คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ขออนุญาตตอบนะครับ
พี่เป็นหมอธนาคารเลือดครับ
สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตหรือธนาคารเลือดนั้น เป็นสาขาแพทย์เฉพาะทางน้องใหม่ล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์สภา เมื่อปี 2559 ปัจจุบันมีแพทย์ประจำบ้านอยู่ในหลักสูตรจำนวน 2 คน โดยตอนนี้สถาบันที่เปิด training ได้ มีแค่ที่ รพ.รามาธิบดีครับ (จุฬาฯกำลังจะเปิดปีหน้า ถ้าหลักสูตรผ่านการรับรองจากแพทยสภา)
เรียนเกี่ยวกับอะไร?
สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตหรือธนาคารเลือด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Transfusion medicine หรือ Bloodbank เรียนเกี่ยวกับการรับบริจาคเลือดและการให้เลือดผู้ป่วยอย่างปลอดภัยครับ เรียกได้ว่าดูและทั้งกระบวนการตั้งแต่ผู้บริจาคเดินมาบริจาคเลือดจนเลือดที่บริจาคได้ถูกให้กับผู้ป่วยที่ต้องการใช้เลือด
โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น
ด้านการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ส่วนของผู้บริจาคโลหิต(donor) เราจะเรียนกันตั้งแต่
1.การคัดเลือดผู้บริจาค(Donor selection) ตรวจประเมินว่าผู้บริจาคคนไหนสามารถบริจาคเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดได้หรือไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการบริจาคเลือดและหลังบริจาคเลือด (Donor hemovigilance) การตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆเพื่อให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดทุกถุงปลอดภัย
2.กระบวนการผลิดเลือดและส่วนประกอบของเลือด(ฺBlood Production) เพราะเลือดจากผู้บริจาคหนึ่งคนสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากเลือดได้หลายชนิด เช่น เม็ดเลือดแดงเข้มข้น(Packed Red cell) เกล็ดเลือด(Platelet) พลาสมา(FFP) และอื่นๆอีกมากมาย
3.การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเลือดและส่วนประกอบของเลือด (Quality assurance)
4.การจัดเก็บและการขนส่งเลือดและส่วนประกอบของเลือด (ฺBlood cold chain)
ส่วนของผู้ป่วย(recipient)
1.การตรวจสอบความเข้ากันได้ของเลือดผู้บริจาคก่อนให้ผู้ป่วย(compatibility test) โดยเน้นศึกษาแอนติเจน ของหมู่โลหิตต่างๆ(Immunohematology)
2.การบริหารและจัดการธนาคารเลือดของโรงพยาบาล (Transfusion service)
3.การเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการให้เลือด (Hemovigilance) โดยจะเน้นการเฝ้าระวังปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการให้เลือด(Transfusion reaction)
4.การใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละโรค เน้น Clinical practice ซึ่งจะดูการใช้เลือดในผู้ป่วยทุกกลุ่ม ทั้งผู้ป่วยโรคเลือดและผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยอายุรกรรม ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูตินรีเวช ผู้ป่วยศัลยกรรมและอุบัติเหตุ(เน้นเรื่อง Massive Transfusion) รวมถึงการให้เลือดในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไขกระดูกและอวัยวะ
5.การบริหารจัดการการใช้เลือดในผู้ป่วยให้เหมาะสม(Patient Blood Management)
ด้านห้องปฏิบัติการ(lab practice)
นอกจากการให้เลือดแล้วยังต้องศึกษาเรื่อง Lab ต่างๆในสาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต Lab ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก รวมถึง lab อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Chemistry, Hematology, Immunology, Microbiology เป็นต้น
การดูแลผู้บริจาคและการรักษาผู้ป่วยด้วยหัตถการทางเวชศาสตร์บริการโลหิต
การดูแลการบริจาคเลือดชนิดการบริจาคเฉพาะส่วน (Donor Apheresis) การดูแลผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองหรือพลาสมา(Therapeutic Plasma Exchange) การกำจัดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยเครื่องแยกเลือดเฉพาะส่วน(Leukapharesis)ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดขาว การเจาะเลือดเพื่อการรักษา(Blood letting) การจัดเก็บเซลล์โลหิตต้นกำเนิดหรือ stem cell (stem cell collection) เป็นต้น
ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก (Transplant Immunology)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อน ระหว่างและหลังปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก รวมถึง Clinical practice ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางสาขาที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก
ด้านการจัดการ ศูนย์บริจาคโลหิต ธนาคารเลือดโรงพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนดและนโยบายของทางเวชศาสตร์บริการโลหิต (Management and policy)
โดยการเรียนจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ แพทย์ประจำบ้าน (resident) ใช้ระยะเวลาการเรียน 3 ปี และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellow) ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี
โครงสร้างหลักสูตรจะมีดังตารางครับ (อ้างอิงจากหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์บริการโลหิตของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย)
รายละเอียดหลักสูตร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.rcthaipathologist.org/album/document/8d3f370cec0255434a74a2ac9e4b4bd1.pdf
เท่าที่ผมทราบมีประมาณนี้ครับ หากมีข้อมูลส่วนใดที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนต้องขออภัยอาจารย์ผู้เชียวชาญทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ
มาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตด้วยกันนะครับ
พี่เป็นหมอธนาคารเลือดครับ
สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตหรือธนาคารเลือดนั้น เป็นสาขาแพทย์เฉพาะทางน้องใหม่ล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์สภา เมื่อปี 2559 ปัจจุบันมีแพทย์ประจำบ้านอยู่ในหลักสูตรจำนวน 2 คน โดยตอนนี้สถาบันที่เปิด training ได้ มีแค่ที่ รพ.รามาธิบดีครับ (จุฬาฯกำลังจะเปิดปีหน้า ถ้าหลักสูตรผ่านการรับรองจากแพทยสภา)
เรียนเกี่ยวกับอะไร?
สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตหรือธนาคารเลือด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Transfusion medicine หรือ Bloodbank เรียนเกี่ยวกับการรับบริจาคเลือดและการให้เลือดผู้ป่วยอย่างปลอดภัยครับ เรียกได้ว่าดูและทั้งกระบวนการตั้งแต่ผู้บริจาคเดินมาบริจาคเลือดจนเลือดที่บริจาคได้ถูกให้กับผู้ป่วยที่ต้องการใช้เลือด
โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็น
ด้านการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
ส่วนของผู้บริจาคโลหิต(donor) เราจะเรียนกันตั้งแต่
1.การคัดเลือดผู้บริจาค(Donor selection) ตรวจประเมินว่าผู้บริจาคคนไหนสามารถบริจาคเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดได้หรือไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการบริจาคเลือดและหลังบริจาคเลือด (Donor hemovigilance) การตรวจทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆเพื่อให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดทุกถุงปลอดภัย
2.กระบวนการผลิดเลือดและส่วนประกอบของเลือด(ฺBlood Production) เพราะเลือดจากผู้บริจาคหนึ่งคนสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จากเลือดได้หลายชนิด เช่น เม็ดเลือดแดงเข้มข้น(Packed Red cell) เกล็ดเลือด(Platelet) พลาสมา(FFP) และอื่นๆอีกมากมาย
3.การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเลือดและส่วนประกอบของเลือด (Quality assurance)
4.การจัดเก็บและการขนส่งเลือดและส่วนประกอบของเลือด (ฺBlood cold chain)
ส่วนของผู้ป่วย(recipient)
1.การตรวจสอบความเข้ากันได้ของเลือดผู้บริจาคก่อนให้ผู้ป่วย(compatibility test) โดยเน้นศึกษาแอนติเจน ของหมู่โลหิตต่างๆ(Immunohematology)
2.การบริหารและจัดการธนาคารเลือดของโรงพยาบาล (Transfusion service)
3.การเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการให้เลือด (Hemovigilance) โดยจะเน้นการเฝ้าระวังปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการให้เลือด(Transfusion reaction)
4.การใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละโรค เน้น Clinical practice ซึ่งจะดูการใช้เลือดในผู้ป่วยทุกกลุ่ม ทั้งผู้ป่วยโรคเลือดและผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยอายุรกรรม ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยสูตินรีเวช ผู้ป่วยศัลยกรรมและอุบัติเหตุ(เน้นเรื่อง Massive Transfusion) รวมถึงการให้เลือดในผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไขกระดูกและอวัยวะ
5.การบริหารจัดการการใช้เลือดในผู้ป่วยให้เหมาะสม(Patient Blood Management)
ด้านห้องปฏิบัติการ(lab practice)
นอกจากการให้เลือดแล้วยังต้องศึกษาเรื่อง Lab ต่างๆในสาขาเวชศาสตร์บริการโลหิต Lab ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก รวมถึง lab อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Chemistry, Hematology, Immunology, Microbiology เป็นต้น
การดูแลผู้บริจาคและการรักษาผู้ป่วยด้วยหัตถการทางเวชศาสตร์บริการโลหิต
การดูแลการบริจาคเลือดชนิดการบริจาคเฉพาะส่วน (Donor Apheresis) การดูแลผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลืองหรือพลาสมา(Therapeutic Plasma Exchange) การกำจัดจำนวนเม็ดเลือดขาวด้วยเครื่องแยกเลือดเฉพาะส่วน(Leukapharesis)ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดขาว การเจาะเลือดเพื่อการรักษา(Blood letting) การจัดเก็บเซลล์โลหิตต้นกำเนิดหรือ stem cell (stem cell collection) เป็นต้น
ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก (Transplant Immunology)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการก่อน ระหว่างและหลังปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก รวมถึง Clinical practice ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางสาขาที่เกี่ยวข้องกับการปลูกถ่ายอวัยวะและไขกระดูก
ด้านการจัดการ ศูนย์บริจาคโลหิต ธนาคารเลือดโรงพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนดและนโยบายของทางเวชศาสตร์บริการโลหิต (Management and policy)
โดยการเรียนจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ แพทย์ประจำบ้าน (resident) ใช้ระยะเวลาการเรียน 3 ปี และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellow) ใช้ระยะเวลาเรียน 2 ปี
โครงสร้างหลักสูตรจะมีดังตารางครับ (อ้างอิงจากหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์บริการโลหิตของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย)
รายละเอียดหลักสูตร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย
http://www.rcthaipathologist.org/album/document/8d3f370cec0255434a74a2ac9e4b4bd1.pdf
เท่าที่ผมทราบมีประมาณนี้ครับ หากมีข้อมูลส่วนใดที่ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนต้องขออภัยอาจารย์ผู้เชียวชาญทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ
มาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวแพทย์เวชศาสตร์บริการโลหิตด้วยกันนะครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบข้อมูลของแพทย์สาขาใหม่ เวชศาสตร์บริการโลหิต/transfusion medicine
อยากทราบลักษณะงานและแนวโน้นการทำงานในปัจจุบันค่ะ