คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 78
ราคาผลผลิตทางการเกษตร มันก็มีขึ้นมีลงแบบนี้แหล่ะ เป็นเรื่องปกติมานานแล้ว
อย่างสับปะรดนี่ เห็นได้ชัดเลย จาก 10 บาท พอปลูกกันมากขึ้นจนล้นตลาด
ราคาก็ลดลงมาถึง ก.ก.ละ บาทกว่าๆ พอเห็นว่าขาดทุน เดี๋ยวเกษตรกรก็จะลดพื้นที่ปลูก
เดี๋ยวราคาก็จะสูงขึ้นมาเอง ตามกลไกตลาด
ข้าวก็เหมือนกัน นโยบายจำนำข้าวสมัยยิ่งลักษณ์ทำให้เกิดดีมานด์เทียม ชาวนาก็เร่งปลูก ขยายพื้นที่ปลูก
ตอนนั้นแถวบ้านยายเรา บางคนไม่เคยทำนาปรัง เค้ายังหันมาทำนาปรังกันเลย เพราะได้เงินเยอะกว่า
จนโครงการนี้ล่มไป เค้าก็หันกลับมาทำนาปีเหมือนเดิม ตอนนั้นชาวนาที่รวยๆ ยิ่งขยายพื้นที่ปลูกเยอะ เพราะเค้ามีทุนพร้อม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สองสามปีก่อน เห็นราคาตกมากมาย มีแต่คนด่า cp หาว่าเค้ากดราคาข้าวโพด
แต่ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านแห่ปลูกข้าวโพด บุกรุกถางภูเขาจนหัวโล้นกันเป็นแถบๆ ราคาตกก็หยุดปลูกกัน
ตอนนี้ราคาดีขึ้นมาอีก ก็ควรจะเข้มงวดเรื่องนี้ให้มาก ไร่ข้าวโพดนี่ตัวดีเลย แทรกซึมไปตามป่าตามเขาได้ง่ายมาก
ส่วนผลไม้ ราคามีขึ้นๆลงๆเป็นปกติ บางปีทุเรียนเหลือกิโลละ 15-20 บาท แต่ลองกองราคาไม่เคยหลุด 25 บาท
สินค้าตัวนึงราคาถูก แต่อีกตัวราคาแพง ชาวสวนเค้าก็ปลูกหลายๆอย่าง เพื่อกระจายความเสี่ยง
สวนยางพารา ส่วนมากเค้าไม่ปลูกหวังรวยกันหรอก เค้าเลือกปลูกยางพารา เพราะขี้เกียจหาลูกจ้างมาอยู่ประจำมากกว่า
ปาล์มน้ำมันก็เหมือนกัน ปลูกเพราะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแรงงาน แล้วก็เป็นรายได้ระหว่างปี เพื่อรอฤดูผลไม้
เราชอบวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ของรัฐบาลนี้นะ เพราะเค้าเข้าใจปัญหาจริง ไม่บิดเบือนกลไกตลาด เน้นการหาตลาดใหม่ๆ
สมัยปูเดินทางไปทั่วโลก ยังหาตลาดใหม่ๆได้ไม่เท่าลุงตู่เลย ไม่รู้บินไปทำไม เจรจาอะไรได้บ้าง
ความเป็นรัฐบาล ปชต ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์เลยเหรอ
รัฐบาลนี้ ที่เราสงสัย และติดตาม คือการแก้ปัญหาเรื่องราคามะพร้าว ราคามะพร้าวในประเทศตกต่ำขนาดนี้ แต่ทำไมยังนำเข้าอยู่?
อย่างสับปะรดนี่ เห็นได้ชัดเลย จาก 10 บาท พอปลูกกันมากขึ้นจนล้นตลาด
ราคาก็ลดลงมาถึง ก.ก.ละ บาทกว่าๆ พอเห็นว่าขาดทุน เดี๋ยวเกษตรกรก็จะลดพื้นที่ปลูก
เดี๋ยวราคาก็จะสูงขึ้นมาเอง ตามกลไกตลาด
ข้าวก็เหมือนกัน นโยบายจำนำข้าวสมัยยิ่งลักษณ์ทำให้เกิดดีมานด์เทียม ชาวนาก็เร่งปลูก ขยายพื้นที่ปลูก
ตอนนั้นแถวบ้านยายเรา บางคนไม่เคยทำนาปรัง เค้ายังหันมาทำนาปรังกันเลย เพราะได้เงินเยอะกว่า
จนโครงการนี้ล่มไป เค้าก็หันกลับมาทำนาปีเหมือนเดิม ตอนนั้นชาวนาที่รวยๆ ยิ่งขยายพื้นที่ปลูกเยอะ เพราะเค้ามีทุนพร้อม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สองสามปีก่อน เห็นราคาตกมากมาย มีแต่คนด่า cp หาว่าเค้ากดราคาข้าวโพด
แต่ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านแห่ปลูกข้าวโพด บุกรุกถางภูเขาจนหัวโล้นกันเป็นแถบๆ ราคาตกก็หยุดปลูกกัน
ตอนนี้ราคาดีขึ้นมาอีก ก็ควรจะเข้มงวดเรื่องนี้ให้มาก ไร่ข้าวโพดนี่ตัวดีเลย แทรกซึมไปตามป่าตามเขาได้ง่ายมาก
ส่วนผลไม้ ราคามีขึ้นๆลงๆเป็นปกติ บางปีทุเรียนเหลือกิโลละ 15-20 บาท แต่ลองกองราคาไม่เคยหลุด 25 บาท
สินค้าตัวนึงราคาถูก แต่อีกตัวราคาแพง ชาวสวนเค้าก็ปลูกหลายๆอย่าง เพื่อกระจายความเสี่ยง
สวนยางพารา ส่วนมากเค้าไม่ปลูกหวังรวยกันหรอก เค้าเลือกปลูกยางพารา เพราะขี้เกียจหาลูกจ้างมาอยู่ประจำมากกว่า
ปาล์มน้ำมันก็เหมือนกัน ปลูกเพราะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแรงงาน แล้วก็เป็นรายได้ระหว่างปี เพื่อรอฤดูผลไม้
เราชอบวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ของรัฐบาลนี้นะ เพราะเค้าเข้าใจปัญหาจริง ไม่บิดเบือนกลไกตลาด เน้นการหาตลาดใหม่ๆ
สมัยปูเดินทางไปทั่วโลก ยังหาตลาดใหม่ๆได้ไม่เท่าลุงตู่เลย ไม่รู้บินไปทำไม เจรจาอะไรได้บ้าง
ความเป็นรัฐบาล ปชต ไม่ได้ใช้ให้เป็นประโยชน์เลยเหรอ
รัฐบาลนี้ ที่เราสงสัย และติดตาม คือการแก้ปัญหาเรื่องราคามะพร้าว ราคามะพร้าวในประเทศตกต่ำขนาดนี้ แต่ทำไมยังนำเข้าอยู่?
แสดงความคิดเห็น
🍃🌿~มาลาริน~สินค้าเกษตรยุคไหนราคาดีเหมือนยุคลุงตู่บ้างคะ...สินค้าเกษตรยุคปูตกอับโงหัวไม่ขึ้น
สินค้าเกษตรยุคปูตกอับโงหัวไม่ขึ้น
นี่ไม่ใช่ข้อมูลจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาแถลงรายวัน ด้วยการเปรียบเทียบศักยภาพการทำงานรัฐบาลยุค อภิสิทธิ์กับรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ นี่ไม่ใช่ข้อมูลจากเหล่านักจ้อทางการเมืองพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่สรรหาข้อมูลซึ่งไม่รู้ว่าจะจริงจะเท็จประการใดเพื่อหวังหักล้างฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมือง
แต่นี่คือข้อมูลหน่ว่ยงานภาครัฐ ที่นำเสนอให้รัฐบาลในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ให้รับรู้ถึงสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรที่กำลังเกิดการผันผวนอย่างรุนแรง โดยมีเหตุผลประกอบที่ควรพิจารณาอย่างยิ่ง ข้อมูลดังกล่าวมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำเสนอ ครม.เป็นวาระทราบจรเพื่อเป็นข้อมูลเรื่องที่ 4....
ข้อย้ำ! จึงเป็นข้อมูลไม่มีการเมือง ไม่มีฝ่ายใดเสกสรรปั้นตัวเลข แต่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ จากกระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ทำรายงานสินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา “ซึ่งถ้าเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ซึ่งถ้าเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา นั่นก็คือ เป็นเดือนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์บริหารประเทศ “ กระทรวงเกษตรฯ รายงาน ดังนี้
มันสำปะหลัง ราคาลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการรับซื้อมันสำปะหลังสดในราคาที่ต่ำเพราะกังวลเรื่องการแข่งขันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังกับภาครัฐประกอบกับประเทศจีนชะลอการนำเข้ามันเส้นจากไทย กรณีมันสำปะหลังยังมีการรายงานด้วยว่า หากเทียบกับราคาเดือนมกราคม ก็มีราคาลดลง สาเหตุเพิ่มเติม เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ประกอบกับโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังยังเปิดจุดรับจำนำได้น้อย ทำให้เกษตรกรต้องขายผลผลิตนอกโครงการรับจำนำซึ่งมีราคาต่ำ
ยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผูรับซื้อยางรายใหญ่ของโลกชะลอการรับซื้อยางพาราและใช้ยางในสต๊อกเพราะยอดจำหน่ายและผลิตรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2555 ลดลง สัปปะรดโรงงาน ราคาลดลงเนื่องจากโรงงานแปรรูปปรับลดกำลังการผลิตจากการที่ตลาดหลักในยุโรปมีปัญหาทางเศรษฐกิจ
หอมหัวใหญ่ ราคาลดลงเนื่องจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักมีคำสั่งซื้อเข้ามาน้อย ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มบริโภค ซึ่งมีผลให้ราคาผลปาล์มดิบของเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์สูงในขณะที่ปีนี้ราคาอยู่ในภาวะปกติ
สุกร ราคาลดลงเนื่องจากมีปริมาณสุกรเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณไก่เนื้อที่ผลิตได้มีผลผลิตเป็นจำนวนมากจากการที่ไก่เนื้อมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ไข่ไก่ ราคาลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ราคาสินค้าเกษตรลดลง ทั้งจากสาเหตุตลาดโลกมีปัญหา ชะลอนำเข้า คำสั่งซื้อน้อย ขณะที่สภาพภายในประเทศไม่มีการบริหารจัดการดีพอ ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพรัฐบาลโดยแท้จะแก้ปัญหาอย่างไร
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/politic/report/143054
1 ปี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ “สอบตก” แก้ปัญหาที่ดิน-โครงสร้างภาคเกษตร
ผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรเครดิตเกษตรกร การแทรกแซงราคายางพารา โครงการรับจำนำมันสำปะหลัง และโครงการรับจำนำข้าว กำลังตกเป็นข่าวและถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับคนเพียงบางกลุ่ม ในขณะที่เกษตรกรอาจจะได้รับผลประโยชน์ในระยะสั้น ซึ่งไม่สามารถยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรได้จริงสมกับเม็ดเงินที่รัฐบาลกำลังทุ่มลงไป ขณะที่ข้อเสนอของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยให้รัฐบาลปฏิรูปโครงสร้างที่ดินและโครงสร้างภาคเกษตร ด้วยแนวทางโฉนดชุมชน การใช้กลไกภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า และการแก้ไขปัญหาเกษตรกรไร้ที่ดินด้วยแนวทางธนาคารที่ดิน กลับไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด
“สะท้อนให้เห็นว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายสร้างความนิยม ซึ่งให้ผลตอบแทนกับเกษตรกรเพียงในระยะสั้น แต่ละเลยการปฏิรูปโครงสร้างภาคเกษตร การลดความเหลื่อมล้ำด้านที่ดิน และการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรอย่างยั่งยืน” นางอำนวย กล่าว
เกษตรกรชี้ “รับจำนำข้าว-พักชำระหนี้-บัตรเครดิตเกษตรกร” ไม่ตรงเป้าการแก้ปัญหา
นางกิมอัง พงษ์นารายณ์ ผู้ประสานงานสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับทำให้ปัญหาหนี้สินหนักขึ้น ชาวนาถูกยึดทรัพย์ขาดทอดตลาด ทุกวันนี้ปัญหาการสูญเสียที่ทำกินลุกลามมาถึงที่อยู่อาศัย ทำให้อาชีพเกษตรกรไม่ใช่อาชีพที่เป็นทางเลือกของลูกหลานอีกต่อไป
สำหรับนโยบายรับจำนำข้าว จากราคาประเมิน 15,000 บาท ปัจจุบันเกษตรกรได้รับ 13,000 บาท แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องเวลาที่จะได้รับเงิน และรายจ่ายที่สูงขึ้น ของแพง แม้ชาวนาจะรู้สึกดีที่ได้เงินก้อนใหญ่แต่สุดท้ายต้องถูกใช้จ่ายไปกับหนี้สินและต้นทุนการผลิตอื่นๆ อื่นสูงขึ้นตามมา จึงเท่ากับว่าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ในส่วนการพักชำระหนี้ก็ให้เฉพาะกับลูกหนี้ชั้นดี ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรที่กำลังจะถูกยึดที่ดิน และกรณีบัตรเครดิตเกษตรกรนั้นเมื่อรูดเงินมาแล้วหากผลผลิตไม่ได้ตามเป้า ก็เท่ากับเกษตรกรต้องเป็นหนี้ก้อนใหญ่ขึ้นเท่านั้น
“เอาเงินก้อนใหญ่ใส่ในมือชาวนา ทำให้ต้องเลือกเพื่อจะได้เงิน แต่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด” นางกิมอังกล่าวถึงวิธการแก้ปัญหาของเกษตรกรที่รัฐบาลชุดปัจจุบันทำอยู่
นางกิมอัง กล่าวด้วยว่า กฎหมายกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นกฎหมายที่เขียนไว้ดี แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล เกษตรกรต้องรวมตัวกันชุมนุมถึง 4 รอบ กว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการ แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการแล้วกลับไม่มีการประชุมเดินหน้าทำงานเพื่อแก้ปัญหา จนทำให้เกษตรกรต้องรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อกระตุ้นเตือน จึงจะได้เริ่มนัดประชุม
“รัฐบาลควรแก้ปัญหาที่ปัจจัยการผลิตก่อน อย่าเอาหนี้มาเพิ่มให้กับเราเรื่อยๆ” นางกิมอังกล่าว โดยให้ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาว่า ควรมีการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรเพื่อทำการเกษตร และทำให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตแล้วอยู่ได้อย่างยั่งยืน
https://prachatai.com/journal/2012/08/42316
อวยเกินไปไหมคะ....
มาดูนี่ดีกว่าค่ะ......
รัฐบาลประยุทธ์ปลื้มราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเกษตรกรมีกำลังซื้อ
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ราคาสินค้าเกษตรหลักหลายชนิดปรับตัวเพิ่มขึ้น ช่วยให้เกษตรกรมีกำลังซื้อมากขึ้น
โดยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ18,700 บาท เพิ่มจากเดิมตันละ 12,000 - 14,000 บาท เป็นราคาที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ส่วนข้าวเปลือกเจ้าเฉลี่ยตันละ 8,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรพึงพอใจ
นอกจากนี้ มันสำปะหลังราคากิโลกรัม (กก.) ละ 3.20 บาทสูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นเดียวกัน
ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคา กก.ละ 9.5 - 9.7 บาท ราคาหน้าโรงงานสูงกว่ากก.ละ 10 บาท
และราคาปาล์มดิบขณะนี้เพิ่มขึ้นเป็น กก.ละ 4.20 บาทแล้ว
"สาเหตุที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะการระบายข้าวที่ตกค้างนานปีจนหมดสต๊อก และยังชนะการประมูลขายข้าวให้กับต่างประเทศ รวมถึงการวางแผนคาดการณ์แนวโน้มตลาด เพิ่มช่องทางการตลาด และส่งออกไปตลาดใหม่ๆ จึงช่วยให้สินค้ามีราคาดีขึ้น"
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/economy/555548
ของจริงไม่ต้องอวยค่ะ.....