ย้ายงานระหว่างสาย corporate กับสาย Bank มีประเด็นอะไรให้ต้องคิดเยอะมากเลยเหรอคะ

ตั้งแต่เรียนจบ และทำงานมา ก็ทำงานสาย corporate มาเกือบสิบปี เป็นงานเกี่ยวกับด้านวางแผนกลยุทธองค์กร บริหารความเสี่ยง เกี่ยวกับด้านปิโตรเคมี ออกจากที่นี่ เพราะว่า อยากทำงานเกี่ยวกับด้านการลงทุนมากกว่า
ต่อมาก็ได้งาน Analyst ของ Bank  ได้งานเพราะว่ามีความรู้เกี่ยวกับอุตสหกรรม petrochem, oil and gas จากงานที่เก่าเป็นอย่างดีพอควร  ทำงานได้ 1 ปี
เริ่มมีความรู้สึกว่างานนี้ไม่โอเคสำหรับเรา เพราะเหมือนเป็นการทำงานเขียนบทความส่ง นสพ มากกว่า  เลยไปสมัครงานที่ใหม่ เกี่ยวกับทำ treasury ให้กับองค์กรด้านปิโตรเคมี
วันที่ไปสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์ถามเยอะ เกี่ยวกับเรื่อง การย้ายงานจากสาย corporate มาสายแบงค์ แล้วจากสายแบงค์ กลับไปสาย corporate อีก ประมาณว่า อายุ 30 กว่า ควร settle ได้แล้ว ว่าจะทำงานสาย bank หรือสาย corporate

เลยอยากขอความเห็นค่ะว่า ถ้าเราสนใจงานด้านการลงทุน การย้ายงานของสาย bank กับสาย corporate มีอะไรต้อง concern เยอะมากไหม
คือส่วนตัวมองว่า ถ้าทำ treasury สาย corporate ก็ไม่น่าจะต่างอะไรกับการทำงานสายหลักทรัพย์มาก
หรือเราลืมมองประเด็นไหนไปคะ

ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้าค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ต่างกันพอสมควรครับ ผมเพิ่งย้ายจาก Treasury ของแบงค์ไป Corporate
หลักๆเลยก็นโยบายและหน้าที่หลักของคุณ ถ้าคุณอยู่ Front ของ Treasury หน้าที่หลักคุณคือทำเงิน (Trader) หรือ คุยกับลูกค้าถ้าเป็นSales
แต่ Corporate เน้นปิดความเสี่ยงอย่างเดียว งานจะค่อนข้าง Admin มากกว่า  แต่โดยปรกติหากเป็น Corporate ที่มี Treasury นั้นจะเรียกได้ว่าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในระดับหนึ่ง เพราะโดยส่วนมากงาน Treasury ของ Corporate นั้นมักจะถูกจัดการโดยทีมการเงินทั่วๆไปในบริษัทขนาดกลางและเล็ก

ทีนี้กลับมาตอบคำถามของคุณ..
ถ้าคุณบอกว่าคุณสนใจด้านการลงทุน ผมว่าอยู่แบงค์ หรือ หลักทรัพย์ เนื้องานจะเกี่ยวข้องมากกว่า (ในตำแหน่งระดับซีเนียร์ขึ้นไป ถ้าเด็กๆอาจจะยังไม่ได้ยุ่งในส่วนนี้มาก)

ฝั่ง Corporate นั้นถ้าบริษัทไหนมี Treasury มักจะมีหน่วยงาน Financial Planning and Control/Analysis (FP&C,FP&A) ซึ่งหน่วยงานพวกนี้จะได้เข้ามายุ่งในเรื่องของแผนธุรกิจ-ลงทุนของบริษัท (ขยายโรงงาน - เข้าซื้อบริษัทอื่น หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร) มากกว่า Treasury ซึ่งมีหน้าที่เป็นหน้าด่านในการดีลกับแบงค์เป็นส่วนมาก (คล้ายๆแผนก Correspondent Banking ของฝั่งธนาคาร) เช่น การจัดตั้งวงเงินสินเชื่อกับแบงค์ ทำเรื่องเบิกเงินกู้ ขอให้แบงค์ออกแบงค์การันตีให้ แต่ก็ยังมีเนื้องานที่เหมือนฝั่ง Front ของแบงค์บ้างคือการบริหารสภาพคล่อง และบริหารความเสี่ยงค่าเงิน แต่จะเป็นในรูปแบบ Passive กว่าเยอะ ถ้าบริษัท Advance ขึ้นมาหน่อยก็อาจจะได้เอาเงินสภาพคล่องส่วนที่เหลือไปเลือกลงทุนบ้าง

ปล. งาน Analyst ของแบงค์โดยส่วนมาก จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อซะส่วนใหญ่ ซึ่งเนื้องานก็ตามที่คุณเคยได้ทำนั่นแหละครับ จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ว่า บริษัท/โปรเจค จะมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ไหม แคชโฟลว์เป็นอย่างไร (ก็คือมีตังคืนแบงค์นั่นแหละ) ไม่ได้สนใจในด้าน valuation มูลค่าของบริษัท/โปรเจคนั้นๆ ซักเท่าไหร่ ถ้าอยากทำงานส่วนหลังที่ผมกล่าวต้องไปอยู่หน่วยงาน วาณิชธนกิจ หรือที่เรียกกันติดปากว่า  Investment Banking หรือ IB นั่นแหละครับ

ถ้าสงสัยอะไรเพิ่มเติม หลังไมค์ก็ได้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่