คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เรียนสมาชิกหมายเลข 2319216
ขออนุญาตตอบในประเด็นที่ 3
กรณีท่านเป็นผู้ยากไร้หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องการได้รับความช่วยเหลือท่านสามารถขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมในเรื่องการจ้างทนายความได้
***สำหรับเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือ
-ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือของกองทุน
-พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหรือปกป้องรักษาประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
-ลักษณะของการกระทำผิดหรือการกระทำละเมิดที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้ได้รับความเสียหายหรือเกิดภัยพิบัติต่อส่วนรวมหรือความมั่นคงของประเทศ
-ลักษณะของการกระทำผิดหรือการกระทำละเมิดที่มีกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
-เรื่องที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่นคงของประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-พฤติกรรมข้อเท็จจริงและเงื่อนไขอื่นๆ ตามสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การช่วยเหลือให้พ้นจากการกระทำของผู้มีอิทธิพลหรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
-ความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับการสนับสนุน
-การสนับสนุนของกองทุนนี้ให้คำนึงถึงโอกาสที่ผู้ขอรับการสนับสนุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่นด้วย
-การสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรมแท้จริง อาจมีการกำหนดเงื่อนไขเป็นการเฉพาะเรื่องตามที่คณะกรรมการกำหนดได้
***หลักฐานในการยื่นขอรับการสนับสนุน
-สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
-หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับคดี
-แจ้งความประสงค์ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
-กรณีไม่ได้ยื่นด้วยตนเองต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
***สถานที่ยื่นเรื่อง
-กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ผู้ขอรับบริการสนับสนุนสามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือส่งคำขอทางไปรษณีย์ได้ที่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร A เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 021412915-20
-ต่างจังหวัด ผู้ขอรับการสนับสนุนสามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือส่งตำขอทางไปรษณีย์ได้ที่ สำนักงานยุติธรรม จังหวัดทั่วประเทศ
Nantharat
ขออนุญาตตอบในประเด็นที่ 3
กรณีท่านเป็นผู้ยากไร้หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมและต้องการได้รับความช่วยเหลือท่านสามารถขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมในเรื่องการจ้างทนายความได้
***สำหรับเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือ
-ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือของกองทุน
-พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพหรือปกป้องรักษาประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
-ลักษณะของการกระทำผิดหรือการกระทำละเมิดที่มีผลกระทบต่อประชาชนให้ได้รับความเสียหายหรือเกิดภัยพิบัติต่อส่วนรวมหรือความมั่นคงของประเทศ
-ลักษณะของการกระทำผิดหรือการกระทำละเมิดที่มีกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
-เรื่องที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนความมั่นคงของประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-พฤติกรรมข้อเท็จจริงและเงื่อนไขอื่นๆ ตามสถานการณ์ สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การช่วยเหลือให้พ้นจากการกระทำของผู้มีอิทธิพลหรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น
-ความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับการสนับสนุน
-การสนับสนุนของกองทุนนี้ให้คำนึงถึงโอกาสที่ผู้ขอรับการสนับสนุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่นด้วย
-การสนับสนุนเงินหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรมแท้จริง อาจมีการกำหนดเงื่อนไขเป็นการเฉพาะเรื่องตามที่คณะกรรมการกำหนดได้
***หลักฐานในการยื่นขอรับการสนับสนุน
-สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
-หลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับคดี
-แจ้งความประสงค์ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์
-กรณีไม่ได้ยื่นด้วยตนเองต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
***สถานที่ยื่นเรื่อง
-กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ผู้ขอรับบริการสนับสนุนสามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือส่งคำขอทางไปรษณีย์ได้ที่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคาร A เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 021412915-20
-ต่างจังหวัด ผู้ขอรับการสนับสนุนสามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือส่งตำขอทางไปรษณีย์ได้ที่ สำนักงานยุติธรรม จังหวัดทั่วประเทศ
Nantharat
แสดงความคิดเห็น
ต้องการขอความช่วยเหลือ หรือคำแนะนำดีดีจากผู้ที่เคยเจอประสบการณ์แบบนี้ค่ะ
เรื่องมันมีอยู่ว่าเมื่อปี 2557 น้าของดิฉันได้ให้เงินคนหนึ่งกู้ยืมไปเป็นจำนวนเงิน 550000 บาท และคนนั้นแจ้งจะหามาจ่ายภายใน 1 สัปดาห์โดยจะให้ดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงิน 6000 บาท ต่อมาประมาณ1อาทิตย์ไม่มีวีแววจะมาจ่ายเงินที่ก็ไป น้าเลยไปทำการทวงเงินคืนมา ต่อมาคนที่ยืมเงินไปแล้วเอามาจ่ายให้ก่อน 50000 บาท บอกพรุ่งนี้จะเอามาให้อีก วันต่อมาคนที่กู้เงินไปได้โทรมาถามน้าว่าจะมาเอาเงินเองหรือให้โอนเข้าบัญชี ซึ่งตอนนั่นน้าบอกยอดเงินเยอะเลยบอกจะไปเอาและนัดกันที่ธนาคาร น้าก็ไปเอาเองและฝากเงินเข้าบัญชีจำนวนเงิน500000บาทด้วยลายมือของน้าเอง และก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
จนกระทั้งปลายปี 2558 ตำรวจโทรมาให้ไปสถานีตำรวจเนื่องจากมีคนมาแจ้งความว่าน้าไปร่วมมือกับคนที่มายืมเงินน้าตอนนั้นฉ้แโก้งเงินมา น้าก็ให้ไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจตอนนั้นมี คนที่เป็นโจกย์ 1คน มีจำเลย 6 คนรวมกับน้าของหนูด้วย พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งรายละเอียดให้ทราบแต่น้าก็บอกเงินที่มีการโอนเข้าบัญชีเป็นเงินที่เขาเอามาใช้หนี้ ซึ่งคนมาฟ้องตอนแรกไม่เคยคุยกันมาก่อน และต่อมาอัยการไม่รับฟ้องเนื่องจากเป็นการกู้ยืมเงินกันธรรมดา
จนต่อมาปี 2559 ตำรวจโทรมาอีกบอกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหามีการแจ้งความเป็นคดีฉ้อโก้งประชาชน โดยมีโจกย์ทั้งหมด5 คน และจำเลย6 รวมน้าของหนูด้วย โดยโจกย์ภายใน 5 คนมีคนหนึ่งที่เคยตกเป็นจำเลยในคดีแรกกับทางน้าของหนู รอบนี้มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานสอบสวนคนใหม่ และแจ้งความเป็นคดีให้เป็นการฉ้อโก้งประชาชน โดยโจกย์ที่มาฟ้องทั้ง 5 คน ไม่เคยรู้จักและพูดคุยกันมาก่อนเลย ตอนนี้น้าถูกฝากขังอยู่ ต้องการร้องเรียนเผื่อให้คดีมันมีความคืบน้าและต้องการให้มีเจ้าหน้าที่มีการสอบสวนคดีใหม่
สิ่งที่ต้องการสอบถาม
1. ถ้าต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบการทำการงานของพนักงานสอบสวน และสอบสวนคดีใหม่
2. อยากสอบถามว่าถ้าต้องการไปร้องเรียนให้มีคนช่วยตรวจสอบต้องไปที่ไหน ? เนื่องจากไปร้องเรียนที่กระทรวงยุติธรรมแล้วแต่เรื่องไม่มีความคืบหน้าเลย
จนตอนนี้ศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้ว
3.อยากให้มีทนายที่มีความยุติธรรมเข้ามาช่วยเหลือและขอคำปรึกษาว่าหนูควรเริ่มไปที่หน่วยงานไหน
รบกวนทุกท่านที่เคยเจอเคยสถานการณ์แบบนี้หรือท่านไหนที่มีความรู้เรื่องกฎหมายบ้างคะ
(ตอนนี้เหมือนไม่ได้สู้กับฝั่งโจกย์อย่างเดียวแต่กำลังสู้กับคนที่มีสี)