เผอิญได้อ่านเจอบทความนี้จากอินเตอร์เน็ตจึงเอามาแบ่งปันให้อ่านกัน เผื่อว่าจะเป็นกำลังใจให้ทุกคนไม่มากก็น้อย ถ้าหากใครเคยอ่านแล้วก็ขออภัยด้วยที่เอามาลงซ้ำ
webต้นฉบับ
https://thematter.co/byte/why-we-burned-out/6966
AUGUST 3, 2016 by THANET RATANAKUL
เมื่อการลาออกไม่ใช่คำตอบ จะโหมไฟที่วอดกลับมาอย่างไร
คุณนอนแน่นิ่งจมอยู่บนเตียง แม้ลืมตาตื่นมานานกว่า 10 นาที แต่ดูเหมือนร่างกายจะไม่ยอมรับคำสั่งใดๆ การเคลื่อนไหวอืดอาดราวจมในบ่อน้ำมันหนืดๆ ไหนจะต้องอาบน้ำแต่งตัว ไหนจะต้องฝ่ารถติดสุดวิปโยค เพื่อไปนั่งในคอกแคบๆ รอให้เวลามันหมดๆไปในแต่ละวัน
มันน่าแปลกนะ! ทั้งที่เมื่อก่อนคุณเคยบอกกับตัวเองว่า ‘งานที่ทำอยู่มันน่าตื่นเต้นสุดๆ’ แถมตำแหน่งของคุณก็ต้องแย่งชิงกับคนเป็นร้อยๆ อยู่จุดนี้ได้ไม่ใช่เพราะดวงแน่ๆ แต่กลายเป็นว่าคุณกลับไม่รู้สึกพอใจในงานที่ทำอยู่ สิ่งที่เคยใฝ่ฝันกลายเป็นกับดักอันขมขื่นค่อยๆ กัดกร่อนคุณทีล่ะน้อย
หากเริ่มรู้สึกแบบนี้ทุกๆ เช้า เราว่าคุณ ‘หมดไฟ’ แล้วล่ะ!
ภาวะไร้กำลังใจในการทำงานเป็นภัยที่เราไม่กล้าเปิดอก และมันก็ร้ายกาจพอที่จะทำให้ชีวิตพวกเราหยุดชะงัก เมื่อความพึงพอใจในผลงานกำลังอยู่ในขั้นเปราะบางดุจแก้วราคาถูก
ทำอย่างไรพวกเราถึงจะโหมกระพือไฟอันริบหรี่ให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้พวกเราไหมก่อนที่ทุกอย่างจะลงเหว?
จุดเริ่มต้นที่คนเทงาน
‘ความหมดไฟ’ ที่ดูเป็นเรื่องเบสิกไม่ว่าใครๆ ก็ต้องเผชิญ กลับกลายเป็นของแปลกประหลาดในวงการจิตวิทยา ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็มึนตึ้บไปตามๆ กัน เพราะจู่ๆ ผู้คนหันหลังให้งานตัวเอง เหนื่อยล้า อ่อนแรงราวกับถูกโรคระบาด
นักจิตวิทยาหลายสำนักเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ความหมดไฟอย่างจริงๆ จังๆ ก็เมื่อหลาย 10 ปีให้หลัง ก่อนหน้านี้อาการถอดใจเทงานกลางคัน ยังเป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบทางสังคมไม่ได้ ทำไมผู้คนถึงทิ้งงานในฝัน เพียงเพราะความเบื่อหน่าย ถอดใจ ราวกับอาการทางจิตที่แพร่ระบาดได้จากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่ง
ในช่วงต้นปี 1970 เป็นจุดเริ่มต้นของคำอุบัติใหม่ ‘Burnout (หมดไฟ)’ เป็นครั้งแรก โดยเฉพาะสังคมคนทำงานด้านบริการ และพนักงานตามบริษัทห้างร้านใหม่ๆ ที่เปิดตัวราวกับดอกเห็ด แต่โอกาสการทำงานที่มากขึ้น ก็ไม่ได้การันตีสวัสดิภาพการทำงานที่ดี พนักงานส่วนใหญ่กลับเผชิญสภาพแวดล้อมบีบคั้นและแข่งขันสูง จนเกิดการลาออกกันพรวดๆ ดั่งภาวะสมองไหล
Herbert Freudenberger นักจิตวิทยาสังคมคนแรกๆ ชาวเยอรมันที่เติบโตในอเมริกา ได้เริ่มศึกษาปรากฏการณ์นี้อย่างต่อเนื่องและจัดพิมพ์เป็นบทความวิชาการหลายชุด หรือกล่าวได้ว่า Herbert คือ ‘บิดาแห่งความหมดไฟ’ ก็คงไม่แปลก (ฮ่าๆ แย่จัง ดูไม่น่าคบ) สาระสำคัญของ Herbert พบว่า
พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกหมดกำลังใจ เนื่องจากพวกเขาขาดทรัพยากรที่เพียงพอในการทำหน้าที่ให้ดี แทนที่พวกเขากำลังรู้สึกว่าทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น กลับต้องจมอยู่กับการต่อสู้ต่อระบบทำงานที่เฮงซวยไร้แบบแผนที่ดูไม่มีวันจบสิ้น
ผนวกกับต้นปี 1980 เศรษฐกิจโลกค่อนข้างฟื้นตัวและเปิดโอกาสให้บริษัทแข่งขันในตลาดเสรี แต่บริษัทหน้าใหม่ๆ กลับมีระบบภายในที่ยังไม่เสถียร และ CEO หน้าใสยังไม่มีประสบการณ์บริหาร จึงต้องพึ่งที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) เพื่อหยุดยั้งภาวะสมองไหลของคนทำงาน แต่ระยะหลังๆกลายเป็นการปัดภาระความรับผิดชอบให้ HR เพื่อพลิกฟื้นศรัทธาผู้คนในองค์กร (โห ให้ฉันขี่จรวดไปกู้โลกยังจะง่ายกว่า – HR นางหนึ่งไม่ได้กล่าว)
แต่คนในแผนก HR เอง ก็ยังจะออกเถอะ โถ่ๆ อย่าตั้งความหวังสูงสิ!
ลูปนรก ดับไฟ กลางใจเธอ
จะออกจากงานเหรอ? เอาเป็นว่า มันอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักสำหรับคุณ (และพวกเราส่วนใหญ่) ซึ่งยังมีภาระดุจชนักติดหลังอันเขื่อง และการเปลี่ยนงานอย่างกะทันหันก็ไม่ได้ทำให้คุณพบงานในฝันแบบเสกได้ หากพวกเรายังไม่เข้าใจธรรมชาติของความหมดไฟ ต่อในคุณรับงานชิ้นใหม่ ลูปนรกก็พร้อมกลืนกินคุณอยู่ดี
ก่อนหน้านี้นักจิตวิทยาพยายามหาข้อสรุปจากข้อมูลที่มีอยู่น้อยนิดว่า ‘ความหมดไฟเกิดจากการทำงานหนักโดยขาดการพักผ่อน’ แต่เมื่อมีการศึกษาชุดใหม่ๆ เพิ่มเติม ปรากฏว่าความเหนื่อยล้าไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดของการแพร่ระบาดทางอารมณ์ แต่เสมือนเป็นการกรุยทางเล็กๆ ให้คุณอยากจะถีบตัวออกจากบรรยากาศการทำงานแบบเดิมๆ หรือจะกล่าวว่า “เหนื่อยกายไม่เท่าเหนื่อยใจ” หากจะมองในมิตินี้ก็ไม่ผิดนัก
ภาวะหมดไฟ เริ่มขึ้นด้วยพื้นฐานง่ายๆ ไม่ซับซ้อนในช่วงแรกๆ ซึ่ง Herbert Freudenberger เรียบเรียงไว้หลายครั้งในบทความของเขา
คุณเหนื่อยเกินไป การลงแรงกาย สติปัญญาและเวลา ทำให้คุณเผาพลาญพลังงานแต่ละวันอย่างเต็มสูบราวเครื่องยนต์ดีเซล V8 ขาดการนอนหลับที่เพียงพอ กลับมาบ้านแล้วก็ต้องรับผิดชอบภาระที่คั่งค้างอีก ทำให้คุณขาดช่วงเวลาดีๆ ในการฟื้นตัว
รู้สึกไม่มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมากลับน่าผิดหวัง เทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่คุณแลกมันไป ทำมากกลับได้น้อย แถมไม่โดนใจอีก ถูกเรียกให้ไปคิดแผนแต่เจ้านายกลับไปใช้ของเดิมๆ ทำให้คุณรู้สึกเสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์ ขาดการสื่อสารที่ดีกับผู้บังคับบัญชา หรือพวกเขาไม่เคยเอ่ยปากชมคุณเลย
เหยียดหยามงานที่ทำ คุณรู้สึกว่างานที่ทำไร้ค่าสิ้นดี ไม่ทำให้คุณเรียนรู้ใหม่ๆ ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากมัน เหมือนผลงานคุณถูกแตะเข้าชั้นวางรองเท้า เจ้านายมอบภารกิจที่ฝืนต่อมโนสำนึกของคุณ จนเกิดเป็นความเกลียดชังต่องานที่ทำ
หมดไฟและตีตัวออกห่าง งานที่ทำไม่มีความหมายเสียแล้วในตอนนี้ บรรยากาศของเพื่อนร่วมงานก็ล้วนแต่แทงข้างหลัง ไม่มีใครอยู่ข้างคุณ จนคุณเริ่มตีตัวออกห่างจากความรับผิดชอบ เมินเฉยต่อ Outcome ที่เกิดขึ้น เมื่อถึงเวลาประชุมก็เสกตัวเองเป็นปูนปั้นไม่หือไม่อือ บางรายแย่หน่อยแผลงฤทธิ์ต่อพนักงานใหม่ๆ ให้หมดกำลังใจตามไปด้วย ขัดขวางการทำงานของส่วนรวม รอวันรับซองขาวและเงินชดเชยต่อไป
ลูปนรก 4 ขั้น มักทำงานซ้ำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า
ผลสำรวจพบว่า คนทำงานที่อยู่ในตำแหน่งกลางๆ ในองค์กร มักประสบปัญหาหมดไฟมากที่สุด เนื่องจากหมดความหวังที่จะไต่เต้าในระดับที่สูงกว่า และไม่มีความรู้สึกอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ ส่วนคนทำงานด้านบริการจะรู้สึกหมดไฟจากเวลาการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่กดดัน จำเจ ก็เป็นตัวจุดระเบิดชั้นดีเช่นกัน
มีหวังสิน่า
ภาวะหมดไฟไม่ได้อับจนหนทางขนาดนั้น ตราบใดที่คุณเชื่อว่าจะพัฒนามันให้ดีขึ้นได้ ในปี 2013 มีงานศึกษาของ Finnish Institute of Occupational Health พบว่ากลุ่มตัวอย่างคนวัยทำงานกว่า 4,000 ราย แม้ว่ารู้สึกตัวเองหมดไฟไปแล้ว แต่ก็พร้อมจะจุดไฟให้ลุกขึ้นมาอีกครั้ง หากองค์กรยินดีจะเปิดใจสื่อสารกับพวกเขามากขึ้น และทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่มีความสำคัญอีกครั้ง
ภาวะหมดไฟไม่ได้ทำร้ายแค่องค์กร แต่ทำร้ายผู้คนที่อยู่รอบๆ ด้วย มีผลทางสถิติในปี 2000 ถึง 2008 ระว่า กลุ่มคนทำงานที่หมดไฟมีแนวโน้มจะเสพติดยาคลายเครียดและยาระงับประสาทขนานที่เป็นอันตราย และมีสิทธิ์ติดสารเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ ได้
CREW เปลี่ยนบรรยากาศให้น่าภิรมย์
ในองค์กรที่รับผลกระทบจากภาวะหมดไฟจากคนทำงาน ต้องแตะเบรกจังหวะองค์กรลงมาอีกนิด หลายบริษัทที่เล็งเห็นความสำคัญจึงออกแบบการอบรมโดยได้รับการแนะนำโดยนักจิตวิทยา โดยเรียกมันว่า CREW (Civility respect and engagement in the workplace) โดนยึดหลัก ความสุภาพ ให้ความเคารพ และการมีส่วนร่วมในที่ทำงาน
บรรยากาศที่ทำงานสร้างผลกระทบอย่างร้ายกาจต่อผู้คน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียนรู้และซึมซับจากสภาพแวดล้อมรอบตัว บรรยากาศที่เป็นภัยมักสร้างความกดดันและเปลี่ยนพนักงานแสนดีให้เป็นตัวละครใน Game Of Thrones จนบางทีคุณก็อยากเอายาเบื่อไปผสมกาแฟให้กิน
CREW จึงแก้ปัญหาโดยการสร้างความสุภาพในบรรยากาศการทำงาน โน้มน้าวคนในสายบังคับบัญชาให้พูดจาสุภาพ ไม่ดูแคลนกัน เคารพต่อพื้นที่ของพนักงานและไม่ก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัว
แต่อย่าหวังว่าบริษัททุกแห่งจะใช้ CREW เพื่อมาแก้ปัญหา เพราะบางที่ยังไม่รู้เลยว่ากำลังเจอปัญหาอยู่
ดังนั้นคุณต้องแกร่งกว่าเดิม
แกร่งกว่าเดิม
แม้หลายบริษัทพยายามเค้นประสิทธิภาพคุณออกมาราวกับบี้หลอดยาสีฟัน นั่นทำให้คุณต้องพร้อมอและเสริมความแกร่งของจิตใจอยู่เสมอ ถ้ารอคอยการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือยังไม่พร้อมที่จะลาออกในเร็วๆ นี้ ไฟที่มอดไหม้คุณก็ต้องเป็นผู้จุดมันขึ้นมาเอง
ฟิตกว่าเดิม สุขภาพคือปราการด่านแรกที่จะทำให้คุณแกร่งกว่าเดิม การนอนหลับอย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารครบในแต่ละวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้คุณไม่หมดแรงง่ายๆ แม้เปลี่ยนงานไม่ได้ แต่คุณเปลี่ยนความอึดได้ สุขภาพที่ดีจะทำให้คุณเป็นเจ้าของวงจรชีวิตอีกครั้ง ชีวิตส่วนตัวคุณเองก็จำเป็นต้องได้รับการเติมเต็ม การออกแบบโครงสร้างชีวิตส่วนตัวขึ้นมาทำให้รู้ว่า ใครกำลังกุมบังเหียนชีวิตอยู่ ไม่ใช่ระบบหรอกที่มาครอบมันไว้
ใช้กฎ 30 นาที นักจิตวิทยาแนะนำให้คุณเปลี่ยนวงจรชีวิตตัวเองโดยทำทุกอย่างให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 30 นาที เช่นตื่นก่อน 30 นาที ออกจากบ้านก่อน 30 นาที เพื่อให้คุณรู้สึกว่าควบคุมเวลาได้ และกล้าที่จะจัดการกับเวลาของตัวเองมากขึ้น บรรยากาศของเวลา 30 นาทีก็แตกต่างไปแล้วจากรูทีนชีวิตเดิมๆ
ไม่ต้องมีพันธมิตรทุกคน ขอเพียง’บางคน’ ไม่มีใครทำให้ทุกคนรักได้ ดังนั้นจึงคัดสรรเพื่อนร่วมทำงานเพียงบางคนที่คุณสามารถหาเวลาทำกิจกรรมลดความตึงเครียดร่วมกันได้ พลังสนับสนุนของมิตรภาพสร้างพันธมิตรทางอารมณ์ได้อย่างดี แชร์ความล้มเหลวให้เขารับรู้บ้าง คุณจะทราบว่าคนรอบๆ ตัวคุณล้วนอ่อนไหวต่อความรู้สึก ถ้าคุณเริ่มก่อน
คราฟท์งานตัวเอง ไม่มีใครรู้หรอกว่างานในฝันของคุณคืออะไร แล้วอาจไม่มีตำแหน่งนั้นอยู่เลยก็ได้ การคราฟงานตัวเองทีละนิดและค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ หรือลงทุนกับมันไปบ้างตามความเหมาะสม ทำให้คุณอยู่กับงานได้นานขึ้น และงานที่คุณรักจะเติมเชื้อไฟที่ดีได้
ความหมดไฟคือธรรมชาติ เมื่ออาการเริ่มเกิดขึ้น แต่คุณรู้ตัวก่อนแล้วเนิ่นๆ ทำให้คุณรับมือกับความหมดไฟก่อนจะเปลี่ยนเป็นพนักงานที่ใครๆ เกลียดชัง
ไม่มีอะไรเลวร้ายเท่ากับการเติบโตเป็นไปเป็นคนที่คุณเกลียดอีกแล้ว
อ้างอิงข้อมูลจาก
Early Predictors of Job Burnout and Engagement. Christina Maslach and Michael P in Journal of Applied Psychology Vol. 93 May 2008
Organizational Predictiors and Health Consequences of Changes in Burnout in Organizational Behevior, Vol. 34 October 2013
Burne
บทความดีๆ เมื่อการลาออกไม่ใช่คำตอบและกำลังหมดไฟในการทำงาน
webต้นฉบับ
https://thematter.co/byte/why-we-burned-out/6966
AUGUST 3, 2016 by THANET RATANAKUL
เมื่อการลาออกไม่ใช่คำตอบ จะโหมไฟที่วอดกลับมาอย่างไร
คุณนอนแน่นิ่งจมอยู่บนเตียง แม้ลืมตาตื่นมานานกว่า 10 นาที แต่ดูเหมือนร่างกายจะไม่ยอมรับคำสั่งใดๆ การเคลื่อนไหวอืดอาดราวจมในบ่อน้ำมันหนืดๆ ไหนจะต้องอาบน้ำแต่งตัว ไหนจะต้องฝ่ารถติดสุดวิปโยค เพื่อไปนั่งในคอกแคบๆ รอให้เวลามันหมดๆไปในแต่ละวัน
มันน่าแปลกนะ! ทั้งที่เมื่อก่อนคุณเคยบอกกับตัวเองว่า ‘งานที่ทำอยู่มันน่าตื่นเต้นสุดๆ’ แถมตำแหน่งของคุณก็ต้องแย่งชิงกับคนเป็นร้อยๆ อยู่จุดนี้ได้ไม่ใช่เพราะดวงแน่ๆ แต่กลายเป็นว่าคุณกลับไม่รู้สึกพอใจในงานที่ทำอยู่ สิ่งที่เคยใฝ่ฝันกลายเป็นกับดักอันขมขื่นค่อยๆ กัดกร่อนคุณทีล่ะน้อย
หากเริ่มรู้สึกแบบนี้ทุกๆ เช้า เราว่าคุณ ‘หมดไฟ’ แล้วล่ะ!
ภาวะไร้กำลังใจในการทำงานเป็นภัยที่เราไม่กล้าเปิดอก และมันก็ร้ายกาจพอที่จะทำให้ชีวิตพวกเราหยุดชะงัก เมื่อความพึงพอใจในผลงานกำลังอยู่ในขั้นเปราะบางดุจแก้วราคาถูก
ทำอย่างไรพวกเราถึงจะโหมกระพือไฟอันริบหรี่ให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้พวกเราไหมก่อนที่ทุกอย่างจะลงเหว?
จุดเริ่มต้นที่คนเทงาน
‘ความหมดไฟ’ ที่ดูเป็นเรื่องเบสิกไม่ว่าใครๆ ก็ต้องเผชิญ กลับกลายเป็นของแปลกประหลาดในวงการจิตวิทยา ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็มึนตึ้บไปตามๆ กัน เพราะจู่ๆ ผู้คนหันหลังให้งานตัวเอง เหนื่อยล้า อ่อนแรงราวกับถูกโรคระบาด
นักจิตวิทยาหลายสำนักเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ความหมดไฟอย่างจริงๆ จังๆ ก็เมื่อหลาย 10 ปีให้หลัง ก่อนหน้านี้อาการถอดใจเทงานกลางคัน ยังเป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบทางสังคมไม่ได้ ทำไมผู้คนถึงทิ้งงานในฝัน เพียงเพราะความเบื่อหน่าย ถอดใจ ราวกับอาการทางจิตที่แพร่ระบาดได้จากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่ง
ในช่วงต้นปี 1970 เป็นจุดเริ่มต้นของคำอุบัติใหม่ ‘Burnout (หมดไฟ)’ เป็นครั้งแรก โดยเฉพาะสังคมคนทำงานด้านบริการ และพนักงานตามบริษัทห้างร้านใหม่ๆ ที่เปิดตัวราวกับดอกเห็ด แต่โอกาสการทำงานที่มากขึ้น ก็ไม่ได้การันตีสวัสดิภาพการทำงานที่ดี พนักงานส่วนใหญ่กลับเผชิญสภาพแวดล้อมบีบคั้นและแข่งขันสูง จนเกิดการลาออกกันพรวดๆ ดั่งภาวะสมองไหล
Herbert Freudenberger นักจิตวิทยาสังคมคนแรกๆ ชาวเยอรมันที่เติบโตในอเมริกา ได้เริ่มศึกษาปรากฏการณ์นี้อย่างต่อเนื่องและจัดพิมพ์เป็นบทความวิชาการหลายชุด หรือกล่าวได้ว่า Herbert คือ ‘บิดาแห่งความหมดไฟ’ ก็คงไม่แปลก (ฮ่าๆ แย่จัง ดูไม่น่าคบ) สาระสำคัญของ Herbert พบว่า
พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกหมดกำลังใจ เนื่องจากพวกเขาขาดทรัพยากรที่เพียงพอในการทำหน้าที่ให้ดี แทนที่พวกเขากำลังรู้สึกว่าทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น กลับต้องจมอยู่กับการต่อสู้ต่อระบบทำงานที่เฮงซวยไร้แบบแผนที่ดูไม่มีวันจบสิ้น
ผนวกกับต้นปี 1980 เศรษฐกิจโลกค่อนข้างฟื้นตัวและเปิดโอกาสให้บริษัทแข่งขันในตลาดเสรี แต่บริษัทหน้าใหม่ๆ กลับมีระบบภายในที่ยังไม่เสถียร และ CEO หน้าใสยังไม่มีประสบการณ์บริหาร จึงต้องพึ่งที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management) เพื่อหยุดยั้งภาวะสมองไหลของคนทำงาน แต่ระยะหลังๆกลายเป็นการปัดภาระความรับผิดชอบให้ HR เพื่อพลิกฟื้นศรัทธาผู้คนในองค์กร (โห ให้ฉันขี่จรวดไปกู้โลกยังจะง่ายกว่า – HR นางหนึ่งไม่ได้กล่าว)
แต่คนในแผนก HR เอง ก็ยังจะออกเถอะ โถ่ๆ อย่าตั้งความหวังสูงสิ!
ลูปนรก ดับไฟ กลางใจเธอ
จะออกจากงานเหรอ? เอาเป็นว่า มันอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักสำหรับคุณ (และพวกเราส่วนใหญ่) ซึ่งยังมีภาระดุจชนักติดหลังอันเขื่อง และการเปลี่ยนงานอย่างกะทันหันก็ไม่ได้ทำให้คุณพบงานในฝันแบบเสกได้ หากพวกเรายังไม่เข้าใจธรรมชาติของความหมดไฟ ต่อในคุณรับงานชิ้นใหม่ ลูปนรกก็พร้อมกลืนกินคุณอยู่ดี
ก่อนหน้านี้นักจิตวิทยาพยายามหาข้อสรุปจากข้อมูลที่มีอยู่น้อยนิดว่า ‘ความหมดไฟเกิดจากการทำงานหนักโดยขาดการพักผ่อน’ แต่เมื่อมีการศึกษาชุดใหม่ๆ เพิ่มเติม ปรากฏว่าความเหนื่อยล้าไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมดของการแพร่ระบาดทางอารมณ์ แต่เสมือนเป็นการกรุยทางเล็กๆ ให้คุณอยากจะถีบตัวออกจากบรรยากาศการทำงานแบบเดิมๆ หรือจะกล่าวว่า “เหนื่อยกายไม่เท่าเหนื่อยใจ” หากจะมองในมิตินี้ก็ไม่ผิดนัก
ภาวะหมดไฟ เริ่มขึ้นด้วยพื้นฐานง่ายๆ ไม่ซับซ้อนในช่วงแรกๆ ซึ่ง Herbert Freudenberger เรียบเรียงไว้หลายครั้งในบทความของเขา
คุณเหนื่อยเกินไป การลงแรงกาย สติปัญญาและเวลา ทำให้คุณเผาพลาญพลังงานแต่ละวันอย่างเต็มสูบราวเครื่องยนต์ดีเซล V8 ขาดการนอนหลับที่เพียงพอ กลับมาบ้านแล้วก็ต้องรับผิดชอบภาระที่คั่งค้างอีก ทำให้คุณขาดช่วงเวลาดีๆ ในการฟื้นตัว
รู้สึกไม่มีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ที่ออกมากลับน่าผิดหวัง เทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่คุณแลกมันไป ทำมากกลับได้น้อย แถมไม่โดนใจอีก ถูกเรียกให้ไปคิดแผนแต่เจ้านายกลับไปใช้ของเดิมๆ ทำให้คุณรู้สึกเสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์ ขาดการสื่อสารที่ดีกับผู้บังคับบัญชา หรือพวกเขาไม่เคยเอ่ยปากชมคุณเลย
เหยียดหยามงานที่ทำ คุณรู้สึกว่างานที่ทำไร้ค่าสิ้นดี ไม่ทำให้คุณเรียนรู้ใหม่ๆ ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากมัน เหมือนผลงานคุณถูกแตะเข้าชั้นวางรองเท้า เจ้านายมอบภารกิจที่ฝืนต่อมโนสำนึกของคุณ จนเกิดเป็นความเกลียดชังต่องานที่ทำ
หมดไฟและตีตัวออกห่าง งานที่ทำไม่มีความหมายเสียแล้วในตอนนี้ บรรยากาศของเพื่อนร่วมงานก็ล้วนแต่แทงข้างหลัง ไม่มีใครอยู่ข้างคุณ จนคุณเริ่มตีตัวออกห่างจากความรับผิดชอบ เมินเฉยต่อ Outcome ที่เกิดขึ้น เมื่อถึงเวลาประชุมก็เสกตัวเองเป็นปูนปั้นไม่หือไม่อือ บางรายแย่หน่อยแผลงฤทธิ์ต่อพนักงานใหม่ๆ ให้หมดกำลังใจตามไปด้วย ขัดขวางการทำงานของส่วนรวม รอวันรับซองขาวและเงินชดเชยต่อไป
ลูปนรก 4 ขั้น มักทำงานซ้ำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า
ผลสำรวจพบว่า คนทำงานที่อยู่ในตำแหน่งกลางๆ ในองค์กร มักประสบปัญหาหมดไฟมากที่สุด เนื่องจากหมดความหวังที่จะไต่เต้าในระดับที่สูงกว่า และไม่มีความรู้สึกอยากก้าวหน้าในสายอาชีพ ส่วนคนทำงานด้านบริการจะรู้สึกหมดไฟจากเวลาการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่กดดัน จำเจ ก็เป็นตัวจุดระเบิดชั้นดีเช่นกัน
มีหวังสิน่า
ภาวะหมดไฟไม่ได้อับจนหนทางขนาดนั้น ตราบใดที่คุณเชื่อว่าจะพัฒนามันให้ดีขึ้นได้ ในปี 2013 มีงานศึกษาของ Finnish Institute of Occupational Health พบว่ากลุ่มตัวอย่างคนวัยทำงานกว่า 4,000 ราย แม้ว่ารู้สึกตัวเองหมดไฟไปแล้ว แต่ก็พร้อมจะจุดไฟให้ลุกขึ้นมาอีกครั้ง หากองค์กรยินดีจะเปิดใจสื่อสารกับพวกเขามากขึ้น และทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่มีความสำคัญอีกครั้ง
ภาวะหมดไฟไม่ได้ทำร้ายแค่องค์กร แต่ทำร้ายผู้คนที่อยู่รอบๆ ด้วย มีผลทางสถิติในปี 2000 ถึง 2008 ระว่า กลุ่มคนทำงานที่หมดไฟมีแนวโน้มจะเสพติดยาคลายเครียดและยาระงับประสาทขนานที่เป็นอันตราย และมีสิทธิ์ติดสารเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ ได้
CREW เปลี่ยนบรรยากาศให้น่าภิรมย์
ในองค์กรที่รับผลกระทบจากภาวะหมดไฟจากคนทำงาน ต้องแตะเบรกจังหวะองค์กรลงมาอีกนิด หลายบริษัทที่เล็งเห็นความสำคัญจึงออกแบบการอบรมโดยได้รับการแนะนำโดยนักจิตวิทยา โดยเรียกมันว่า CREW (Civility respect and engagement in the workplace) โดนยึดหลัก ความสุภาพ ให้ความเคารพ และการมีส่วนร่วมในที่ทำงาน
บรรยากาศที่ทำงานสร้างผลกระทบอย่างร้ายกาจต่อผู้คน มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียนรู้และซึมซับจากสภาพแวดล้อมรอบตัว บรรยากาศที่เป็นภัยมักสร้างความกดดันและเปลี่ยนพนักงานแสนดีให้เป็นตัวละครใน Game Of Thrones จนบางทีคุณก็อยากเอายาเบื่อไปผสมกาแฟให้กิน
CREW จึงแก้ปัญหาโดยการสร้างความสุภาพในบรรยากาศการทำงาน โน้มน้าวคนในสายบังคับบัญชาให้พูดจาสุภาพ ไม่ดูแคลนกัน เคารพต่อพื้นที่ของพนักงานและไม่ก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัว
แต่อย่าหวังว่าบริษัททุกแห่งจะใช้ CREW เพื่อมาแก้ปัญหา เพราะบางที่ยังไม่รู้เลยว่ากำลังเจอปัญหาอยู่
ดังนั้นคุณต้องแกร่งกว่าเดิม
แกร่งกว่าเดิม
แม้หลายบริษัทพยายามเค้นประสิทธิภาพคุณออกมาราวกับบี้หลอดยาสีฟัน นั่นทำให้คุณต้องพร้อมอและเสริมความแกร่งของจิตใจอยู่เสมอ ถ้ารอคอยการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือยังไม่พร้อมที่จะลาออกในเร็วๆ นี้ ไฟที่มอดไหม้คุณก็ต้องเป็นผู้จุดมันขึ้นมาเอง
ฟิตกว่าเดิม สุขภาพคือปราการด่านแรกที่จะทำให้คุณแกร่งกว่าเดิม การนอนหลับอย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารครบในแต่ละวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้คุณไม่หมดแรงง่ายๆ แม้เปลี่ยนงานไม่ได้ แต่คุณเปลี่ยนความอึดได้ สุขภาพที่ดีจะทำให้คุณเป็นเจ้าของวงจรชีวิตอีกครั้ง ชีวิตส่วนตัวคุณเองก็จำเป็นต้องได้รับการเติมเต็ม การออกแบบโครงสร้างชีวิตส่วนตัวขึ้นมาทำให้รู้ว่า ใครกำลังกุมบังเหียนชีวิตอยู่ ไม่ใช่ระบบหรอกที่มาครอบมันไว้
ใช้กฎ 30 นาที นักจิตวิทยาแนะนำให้คุณเปลี่ยนวงจรชีวิตตัวเองโดยทำทุกอย่างให้เร็วขึ้นกว่าเดิม 30 นาที เช่นตื่นก่อน 30 นาที ออกจากบ้านก่อน 30 นาที เพื่อให้คุณรู้สึกว่าควบคุมเวลาได้ และกล้าที่จะจัดการกับเวลาของตัวเองมากขึ้น บรรยากาศของเวลา 30 นาทีก็แตกต่างไปแล้วจากรูทีนชีวิตเดิมๆ
ไม่ต้องมีพันธมิตรทุกคน ขอเพียง’บางคน’ ไม่มีใครทำให้ทุกคนรักได้ ดังนั้นจึงคัดสรรเพื่อนร่วมทำงานเพียงบางคนที่คุณสามารถหาเวลาทำกิจกรรมลดความตึงเครียดร่วมกันได้ พลังสนับสนุนของมิตรภาพสร้างพันธมิตรทางอารมณ์ได้อย่างดี แชร์ความล้มเหลวให้เขารับรู้บ้าง คุณจะทราบว่าคนรอบๆ ตัวคุณล้วนอ่อนไหวต่อความรู้สึก ถ้าคุณเริ่มก่อน
คราฟท์งานตัวเอง ไม่มีใครรู้หรอกว่างานในฝันของคุณคืออะไร แล้วอาจไม่มีตำแหน่งนั้นอยู่เลยก็ได้ การคราฟงานตัวเองทีละนิดและค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ หรือลงทุนกับมันไปบ้างตามความเหมาะสม ทำให้คุณอยู่กับงานได้นานขึ้น และงานที่คุณรักจะเติมเชื้อไฟที่ดีได้
ความหมดไฟคือธรรมชาติ เมื่ออาการเริ่มเกิดขึ้น แต่คุณรู้ตัวก่อนแล้วเนิ่นๆ ทำให้คุณรับมือกับความหมดไฟก่อนจะเปลี่ยนเป็นพนักงานที่ใครๆ เกลียดชัง
ไม่มีอะไรเลวร้ายเท่ากับการเติบโตเป็นไปเป็นคนที่คุณเกลียดอีกแล้ว
อ้างอิงข้อมูลจาก
Early Predictors of Job Burnout and Engagement. Christina Maslach and Michael P in Journal of Applied Psychology Vol. 93 May 2008
Organizational Predictiors and Health Consequences of Changes in Burnout in Organizational Behevior, Vol. 34 October 2013
Burne