เนื่องจากตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงเมื่ออายุครรภ์ได้ 29w แล้วเครียดมากค่ะ นั่งหาข้อมูลมาอ่าน มีทั้งตรงกับเราบ้างไม่ตรงบ้างก็เลยตั้งใจว่าจะมาแชร์เรื่องเบาหวานของตัว เองบ้าง เผื่อจะช่วยให้คนอื่นที่ตรวจเจอแบบเดียวกันจะลดความกังวลลงไปได้บ้าง
ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์คืออะไร
สรุป สั้นๆ แบบได้ใจความว่า ตอนท้องฮอร์โมนจากรกจะทำให้อินซูลินผลิตได้ไม่เพียงพอดูดซึมน้ำตาลได้น้อย น้ำตาลจึงเข้าไปในกระแสเลือดได้เยอะ ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง
แล้วมันส่งผลอะไรให้ลูกในท้อง?
ภาวะนี้มักจะเกิดในช่วงหลัง 4 เดือนขึ้นไป คือรกทำงานเต็มที่ และอวัยวะเด็กครบแล้ว เลยไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเรื่องเด็กจะพิการ เพียงแต่ทารกที่แม่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเด็กปกติ คือ 3.8-4 กิโลกรัมขึ้นไป ทำให้คลอดยากและมีโอกาสคลอดติดไหล่ทำให้เด็กเสียชีวิตขณะคลอดได้ และนอกจากนั้นทารกแรกคลอดออกมาอาจจะมีภาวะน้ำตาลต่ำ ต้องรีบให้กินนมอย่างรวดเร็ว อาจจะงงๆ ว่าทำไมแม่น้ำตาลสูงแต่ลูกออกมาน้ำตาลต่ำ ข้อนี้ถามหมอมา เค้าบอกว่าเหมือนตอนอยู่ในท้องที่แม่น้ำตาลสูง ลูกก็จะได้น้ำตาลเยอะๆๆๆ ตลอด เหมือนกินดีอยู่ดีมาก แต่พอคลอดออกมาตัดสายรกปุ๊บก็เลยขาดน้ำตาลทันที ประมาณนั้นค่ะ
ดังนั้น อันตรายจากการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็จะลดน้อยลงหรือแทบไม่เป็นอะไร ถ้าเราสามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติได้ โดยการควบคุมอาหารเป็นหลัก แต่ถ้าคุมสุดๆ แล้วน้ำตาลก็ยังสูงอยู่ หมอจะให้ฉีดอินซูลินค่ะ
อ้อ อีกอย่างหนึ่งคือถ้าน้ำตาลสูง ไขมันสูง และความดันสูงด้วย จะมีโอกาสเป็นครรภ์เป็นพิษด้วยค่ะ ดังนั้นเวลาแม่เป็นเบาหวานหมอมักจะให้คุมทั้งแป้งและของมันไปด้วยเลย
ใครที่มีเกณฑ์เสี่ยงเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
-คลอดทารกที่มีน้ำหนักมาก ตั้งแต่ 4,000 กรัม ขึ้นไปในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้านี้
-ทารกในครรภ์ก่อนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
-ทารกครรภ์ก่อนเสียชีวิตแรกคลอด
-คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนมาก
-ตรวจพบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะติดต่อกัน 2 ครั้งในระหว่างมาตรวจครรภ์
-คุณแม่มีประวัติว่าญาติร่วมสายเลือดในครอบครัวเป็นเบาหวาน หรือคุณแม่มีอายุมากตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป
-แท้งโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป
การตรวจคัดกรองเบาหวาน ถ้าเรามีกรรมพันธุ์พ่อแม่พี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน หมอมักจะตรวจเช็คเบาหวานตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ค่ะ แต่ถ้าดูแล้วไม่มีเกณฑ์เสี่ยง อาจจะสั่งตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้ในช่วงตั้งครรภ์ 24-28 w ซึ่งหมอจะพิจารณาจากน้ำตาลและโปรตีนที่ปนมากับปัสสาวะ และอัตราการเพิ่มของน้ำหนักแม่
ตามตำราเค้าว่ากันมาอย่างนี้ คราวนี้เรามาดูสถานการณ์ของเรากันบ้าง
ขอเล่าคร่าวๆ ตามลำดับเหตุการณ์ก่อนนะคะ เดี๋ยวลงรายละเอียดทีหลัง
-เราท้องแรกค่ะ อายุ 30 ปี
-ประวัติครอบครัวมีทางญาติๆ ฝั่งแม่เป็นเบาหวานกันหลายคน แต่แม่เราไม่เป็นนะคะ
-น้ำหนักก่อนท้อง 50 กิโลกรัม
-ไม่เป็นเบาหวานมาก่อน ก่อนท้องน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 91
-ช่วง 4 เดือนแรกแพ้ท้องน้ำหนักขึ้นมาแค่ 2 กิโล
-มีตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ +1 ในช่วง 8w กับ 13w
-ช่วง 5-6 เดือน น้ำหนักขึ้นมาเดือนละ 4 กิโล
-ไม่มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ อัลตราซาวน์แล้วลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์และสมบูรณ์ดี
-29w เจาะตรวจเบาหวานกลืนกลูโคส 50 กรัม วัดค่าน้ำตาลได้ 157 เกณฑ์ปกติต้องไม่เกิน 140
-กลับมาคุมอาหารเองอย่างเคร่งครัดมากๆ อยู่ 20 วัน
-33w เจาะเลือดครั้งที่สองกลืนกลูโคส 75 กรัม เจาะ 3 เข็ม ได้ค่า 69/203/212 ปกติต้องไม่เกิน 95/180/155
-สรุปผลคือเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ต้องหาหมอเบาหวานควบคู่ไปด้วย
-35w หมอเบาหวานสั่งเจาะเลือดดูน้ำตาลสะสม ผลออกมาได้ค่า 5.6% คือเท่ากับค่าของคนปกติ (คนเป็นเบาหวานคือมากกว่า 6.5%)
-ไม่ต้องฉีดอินซูลิน ใช้คุมอาหารและเจาะเลือดหลังอาหารวันละ 4 ครั้ง
-หลังจากที่เริ่มคุมอาหารน้ำหนักลดไป 1 กิโลและแทบไม่ขึ้นอีกเลย
-39w+4 คลอดธรรมชาติ ลูกหนัก 3,100 มีภาวะน้ำตาลต่ำเล็กน้อย
เดี๋ยวต่อไปจะลงรายละเอียดลึกๆ ค่ะว่าคุมอะไรยังไงบ้าง
ความจริงเราก็ไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงอะไร เพราะอายุยังไม่ถึง 35 มีญาติเป็นเบาหวาน แต่พ่อแม่พี่น้องไม่มีใครเป็น น้ำตาลก่อนท้องก็ปกติ (พอดีมีตรวจร่างกายประจำปีก่อนท้องพอดีเป๊ะ) แม้ในช่วงท้องแรกๆ ตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ +1 แต่หมอไม่ว่าอะไร บอกว่าต้อง +2 ขึ้นไปถึงน่าเป็นห่วง ก็เลยไม่ได้เจาะตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ
แล้วช่วงท้องได้ 5-6 เดือน หายแพ้ท้องแล้วก็อยากกินของหวานมาก จำได้ว่ากินขนมปังทุกเช้า กินโค้กหรือน้ำหวานแทบทุกมื้อ กินไอติมหลังอาหาร กินป็อปคอร์นหวานๆ ประจำ กินเค้กบ้างตามอารมณ์ คืออยากของหวานหลังอาหารตลอด เลยกินทุกวันเลยก็ว่าได้
ช่วงนั้นน้ำหนักขึ้นมาเดือนละ 4 กิโล เท่ากับว่าน้ำหนักขึ้นมาทั้งหมด 10 กิโลแล้วใน 6 เดือน
แต่ หมอก็ยังไม่ว่าอะไรอีกอยู่ดี เพราะไม่มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ อัลตราซาวด์แล้วลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์และสมบูรณ์ดี แต่เรากลัวเองว่าจะเป็นเบาหวาน เลยขอหมอเจาะตรวจแทบทุกครั้งที่ไปฝากครรภ์
ในที่สุดหมอก็สั่งเจาะตรวจเบาหวานในวีคที่ 29
เจาะ เลือดครั้งแรก กินข้าวเช้าปกติ (วันนั้นกินกล้วยหอมไป 2 ลูก เพิ่งรู้ว่าน้ำตาลมันเยอะ เท่ากับข้าว 4 ทัพพี) ตรวจโดยกลืนกลูโคส 50 กรัมผสมน้ำ ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วค่อยเจาะเลือด วันนั้นวัดค่าน้ำตาลได้ 157 เกณฑ์ปกติต้องไม่เกิน 140
50 กรัม GCT (Glucose Challenge Test) เป็นการตรวจคัดกรองที่ทำการตรวจได้ โดยไม่ต้องงดอาหาร รับประทานน้ำตาล 50 กรัม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะได้รับการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ค่าที่ได้ ถ้ามากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าผิดปกติ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม โดย 100 กรัม OGTT ต่อ แต่ถ้าค่าที่ได้มากกว่า 185 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ให้การวินิจฉัยภาวะ GDM ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม
ความจริงต้องรอ 1 เดือนถึงจะให้หมออ่านผลแต่เรากังวลเลยแอบโทรไปถามผลจากพยาบาลเอง รู้ผลก็เครียดเลย คิดหลายตลบว่าจะเลื่อนนัดหมอขึ้นมาดีมั้ยจะได้เจาะอีกครั้งให้มันรู้ๆ ไปเลย แต่สุดท้ายหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็เลยตัดสินใจว่าจะลองคุมอาหารเองก่อน เพราะคิดว่าไปตรวจอีกทีเลยถ้าไม่ทันได้เปลี่ยนพฤติกรรมก็ผลก็คงเหมือนเดิม
แอบคิดว่าค่าเราก็ไม่ได้สูงมากเท่าที่เห็นเค้าว่าตรวจครั้งแรกมักจะเกินกันได้ แล้วพอตรวจแบบจำเพาะมักจะผ่านกัน ยกเว้นค่าครั้งแรกเกิน 180 ตรวจครั้งที่สองก็มักจะไม่ผ่านอยู่ดี หรือค่าของเรามันอาจจะเกินเพราะเมื่อเช้านั้นกินกล้วยหอม 2 ลูกก็เป็นได้
ก็เลยตัดสินใจศึกษาเองว่าจะต้องกินอะไรยังไงบ้าง กลับมาคุมอาหารเองอย่างเคร่งครัดอยู่ 20 วันก่อนจะไปเจอหมอ
ที่ ว่าเคร่งครัดมากๆ ก็คือกินมื้อละน้อยๆ กินถี่ขึ้น กินแป้งน้อยมากค่ะ เค้าห้ามงดแป้งเพราะถ้าขาดแป้งเลยจะยิ่งมีผลกับน้ำตาลในเลือด เราเปลี่ยนเป็นกินข้าวกล้องมื้อละครึ่งทัพพี ก๋วยเตี๋ยวเลิกกินเลย พวกชุบแป้งทอดก็ไม่กิน น้ำก็กินน้ำเปล่าอย่างเดียว อาหารว่างกินขนมปังโฮลวีทครึ่งแผ่นไม่ทาอะไรเลย หรือแครกเกอร์โฮลวีท 2 แผ่น หรือนมครึ่งแก้ว ของหวานไม่กินเลย ผลไม้ก็กินแต่ฝรั่ง พุทราแอปเปิ้ล มะม่วงดิบบ้าง กล้วยบ้าง และพยายามว่าวันไหนกินข้าวแล้ววันนั้นจะไม่กินขนมปัง
แล้วก็จดทุกอย่างที่กิน ตามลำดับเวลา ตัวอย่างเช่น
Day1: 23 Sep 14
30 weeks 1 day
08.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น น้ำเต้าหูไม่หวาน
12.00- สเต็กปลาย่าง+ไก่ย่าง สลัดผัก พุทรา 3 ชิ้น
15.00- พุทรา 1 ชิ้น ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น
16.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น
18.00- สเต็กหมูพริกไทยดำ ไข่ดาว ร็อกเก็ตมะเขือเทศสดไม่ราดน้ำสลัด พุทรา 1 ชิ้น
24.00- ขนมปังโฮลวีท 1/4 ชิ้น
Day4: 26 Sep 14
30 weeks 4 days
08.30- นมครึ่งแก้ว มะม่วงหินมะพานต์ 3 เม็ด
12.00- ข้าวกล้อง แขนงหมูกรอบ พุทรา 1 ชิ้น
16.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น มะม่วงหินมะพานต์ 10 เม็ด พุทรา 5 ชิ้น
18.30- ข้าวกล้อง ซุปไก่ใส่มะเขือเทศ หอมใหญ่ แขนงหมูกรอบ
ช่วง 10 วันหลังมีเครื่องเจาะเลือดตรวดน้ำตาลแล้วค่ะ เลยลองเจาะตรวจเป็นบางมื้อ
Day 10: 2 Oct 14
31 weeks 3 days
11.30- ดีน่างาดำกล่องเล็ก
12.30- ไก่ย่างเชสเตอร์ 2 ชิ้น ข้าวโพดปิ้ง 1 ฝัก
15.00- ฝรั่ง 3/4 ลูก
16.00- นมสด 1 แก้ว
19.00- ไข่ดาว ไส้กรอก ผัดบล็อคโคลี่ แครกเกอร์โฮลวีท 2 ชิ้น
21.00- ตรวจน้ำตาลได้ 82
มื้อเย็นวันนั้นเป็นครั้งแรกที่ลองเจาะ ผลออกมาคือน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงต่ำทีเดียวคือได้ 82 เอง
ตอน นั้นอ่านเอาจากในเน็ต เลยยึดเกณฑ์น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงคือไม่ควรเกิน 140 และเกณฑ์น้ำตาลก่อนอาหารไม่ควรเกิน 92 แต่นี่น้ำตาลหลังอาหารเราน้อยกว่าเกณฑ์ก่อนอาหารเสียอีก ก็เลยทำให้นอยด์ไปอีกว่าคุมเยอะเกินไปน้ำตาลต่ำมากจะเป็นอะไรมั้ย
วิธีทดสอบต่อไปคือวันต่อมาเราก็เลยจัดหนักกินแป้งเต็มๆ ดูซิว่าจะเป็นยังไง
Day 11: 3 Oct 14
31 weeks 4 days
04.00- คุกกี้สิงคโปร์ 2 ชิ้น (เครียดนอนไม่หลับกลัวน้ำตาลต่ำเลยซัดของหวานไป)
08.00- เจาะน้ำตาลก่อนอาหาร ได้ 77
08.00- ดีน่างาดำกล่องใหญ่ โฮลวีทครึ่งชิ้น
12.00- แครกเกอร์โฮลวีท 2 ชิ้น
13.30- ขนมจีบกุ้ง 2 ซาลาเปาลาวา 1 ซาลาเปาหมูแดง 1 ข้าวผัดฮ่องกงครึ่งจาน คุกกี้หวานๆ ครึ่งชิ้น
14.30- เจาะน้ำตาลได้ 212.4
17.00- แอปเปิ้ลเล็ก
19.00- ข้าวกล้อง ปลาทู ผัดหน่อไม้ มัสมั่นนิดหน่อย
20.15- เจาะน้ำตาล 120
20.30- แอปเปิ้ลเล็ก มะม่วงหินมะพานต์
22.00- ขนมปังโฮลวีท 1 ชิ้น นมครึ่งแก้ว
พอกินแป้งกับของหวานๆ น้ำตาลพุ่งปรี๊ดเลย อุตสาห์ดีใจว่าน้ำตาลอาจจะลดแล้ว สรุปก็คุมต่อจ้า ช่วง 10 วันหลังจากนี้ก็เคร่งเหมือนเดิมแล้วก็เจาะเลือดตรวจบ้างในบางมื้อที่คิดว่า อาจจะเกิน ไม่เจาะทุกมื้อเพราะมันเปลือง 55 เท่าที่เจาะดูก็ไม่เคยเกิน ได้ค่าประมาณ 90-120 ตลอด
พอเจอหมอในวีคที่ 33 หมอก็ตกใจว่าทำไมน้ำตาลเราสูงได้ ก็เลยสั่งตรวจแบบจำเพาะ และนัดอ่านผลอีก 1 เดือนตามเคย คือหมอก็ยังคิดว่าไม่เป็นเบาหวานหรอกน่า แต่เราก็ไม่วางใจหรอก เพราะจากที่ดูน้ำตาลของตัวเองเวลากินแป้งแล้วมันพุ่งปรี๊ดๆ เลย คราวนี้ก็เลยถามหมอว่าเกณฑ์ที่ควรยึดตอนเจาะเลือดคือยังไง
หมอเราบอกให้เจาะหลังอาหาร 2 ชั่วโมงอย่างเคย และให้น้ำตาลไม่เกิน 140 นั่นแหละถูกแล้ว โอเคแปลว่าที่ทำมาโอเคแล้วล่ะ
ประสบการณ์เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
ภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์คืออะไร
สรุป สั้นๆ แบบได้ใจความว่า ตอนท้องฮอร์โมนจากรกจะทำให้อินซูลินผลิตได้ไม่เพียงพอดูดซึมน้ำตาลได้น้อย น้ำตาลจึงเข้าไปในกระแสเลือดได้เยอะ ทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง
แล้วมันส่งผลอะไรให้ลูกในท้อง?
ภาวะนี้มักจะเกิดในช่วงหลัง 4 เดือนขึ้นไป คือรกทำงานเต็มที่ และอวัยวะเด็กครบแล้ว เลยไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเรื่องเด็กจะพิการ เพียงแต่ทารกที่แม่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเด็กปกติ คือ 3.8-4 กิโลกรัมขึ้นไป ทำให้คลอดยากและมีโอกาสคลอดติดไหล่ทำให้เด็กเสียชีวิตขณะคลอดได้ และนอกจากนั้นทารกแรกคลอดออกมาอาจจะมีภาวะน้ำตาลต่ำ ต้องรีบให้กินนมอย่างรวดเร็ว อาจจะงงๆ ว่าทำไมแม่น้ำตาลสูงแต่ลูกออกมาน้ำตาลต่ำ ข้อนี้ถามหมอมา เค้าบอกว่าเหมือนตอนอยู่ในท้องที่แม่น้ำตาลสูง ลูกก็จะได้น้ำตาลเยอะๆๆๆ ตลอด เหมือนกินดีอยู่ดีมาก แต่พอคลอดออกมาตัดสายรกปุ๊บก็เลยขาดน้ำตาลทันที ประมาณนั้นค่ะ
ดังนั้น อันตรายจากการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็จะลดน้อยลงหรือแทบไม่เป็นอะไร ถ้าเราสามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติได้ โดยการควบคุมอาหารเป็นหลัก แต่ถ้าคุมสุดๆ แล้วน้ำตาลก็ยังสูงอยู่ หมอจะให้ฉีดอินซูลินค่ะ
อ้อ อีกอย่างหนึ่งคือถ้าน้ำตาลสูง ไขมันสูง และความดันสูงด้วย จะมีโอกาสเป็นครรภ์เป็นพิษด้วยค่ะ ดังนั้นเวลาแม่เป็นเบาหวานหมอมักจะให้คุมทั้งแป้งและของมันไปด้วยเลย
ใครที่มีเกณฑ์เสี่ยงเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
-คลอดทารกที่มีน้ำหนักมาก ตั้งแต่ 4,000 กรัม ขึ้นไปในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้านี้
-ทารกในครรภ์ก่อนเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
-ทารกครรภ์ก่อนเสียชีวิตแรกคลอด
-คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนมาก
-ตรวจพบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะติดต่อกัน 2 ครั้งในระหว่างมาตรวจครรภ์
-คุณแม่มีประวัติว่าญาติร่วมสายเลือดในครอบครัวเป็นเบาหวาน หรือคุณแม่มีอายุมากตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป
-แท้งโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป
การตรวจคัดกรองเบาหวาน ถ้าเรามีกรรมพันธุ์พ่อแม่พี่น้องสายตรงเป็นเบาหวาน หมอมักจะตรวจเช็คเบาหวานตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ค่ะ แต่ถ้าดูแล้วไม่มีเกณฑ์เสี่ยง อาจจะสั่งตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้ในช่วงตั้งครรภ์ 24-28 w ซึ่งหมอจะพิจารณาจากน้ำตาลและโปรตีนที่ปนมากับปัสสาวะ และอัตราการเพิ่มของน้ำหนักแม่
ตามตำราเค้าว่ากันมาอย่างนี้ คราวนี้เรามาดูสถานการณ์ของเรากันบ้าง
ขอเล่าคร่าวๆ ตามลำดับเหตุการณ์ก่อนนะคะ เดี๋ยวลงรายละเอียดทีหลัง
-เราท้องแรกค่ะ อายุ 30 ปี
-ประวัติครอบครัวมีทางญาติๆ ฝั่งแม่เป็นเบาหวานกันหลายคน แต่แม่เราไม่เป็นนะคะ
-น้ำหนักก่อนท้อง 50 กิโลกรัม
-ไม่เป็นเบาหวานมาก่อน ก่อนท้องน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 91
-ช่วง 4 เดือนแรกแพ้ท้องน้ำหนักขึ้นมาแค่ 2 กิโล
-มีตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ +1 ในช่วง 8w กับ 13w
-ช่วง 5-6 เดือน น้ำหนักขึ้นมาเดือนละ 4 กิโล
-ไม่มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ อัลตราซาวน์แล้วลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์และสมบูรณ์ดี
-29w เจาะตรวจเบาหวานกลืนกลูโคส 50 กรัม วัดค่าน้ำตาลได้ 157 เกณฑ์ปกติต้องไม่เกิน 140
-กลับมาคุมอาหารเองอย่างเคร่งครัดมากๆ อยู่ 20 วัน
-33w เจาะเลือดครั้งที่สองกลืนกลูโคส 75 กรัม เจาะ 3 เข็ม ได้ค่า 69/203/212 ปกติต้องไม่เกิน 95/180/155
-สรุปผลคือเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ต้องหาหมอเบาหวานควบคู่ไปด้วย
-35w หมอเบาหวานสั่งเจาะเลือดดูน้ำตาลสะสม ผลออกมาได้ค่า 5.6% คือเท่ากับค่าของคนปกติ (คนเป็นเบาหวานคือมากกว่า 6.5%)
-ไม่ต้องฉีดอินซูลิน ใช้คุมอาหารและเจาะเลือดหลังอาหารวันละ 4 ครั้ง
-หลังจากที่เริ่มคุมอาหารน้ำหนักลดไป 1 กิโลและแทบไม่ขึ้นอีกเลย
-39w+4 คลอดธรรมชาติ ลูกหนัก 3,100 มีภาวะน้ำตาลต่ำเล็กน้อย
เดี๋ยวต่อไปจะลงรายละเอียดลึกๆ ค่ะว่าคุมอะไรยังไงบ้าง
ความจริงเราก็ไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงอะไร เพราะอายุยังไม่ถึง 35 มีญาติเป็นเบาหวาน แต่พ่อแม่พี่น้องไม่มีใครเป็น น้ำตาลก่อนท้องก็ปกติ (พอดีมีตรวจร่างกายประจำปีก่อนท้องพอดีเป๊ะ) แม้ในช่วงท้องแรกๆ ตรวจเจอน้ำตาลในปัสสาวะ +1 แต่หมอไม่ว่าอะไร บอกว่าต้อง +2 ขึ้นไปถึงน่าเป็นห่วง ก็เลยไม่ได้เจาะตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ
แล้วช่วงท้องได้ 5-6 เดือน หายแพ้ท้องแล้วก็อยากกินของหวานมาก จำได้ว่ากินขนมปังทุกเช้า กินโค้กหรือน้ำหวานแทบทุกมื้อ กินไอติมหลังอาหาร กินป็อปคอร์นหวานๆ ประจำ กินเค้กบ้างตามอารมณ์ คืออยากของหวานหลังอาหารตลอด เลยกินทุกวันเลยก็ว่าได้
ช่วงนั้นน้ำหนักขึ้นมาเดือนละ 4 กิโล เท่ากับว่าน้ำหนักขึ้นมาทั้งหมด 10 กิโลแล้วใน 6 เดือน
แต่ หมอก็ยังไม่ว่าอะไรอีกอยู่ดี เพราะไม่มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ อัลตราซาวด์แล้วลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์และสมบูรณ์ดี แต่เรากลัวเองว่าจะเป็นเบาหวาน เลยขอหมอเจาะตรวจแทบทุกครั้งที่ไปฝากครรภ์
ในที่สุดหมอก็สั่งเจาะตรวจเบาหวานในวีคที่ 29
เจาะ เลือดครั้งแรก กินข้าวเช้าปกติ (วันนั้นกินกล้วยหอมไป 2 ลูก เพิ่งรู้ว่าน้ำตาลมันเยอะ เท่ากับข้าว 4 ทัพพี) ตรวจโดยกลืนกลูโคส 50 กรัมผสมน้ำ ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วค่อยเจาะเลือด วันนั้นวัดค่าน้ำตาลได้ 157 เกณฑ์ปกติต้องไม่เกิน 140
50 กรัม GCT (Glucose Challenge Test) เป็นการตรวจคัดกรองที่ทำการตรวจได้ โดยไม่ต้องงดอาหาร รับประทานน้ำตาล 50 กรัม หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จะได้รับการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล ค่าที่ได้ ถ้ามากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าผิดปกติ ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม โดย 100 กรัม OGTT ต่อ แต่ถ้าค่าที่ได้มากกว่า 185 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ให้การวินิจฉัยภาวะ GDM ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจเพิ่มเติม
ความจริงต้องรอ 1 เดือนถึงจะให้หมออ่านผลแต่เรากังวลเลยแอบโทรไปถามผลจากพยาบาลเอง รู้ผลก็เครียดเลย คิดหลายตลบว่าจะเลื่อนนัดหมอขึ้นมาดีมั้ยจะได้เจาะอีกครั้งให้มันรู้ๆ ไปเลย แต่สุดท้ายหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ก็เลยตัดสินใจว่าจะลองคุมอาหารเองก่อน เพราะคิดว่าไปตรวจอีกทีเลยถ้าไม่ทันได้เปลี่ยนพฤติกรรมก็ผลก็คงเหมือนเดิม
แอบคิดว่าค่าเราก็ไม่ได้สูงมากเท่าที่เห็นเค้าว่าตรวจครั้งแรกมักจะเกินกันได้ แล้วพอตรวจแบบจำเพาะมักจะผ่านกัน ยกเว้นค่าครั้งแรกเกิน 180 ตรวจครั้งที่สองก็มักจะไม่ผ่านอยู่ดี หรือค่าของเรามันอาจจะเกินเพราะเมื่อเช้านั้นกินกล้วยหอม 2 ลูกก็เป็นได้
ก็เลยตัดสินใจศึกษาเองว่าจะต้องกินอะไรยังไงบ้าง กลับมาคุมอาหารเองอย่างเคร่งครัดอยู่ 20 วันก่อนจะไปเจอหมอ
ที่ ว่าเคร่งครัดมากๆ ก็คือกินมื้อละน้อยๆ กินถี่ขึ้น กินแป้งน้อยมากค่ะ เค้าห้ามงดแป้งเพราะถ้าขาดแป้งเลยจะยิ่งมีผลกับน้ำตาลในเลือด เราเปลี่ยนเป็นกินข้าวกล้องมื้อละครึ่งทัพพี ก๋วยเตี๋ยวเลิกกินเลย พวกชุบแป้งทอดก็ไม่กิน น้ำก็กินน้ำเปล่าอย่างเดียว อาหารว่างกินขนมปังโฮลวีทครึ่งแผ่นไม่ทาอะไรเลย หรือแครกเกอร์โฮลวีท 2 แผ่น หรือนมครึ่งแก้ว ของหวานไม่กินเลย ผลไม้ก็กินแต่ฝรั่ง พุทราแอปเปิ้ล มะม่วงดิบบ้าง กล้วยบ้าง และพยายามว่าวันไหนกินข้าวแล้ววันนั้นจะไม่กินขนมปัง
แล้วก็จดทุกอย่างที่กิน ตามลำดับเวลา ตัวอย่างเช่น
Day1: 23 Sep 14
30 weeks 1 day
08.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น น้ำเต้าหูไม่หวาน
12.00- สเต็กปลาย่าง+ไก่ย่าง สลัดผัก พุทรา 3 ชิ้น
15.00- พุทรา 1 ชิ้น ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น
16.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น
18.00- สเต็กหมูพริกไทยดำ ไข่ดาว ร็อกเก็ตมะเขือเทศสดไม่ราดน้ำสลัด พุทรา 1 ชิ้น
24.00- ขนมปังโฮลวีท 1/4 ชิ้น
Day4: 26 Sep 14
30 weeks 4 days
08.30- นมครึ่งแก้ว มะม่วงหินมะพานต์ 3 เม็ด
12.00- ข้าวกล้อง แขนงหมูกรอบ พุทรา 1 ชิ้น
16.00- ขนมปังโฮลวีทครึ่งชิ้น มะม่วงหินมะพานต์ 10 เม็ด พุทรา 5 ชิ้น
18.30- ข้าวกล้อง ซุปไก่ใส่มะเขือเทศ หอมใหญ่ แขนงหมูกรอบ
ช่วง 10 วันหลังมีเครื่องเจาะเลือดตรวดน้ำตาลแล้วค่ะ เลยลองเจาะตรวจเป็นบางมื้อ
Day 10: 2 Oct 14
31 weeks 3 days
11.30- ดีน่างาดำกล่องเล็ก
12.30- ไก่ย่างเชสเตอร์ 2 ชิ้น ข้าวโพดปิ้ง 1 ฝัก
15.00- ฝรั่ง 3/4 ลูก
16.00- นมสด 1 แก้ว
19.00- ไข่ดาว ไส้กรอก ผัดบล็อคโคลี่ แครกเกอร์โฮลวีท 2 ชิ้น
21.00- ตรวจน้ำตาลได้ 82
มื้อเย็นวันนั้นเป็นครั้งแรกที่ลองเจาะ ผลออกมาคือน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงต่ำทีเดียวคือได้ 82 เอง
ตอน นั้นอ่านเอาจากในเน็ต เลยยึดเกณฑ์น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงคือไม่ควรเกิน 140 และเกณฑ์น้ำตาลก่อนอาหารไม่ควรเกิน 92 แต่นี่น้ำตาลหลังอาหารเราน้อยกว่าเกณฑ์ก่อนอาหารเสียอีก ก็เลยทำให้นอยด์ไปอีกว่าคุมเยอะเกินไปน้ำตาลต่ำมากจะเป็นอะไรมั้ย
วิธีทดสอบต่อไปคือวันต่อมาเราก็เลยจัดหนักกินแป้งเต็มๆ ดูซิว่าจะเป็นยังไง
Day 11: 3 Oct 14
31 weeks 4 days
04.00- คุกกี้สิงคโปร์ 2 ชิ้น (เครียดนอนไม่หลับกลัวน้ำตาลต่ำเลยซัดของหวานไป)
08.00- เจาะน้ำตาลก่อนอาหาร ได้ 77
08.00- ดีน่างาดำกล่องใหญ่ โฮลวีทครึ่งชิ้น
12.00- แครกเกอร์โฮลวีท 2 ชิ้น
13.30- ขนมจีบกุ้ง 2 ซาลาเปาลาวา 1 ซาลาเปาหมูแดง 1 ข้าวผัดฮ่องกงครึ่งจาน คุกกี้หวานๆ ครึ่งชิ้น
14.30- เจาะน้ำตาลได้ 212.4
17.00- แอปเปิ้ลเล็ก
19.00- ข้าวกล้อง ปลาทู ผัดหน่อไม้ มัสมั่นนิดหน่อย
20.15- เจาะน้ำตาล 120
20.30- แอปเปิ้ลเล็ก มะม่วงหินมะพานต์
22.00- ขนมปังโฮลวีท 1 ชิ้น นมครึ่งแก้ว
พอกินแป้งกับของหวานๆ น้ำตาลพุ่งปรี๊ดเลย อุตสาห์ดีใจว่าน้ำตาลอาจจะลดแล้ว สรุปก็คุมต่อจ้า ช่วง 10 วันหลังจากนี้ก็เคร่งเหมือนเดิมแล้วก็เจาะเลือดตรวจบ้างในบางมื้อที่คิดว่า อาจจะเกิน ไม่เจาะทุกมื้อเพราะมันเปลือง 55 เท่าที่เจาะดูก็ไม่เคยเกิน ได้ค่าประมาณ 90-120 ตลอด
พอเจอหมอในวีคที่ 33 หมอก็ตกใจว่าทำไมน้ำตาลเราสูงได้ ก็เลยสั่งตรวจแบบจำเพาะ และนัดอ่านผลอีก 1 เดือนตามเคย คือหมอก็ยังคิดว่าไม่เป็นเบาหวานหรอกน่า แต่เราก็ไม่วางใจหรอก เพราะจากที่ดูน้ำตาลของตัวเองเวลากินแป้งแล้วมันพุ่งปรี๊ดๆ เลย คราวนี้ก็เลยถามหมอว่าเกณฑ์ที่ควรยึดตอนเจาะเลือดคือยังไง
หมอเราบอกให้เจาะหลังอาหาร 2 ชั่วโมงอย่างเคย และให้น้ำตาลไม่เกิน 140 นั่นแหละถูกแล้ว โอเคแปลว่าที่ทำมาโอเคแล้วล่ะ