ทำไม EEC ไม่มีไม่ได้ !! ตอน...โอกาสสำหรับ sme ไทยมาถึงแล้ว

ในอดีต ประเทศไทยเคยถูกขนานนามว่าเป็นเสือตัวที่ 5 ของเอเชีย แต่เนื่องจากเราพบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และจากนั้นเศรษฐกิจเราก็ลุ่มๆดอนๆมาโดยตลอด ทำให้ความหวังเรื่องการเป็นเสือแห่งเอเชียตัวที่ 5 แห่งเอเชียนั้นห่างไกลความจริงไปทุกที เรามาย้อนความทรงจำฟื้นไทม์ไลน์ของเศรษฐกิจไทยกันสักหน่อย
    


อมยิ้ม32เกิดวิกฤติการเงินในปี 1997 (2540) จากนั้นได้ทักษิณ ชินวัตรมาเป็นนายก ในด้านเศรษฐกิจได้รับการตอบรับที่ดีจากต่างชาติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์จากญี่ปุ่น และทำให้เศรษฐกิจรุดหน้าไปได้รวดเร็ว

อมยิ้ม32ในปี 2003 เศรษฐกิจไทยโตปีละ 7.2% เทียบกับเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียที่ 4.8% และฟิลิปปินส์ที่โต 5% และ GDP ต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 2,380 ดอลลาร์ มากกว่าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์รวมกัน

อมยิ้ม32ในระหว่างที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ความขัดแย้งทางการเมืองก็ก่อตัวขึ้น เศรษฐกิจชะงักงัน จนนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2006 และเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในปี 2016 กับรัฐบาลสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


อมยิ้ม32 รัฐบาลปัจจุบัน นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า GDP ของประเทศในอาเซียนทั้งหมดรวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยอินโดนีเซียอยู่อันดับที่ 1 ครองสัดส่วนไปได้ถึง 36.5% ส่วนไทยตามหลังมาที่ 15.9% ด้าน IMF คาดการณ์ว่าในปี 2022 ฟิลิปปินส์จะแซงไทยได้


          ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) จึงเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ที่รัฐบาลใช้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย 4.0” เพื่อนำพาประเทศสู่การเป็นประเทศรายได้สูง โดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนของนโยบายก่อนหน้า เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษใน 10 จังหวัดชายแดน และการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve industries)  

          รัฐบาลมุ่งหวังให้โครงการ EEC เป็นโครงการที่ดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก  ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของโครงการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่เกิดขึ้นในอดีต รวมถึงส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME ที่ในทุกวันนี้กำลังกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคตไม่แพ้

          ปัจจุบันกลุ่ม SME คิดเป็น 98% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ และยังสร้างงานให้กับคนมากกว่า 11 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 80% ของการจ้างงานทั้งหมด การเกิดขึ้นของ EEC จึงเป็นการยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจและสร้างโอกาสที่ดีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยไม่แพ้อุตสาหกรรมใหญ่ๆ



        นอกจากนี้ข้อมูลผลวิจัยจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีการสำรวจมาแล้วว่า  EEC จะสร้างประโยช์ให้กับกลุ่มกิจการ SME ทั้งหมด 3 ด้านด้วยกัน


ส่วนแรก ผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าปลายน้ำอยู่แล้วอย่างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อาหารเสริม สุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง อาหารออร์แกนิก อาหารเฉพาะโรค เครื่องดื่มเพื่อความงาม ซึ่งจากผลการวิจัย ชี้ว่าในกลุ่มนี้ควรเร่งวิจัยและพัฒนาสินค้าของตนให้มีมูลค่าเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น โดยใช้โอกาสที่มีการส่งเสริมในโครงการ EEC นี้ให้เป็นประโยชน์


ส่วนที่สอง เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจห่วงโซ่อุปทานในภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ สามารถต่อยอดไปสู่กิจการผลิตชิ้นส่วนป้อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ และการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ประกอบการ SME กลุ่มนี้ สามารถยกระดับกระบวนการผลิตผ่านความร่วมมือกับผู้ประกอบการปลายน้ำที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีอยู่แล้ว จึงเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีฐานการผลิตเดิมอยู่แล้ว


ส่วนที่สาม เป็นส่วนผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนของการผลิตหรือประกอบ ซึ่งต้องอาศัยห่วงโซ่ อุปทานหลายขั้นอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ใน Tier ล่างๆ อาจต้องปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับประเภทวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการ Casting, Forging, Welding เป็นต้น โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในกลุ่มระบบส่งกำลังช่วงล่าง และตัวถังรถยนต์ทั้งใน Tier 1,2 และ 3 ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขึ้นรูปโลหะอย่างเหล็กกล้า อาจต้องปรับเทคนิค การผลิตให้รองรับการใช้วัสดุขั้นสูง (Advanced Material) หรือวัสดุคอมโพสิตที่มีน้ำหนักเบาทดแทน


เหล่านี้คือเหตุว่า ทำไมอีอีซี ไม่มีไม่ได้ !!!
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่