ่งกลางตัวปิรามิดดังแต่ก่อน และนั่นหมายถึงว่า คนเรา demanding เรื่องคุณภาพของความรักมากขึ้นเรื่อยๆ เสมือนว่า เป็นความสำเร็จที่ใฝ่หาอย่างหนึ่งในชีวิต มากกว่าความจำเป็น และจะยิ่ง demanding ยิ่งขึ้นไปอีก สำหรับคนที่ “สวย/หล่อ/เก่ง เลือกได้”.

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า คนที่แต่งงานมี ความสุข มีสุขภาพดี และมีชีวิตยืนยาวกว่าคนโสด แต่ก็มีการแย้งในภายหลังว่า นั่นเป็นเรื่องของ selective bias หรือการเลือกศึกษาเฉพาะกลุ่มคนแต่งงานที่ประสบความสำเร็จแล้วต่างหาก เพราะการศึกษาเหล่านี้ ไม่ได้นับเอาคนที่เคยแต่งงานแล้วหย่า ซึ่งเป็นคนที่จะบอกว่า แต่งงานแล้วไม่ดี  แต่นับเอาเฉพาะคนที่กำลังแต่งงานอยู่เท่านั้น ซึ่งก็ส่วนใหญ่ก็ควรจะบอกว่าแต่งงานแล้วดี เพราะไม่เช่นนั้นคงหย่าไปแล้ว

ในหนังสือ  Marriage vs. Single Life: How Science and the Media Got It So Wrong โดย Bella DePaulo แห่ง Harvard ชี้ว่า จากการศึกษาใหม่เป็นที่ยอมรับกันมากว่า เรื่องของ “แต่งงาน/โสด ดีหรือไม่ดี?” นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล แบบ case by case มากกว่า หรือแม้กระทั่งในคนคนเดียวกัน บางช่วงของชีวิตอาจเหมาะกับการแต่งงาน อีกช่วงอาจจะเหมาะกับโสด ก็เป็นได้ ไม่มีอะไรแน่นอน และนั่นยิ่งทำให้เรื่องของชีวิตคู่หรือโสด ซับซ้อนกว่าที่เคยคิดกันมาก

อย่างในกรณีของ “alpha male” และ “alpha female” อันหมายถึงคนที่มีบุคลิกเด่นทั้งกายภาพและความสามารถ และเป็นกลุ่มที่มีความ demanding ที่สุด นั้น  โดยทั่วไปแล้วเชื่อกันว่า พวก alpha จะมอง alpha ด้วยกันเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะผู้หญิง alpha จะมองผู้ชาย alpha ก่อน ส่วนผู้ชาย alpha ถึงแม้จะถูกดึงดูดโดยผู้หญิง alpha เป็นหลัก แต่ก็ไม่ขัดข้องในการใช้ชีวิตคู่กับ “beta female” หรือผู้หญิงที่รองลงมา

สภาพที่ไม่สมดุลของ demand vs supply นี้เอง มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ในยุคหลังมีความซับซ้อนมากขึ้น และด้วยจำนวนผู้หญิง alpha ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้การ match ระหว่างคน alpha ด้วยกันมีความกดดันและแข่งขันกันมากกว่าในอดีต

นั่นคือ จะมี ผู้หญิง alpha จำนวนหนึ่งเหลือ ไม่สามารถ match ผู้ชาย alpha ได้ เพราะผู้ชาย alpha ไม่พอ เนื่องจาก ผู้ชาย alpha ไม่ขัดข้องที่จะ match กับทั้ง ผู้หญิง alpha และ beta ด้วย  ในขณะที่ผู้หญิง alpha มักเจาะจงผู้ชาย alpha เท่านั้น  และนี่เองอาจเป็นคำตอบว่า ทำไมในสังคมที่ผู้หญิงมีความสามารถมากขึ้นเรื่อยๆ จะมีจำนวนผู้หญิงโสดมากขึ้น

ในหนังสือ “The Alpha Woman Meets Her Match” โดยนักจิตวิทยา Dr Sonya Rhodes แนะทางออกว่า ผู้หญิง alpha อาจจะหันมามองผู้ชาย beta บ้างก็ได้ เพราะผู้ชาย beta อาจจะสนับสนุนชีวิตผู้หญิง alpha ได้ดีกว่า ดังจะเห็นจาก ผู้หญิง “super alpha” หลายคนใช้ชีวิตกับผู้ชาย beta ได้ดี อย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Magaret Tatcher กับสามี Danis หรือ Julia Robers กับสามีช่างภาพ (ราวกับบทของเธอใน Notting Hill)

เพราะถึงแม้ผู้หญิง alpha จะมีความสัมพันธ์ที่ตื่นเต้นสีสันโรแมนติกกว่ากับผู้ชาย alpha ด้วยกัน  แต่ความที่ต่างก็มีความมั่นใจในตนเองสูงทั้งคู่ อาจจะมีปัญหา“ใครใหญ่กว่าใคร” หรือ power struggle ในขีวิตคู่ระยะยาว
และนั่น เป็นสาเหตุที่ทำให้บางคนไหวตัว เลือกที่จะถอนตัวออกมาเป็น “Companion” หรือ “เพื่อนคู่คิด” แทน -กลายเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่เต็มไปด้วยคนต้องการอิสระ  Companion มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกว่าเพื่อนธรรมดา แต่ไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว ไม่หึงหวง ไม่อ้างสิทธิ์ใดๆ และไม่ต้องการ commitment ใดๆ นอกจากความเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน"
ความคิดเห็นที่ 25
มันไม่ใช่เรื่องไร้สาระ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น

บางทีแค่อยากมีใครแชร์โมเม้นท์ที่มากกว่าเพื่อน
เช่น อารมณ์แต่งบ้าน ซื้อนู่นนี่นั่น หรือเรื่องบางเรื่องที่ไม่อยากเล่าให้เพื่อนฟัง เป็นต้น

แล้วยิ่งโต จะยิ่งรู้ตัวเร็ว ว่า คุยแล้วจะจัดอยู่ในเฟรนด์โซน หรือ แฟนโซน

อารมณ์หวือหวา มันไม่มีเหมือนสมัยเด็ก ๆ เพราะวัยทำงานมีเรื่องให้โฟกัสเยอะขึ้น
ถ้าใครที่คุยแล้วจัดอยู่ในแฟนโซน แต่ยิ่งคุยแล้วไม่สามารถทำให้สบายใจได้ kick off เสียดีกว่า เพราะพวกเราไม่มีเวลามานั่งกังวลกับเรื่องพวกนี้ขนาดนั้น

Only my opinion
ความคิดเห็นที่ 8
เปลี่ยนจุดโฟกัสไปนานแล้ว ถ้าไม่เจอใครที่ดีพอ อยู่คนเดียวดีกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่