เบาหวานส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่อย่างไร
มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 12-19.6%
มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานนี้มักพบร่วมกับครรภ์เป็นพิษ ถ้าตรวจพบว่า คุณแม่มีครรภ์เป็นพิษก็มักจะเป็นเบาหวานร่วมด้วย
มีโอกาสเป็น โรคทางเดินปัสสาวะ อักเสบมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากในปัสสาวะมีน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารที่ดีของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ
กรวยไตอักเสบ เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 4% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นผลร่วมกันระหว่างการลดลงของภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ปัสสาวะไม่สุดจากภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาท (การตรวจคัดกรองและการรักษาการติดเชื้อในปัสสาวะที่ไม่แสดงอาการอาจช่วยลดอุบัติการณ์ของทางเดินปัสสาวะอักเสบในระหว่างการตั้งครรภ์ได้)
ครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios) เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 16% ของการตั้งครรภ์ที่คุณแม่เป็นเบาหวาน และจะพบมากขึ้นในกลุ่มที่เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ แต่กลไกการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด
มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ ทำให้คุณแม่รู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบาย และแพทย์ก็จะตรวจดูท่าของทารกในครรภ์ได้ยาก นอกจากนี้ยังอาจทำให้ทารกเสียชีวิตขณะคลอดหรือคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย
คุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์อาจพบภาวะเบาหวานลงไต ยิ่งถ้ามีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมาก่อนแล้ว 75% จะมีโปรตีนรั่วมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ในบางรายพบการทำงานของไตเสื่อมลง 70% และพบความดันโลหิตสูงร่วมด้วย[3] ส่วนคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขึ้นตาอยู่ก่อนการตั้งครรภ์แล้ว อาการทางตาจะกำเริบมากขึ้น
คุณแม่มีโอกาสเป็นเบาหวานหลังคลอดได้ประมาณ 6-70% ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี หลังเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (หลัง 10 ปีไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดเบาหวานได้เช่นกัน)
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 10-30% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือคลอดออกมาเสียชีวิตจากระบบหายใจผิดปกติ และอัตรานี้จะเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของโรค ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น และการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
การผ่าตัดทำคลอด พบว่าอัตราการผ่าตัดทำคลอดในคุณแม่ที่เป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากอุบัติการณ์ของทั้งความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์และทารกตัวโตที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนที่จอตาและภาวะแทรกซ้อนทางไตที่เลวลง
คุณแม่จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นเบาหวาน
ทารกตัวโตหรือใหญ่กว่าปกติ (ยกเว้นศีรษะ) โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การที่ทารกตัวใหญ่และมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ เช่น ใกล้เคียงหรือเกิน 4,000 กรัม ก็เนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดของแม่มีสูง ทารกจึงได้รับน้ำตาลมากไปด้วย แต่ในตัวทารกก็มีการสร้างและใช้อินซูลินมากขึ้น จึงทำให้มีน้ำหนักตัวมากและตัวโต แขนขาและไหล่จะใหญ่ผิดปกติ เมื่อเทียบกับขนาดศีรษะ จึงทำให้คลอดยาก ติดไหล่ เส้นประสาทที่แขนมาเลี้ยงมักถูกดึงรั้งหรือถูกทำลาย จึงทำให้แขนข้างที่เกิดไหล่ติดมักมีอาการอ่อนแรง ซึ่งแพทย์จะป้องกันโดยการผ่าตัดทำคลอด ส่วนในรายที่เป็นเบาหวานมานานและเป็นมากจนมีการเปลี่ยนของเส้นเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ และมดลูกได้น้อยลง ทารกก็มักจะตัวเล็ก มีน้ำหนักตัวน้อย หรือรกทำงานไม่ปกติได้ ซึ่งจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ในขณะที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด
ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2-4 เท่า[6] ซึ่งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเหตุผลเบื้องต้นของความพิการ แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ให้เป็นปกติตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
ภาวะแท้งบุตร เป็นกรณีที่พบได้มากในรายที่เป็นเบาหวานแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือมีความรุนแรงมาก
ทารกเสียชีวิตในขณะการตั้งครรภ์ ตอนคลอด หรือภายหลังการคลอดใหม่ ๆ มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการนำอินซูลินมาฉีดรักษา ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์แม่มากกว่าครึ่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อได้มีการนำอินซูลินมาใช้ก็พบว่าทารกมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง แต่ก็ยังมีอัตราการตายที่สูงอยู่ จนแพทย์จำเป็นต้องเร่งให้คลอดก่อนกำหนด ทารกจึงมีปัญหาเรื่องปอดและร่างกายซึ่งยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงพอ และมีโอกาสเสียชีวิตได้อีก แพทย์จึงต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมในการคลอดเพื่อให้ทารกมีสภาพแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการรักษาพยาบาลมีมากขึ้น จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงด้วย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจะสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด เช่น เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะแคลเซียมต่ำในเลือดทารก, ภาวะตัวเหลือง, ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกิน, ภาวะหัวใจโต , ภาวะ Respiratory distress syndrome (RDS), ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดและการบาดเจ็บจากการคลอด, ระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ผิดปกติ เป็นต้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ในระยะใกล้คลอดและช่วงเจ็บครรภ์คลอดจะมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิดดังกล่าวได้
เกิดผลเสียระยะยาวต่อทารก โดยอาจมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองและระบบประสาทในทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่เหมาะสม จึงทำให้ทารกมีการรับรู้ช้าลง
สรุป จะเห็นได้ว่า ภาวะเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากคุณแม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ ลงได้ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ตระหนักถึงความเสี่ยงและมาฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่ยังสามารถให้การดูแลรักษาได้
เครดิต :
https://www.108news.net/news/4814
เบาหวานส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณแม่อย่างไร ?
มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 12-19.6%
มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานนี้มักพบร่วมกับครรภ์เป็นพิษ ถ้าตรวจพบว่า คุณแม่มีครรภ์เป็นพิษก็มักจะเป็นเบาหวานร่วมด้วย
มีโอกาสเป็น โรคทางเดินปัสสาวะ อักเสบมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากในปัสสาวะมีน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารที่ดีของแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ
กรวยไตอักเสบ เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 4% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นผลร่วมกันระหว่างการลดลงของภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ปัสสาวะไม่สุดจากภาวะแทรกซ้อนทางเส้นประสาท (การตรวจคัดกรองและการรักษาการติดเชื้อในปัสสาวะที่ไม่แสดงอาการอาจช่วยลดอุบัติการณ์ของทางเดินปัสสาวะอักเสบในระหว่างการตั้งครรภ์ได้)
ครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios) เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 16% ของการตั้งครรภ์ที่คุณแม่เป็นเบาหวาน และจะพบมากขึ้นในกลุ่มที่เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ แต่กลไกการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด
มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติ ทำให้คุณแม่รู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบาย และแพทย์ก็จะตรวจดูท่าของทารกในครรภ์ได้ยาก นอกจากนี้ยังอาจทำให้ทารกเสียชีวิตขณะคลอดหรือคลอดก่อนกำหนดได้ด้วย
คุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์อาจพบภาวะเบาหวานลงไต ยิ่งถ้ามีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมาก่อนแล้ว 75% จะมีโปรตีนรั่วมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ในบางรายพบการทำงานของไตเสื่อมลง 70% และพบความดันโลหิตสูงร่วมด้วย[3] ส่วนคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขึ้นตาอยู่ก่อนการตั้งครรภ์แล้ว อาการทางตาจะกำเริบมากขึ้น
คุณแม่มีโอกาสเป็นเบาหวานหลังคลอดได้ประมาณ 6-70% ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี หลังเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (หลัง 10 ปีไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดเบาหวานได้เช่นกัน)
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) เป็นอุบัติการณ์ที่พบได้ประมาณ 10-30% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือคลอดออกมาเสียชีวิตจากระบบหายใจผิดปกติ และอัตรานี้จะเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของโรค ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น และการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ
การผ่าตัดทำคลอด พบว่าอัตราการผ่าตัดทำคลอดในคุณแม่ที่เป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่องจากอุบัติการณ์ของทั้งความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์และทารกตัวโตที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนที่จอตาและภาวะแทรกซ้อนทางไตที่เลวลง
คุณแม่จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นเบาหวาน
ทารกตัวโตหรือใหญ่กว่าปกติ (ยกเว้นศีรษะ) โดยจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค การที่ทารกตัวใหญ่และมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ เช่น ใกล้เคียงหรือเกิน 4,000 กรัม ก็เนื่องมาจากระดับน้ำตาลในเลือดของแม่มีสูง ทารกจึงได้รับน้ำตาลมากไปด้วย แต่ในตัวทารกก็มีการสร้างและใช้อินซูลินมากขึ้น จึงทำให้มีน้ำหนักตัวมากและตัวโต แขนขาและไหล่จะใหญ่ผิดปกติ เมื่อเทียบกับขนาดศีรษะ จึงทำให้คลอดยาก ติดไหล่ เส้นประสาทที่แขนมาเลี้ยงมักถูกดึงรั้งหรือถูกทำลาย จึงทำให้แขนข้างที่เกิดไหล่ติดมักมีอาการอ่อนแรง ซึ่งแพทย์จะป้องกันโดยการผ่าตัดทำคลอด ส่วนในรายที่เป็นเบาหวานมานานและเป็นมากจนมีการเปลี่ยนของเส้นเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ และมดลูกได้น้อยลง ทารกก็มักจะตัวเล็ก มีน้ำหนักตัวน้อย หรือรกทำงานไม่ปกติได้ ซึ่งจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ในขณะที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด
ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่ไม่เป็นเบาหวานประมาณ 2-4 เท่า[6] ซึ่งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเหตุผลเบื้องต้นของความพิการ แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของแม่ให้เป็นปกติตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
ภาวะแท้งบุตร เป็นกรณีที่พบได้มากในรายที่เป็นเบาหวานแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือมีความรุนแรงมาก
ทารกเสียชีวิตในขณะการตั้งครรภ์ ตอนคลอด หรือภายหลังการคลอดใหม่ ๆ มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการนำอินซูลินมาฉีดรักษา ทารกมักจะเสียชีวิตในครรภ์แม่มากกว่าครึ่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อได้มีการนำอินซูลินมาใช้ก็พบว่าทารกมีอัตราการเสียชีวิตน้อยลง แต่ก็ยังมีอัตราการตายที่สูงอยู่ จนแพทย์จำเป็นต้องเร่งให้คลอดก่อนกำหนด ทารกจึงมีปัญหาเรื่องปอดและร่างกายซึ่งยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์เพียงพอ และมีโอกาสเสียชีวิตได้อีก แพทย์จึงต้องเลือกเวลาที่เหมาะสมในการคลอดเพื่อให้ทารกมีสภาพแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการรักษาพยาบาลมีมากขึ้น จึงทำให้อัตราการเสียชีวิตของทารกลดลงด้วย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจะสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด เช่น เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะแคลเซียมต่ำในเลือดทารก, ภาวะตัวเหลือง, ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกิน, ภาวะหัวใจโต , ภาวะ Respiratory distress syndrome (RDS), ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดและการบาดเจ็บจากการคลอด, ระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ผิดปกติ เป็นต้น การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณแม่ในระยะใกล้คลอดและช่วงเจ็บครรภ์คลอดจะมีผลต่อภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิดดังกล่าวได้
เกิดผลเสียระยะยาวต่อทารก โดยอาจมีผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองและระบบประสาทในทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่เหมาะสม จึงทำให้ทารกมีการรับรู้ช้าลง
สรุป จะเห็นได้ว่า ภาวะเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ หากคุณแม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์ก็จะช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ ลงได้ การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ตระหนักถึงความเสี่ยงและมาฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่ยังสามารถให้การดูแลรักษาได้
เครดิต : https://www.108news.net/news/4814