ทำความรู้จัก เทคโนโลยี การสำรวจ ที่ใช้ในการค้นหา 13 ชีวิตในถ้ำหลวง

(ศัพท์ทางเทคนิคบางคำ ไม่ได้เปิดเชคกับพจจนานุกรม)

1)    InfraRed scan/เครื่องสแกนอินฟราเรด และ เครื่องสแกนพื้นผิว 3มิติด้วยเลเซอร์ (LiDAR)
       •    เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เครื่องวัดระยะโดย อินฟราเรด หรือ เลเซอร์ (ส่วนใหญ่ติดกับโดรนของหน่วยงานต่างๆ), สำรวจจากดาวเทียม (ในข่าวคือ อเมริกา) และ Leica ScanStation P20
       •    ความเข้าใจผิด ใช้ รังสีความร้อน ตรวจพื้นที่ภูมิประเทศ ทำให้คนเข้าใจผิดว่าจับรังสีความร้อนจากตัวคนแล้วจะเห็นเป็นคน
       •    หลักการ ใช้อินฟราเรด/เลเซอร์ ยิงวัดระยะต่างๆ
               โดยที่ Leica ScanStation P20 ใช้ย่านความถี่อินฟราเรดที่ 808nm หรือ visible light ที่ 658nm (ตามคอมเม้นต์คุณ TierraMan)
               สำหรับ เครื่องสแกนพื้นผิวด้วยเลเซอร์นั้น ไม่มีข้อมูลระบุถึงสเปค จึงไม่ทราบลักษณะหรือความยาวคลื่นครับ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
       •    การสำรวจในถ้ำ มีประโยชน์ที่ สามารถเห็นคนในความมืดได้ เพราะในถ้ำมืดและเย็น ตัวคนยังมีความร้อนออกมา แต่ไม่ได้ทะลุผ่านผนังหินหนาๆ
                 ตัวส่งสัญญานด้านล่างคือ ตัวระบุพิกัด (DGPS) ให้เครื่องมือ ส่วนเครื่องมือสแกนสามารถติดบนโดรน เครื่องบิน หรือ ติดกับดาวเทียม ก็ได้ Crรูป:https://www.yellowscan.fr

          ผลที่ได้เป็นลักษณะภูมิประเทศ รูปร่าง เป็นต้น (ในรูปเป็น LIDAR และผ่านการ Process ข้อมูลแล้ว)
                   Cr รูป:https://www.geoconnexion.com/news/bluesky-launches-online-lidar-map-of-britain

         สแกนถ้ำ กดลิงค์ครับ
         คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
2)    การสำรวจธรณีฟิสิกส์ด้วย ค่าความต้านทานไฟฟ้า
          •    เครื่องมือที่ใช้ เครื่องวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า Electrical Resistivity Image
          •    หลักการ หินแต่ละชนิดมีความนำ/ต้านทานไฟฟ้าต่างกัน จึงปล่อยกระแสไฟ เพื่อวัดค่าดังกล่าว
          •    เพื่อกำหนดตำแหน่งถ้ำที่แน่นอน  และคำนวนหาความหนาของชั้นหิน หรือ ตำแหน่งเพดานถ้ำ
        
          หลักการ (เป็นภาษาอังกฤษไปก่อนละกันครับ)
                    Cr:รูป https://wiki.seg.org/wiki/Electric_resistivity_surveys
          การวัดที่ถ้ำหลวงเป็นแบบ 2 มิติ โดยระยะทางแปรผันตรงเป็นสัดส่วนกับความลึก ผลที่ได้หลัง Process แล้วเป็นดังภาพ
          สีโทนเย็น (น้ำเงิน-เขียว) คือค่าความต้านทานต่ำ อาจเป็น น้ำ ดิน หรือหินที่ความต้านทานต่ำ
          สีโทนร้อน (เหลือง-แดง) คือค่าความต้านทานสูง อาจเป็น หินชนิดต่างๆ
                    Crรูป: http://www.earthdyn.com/geophysical/resistivity/resistivity.html


3)    TV borehole กล้องส่องในที่แคบ
       •    เป็นกล้องวิดิโอ หย่อนไปตามโพรงต่างๆ เพื่อดูว่า โพรงลึกแต่ไหน สภาพเป็นเช่นไร โดยไม่ต้องเอาคนลงไปเสี่ยง
       •    ผลที่ได้จากการสอ่งจะเป็น video realtime หรือภาพ ณ จุดนั้นๆ
        ตัวอย่างภาพจากการส่องบ่อบาดาล (ไม่ใช่โพรงธรรมชาติ)
          https://www.facebook.com/WaterResourceEngineering.WRE/videos/1400745403295117/

4)    การเจาะด้วยเครื่องเจาะ แบบใช้ลม
        •    เครื่องที่ใช้หน้างาน มี 2 แบบ
           i.    หัวกระแทก Percussion Drilling
           ii.    ลมกระแทก Air Blast
        •    ขอพูดถึงแบบบกระแทก อย่างเดียว
           i.    ลักษณะคล้ายค้อนตอกไปที่หินให้หินแตกเป็นชิ้นๆ หรือ แจ็คเจาะถนน หรือ สว่านแบบกระแทกที่เจาะปูน
           ii.    หัวเจาะใช้หัวเจาะเพชร
           iii.    ใช้ลมในการพาเศษหินขึ้นมา
           iv.    หลุมมีขนาดตามหัวเจาะ ส่วนมาก 4-8 นิ้ว และสามารถเปลี่ยนขนาดได้
           v.    ข้อดี เจาะได้เร็ว อุปกรณ์ต่อพ่วงน้อย
           vi.    ข้อเสีย แรงกระแทกสูง เสียงดัง หากมีโพรงเปล่าด้านล่างจะควบคุมทิศทางไม่ได้เพราะไม่สามารถควบคุมลมได้ (หินปูนมีโอกาสมีโพรงมาก)
        •    หน้าที่หน้างานคือ เจาะเพื่อระบายน้ำออก และ เจาะไปหาถ้ำเพื่อช่วยในการค้นหา หรือ ส่งเสบียง

           ตัวอย่าง การเจาะระบายน้ำในถ้ำ ซึ่งอยู่บริเวณหน้าถ้ำ
                           https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10210326949084059&set=a.1688204458915.75103.1651827673&type=3&theater
             เหตุผลที่เจาะหน้าถ้ำ https://ppantip.com/topic/37817597/comment13

เดี๋ยวมาต่อเครื่องมืออื่นๆ หรือ สงสัยถามได้ครับ จะได้เข้าใจอย่างตรงกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่