เกือบจะสองชั่วอายุคนแล้ว คือ พ่อจบใหม่ก็ได้เงินเดือน 15,000 ลูกเรียนป.ตรีจบออกมาก็ยังคง 15,000 ทั้งๆที่ค่าสินค้า ค่าครองชีพของรุ่นพ่อกับรุ่นลูกต่างกันมากมาย
คิดว่าอะไรเป้นสาเหตุครับ ?
ส่วนตัวผมว่าเกิดจาก ทั้งคนรุ่นพ่อและรุ่นลูกในประเทศไทย ติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) คือเพดานเงินเดือนสำหรับมนุษย์เงินเดือนในระบบเศรษฐกิจให้ได้แค่นี้ และคงจะแค่นี้ย่วไปอีกหลายสิบปี
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
นิยามฉบับรวบรัด
“กับดักรายได้ปานกลาง” หมายถึงสภาวะของประเทศที่สามารถพัฒนาจากประเทศรายได้ต่ำไปเป็นรายได้ปานกลางได้สำเร็จในเวลาไม่นาน (คำว่า“รายได้”ในที่นี้ หมายถึงรายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชากร) แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจหลังจากนั้นกลับชะลอลงมาก ส่งผลให้ประเทศดังกล่าวต้องติดอยู่ในฐานะรายได้ปานกลางต่อไปอีกหลายทศวรรษ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยกระดับกลายเป็นประเทศรายได้สูงได้ ทั้งนี้ เกณฑ์การจำแนกประเทศตามระดับรายได้นั้น ถูกกำหนดโดยธนาคารโลก ซึ่งมีการทบทวนเกณฑ์แบ่งกลุ่มทุกปี โดยเกณฑ์ ณ วันที่ 1 ก.ค. 2560 การจะอยู่ในกลุ่มของประเทศรายได้สูงต้องมีรายได้ต่อหัวสูงกว่า 12,235 ดอลลาร์ สรอ.
จากเกณฑ์ดังกล่าว พบว่าไทยเลื่อนฐานะเป็นประเทศรายได้ปานกลางตั้งแต่ปี 2519 อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อหัวของไทยในปี 2559 ยังอยู่ที่ 5,640 ดอลลาร์ สรอ. กล่าวคือ
ไทยติดอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางมาแล้วถึง 40 ปี ยิ่งไปกว่านั้น จากการคำนวณของผู้เขียนโดยใช้เกณฑ์แบ่งกลุ่มรายได้ของธนาคารโลกด้วยอัตราการขยายตัวต่อปีที่ 1% (ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง) และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ 3.5% (ค่าเฉลี่ยปี 2555 – 2559) พบว่าไทยจะต้องอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางไปอีกกว่า 30 ปี
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643029
ทำไมเงินเดือนเด็กจบใหม่ค่ามาตรฐาน 15,000 มากว่า 20 ปีแล้วไม่ขยับเลยครับ ?
คิดว่าอะไรเป้นสาเหตุครับ ?
ส่วนตัวผมว่าเกิดจาก ทั้งคนรุ่นพ่อและรุ่นลูกในประเทศไทย ติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) คือเพดานเงินเดือนสำหรับมนุษย์เงินเดือนในระบบเศรษฐกิจให้ได้แค่นี้ และคงจะแค่นี้ย่วไปอีกหลายสิบปี
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
นิยามฉบับรวบรัด
“กับดักรายได้ปานกลาง” หมายถึงสภาวะของประเทศที่สามารถพัฒนาจากประเทศรายได้ต่ำไปเป็นรายได้ปานกลางได้สำเร็จในเวลาไม่นาน (คำว่า“รายได้”ในที่นี้ หมายถึงรายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชากร) แต่การขยายตัวของเศรษฐกิจหลังจากนั้นกลับชะลอลงมาก ส่งผลให้ประเทศดังกล่าวต้องติดอยู่ในฐานะรายได้ปานกลางต่อไปอีกหลายทศวรรษ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะยกระดับกลายเป็นประเทศรายได้สูงได้ ทั้งนี้ เกณฑ์การจำแนกประเทศตามระดับรายได้นั้น ถูกกำหนดโดยธนาคารโลก ซึ่งมีการทบทวนเกณฑ์แบ่งกลุ่มทุกปี โดยเกณฑ์ ณ วันที่ 1 ก.ค. 2560 การจะอยู่ในกลุ่มของประเทศรายได้สูงต้องมีรายได้ต่อหัวสูงกว่า 12,235 ดอลลาร์ สรอ.
จากเกณฑ์ดังกล่าว พบว่าไทยเลื่อนฐานะเป็นประเทศรายได้ปานกลางตั้งแต่ปี 2519 อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อหัวของไทยในปี 2559 ยังอยู่ที่ 5,640 ดอลลาร์ สรอ. กล่าวคือ ไทยติดอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางมาแล้วถึง 40 ปี ยิ่งไปกว่านั้น จากการคำนวณของผู้เขียนโดยใช้เกณฑ์แบ่งกลุ่มรายได้ของธนาคารโลกด้วยอัตราการขยายตัวต่อปีที่ 1% (ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง) และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ 3.5% (ค่าเฉลี่ยปี 2555 – 2559) พบว่าไทยจะต้องอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางไปอีกกว่า 30 ปี
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643029