ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้กล่าวเสวนาในงานการสัมมนา และประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี โครงการจัดทำแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560 – 2564 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
" โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นหนึ่งในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
โดยมีแผนปฏิบัติการพัฒนา 8 แผน ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3. การพัฒนาบุคลากร
4. การศึกษาการวิจัย และเทคโนโลยี
5. การพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว
6. การพัฒนาเมืองใหม่ และชุมชน
7. การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน
8. การเกษตร ชลประทาน และสิ่งแวดล้อม
สำหรับแผนพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ในปี 2560-2564 ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
• แนวทางการพัฒนาบุคลากร และการศึกษา
• แนวทางการพัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยี
แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. แผนงานระยะเร่งด่วน (ปี 2560 – 2561) เช่น การจัดทำหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผึกอบรมครู จัดทำมาตรฐานวิชาชีพและการรองรับมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวกับสมรรถณะที่พึงประสงค์ (Skill Set & Competencies) จัดให้มีห้องแล็ปกลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่ และโครงการนำร่องกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
2. แผนงานระยะปานกลาง (ปี 2562 - 2564) เช่น การเปิดหลักสูตรการอบรมระยะสั้นในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มาตรการจัดตั้งสถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์วิจัย โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และโครงการทุนการศึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นต้น
สำหรับเป้าหมายของโครงการ แบ่งเป็น 2 ระยะเช่นกัน ประกอบด้วย
•
ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1 ปี) สามารถผลิตครู หรือวิทยากรต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างน้อย 150 คน เยาวชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 40,000 คน และเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ใหม่อย่างน้อย 10,000 ราย
•
ระยะปานกลาง (ภายใน 2-5 ปีหรือปี 2562 - 2564) ภายใน 2 ปี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และศูนย์บริการอย่างน้อย 10 ศูนย์ ภายใน 5 ปี เยาวชนได้เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกว่า 8,000 คน มีแรงงานระดับปริญญาด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม มีการลงทุนกับบริษัทการบินชั้นนำเพื่อฝึกอบรมนักบินและบุคลากรด้านการบิน ตลอดจนมีช่างซ่อมเครื่องบินไม่น้อยกว่า 500 คนต่อปี และมีการผลิตบุคลากรระดับอาชีวะรองรับ EEC มากกว่า 40,000 คน"
ซึ่งหลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ในครั้งนี้ คณะทำงานจะจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการพัฒนาในหมวดอื่นๆ ต่อไป เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้สอดรับความต้องการของคนในพื้นที่ และเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ EEC ต่อไป
ที่มา :
สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จัดสัมมนาฟังความเห็นชาวแปดริ้วยกระดับบุคลากรและเทคโนโลยีเทียบชั้นสากล รองรับการพัฒนา EEC
EEC - พร้อมรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา
" โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นหนึ่งในกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
โดยมีแผนปฏิบัติการพัฒนา 8 แผน ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2. การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3. การพัฒนาบุคลากร
4. การศึกษาการวิจัย และเทคโนโลยี
5. การพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยว
6. การพัฒนาเมืองใหม่ และชุมชน
7. การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน
8. การเกษตร ชลประทาน และสิ่งแวดล้อม
สำหรับแผนพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ในปี 2560-2564 ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
• แนวทางการพัฒนาบุคลากร และการศึกษา
• แนวทางการพัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยี
แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1. แผนงานระยะเร่งด่วน (ปี 2560 – 2561) เช่น การจัดทำหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผึกอบรมครู จัดทำมาตรฐานวิชาชีพและการรองรับมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวกับสมรรถณะที่พึงประสงค์ (Skill Set & Competencies) จัดให้มีห้องแล็ปกลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับโรงเรียนในพื้นที่ และโครงการนำร่องกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
2. แผนงานระยะปานกลาง (ปี 2562 - 2564) เช่น การเปิดหลักสูตรการอบรมระยะสั้นในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มาตรการจัดตั้งสถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์วิจัย โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และโครงการทุนการศึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นต้น
สำหรับเป้าหมายของโครงการ แบ่งเป็น 2 ระยะเช่นกัน ประกอบด้วย
• ระยะเร่งด่วน (ภายใน 1 ปี) สามารถผลิตครู หรือวิทยากรต้นแบบในอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างน้อย 150 คน เยาวชนได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 40,000 คน และเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นองค์ความรู้ใหม่อย่างน้อย 10,000 ราย
• ระยะปานกลาง (ภายใน 2-5 ปีหรือปี 2562 - 2564) ภายใน 2 ปี จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และศูนย์บริการอย่างน้อย 10 ศูนย์ ภายใน 5 ปี เยาวชนได้เข้าค่ายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกว่า 8,000 คน มีแรงงานระดับปริญญาด้านหุ่นยนต์อุตสาหกรรม มีการลงทุนกับบริษัทการบินชั้นนำเพื่อฝึกอบรมนักบินและบุคลากรด้านการบิน ตลอดจนมีช่างซ่อมเครื่องบินไม่น้อยกว่า 500 คนต่อปี และมีการผลิตบุคลากรระดับอาชีวะรองรับ EEC มากกว่า 40,000 คน"
ซึ่งหลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี ในครั้งนี้ คณะทำงานจะจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนการพัฒนาในหมวดอื่นๆ ต่อไป เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้สอดรับความต้องการของคนในพื้นที่ และเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่ EEC ต่อไป
ที่มา : สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จัดสัมมนาฟังความเห็นชาวแปดริ้วยกระดับบุคลากรและเทคโนโลยีเทียบชั้นสากล รองรับการพัฒนา EEC