กั้ง กระดานจัดว่า เป็นสัตว์ทะเลที่น้อยคนอาจจะไม่รู้จัก หรือ ไม่ค่อยได้เห็นมากนัก เมื่อเปรียบกับ กั้งตั๊กแตน
กั้งชนิดนี้ คือ กุ้งชนิดนึง แต่ไม่มีกรีที่ยาว แหลมที่ด้านหัว
ลักษณะลำตัวแบน หัวแบน คล้ายเหล็กกระต่ายขูดมะพร้าว
ชาวใต้จึงเรียกมันว่า เหล็กขูด
มักอาศัยอยู่ตามพื้นทรายของท้องทะเล หากินหน้าดิน พวกลูกหอย ปู ปลา ตัวผู้จะมีลำตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย พอสังเกตุได้
กั้งชนิดนี้ ไม่ค่อยมีปริมาณ และการจับส่วนใหญ่ที่จะได้ตัวกั้งชนิดนี้ คือ อวนลาก
ในช่วงที่อินโดนีเซีย ยังเปิดสัมปทาน อนุญาติให้เรือต่างชาติ เข้าทำการประมงในน่านน้ำอินโด เรือไทยมีการจับกั้งชนิดนี้พอมีปริมาณ
แต่ด้วยการเก็บรักษาให้อยู้ในสภาพความสดที่ดี เป็นเรื่องยาก เหตุเพราะเปลือกที่หนาของกั้ง ความเย็นเพียงแค่น้ำและน้ำแข็งไม่สามารถรักษาความสดได้
กรอปกับ เรืออวนลาก ใช้ระยะเวลาลากนานร่วม7-10 วัน แล้วจึงขนถ่ายใส่เรือแม่ นำสัตว์น้ำกลับเข้าฝั่งไทยอย่างน้อยใช้เวลาอีกราว10วัน
ระยะเวลาที่เนิ่นนานขนาดนั้น ทำให้น้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ อุณหภูมิจะไม่ถึงในการรักษาความสด เราจึงได้บริโภคกั้งในสภาพนั้น
และหลังจากที่อินโดนีเซียประกาศปิดน่านน้ำ เราก็ไม่พบกั้งในปริมาณมากแบบนั้น ในท้องตลาดที่ซื้อขายอีกเลย
กั้งกระดาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นกั้งที่ได้จากอวนลากทั้งอ่าวไทย และ อันดามัน แต่หากจะพูดถึงความสด ก็เพียงตอบได้แค่ ดีกว่า กั้งอินโดหน่อยนึง
เนื้อกั้งที่ได้จากอวนลาก จะขาดความหวาน เนื้อออกจะเละรุ่ยไปบ้าง มีเพียงแค่กลิ่นให้ได้รับรู้
แต่หากว่าใครได้เคยกิน กั้งที่จับจากชาวประมงชายฝั่ง รับรอง จะเกิดความประทับใจในความอร่อย มากกว่าปูหรือกุ้ง ด้วยซ้ำไป
เรือประมงชายฝั่ง ใช้เวลาไม่เกิน6ชมในการจับ ด้วยการใช้อวนดักปู ดักปลา หรือดักกุ้ง กั้งก็จะติดมาด้วยให้ได้เห็นตัว
และหากได้ทานแบบสดๆ ประมาณจิ้มโชยุ ป้ายวาซาบิ แล้วนั้น ความอร่อยและรสสัมผัส ยากที่จะเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆอย่างแท้จริง
ตะโกน้อย ชวนฝอย อร่อยกับ “กั้งกระดาน”
กั้งชนิดนี้ คือ กุ้งชนิดนึง แต่ไม่มีกรีที่ยาว แหลมที่ด้านหัว
ลักษณะลำตัวแบน หัวแบน คล้ายเหล็กกระต่ายขูดมะพร้าว
ชาวใต้จึงเรียกมันว่า เหล็กขูด
มักอาศัยอยู่ตามพื้นทรายของท้องทะเล หากินหน้าดิน พวกลูกหอย ปู ปลา ตัวผู้จะมีลำตัวที่ใหญ่กว่าตัวเมีย พอสังเกตุได้
กั้งชนิดนี้ ไม่ค่อยมีปริมาณ และการจับส่วนใหญ่ที่จะได้ตัวกั้งชนิดนี้ คือ อวนลาก
ในช่วงที่อินโดนีเซีย ยังเปิดสัมปทาน อนุญาติให้เรือต่างชาติ เข้าทำการประมงในน่านน้ำอินโด เรือไทยมีการจับกั้งชนิดนี้พอมีปริมาณ
แต่ด้วยการเก็บรักษาให้อยู้ในสภาพความสดที่ดี เป็นเรื่องยาก เหตุเพราะเปลือกที่หนาของกั้ง ความเย็นเพียงแค่น้ำและน้ำแข็งไม่สามารถรักษาความสดได้
กรอปกับ เรืออวนลาก ใช้ระยะเวลาลากนานร่วม7-10 วัน แล้วจึงขนถ่ายใส่เรือแม่ นำสัตว์น้ำกลับเข้าฝั่งไทยอย่างน้อยใช้เวลาอีกราว10วัน
ระยะเวลาที่เนิ่นนานขนาดนั้น ทำให้น้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ อุณหภูมิจะไม่ถึงในการรักษาความสด เราจึงได้บริโภคกั้งในสภาพนั้น
และหลังจากที่อินโดนีเซียประกาศปิดน่านน้ำ เราก็ไม่พบกั้งในปริมาณมากแบบนั้น ในท้องตลาดที่ซื้อขายอีกเลย
กั้งกระดาน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นกั้งที่ได้จากอวนลากทั้งอ่าวไทย และ อันดามัน แต่หากจะพูดถึงความสด ก็เพียงตอบได้แค่ ดีกว่า กั้งอินโดหน่อยนึง
เนื้อกั้งที่ได้จากอวนลาก จะขาดความหวาน เนื้อออกจะเละรุ่ยไปบ้าง มีเพียงแค่กลิ่นให้ได้รับรู้
แต่หากว่าใครได้เคยกิน กั้งที่จับจากชาวประมงชายฝั่ง รับรอง จะเกิดความประทับใจในความอร่อย มากกว่าปูหรือกุ้ง ด้วยซ้ำไป
เรือประมงชายฝั่ง ใช้เวลาไม่เกิน6ชมในการจับ ด้วยการใช้อวนดักปู ดักปลา หรือดักกุ้ง กั้งก็จะติดมาด้วยให้ได้เห็นตัว
และหากได้ทานแบบสดๆ ประมาณจิ้มโชยุ ป้ายวาซาบิ แล้วนั้น ความอร่อยและรสสัมผัส ยากที่จะเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆอย่างแท้จริง