ล่วงเข้าสู่วันที่ 9 ของปฏิบัติการค้นหานักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอนทีม หมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 คน ซึ่งยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมีความคืบหน้าตามลำดับ
แม้จะยังไม่พบตัว แต่ล่าสุดเจ้าหน้าที่เปิดเผย 8 ขั้นตอนฉุกเฉิน หลังพบ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ซึ่งต้องทำทันทีใน 30 นาทีแรก ดังนี้
1. หน่วยเตรียมขนส่ง จะต้องนำผู้ประสบภัยให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง และประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนนำผู้ป่วยลำเลียงออกจากปากถ้ำ ก่อนขึ้นบันไดมาที่รถพยาบาล
2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น หากทีมพบเจอผู้ประสบภัยแล้วจะมีการประเมินอาการว่าอยู่ในระดับไหนถ้าหากอยู่ในระดับที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะนำออกมาบริเวณหน้าถ้ำ และขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากผู้ประสบภัยอยู่ในอาการวิกฤตทางทีมแพทย์จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในถ้ำเลย หากอาการดีขึ้น ถึงจะนำออกมาขึ้นรถพยาบาลทันที
3. หน่วยลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปยังโรงพยาบาลสนาม (ลักษณะเป็นห้องผ่าตัดแบบเร่งด่วน) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ปากทางเข้าถ้ำ
4. หน่วย Triage and Resuscitation หรือ หน่วยแพทย์ที่วิเคราะห์อาการตามความรุนแรง ความจริงถ้าจะมีการคัดแยกอาการของผู้ประสบภัยตามความรุนแรง และความเร่งด่วนของผู้ประสบภัย ให้ตัดสินใจเลือกวิธีการในการส่งต่อโดยคำนึงถึงความเร่งด่วน หากผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนอาจจะต้องรักษาที่โรงพยาบาลสนามก่อน
5. หน่วยขนส่งผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน หากทีมแพทย์วิเคราะห์อาการแล้ว พบว่าสามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายได้ ก็จะรีบลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปลานบินทันที
6. หน่วยดูแลผู้ป่วย ขณะส่งทางอากาศ ทางทีมแพทย์ Sky Doctor 2 ท่าน จะปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทหาร จะรับผิดชอบในการเป็นแพทย์ดูแลขณะขนส่งทางอากาศ
7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย จะมีทีมแพทย์ดูแลผู้ประสบภัยจากโรงพยาบาลสนามไปยังโรงพยาบาลเชียงราย
8. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์ เมื่อได้มีการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลสนามแล้ว จะมีการสื่อสารมายังทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลเชียงรายเพื่อเตรียมการรักษา
โดยขั้นตอนของการปฐมพยาบาล จะทำภายใน 30 นาที
>> ยอดมนุษย์! เผยประวัติ "หมอภาคย์" นายแพทย์นักรบผู้ผ่านหลักสูตรเดนตายครบทุกเหล่าทัพ
ขณะนี้ พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน หรือ หมอภาคย์ ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นแพทย์ที่สามารถดำน้ำได้ เดินทางถึงบริเวณถ้ำหลวง และลงไปทำแผนซ้อมการปฐมพยาบาล พร้อมกับวอร์มร่างกายแล้ว ซึ่ง หมอภาคย์ จะเป็นคนประสานงานการทำงานระหว่าง หน่วยซีล กับทางทีมแพทย์ เพื่อให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
Bhuva Chira
เครดิตข่าวสดออนไลน์
2 ก.ค. 61
เผย 8 ขั้นตอนช่วยเหลือฉุกเฉิน วินาทีพบ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง
แม้จะยังไม่พบตัว แต่ล่าสุดเจ้าหน้าที่เปิดเผย 8 ขั้นตอนฉุกเฉิน หลังพบ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง ซึ่งต้องทำทันทีใน 30 นาทีแรก ดังนี้
1. หน่วยเตรียมขนส่ง จะต้องนำผู้ประสบภัยให้อยู่บนบอร์ดลำเลียง และประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยเบื้องต้น ก่อนนำผู้ป่วยลำเลียงออกจากปากถ้ำ ก่อนขึ้นบันไดมาที่รถพยาบาล
2. หน่วยให้การรักษาเบื้องต้น หากทีมพบเจอผู้ประสบภัยแล้วจะมีการประเมินอาการว่าอยู่ในระดับไหนถ้าหากอยู่ในระดับที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ก็จะนำออกมาบริเวณหน้าถ้ำ และขึ้นรถพยาบาลทันที แต่หากผู้ประสบภัยอยู่ในอาการวิกฤตทางทีมแพทย์จะปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในถ้ำเลย หากอาการดีขึ้น ถึงจะนำออกมาขึ้นรถพยาบาลทันที
3. หน่วยลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปยังโรงพยาบาลสนาม (ลักษณะเป็นห้องผ่าตัดแบบเร่งด่วน) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้ปากทางเข้าถ้ำ
4. หน่วย Triage and Resuscitation หรือ หน่วยแพทย์ที่วิเคราะห์อาการตามความรุนแรง ความจริงถ้าจะมีการคัดแยกอาการของผู้ประสบภัยตามความรุนแรง และความเร่งด่วนของผู้ประสบภัย ให้ตัดสินใจเลือกวิธีการในการส่งต่อโดยคำนึงถึงความเร่งด่วน หากผู้ป่วยที่มีอาการเร่งด่วนอาจจะต้องรักษาที่โรงพยาบาลสนามก่อน
5. หน่วยขนส่งผู้ป่วยไปยังท่าอากาศยาน หากทีมแพทย์วิเคราะห์อาการแล้ว พบว่าสามารถไปรักษาที่โรงพยาบาลเชียงรายได้ ก็จะรีบลำเลียงผู้ป่วยขึ้นรถพยาบาลไปลานบินทันที
6. หน่วยดูแลผู้ป่วย ขณะส่งทางอากาศ ทางทีมแพทย์ Sky Doctor 2 ท่าน จะปฐมพยาบาลผู้ป่วยบนเฮลิคอปเตอร์ โดยทีมแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจและทหาร จะรับผิดชอบในการเป็นแพทย์ดูแลขณะขนส่งทางอากาศ
7. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่ลานบินเป้าหมาย จะมีทีมแพทย์ดูแลผู้ประสบภัยจากโรงพยาบาลสนามไปยังโรงพยาบาลเชียงราย
8. หน่วยดูแลผู้ประสบภัยที่โรงพยาบาลเชียงรายราชประชานุเคราะห์ เมื่อได้มีการประเมินผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลสนามแล้ว จะมีการสื่อสารมายังทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลเชียงรายเพื่อเตรียมการรักษา
โดยขั้นตอนของการปฐมพยาบาล จะทำภายใน 30 นาที
>> ยอดมนุษย์! เผยประวัติ "หมอภาคย์" นายแพทย์นักรบผู้ผ่านหลักสูตรเดนตายครบทุกเหล่าทัพ
ขณะนี้ พ.ท.นพ.ภาคย์ โลหารชุน หรือ หมอภาคย์ ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นแพทย์ที่สามารถดำน้ำได้ เดินทางถึงบริเวณถ้ำหลวง และลงไปทำแผนซ้อมการปฐมพยาบาล พร้อมกับวอร์มร่างกายแล้ว ซึ่ง หมอภาคย์ จะเป็นคนประสานงานการทำงานระหว่าง หน่วยซีล กับทางทีมแพทย์ เพื่อให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
Bhuva Chira
เครดิตข่าวสดออนไลน์
2 ก.ค. 61