ภัยใกล้ตัว: ร้านข้าวขาหมู


หนังนุ่มๆ เนื้อที่ชุ่มไปด้วยน้ำตุ๋ย กลิ่นซอสและเครื่องเทศเวลาลมพัดประทะจมูก แค่หลับตานึกถึงภาพ ก็เรียกน้ำย่อยได้แล้ว สำหรับข้าวขาหมู โดยความชอบส่วนตัว สั่งพิเศษหนัง ราดน้ำน้อยๆ เวลาตักข้าวแล้วมีหนังหมูที่ตุ๋นจนนิ่ม ตัวไขมันใต้ผิวหนังกับข้าว มันหมูจะผสมเข้ากับข้าวกันดีมาก อย่างว่าครับ ส่วนมากอะไรที่เราว่าอร่อย มันจะส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพเสมอ แค่คิด ก็รู้สึกผิดต่อสุขภาพแล้ว ผมว่าการทานข้าวขาหมูมันไม่ได้ผิดอะไรมาก ถ้าเราทานไม่ตามใจปากมากไป แต่ข้อระวังอะไรบ้าง ดัดแปลงการสั่ง ให้ลดความเสี่ยง เช่น
1) ลองแน่นเนื้อ หรือถ้าชอบหนังแบบผมจรีงๆ ก็หาทานคากิดีกว่า แต่ตัวคากิมันมีตัวอันตรายเช่นกัน เช่นส่วนข้อนิ้ว บางทีเอาออกไม่หมด ด้วยความลื่นของมันหมู ทานไปคุยไป หรือไม่ระวัง กขนาดกระดูกนั้น สามารถติดคอได้ ตัวผมเองเคยโดนมาแล้ว กำลังดูดเอ็น หนัง ออกจากกระดูก อยู่ดีๆก็มีกระดูกชิ้นใหญ่กว่าหลอดลม ดีนะเอาออกทัน
2) ผักดอง ส่วนมาก จะมี บอแรกซ์ เมื่อรับประทานเข้าไปจำนวนมาก โดยเฉพาะไต จะเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 
ทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ เนื่องจากการสะสมของบอแรกซ์ แต่จะให้ละทิ้งไม่ใส่เลย ขาหมูก็ขาดรสเปรี้ยวกรอบที่เราชอบกัน ฉนั้นก็ของร้องแม่ค้า อย่างน้อยช่วยต้มสักพัก ทิ้งน้ำ ก็ยังดี ยังลดได้บ้าง
3) คะน้า ผักนี้จะถูกดูแลอย่างดีด้วยสารเคมี ฉีกกันแมลง หนอน ถือว่าเป็นผักอย่างนึงที่ควรจะล้างให้ดี เช่น แบกกิ้งโซดาหนึ่งช้อนโต๊ะ ผสมในน้ำ ยี่สิบลิตร แช่ยี่สิบนาที แล้วล้างน้ำอีกที ก่อนจะนำไปใช้
4) ปกติตัวขาหมูจะเอาขึ้นมาจากกะละมังจากน้ำตุ๋นร้อนๆ อันนั้นไม่น่ากังวล แต่พวกที่วางข้างบนเย็นนานๆ บางรายไม่รักษาสุขลักษณะ ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับหมู ผัก ไข่ จาน ชาม และอุปกรณ์ต่างๆ ที่สัมผัสข้าวขาหมู บางรายวางเครื่องเคียงต่างๆบนพื้นสกปรก เหตุผลเหล่านี้นับเป็นต้นตอที่ทำให้ข้าวขาหมูปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ได้แก่ เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ท้องปั่นป่วน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ตะคริวที่ท้อง ชักกระตุก หนาวสั่น อ่อนเพลีย ช็อก และอาจเป็นลมได้ ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาสำหรับอาหารทั่วไป กำหนดให้อาหาร ปรุงสุกพบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ได้ไม่เกิน 100 MPN/กรัม เมื่อดูผลการทดสอบ จากการสุ่มตัวอย่างข้าวขาหมู 5 ตัวอย่าง จากพื้นที่ 5 เขตของกรุงเทพฯ พบว่ามีข้าวขาหมู 3 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส และ 2 ใน 3 พบเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ข้อมูลนี้ อ้างอิงมาจาก https://www.thairath.co.th
5) กระเทียมกลีบเล็กๆไว้คอยแก้เลี้ยนนิ บางท่านก็แทบจะขาดไม่ได้ แต่ก่อนหยิบลองดูดีๆก่อน ว่ามีเชื้อราสีดำ หรือสีขาวหรือไม่ บางเจ้าก็เติมใหม่ ส่วนข้างล่างก็ทับไปเลื่อยๆ
6) พริกที่เคียง สีสดผิวเงางาม ก็บางร้านลืมไปว่า เหมือนผักหลายๆชนิด ที่มีการฉีดยาฆ่าแมลง ให้ล้างอย่างคะน้าก็จะดีมากๆ
7) เขียงไม้ที่สับ ควรจะต้มน้ำร้อน แล้วตากแดดให้แห้งสนิท จะได้กำจัดไขมันและน้ำขาหมูที่สะสมในไม้ ใครอยากทราบว่า ในเขียงไม้มีอะไร ลองต้มน้ำร้อน แล้วต้มเขียงดู ขอแบบที่เป็นเขียงไม้ท่อนเดียวนะครับ ถ้าเป็นแบบแผ่นไม้ติดกัน เวลาต้มจะทำให้กาวเสื่อมสภาพ แล้วหลุดเป็นชิ้น
8) น้ำส้มพริกที่จะขาดไม่ได้อีกอย่าง ตามปกติ เราจะหาซื้อน้ำส้มสายชูสำหรับบริโภคได้สามแบบดังนี้ น้ำส้มสายชูหมัก น้ำส้มสายชูกลั่น น้ำส้มสายชูเทียม แต่ที่อันตรายคือ น้ำส้มสายชูปลอม ทำโดยนำเอาหัวน้ำส้มมาเจือจางกับน้ำ เป็นกรดน้ำส้มชนิดเข้มข้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม สิ่งทอ ฟอกหนัง ขนสัตว์ ไหม ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค นอกจากนี้อาจมีการนำกรดแร่อื่น ๆ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถันมาทำหัวน้ำส้ม หรือน้ำส้มสายชูปลอมเปรี้ยวเข็ดฟัน แต่ไม่มีกลิ่นเฉพาะของกรดน้ำส้ม จึงมักเติมน้ำส้มสายชูหมักลงไปด้วยเพื่อทำให้กลิ่นเหมือนน้ำส้มสายชูหมัก ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ๆ จะกัดกระเพาะอาหาร และลำไส้จนเกิดแผลหรืออาจถึงกับกระเพาะอาหารและลำไส้ทะลุได้

ขาหมูที่น่าทานอย่างสบายใจ หากไม่นับเรื่องไขมัน ไม่ควรวางตากลมนาน ควรจะมีการอุ่นตลอด

อันนี้ที่อ้างอิงมาบางส่วน ก็ต้องขอใครเครดิตกับทางเวปต้นข้อมูล มันอาจจะดูอันตรายในทุกส่วนองประกอบ

เราไม่ได้อยากให้มานั่งกลัว หรือ ว่าจิตหลอน แต่เนื้อหานี้ในบางทีอาจจะมีประโยชน์สำหรับคนบางคน ที่จะมีอาการแพ้ง่าย จะได้ระวัง หรือถ้าอาหารเป็นพิษ จะได้พอหาต้นตอได้ง่ายขึ้น เท่าที่ตั้งกระทู้มา เห็นส่วนมากจะ มองเป็นเรื่องกลัวเกินเหตุ ถ้ามันไม่เกิดกับตัวเอง หรือคนรอบข้าง มันก็เป็นแค่กระทู้ไร้สาระ ถ้าตอนนี้ คุณทราบ แล้วเห็น จะปล่อยให้คนที่คุณรักทานอย่างสบายใจไหม แค่อันไหนเลี่ยงได้ ก็ขึ้นกับการตัดสินใจของท่านเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่