ดูละครถึงตอนที่พระเจ้าตากฝ่าวงล้อมอังวะด้วยพลทหาร 500 นายออกจากอโยธยามุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกและได้เจอกับกลุ่มชาวบ้านนำโดยหญิงสาวที่ชื่อ โพ ดูทีแรกนึกว่าเอ๊ะ ไปเจอกับชาวบางระจันหรือเปล่า เพราะเป็นส่วนเดียวของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาวบ้านสมัยกรุงแตกที่เล่าขานกันมากที่สุด แต่ที่แท้คือที่มาของตำบลโพสาวหาญที่ยังอยู่ในอยุธยาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรสตรีไทยในสมัยกรุงแตกครั้งที่สองที่ไม่เคยรู้มาก่อน พยายามค้นหาข้อมูลประวัติที่มาของแม่โพแต่มีน้อยนิดเหลือเกิน ขอสดุดีในวีรกรรมอันน่ายกย่องของวีรสตรีผู้กล้าหาญ
ขณะที่กรุงศรีอยุธยา กำลังจะเสียเอกราชเป็นครั้งที่ 2 ให้แก่พม่านั้น สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ตัดสินพระทัยนำทหาร 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงวัดโพสังหาญ แห่งนี้ กองทัพของฝ่ายพม่าก็เกิดยกทัพตามมาทัน จึงเกิดการรบกัน ถึงขั้นตะลุมบอน แต่ในขณะที่สู้รบกันอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินตกอยู่ในวงล้อมของพม่า
พลันก็ปรากฏว่ามีวีรสตรี 2 คน มือ 2 ข้างถือดาบ วิ่งออกมาฟาดฟันพม่าข้าศึกที่กำลังล้อมสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนสมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถตีฝ่าวงล้อมของพม่าข้าศึกออกไปได้ แต่ปรากฏว่า วีรสตรี นิรนามทั้งสองต้องมาสังเวยชีวิตลง ณ ทุ่งโพสังหาญนี้
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกู้เอกราชของชาติไทยแล้วทรงขึ้นครองราชย์แล้วทรงรำลึกถึงคุณงาม ความดี จึงทรงโปรดทำนุบำรุงบ้านโพสังหาญ และวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ทรงพระราชทานนามว่า โพสาวหาญ อันหมายถึง " หมู่บ้านอันมีวีรสตรีผู้กล้าหาญ น่าภาคภูมิใจ "
ในปัจจุบันได้สร้างรูปปูนขึ้น เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังให้รำลึกถึงคุณงาม ความดีของวีรสตรีผู้กล้าหาญ ทั้ง 2 คน ที่ยอมเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องผืนดินของไทยไว้ให้ลูกหลานไทยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
https://www.clipmass.com/story/110200
โพสาวหาญ เกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจจาก หนึ่งด้าวฟ้าเดียว
ขณะที่กรุงศรีอยุธยา กำลังจะเสียเอกราชเป็นครั้งที่ 2 ให้แก่พม่านั้น สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ตัดสินพระทัยนำทหาร 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงวัดโพสังหาญ แห่งนี้ กองทัพของฝ่ายพม่าก็เกิดยกทัพตามมาทัน จึงเกิดการรบกัน ถึงขั้นตะลุมบอน แต่ในขณะที่สู้รบกันอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินตกอยู่ในวงล้อมของพม่า
พลันก็ปรากฏว่ามีวีรสตรี 2 คน มือ 2 ข้างถือดาบ วิ่งออกมาฟาดฟันพม่าข้าศึกที่กำลังล้อมสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนสมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถตีฝ่าวงล้อมของพม่าข้าศึกออกไปได้ แต่ปรากฏว่า วีรสตรี นิรนามทั้งสองต้องมาสังเวยชีวิตลง ณ ทุ่งโพสังหาญนี้
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกู้เอกราชของชาติไทยแล้วทรงขึ้นครองราชย์แล้วทรงรำลึกถึงคุณงาม ความดี จึงทรงโปรดทำนุบำรุงบ้านโพสังหาญ และวัดวาอารามขึ้นมาใหม่ทรงพระราชทานนามว่า โพสาวหาญ อันหมายถึง " หมู่บ้านอันมีวีรสตรีผู้กล้าหาญ น่าภาคภูมิใจ "
ในปัจจุบันได้สร้างรูปปูนขึ้น เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังให้รำลึกถึงคุณงาม ความดีของวีรสตรีผู้กล้าหาญ ทั้ง 2 คน ที่ยอมเสียสละชีวิต เพื่อปกป้องผืนดินของไทยไว้ให้ลูกหลานไทยได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
https://www.clipmass.com/story/110200