ข่าวCBC พูดเรื่องว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่เด็กจะแข็งแรงพอที่จะว่ายออกมาจากถ้ำ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ข่าวของ CBC วันนี้ เอาหมอมาพูดเรื่องว่า สภาพของเด็กเท่าที่ดูแล้ว แข็งแรงพอไม๊ที่จะว่ายออกมาจากถ้ำ.
ลองดูความคิดจากหลายๆทางเผื่อจะได้ความคิดใหม่ๆบ้าง.

1. หมอพูดว่า การใช้พลังงานจากคนที่อดอาหาร อย่างแรกเลยคือจะสลายพลังงานออกมาจากตับ ต่อมาก็เป็นไขมัน และสุดท้ายคือกล้ามเนื้อ แต่เนื่องจากเด็กพวกนี้เป็นนักกีฬาเพราะฉะนั้นไขมันก็ไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ร่างกายจึงสลายกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานในการใช้ชีวิตอยู่ในช่วง 10 วันที่ผ่านมานี้ (แขนขาก็เลยผอมลีบ)
2. เมื่อผู้ช่วยเหลือไปเจอ ก็นำอาหารพลังงานสูงไปให้ แต่กล้ามเนื้อนั้นจะต้องใช้เวลากว่าจะสร้างขึ้นมาได้ใหม่ เพราะงั้นกล้ามเนื้อเด็กอาจจะไม่แข็งแรงทันเวลาที่จะใช้ว่ายน้ำได้ เนื่องจากมันไม่ใช่แค่ว่ายน้ำธรรมดา แต่บางช่วงจะมีกระแสน้ำไหลแรงอีกด้วย.
3. เด็กบางคนเมื่อเจอคนมาช่วย จะลุกขึ้นดีใจ ขยับตัวได้ แต่ก็มีเด็กบางคนไม่ขยับตัวเลย นั่งเฉยๆอยู่กับที่ และเด็กที่นั่งเฉยๆพวกนี้แหล่ะที่น่าเป็นห่วงว่าจะเป็นพวกที่ไม่มีแรงเหลือพอจะว่ายน้ำกลับมาได้.
4. หน่วยซีลใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าจะเข้าไปถึงตัวเด็ก ไปกลับ 12 ชั่วโมง แต่ถ้าต้องพาเด็กมาด้วย นั่นหมายความว่าจะต้องใช้เวลานานกว่านั้น การที่จะให้เด็กดำน้ำนานขนาดนั้น เรื่องแพนิค จะทำยังไงถ้าเด็กเกิดแพนิค (panic) ขึ้นมา
และเมื่อกล้ามเนื้อของเด็กมีน้อยมาก สร้างไม่ทันแต่ต้องพาเด็กออกมา มีสิทธิ์ว่าเด็กว่ายๆน้ำอยู่ จะเกิดเป็นตะคริวระหว่างว่ายน้ำได้ ซึ่งต้องมีการหยุดช่วยเหลือ หรือต้องหยุดว่าย ทำให้เวลาที่ใช้กลับมานั้นนานออกไปอีก.
5. หมอคนนี้ลองให้ไอเดียว่า เราอาจไม่ต้องลดน้ำในถ้ำจนแห้งหรอก. แค่พอลดระดับให้เด็กลอยชูชีพได้ เพื่อที่ว่าจะได้ลอยตัวเด็กคนที่ไม่มีแข็งแรงพอกลับมา

อาการแพนิค (panic) ก็เช่นพวกไปติดอยู่ในลิฟท์แล้วเหงื่อออกตัวเย็น จะเป็นลม.
หรือข่าวผู้โดยสารบางคนพยายามจะเปิดประตูเครื่องบินเพื่อหนีออกจากเครื่องบินทั้งๆที่เครื่องบินลำนั้นกำลังบินอยู่บนท้องฟ้านั่นแหล่ะ.
ทีนี้ที่เขากลัวคือ เพราะการดำน้ำออกจากถ้ำหลวง มันไม่มีผิวน้ำให้โผล่ขึ้นมาหายใจเลย. ถ้าหน้ากากหลุด เกิดตะคริวขึ้นมา มันก็ไม่รู้ว่าจะพาเด็กไปพักรอตรงไหนได้.

อีกข่าวหนึ่งเขาเอานักจิตวิทยามาพูด เขาก็แนะนำว่าน่าจะนำหลอดไฟไปติดไว้ในถ้ำ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมเทียมให้คล้ายกับมีกลางวัน-กลางคืน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่เครียด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่