พลันที่การถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬาสำหรับหมู่มวลมนุษยชาติจะเริ่มขึ้น ก็มีดราม่าเล็ก ๆ ให้ผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 อย่างเป็นทางการได้เจ็บได้คันพอเป็นกระษัย แต่ก็ได้ใจคนไทยที่รอชมฟุตบอลโลกปีนี้กันอย่างใจจดใจจ่อ เพราะจะได้ดูฟรีไม่ต้องเพิ่มตังค์ แบบชัด ๆ เข้าถึงรูขุมขนกับระบบความคมชัดสูงงงงง
จริง ๆ ดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกมีให้เห็นกันทุกรายการ ไม่เรื่องนั้นก็เรื่องนี้ จุกจิกหยุมหยิม เพราะมีความยุ่งยากซับซ้อนจากเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ อันแสนจะเข้มงวดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่าเป็นตัวกำหนดนั่นเอง ซึ่งคนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ก็ขี้เกียจจะทำความเข้าใจ
ปีนี้ก็เช่นกัน ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป ในฐานะ Official Broadcaster หรือผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 อย่างเป็นทางการจากฟีฟ่า ก็ต้องเผชิญหน้ากับดราม่าตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้นออกอากาศถ่ายทอดสดกันเลย แต่งานนี้ทรูวิชั่นส์ขยับตัวเร็ว ออกมาชี้แจงได้ทันท่วงที ตอบข้อกังขากันไปแบบใส ๆ เคลียร์ ๆ ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากทุกอย่างเป็นการกระทำอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรงไปตรงมา มีหลักฐาน มีการรายงานต่อรัฐบาลและสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายตลอดทุกกระบวนการดำเนินงาน ภายใต้กฎกติกามารยาทของฟีฟ่าและกสทช. ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของโฆษณา การเก็บค่ารับชม หรือเงินลงขันส่วนเกิน เป็นต้น
จุดกำเนิดการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018
ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ช่วงเวลาใกล้ ๆ กับแหวนพ่อ นาฬิกาเพื่อน มั้ง แฮ่! ก็ต้องขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มีดำริอยากให้คนไทยได้ดูฟุตบอลโลกปีนี้ไปพร้อม ๆ กับชาวโลก เพราะมีข่าวว่าคนไทยอาจจะอดดู เนื่องจากค่าลิขสิทธิ์พุ่งขึ้นแพงหูฉี่เป็นระดับพันล้านบาท จากเดิมแค่หลักร้อยล้านบาท แถมจะได้สิทธิ์การถ่ายทอดแค่เพียงครั้งเดียว ต่างจากที่ผ่านมาที่ได้สิทธิ์ติดกันสองครั้ง จึงทำให้เอกชนลังเลที่จะลงทุน
รัฐบาลโดยท่านรองนายกฯ ประวิตรจึงได้ขอร้องให้ภาคเอกชนไทยรายใหญ่ ๆ ช่วยกันลงขัน เพื่อเป็นสปอนเซอร์ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 จากฟีฟ่า เพราะค่าลิขสิทธิ์เป็นเงินจำนวนสูงถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 1,100 ล้านบาทรวมภาษี)
ซึ่งที่สุดก็ได้ผู้บริจาค 9 ราย ช่วยลงขันสนับสนุนทั้งหมดจำนวนรวม 1,400 ล้านบาท ประกอบด้วย
- คิงเพาเวอร์, เครือเจริญโภคภัณฑ์, ไทยเบฟเวอเรจ, บีทีเอส, กสิกรไทย และ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี --> บริจาครายละ 200 ล้านบาท
- พีทีที โกลบอล เคมิคอล --> บริจาค 100 ล้านบาท
- บางจาก และ คาราบาวแดง --> บริจาครายละ 50 ล้านบาท
โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้คิงเพาเวอร์เป็นหัวเรือใหญ่ในการเจรจาเซ็นสัญญากับทางฟีฟ่า
แต่เนื่องจากคิงเพาเวอร์ไม่ผ่านเกณฑ์ของฟีฟ่าที่ระบุว่า
ผู้ที่จะได้รับลิขสิทธิ์เป็น Official Broadcaster ของฟีฟ่าในแต่ละประเทศจะมีเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งจะ
ต้องมีแพลตฟอร์มการถ่ายทอด หรือแปลง่าย ๆ ว่ามีสถานีโทรทัศน์เป็นช่องของตัวเอง เพื่อที่จะรองรับการถ่ายทอดสดได้ และจะ
ต้องมีประสบการณ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกมาก่อน ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงอาร์เอสและทรูวิชั่นส์เท่านั้นที่เข้าข่าย
เมื่อคิงเพาเวอร์มีอันต้องหลุดโผ แต่ได้รับมอบหมายภารกิจใหญ่หลวงจากรัฐบาลมาแล้ว ก็ต้องดิ้นรนช่วยหาคู่เจรจารายใหม่ที่มีคุณสมบัติครบตามกฎกติกาของฟีฟ่าเข้าไปเสียบแทน ที่สุดได้ตัดสินใจส่งไม้ต่อให้กับทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป
ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก
ทรูวิชั่นส์ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ในฐานะ Official Broadcaster ของฟีฟ่า จึงต้องมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกฎกติกามารยาทต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโลกของฟีฟ่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกอากาศ การดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขของฟีฟ่า เพราะหากเกิดทำผิดลิขสิทธิ์ขึ้นมา ทรูวิชั่นส์ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น จะมีผลไปถึงการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดในอนาคตอีกด้วย ซึ่งเป็นชื่อเสียงของประเทศไทย รวมถึงสปอนเซอร์ทุกราย
ภายใต้เงื่อนไขของสัญญากับฟีฟ่า สื่อในเครือทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป เช่น ทรูโฟร์ยู ช่อง24, ทรูไอดี, ทรูวิชั่นส์ จึงได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ไปด้วย
และเพื่อให้มีตัวเลือกในการชมช่องรายการมากขึ้น สอดคล้องกับกฎ Must Have ของกสทช. ที่กำหนดให้คนไทยทั่วประเทศต้องสามารถชมการแข่งขันกีฬาสำคัญผ่านฟรีทีวีได้ ประกอบกับมี Broadcast Sponsor หลายราย ทรูวิชั่นส์ในฐานะ Official Broadcaster จึงต้องทำ Sub-license กับฟีฟ่าอีก 1 ฉบับ เพื่อขออนุญาตถ่ายทอดสดในดิจิตัลฟรีทีวีอื่นเพิ่มด้วย ซึ่งก็คือ อัมรินทร์ทีวี ช่อง 34 กับ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 และฟีฟ่าก็ยินยอมให้ทำได้ จึงเป็นผลให้การแข่งขันรอบสุดท้ายทั้ง 64 แมตช์ ถูกแบ่งไปฉายในดิจิทัลฟรีทีวีทั้ง 3 ช่อง
คนไทยจึงสามารถรับชมได้ทั้งระบบ SD และ HD โดยไม่จำเป็นต้องสมัครทรูวิชั่นส์เพิ่มเติมเพื่อรับชมระบบ HD และยังถ่ายทอดสดในเพย์ทีวี –ทรูวิชั่นส์ แบบ 4K ครั้งแรกในประเทศไทย รวมทั้งช่องทางออนไลน์ ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ทรูไอดี เพื่อเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่ทำได้
(แต่ทรูวิชั่นส์ไม่มีสิทธิขายเวลาโฆษณาได้ เนื่องจากช่วงเวลาในการโฆษณาจะจัดสรรให้กับสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายเท่านั้น)
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับบาร์ หรือพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ก็สามารถเปิดให้ลูกค้าชมการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ฟรี ผ่านดิจิทัลฟรีทีวีทั้ง 3 ช่อง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเลย
สิทธิของสปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย
ในส่วนของสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายนั้น ได้ลิขสิทธิ์เฉพาะการโฆษณาในช่วงเวลาถ่ายทอดสดการแข่งขัน ทั้ง 64 แมตช์ จำนวนรวม 1,344 นาที แบ่งตามสัดส่วนของการลงขัน แต่ไม่มีสิทธิในการนำลิขสิทธิ์ที่ได้ไปทำการใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ เช่น เก็บค่าเข้าชมฟุตบอลโลกในพื้นที่ของตนเอง นำโลโก้ของตนเองไปคู่กับโลโก้ของฟีฟ่า
สำหรับเงินลงขัน 1,400 ล้านบาทนั้น ต้องนำไปจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 1,100 ล้านบาท และเงินส่วนที่เหลือก็ต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ ค่าดำเนินการรับสัญญาณถ่ายทอดสด การทำสื่อประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ และกิจกรรมอีเวนท์เพื่อโปรโมทฟุตบอลโลก เช่น แคมเปญ สวัสดีบอลโลก
โดยทรูวิชั่นส์ได้ทำการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามโครงสร้างที่ได้ดำเนินการกันมาตั้งแต่ต้น (ซึ่งหมายถึงตามข้อเสนอที่ทางคิงเพาเวอร์ได้ทำไว้ตั้งแต่แรก ก่อนที่ทรูวิชั่นส์จะมารับช่วงต่อ) พร้อมทั้งได้ทำการชี้แจงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้รัฐบาลและสปอนเซอร์เอกชนทั้ง 9 รายรับทราบตลอด โดยต้องให้อนุมัติก่อนดำเนินงานใด ๆ ทุกครั้ง
ผังการถ่ายทอด
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย ทั้งหมด 64 แมตช์ ที่ประเทศรัสเซีย จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2561 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดการถ่ายทอดสดของช่องทีวีดิจิตัลไทยที่ได้รับอนุมัติให้ถ่ายทอดสดออกมา เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการเจรจาตกลงกัน แต่ทางทรูวิชั่นส์ได้แจ้งต่อกสทช. แล้วว่า จะส่งผังรายการถ่ายทอดสดทั้งหมดให้กสทช. อย่างช้าที่สุด 7 วันก่อนการแข่งขันนัดเปิดสนาม ซึ่งก็น่าจะไม่เกินวันที่ 7 มิถุนายน 2561
เคลียร์คัตชัดเจนกันไปทุกประเด็นข้อกังขา สรุปง่าย ๆ ว่า ฟีฟ่าเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ ให้ผู้ร่วมลงขันทุกราย รวมทั้งทรูวิชั่นส์ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังต้องให้เป็นไปตามกฎของกสทช. และข้อตกลงร่วมกันในหมู่สปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย ซึ่งมีมาก่อนที่ทรูวิชั่นส์จะเข้ามารับช่วงการดำเนินงานต่อ จึงไม่ใช่สิ่งที่ทรูวิชั่นส์กำหนดขึ้นมาเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้น อะไรก็แล้วแต่ ผมว่าเอาจริง ๆ ผู้ชมคนดูฟุตบอลโลก คงไม่ได้ไปสนใจอะไรในจุดต่าง ๆ เหล่านั้นสักเท่าไร ตราบใดที่ได้ดูการถ่ายทอดสดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในฐานะแฟนบอลชาวไทย กระผมเองก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงกับทรูวิชั่นส์ สปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย และรัฐบาล โดยเฉพาะท่านรองนายกฯ ประวิตร ที่ทำให้พวกเราได้ดูฟุตบอลโลกในปีนี้กันเต็มอิ่ม โดยไม่ต้องเสียตังค์เพิ่มซักกะบาทเดียว ก็ขอให้เจ้าภาพจงเจริญนะครับ ^_^
----------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครดิต:
วัดพลังการตลาด ‘บอลโลก’ ได้หรือเสีย กับการลงทุนค่าลิขสิทธิ์ 1.4 พันล้าน
https://www.marketingoops.com/news/biz-news/worldcup2018-2/
โปรแกรมแข่งฟุตบอลโลก 2018 ลิ้งก์ดูบอลโลกสด ชัดระดับ HD ดูฟรี ถูกลิขสิทธิ์
http://sport.trueid.net/detail/134096
กสทช. เห็นชอบ 3 ช่อง ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก
http://www.thansettakij.com/content/285880
ทรูวิชั่น ยัน 'ร้านอาหาร-ผับ-พื้นที่สาธารณะ' ดูบอลโลกฟรี
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/803494
ภาพ search ๆ หาเอา
สรุปดราม่าฟุตบอลโลก 2018
จริง ๆ ดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกมีให้เห็นกันทุกรายการ ไม่เรื่องนั้นก็เรื่องนี้ จุกจิกหยุมหยิม เพราะมีความยุ่งยากซับซ้อนจากเงื่อนไขรายละเอียดต่าง ๆ อันแสนจะเข้มงวดของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือฟีฟ่าเป็นตัวกำหนดนั่นเอง ซึ่งคนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ ก็ขี้เกียจจะทำความเข้าใจ
ปีนี้ก็เช่นกัน ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป ในฐานะ Official Broadcaster หรือผู้ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 อย่างเป็นทางการจากฟีฟ่า ก็ต้องเผชิญหน้ากับดราม่าตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มต้นออกอากาศถ่ายทอดสดกันเลย แต่งานนี้ทรูวิชั่นส์ขยับตัวเร็ว ออกมาชี้แจงได้ทันท่วงที ตอบข้อกังขากันไปแบบใส ๆ เคลียร์ ๆ ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากทุกอย่างเป็นการกระทำอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรงไปตรงมา มีหลักฐาน มีการรายงานต่อรัฐบาลและสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายตลอดทุกกระบวนการดำเนินงาน ภายใต้กฎกติกามารยาทของฟีฟ่าและกสทช. ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของโฆษณา การเก็บค่ารับชม หรือเงินลงขันส่วนเกิน เป็นต้น
จุดกำเนิดการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018
ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ช่วงเวลาใกล้ ๆ กับแหวนพ่อ นาฬิกาเพื่อน มั้ง แฮ่! ก็ต้องขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่มีดำริอยากให้คนไทยได้ดูฟุตบอลโลกปีนี้ไปพร้อม ๆ กับชาวโลก เพราะมีข่าวว่าคนไทยอาจจะอดดู เนื่องจากค่าลิขสิทธิ์พุ่งขึ้นแพงหูฉี่เป็นระดับพันล้านบาท จากเดิมแค่หลักร้อยล้านบาท แถมจะได้สิทธิ์การถ่ายทอดแค่เพียงครั้งเดียว ต่างจากที่ผ่านมาที่ได้สิทธิ์ติดกันสองครั้ง จึงทำให้เอกชนลังเลที่จะลงทุน
รัฐบาลโดยท่านรองนายกฯ ประวิตรจึงได้ขอร้องให้ภาคเอกชนไทยรายใหญ่ ๆ ช่วยกันลงขัน เพื่อเป็นสปอนเซอร์ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 จากฟีฟ่า เพราะค่าลิขสิทธิ์เป็นเงินจำนวนสูงถึง 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 1,100 ล้านบาทรวมภาษี)
ซึ่งที่สุดก็ได้ผู้บริจาค 9 ราย ช่วยลงขันสนับสนุนทั้งหมดจำนวนรวม 1,400 ล้านบาท ประกอบด้วย
- คิงเพาเวอร์, เครือเจริญโภคภัณฑ์, ไทยเบฟเวอเรจ, บีทีเอส, กสิกรไทย และ กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี --> บริจาครายละ 200 ล้านบาท
- พีทีที โกลบอล เคมิคอล --> บริจาค 100 ล้านบาท
- บางจาก และ คาราบาวแดง --> บริจาครายละ 50 ล้านบาท
โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้คิงเพาเวอร์เป็นหัวเรือใหญ่ในการเจรจาเซ็นสัญญากับทางฟีฟ่า
แต่เนื่องจากคิงเพาเวอร์ไม่ผ่านเกณฑ์ของฟีฟ่าที่ระบุว่า ผู้ที่จะได้รับลิขสิทธิ์เป็น Official Broadcaster ของฟีฟ่าในแต่ละประเทศจะมีเพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีแพลตฟอร์มการถ่ายทอด หรือแปลง่าย ๆ ว่ามีสถานีโทรทัศน์เป็นช่องของตัวเอง เพื่อที่จะรองรับการถ่ายทอดสดได้ และจะต้องมีประสบการณ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกมาก่อน ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงอาร์เอสและทรูวิชั่นส์เท่านั้นที่เข้าข่าย
เมื่อคิงเพาเวอร์มีอันต้องหลุดโผ แต่ได้รับมอบหมายภารกิจใหญ่หลวงจากรัฐบาลมาแล้ว ก็ต้องดิ้นรนช่วยหาคู่เจรจารายใหม่ที่มีคุณสมบัติครบตามกฎกติกาของฟีฟ่าเข้าไปเสียบแทน ที่สุดได้ตัดสินใจส่งไม้ต่อให้กับทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป
ลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก
ทรูวิชั่นส์ได้รับลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ในฐานะ Official Broadcaster ของฟีฟ่า จึงต้องมีหน้าที่เป็นผู้ดูแลกฎกติกามารยาทต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานโลกของฟีฟ่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกอากาศ การดูแลการละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขของฟีฟ่า เพราะหากเกิดทำผิดลิขสิทธิ์ขึ้นมา ทรูวิชั่นส์ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น จะมีผลไปถึงการเจรจาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดในอนาคตอีกด้วย ซึ่งเป็นชื่อเสียงของประเทศไทย รวมถึงสปอนเซอร์ทุกราย
ภายใต้เงื่อนไขของสัญญากับฟีฟ่า สื่อในเครือทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป เช่น ทรูโฟร์ยู ช่อง24, ทรูไอดี, ทรูวิชั่นส์ จึงได้สิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ไปด้วย
และเพื่อให้มีตัวเลือกในการชมช่องรายการมากขึ้น สอดคล้องกับกฎ Must Have ของกสทช. ที่กำหนดให้คนไทยทั่วประเทศต้องสามารถชมการแข่งขันกีฬาสำคัญผ่านฟรีทีวีได้ ประกอบกับมี Broadcast Sponsor หลายราย ทรูวิชั่นส์ในฐานะ Official Broadcaster จึงต้องทำ Sub-license กับฟีฟ่าอีก 1 ฉบับ เพื่อขออนุญาตถ่ายทอดสดในดิจิตัลฟรีทีวีอื่นเพิ่มด้วย ซึ่งก็คือ อัมรินทร์ทีวี ช่อง 34 กับ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 และฟีฟ่าก็ยินยอมให้ทำได้ จึงเป็นผลให้การแข่งขันรอบสุดท้ายทั้ง 64 แมตช์ ถูกแบ่งไปฉายในดิจิทัลฟรีทีวีทั้ง 3 ช่อง
คนไทยจึงสามารถรับชมได้ทั้งระบบ SD และ HD โดยไม่จำเป็นต้องสมัครทรูวิชั่นส์เพิ่มเติมเพื่อรับชมระบบ HD และยังถ่ายทอดสดในเพย์ทีวี –ทรูวิชั่นส์ แบบ 4K ครั้งแรกในประเทศไทย รวมทั้งช่องทางออนไลน์ ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ทรูไอดี เพื่อเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่ทำได้ (แต่ทรูวิชั่นส์ไม่มีสิทธิขายเวลาโฆษณาได้ เนื่องจากช่วงเวลาในการโฆษณาจะจัดสรรให้กับสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายเท่านั้น)
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับบาร์ หรือพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ก็สามารถเปิดให้ลูกค้าชมการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ฟรี ผ่านดิจิทัลฟรีทีวีทั้ง 3 ช่อง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเลย
สิทธิของสปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย
ในส่วนของสปอนเซอร์ทั้ง 9 รายนั้น ได้ลิขสิทธิ์เฉพาะการโฆษณาในช่วงเวลาถ่ายทอดสดการแข่งขัน ทั้ง 64 แมตช์ จำนวนรวม 1,344 นาที แบ่งตามสัดส่วนของการลงขัน แต่ไม่มีสิทธิในการนำลิขสิทธิ์ที่ได้ไปทำการใด ๆ ในเชิงพาณิชย์ เช่น เก็บค่าเข้าชมฟุตบอลโลกในพื้นที่ของตนเอง นำโลโก้ของตนเองไปคู่กับโลโก้ของฟีฟ่า
สำหรับเงินลงขัน 1,400 ล้านบาทนั้น ต้องนำไปจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 1,100 ล้านบาท และเงินส่วนที่เหลือก็ต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ ค่าดำเนินการรับสัญญาณถ่ายทอดสด การทำสื่อประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ และกิจกรรมอีเวนท์เพื่อโปรโมทฟุตบอลโลก เช่น แคมเปญ สวัสดีบอลโลก
โดยทรูวิชั่นส์ได้ทำการแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามโครงสร้างที่ได้ดำเนินการกันมาตั้งแต่ต้น (ซึ่งหมายถึงตามข้อเสนอที่ทางคิงเพาเวอร์ได้ทำไว้ตั้งแต่แรก ก่อนที่ทรูวิชั่นส์จะมารับช่วงต่อ) พร้อมทั้งได้ทำการชี้แจงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้รัฐบาลและสปอนเซอร์เอกชนทั้ง 9 รายรับทราบตลอด โดยต้องให้อนุมัติก่อนดำเนินงานใด ๆ ทุกครั้ง
ผังการถ่ายทอด
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย ทั้งหมด 64 แมตช์ ที่ประเทศรัสเซีย จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 กรกฎาคม 2561 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดการถ่ายทอดสดของช่องทีวีดิจิตัลไทยที่ได้รับอนุมัติให้ถ่ายทอดสดออกมา เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการเจรจาตกลงกัน แต่ทางทรูวิชั่นส์ได้แจ้งต่อกสทช. แล้วว่า จะส่งผังรายการถ่ายทอดสดทั้งหมดให้กสทช. อย่างช้าที่สุด 7 วันก่อนการแข่งขันนัดเปิดสนาม ซึ่งก็น่าจะไม่เกินวันที่ 7 มิถุนายน 2561
เคลียร์คัตชัดเจนกันไปทุกประเด็นข้อกังขา สรุปง่าย ๆ ว่า ฟีฟ่าเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ ให้ผู้ร่วมลงขันทุกราย รวมทั้งทรูวิชั่นส์ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังต้องให้เป็นไปตามกฎของกสทช. และข้อตกลงร่วมกันในหมู่สปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย ซึ่งมีมาก่อนที่ทรูวิชั่นส์จะเข้ามารับช่วงการดำเนินงานต่อ จึงไม่ใช่สิ่งที่ทรูวิชั่นส์กำหนดขึ้นมาเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้น อะไรก็แล้วแต่ ผมว่าเอาจริง ๆ ผู้ชมคนดูฟุตบอลโลก คงไม่ได้ไปสนใจอะไรในจุดต่าง ๆ เหล่านั้นสักเท่าไร ตราบใดที่ได้ดูการถ่ายทอดสดแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ในฐานะแฟนบอลชาวไทย กระผมเองก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงกับทรูวิชั่นส์ สปอนเซอร์ทั้ง 9 ราย และรัฐบาล โดยเฉพาะท่านรองนายกฯ ประวิตร ที่ทำให้พวกเราได้ดูฟุตบอลโลกในปีนี้กันเต็มอิ่ม โดยไม่ต้องเสียตังค์เพิ่มซักกะบาทเดียว ก็ขอให้เจ้าภาพจงเจริญนะครับ ^_^
----------------------------
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้