คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
แปลกที่ยังไม่มีใครพูดถึงอั๊ตติลลาเลย
ฮังการีเป็นประเทศที่มีความพิเศษและน่าสนใจมากสมกับที่เจ้าของกระทู้ให้ความสนใจครับ
อย่างแรกก่อนเลยคือเรื่องภาษา ประเทศส่วนใหญ่ในภาคพื้นทวีปยุโรปจะมีรากศัพท์มาจาก Proto-Indo-European แต่ภาษาฮังการีนั้นมีรากศัพท์มาจาก Proto-Ugric ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเทือกเขาอูราล ซึ่งประเทศที่มีรากศัพท์มาจากแถบนี้ก็อย่างเช่น เอสโทเนียและฟินแลนด์ ซึ่งภูมิศาสตร์อยู่ทางชายขอบของทวีป ทว่าฮังการีดันเแนประเทศอยู่ใจกลางทวีปเลย ถูกรายล้อมไปด้วยผู้ที่พูดภาษาจากคนละต้นกำเนิดแต่กลับเนียนอยู่อย่างภาคภูมิ เดี๋ยวผมจะลองตั้งข้อสังเกตต่อไปว่าเพราะอะไรฮังการีถึงมาตีเนียนอยูู่ ณ ที่ตรงนี้ได้
ฮังการีหรือชาวฮันส์เดิมทีคาดว่าอยู่ระหว่างแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำโวลก้ากับเทือกเขาอูราล เป็นชนเผ่าที่หากินแบบเร่ร่อน ตรงนี้สืบเนื่องมาจากพื้นที่แถบนั้นเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์อันเหมาะกับการทำปศุสัตว์แบบเร่ร่อน มีการกล่าวถึงชนเผ่านี้ครั้งแรกในบันทึกของพโตเลมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่กล่าวถึงพวกที่อยู่แถบทุ่งหญ้ายูเรเซียน ซึ่งเรียกพวกนี้ว่า Χοῦνοι [khunoi] [โคนนอย] และมีอีกข้อสันนิษฐานจากทางแถบจีนซึ่งมีการกล่าวถึงพวก Xiongnu [qʰoŋ.nˤa] [คงนา] ซึ่งอยู่ทางแถบตะวันออกของทุ่งหญ้ายูเรเซียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็อาจจะหมายถึงพวกเดียวกับฮันส์นี่ก็ได้
พวกนี้ป้วนเปี้ยนอยู่ทางตะวันตกของอาณาจักรโรมันมาตั้งแต่ช่วง 100-500 AD แล้ว แต่ไม่เข้ามาตีหมู่บ้านละตินแถบโรมแบบพวกวิสิโกธ พวกฮันส์นี้ปกติจะถูกจ้างเป็นทหารรับจ้างเรียกได้ว่าแทบจะอยู่ทุกฝ่ายเลยก็ว่าได้ ทั้งโรมันตะวันตก ตะวันออก ใครจ้างก็ไป ก่อนที่จะถึงยุคของอั๊ตติลลาในปี 434-453 ซึ่งถือเป็นผู้รวบรวมชาวฮันส์ให้เป็นปึกแผ่น ไล่ตีเมืองในอาณาจักรโรมันไปทั่ว แต่ที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ในแง่ของการสู้รบเท่านั้น แต่เป็นทักษะทางด้านการเจรจาที่ถือว่าน่าสนใจ โดยเจรจาเรี่ยไรเงินจากโรมันตะวันออกอย่างที่ตัวเองได้กำไร พร้อมทั้งได้ที่ตั้งมั่นนั่นก็คือที่ราบฮังการีด้วย
มีอีกหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าชาวฮันส์หรือฮังการีมีเล่ห์เหลี่ยมในการเอาตัวรอดที่สูงมาก ตัวอย่างเช่นจากเรื่องของภาษา ที่แม้ว่าจะยังคงรากศัพท์ตัวเองไว้ได้ แต่ก็รับศัพท์จากละแวกใกล้เคียงมาทั่วไม่ว่าจะเป็น สลาวิกก็ดี ตุรกีก็ดี หรือเยอรมันเองพวกนี้ก็รับมาปรับใช้เป็นภาษาตัวเองได้หมด
หรืออย่างในช่วงหลังจากที่จักรวรรดิฮันส์ของอั๊ตติลลาล่มสลาย ข่าวคราวเงียบหายไปราว 3-4 ร้อยปี จู่ๆก็มีพวกกลุ่มที่รู้จักกันในนามว่าฮังการีในช่วงปี 800-900 ก็มาแนวเดียวกับฮันส์ในอดีตคือเป็นทหารรับจ้างให้กับรัฐของสลาฟชื่อโมราเวีย ซึ่งพยายามจะแย่งชิงพื้นที่ Carpathian Basin กับอาณาจักรบุลแกเรียและฟรานเซียตะวันออก แต่รัฐโมราเวียกลับล่มสลายและเป็นพวกฮังการีหัวโล้นที่ได้ครอบครองแผ่นดินผืนนี้ไปแทน ซึ่งก็เป็นแผ่นดินเดิมที่เคยยึดครองได้ในสมัยของอั๊ตติลลา
มีการบันทึกถึงพวกฮังการีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไว้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่น Regino แห่ง Prün ได้กล่าวถึงพวกนี้ว่าจับดาบฟาดฟันหรือตีเมืองอะไรไม่เป็นกับเขาหรอก แต่ขี่ม้าและใช้หน้าไม้ได้อย่างชำนิชำนาญ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพวกนี้ลูกเล่นมารยาเยอะ เช่นถอยหนีการต่อสู้ไปแบบดื้อๆ เป็นต้น
หรืออย่างผู้เป็นพ่อของสเตฟานที่ 1 แห่งฮังการี; ผู้สถาปนาจักรวรรดิฮังการีในปี 1000 ที่ตอนนั้นก็รับเอาศาสนาคริสต์มาแล้ว แม้ว่าจะมีท่าทางเอาจริงเอาจังที่จะเผยแผ่ความเชื่อแบบคริสเตียนในหมู่ชาวฮังการี แต่ก็ยังทำพิธีนอกรีดอยู่ ตรงนี้แสดงถึงความลื่นไหลแบบฮังการีได้อีกเช่นกัน
เมื่อเรามาลองดูหน้าตาคนฮังการี ที่ควรจะหน้าตาออกทางเอเชีย แต่ด้วยนิสัยที่กลมกลืนได้เก่งอย่างที่ได้เสนอไป ทำให้หน้าตาไม่ผิดแผกแตกต่างจากชาวยุโรปทั่วไปมากนัก ตรงนี้แสดงให้เห็นว่ามีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กับคนพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างชาวสลาวิก หรือชนอื่นๆ แต่สามารถครอบความเป็นฮังการี และสร้างความเป็นปึกแผ่นภายใต้ชื่อแม็กย่ารอสซ่าได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว
ตรงนี้ผมอธิบายแค่พอสังเขป น่าจะมีเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจอีกไม่น้อยรอคอยให้เจ้าของกระทู้ได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม
ฮังการีเป็นประเทศที่มีความพิเศษและน่าสนใจมากสมกับที่เจ้าของกระทู้ให้ความสนใจครับ
อย่างแรกก่อนเลยคือเรื่องภาษา ประเทศส่วนใหญ่ในภาคพื้นทวีปยุโรปจะมีรากศัพท์มาจาก Proto-Indo-European แต่ภาษาฮังการีนั้นมีรากศัพท์มาจาก Proto-Ugric ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเทือกเขาอูราล ซึ่งประเทศที่มีรากศัพท์มาจากแถบนี้ก็อย่างเช่น เอสโทเนียและฟินแลนด์ ซึ่งภูมิศาสตร์อยู่ทางชายขอบของทวีป ทว่าฮังการีดันเแนประเทศอยู่ใจกลางทวีปเลย ถูกรายล้อมไปด้วยผู้ที่พูดภาษาจากคนละต้นกำเนิดแต่กลับเนียนอยู่อย่างภาคภูมิ เดี๋ยวผมจะลองตั้งข้อสังเกตต่อไปว่าเพราะอะไรฮังการีถึงมาตีเนียนอยูู่ ณ ที่ตรงนี้ได้
ฮังการีหรือชาวฮันส์เดิมทีคาดว่าอยู่ระหว่างแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำโวลก้ากับเทือกเขาอูราล เป็นชนเผ่าที่หากินแบบเร่ร่อน ตรงนี้สืบเนื่องมาจากพื้นที่แถบนั้นเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์อันเหมาะกับการทำปศุสัตว์แบบเร่ร่อน มีการกล่าวถึงชนเผ่านี้ครั้งแรกในบันทึกของพโตเลมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่กล่าวถึงพวกที่อยู่แถบทุ่งหญ้ายูเรเซียน ซึ่งเรียกพวกนี้ว่า Χοῦνοι [khunoi] [โคนนอย] และมีอีกข้อสันนิษฐานจากทางแถบจีนซึ่งมีการกล่าวถึงพวก Xiongnu [qʰoŋ.nˤa] [คงนา] ซึ่งอยู่ทางแถบตะวันออกของทุ่งหญ้ายูเรเซียนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก็อาจจะหมายถึงพวกเดียวกับฮันส์นี่ก็ได้
พวกนี้ป้วนเปี้ยนอยู่ทางตะวันตกของอาณาจักรโรมันมาตั้งแต่ช่วง 100-500 AD แล้ว แต่ไม่เข้ามาตีหมู่บ้านละตินแถบโรมแบบพวกวิสิโกธ พวกฮันส์นี้ปกติจะถูกจ้างเป็นทหารรับจ้างเรียกได้ว่าแทบจะอยู่ทุกฝ่ายเลยก็ว่าได้ ทั้งโรมันตะวันตก ตะวันออก ใครจ้างก็ไป ก่อนที่จะถึงยุคของอั๊ตติลลาในปี 434-453 ซึ่งถือเป็นผู้รวบรวมชาวฮันส์ให้เป็นปึกแผ่น ไล่ตีเมืองในอาณาจักรโรมันไปทั่ว แต่ที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ในแง่ของการสู้รบเท่านั้น แต่เป็นทักษะทางด้านการเจรจาที่ถือว่าน่าสนใจ โดยเจรจาเรี่ยไรเงินจากโรมันตะวันออกอย่างที่ตัวเองได้กำไร พร้อมทั้งได้ที่ตั้งมั่นนั่นก็คือที่ราบฮังการีด้วย
มีอีกหลายอย่างที่บ่งชี้ว่าชาวฮันส์หรือฮังการีมีเล่ห์เหลี่ยมในการเอาตัวรอดที่สูงมาก ตัวอย่างเช่นจากเรื่องของภาษา ที่แม้ว่าจะยังคงรากศัพท์ตัวเองไว้ได้ แต่ก็รับศัพท์จากละแวกใกล้เคียงมาทั่วไม่ว่าจะเป็น สลาวิกก็ดี ตุรกีก็ดี หรือเยอรมันเองพวกนี้ก็รับมาปรับใช้เป็นภาษาตัวเองได้หมด
หรืออย่างในช่วงหลังจากที่จักรวรรดิฮันส์ของอั๊ตติลลาล่มสลาย ข่าวคราวเงียบหายไปราว 3-4 ร้อยปี จู่ๆก็มีพวกกลุ่มที่รู้จักกันในนามว่าฮังการีในช่วงปี 800-900 ก็มาแนวเดียวกับฮันส์ในอดีตคือเป็นทหารรับจ้างให้กับรัฐของสลาฟชื่อโมราเวีย ซึ่งพยายามจะแย่งชิงพื้นที่ Carpathian Basin กับอาณาจักรบุลแกเรียและฟรานเซียตะวันออก แต่รัฐโมราเวียกลับล่มสลายและเป็นพวกฮังการีหัวโล้นที่ได้ครอบครองแผ่นดินผืนนี้ไปแทน ซึ่งก็เป็นแผ่นดินเดิมที่เคยยึดครองได้ในสมัยของอั๊ตติลลา
มีการบันทึกถึงพวกฮังการีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไว้อย่างน่าสนใจ อย่างเช่น Regino แห่ง Prün ได้กล่าวถึงพวกนี้ว่าจับดาบฟาดฟันหรือตีเมืองอะไรไม่เป็นกับเขาหรอก แต่ขี่ม้าและใช้หน้าไม้ได้อย่างชำนิชำนาญ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพวกนี้ลูกเล่นมารยาเยอะ เช่นถอยหนีการต่อสู้ไปแบบดื้อๆ เป็นต้น
หรืออย่างผู้เป็นพ่อของสเตฟานที่ 1 แห่งฮังการี; ผู้สถาปนาจักรวรรดิฮังการีในปี 1000 ที่ตอนนั้นก็รับเอาศาสนาคริสต์มาแล้ว แม้ว่าจะมีท่าทางเอาจริงเอาจังที่จะเผยแผ่ความเชื่อแบบคริสเตียนในหมู่ชาวฮังการี แต่ก็ยังทำพิธีนอกรีดอยู่ ตรงนี้แสดงถึงความลื่นไหลแบบฮังการีได้อีกเช่นกัน
เมื่อเรามาลองดูหน้าตาคนฮังการี ที่ควรจะหน้าตาออกทางเอเชีย แต่ด้วยนิสัยที่กลมกลืนได้เก่งอย่างที่ได้เสนอไป ทำให้หน้าตาไม่ผิดแผกแตกต่างจากชาวยุโรปทั่วไปมากนัก ตรงนี้แสดงให้เห็นว่ามีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กับคนพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างชาวสลาวิก หรือชนอื่นๆ แต่สามารถครอบความเป็นฮังการี และสร้างความเป็นปึกแผ่นภายใต้ชื่อแม็กย่ารอสซ่าได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว
ตรงนี้ผมอธิบายแค่พอสังเขป น่าจะมีเรื่องอื่นๆที่น่าสนใจอีกไม่น้อยรอคอยให้เจ้าของกระทู้ได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ประเทศฮังการีเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์มากประเทศหนึ่งเลย ภาษาที่คนฮังการีใช้ก็มีความแปลก และมีเอกลักษณ์มากเช่นกัน ภาษาฮังการี(ม็อดยอร์)เป็นภาษาแทบไม่มีภาษาอื่นใกล้เคียง ภาษาที่คล้ายอยู่บ้างก็มีอยู่แถบยุโรปเหนือกับไซบีเรีย ซึ่งมีเพียงศัพท์บางคำเท่านั้นที่คล้ายกัน ภาษาฮังการีแกรมม่ายากมาก คำ ๆ หนึ่งสามารถต่อหางได้ยาวเป็นสิบพยางค์ เช่น คน(ember ; แอมแบร์), คนหลายคน(emberek ; แอมแบแร้ก), เพื่อคนหลายคน(embereknek ; แอมแบแร้กแน้ก) การสร้างประโยคภาษาฮังการีนั้นยากกว่ามาก เพราะมีการผันคำ(ต่อหาง)ทุกคำในประโยค และคำในประโยคสลับกันได้อีก (ยกตัวอย่างประโยค ฉันกินแอปเปิ้ล Almát eszek. (ออลม็าต แอแส็ก ; แอปเปิ้ล+ต - กิน+ฉัน) ออลม้อ(alma) คือ แอปเปิ้ล เติมตัวทีเข้าไปให้เป็นกรรมของประโยค กลายเป็นออลมาท(almát) คำว่ากิน(enni) ผันรูปให้เป็นฉันกินว่า eszek(แอแส้ก) ฯลฯ) ภาษาฮังการีใช้สระแอกับสระออเยอะมาก เพื่อในการผันคำต่อหาง เสียงจะได้เพราะขึ้น
อาหารฮังการีนั้นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนประเทศยุโรปกลางประเทศอื่น อาหารฮังการีใช้ปาปริก้าเป็นส่วนผสมเยอะมาก และมีการใส่เครื่องเทศอื่นๆให้เข้มข้น หน้าตาคล้ายแกงไทย แต่ไม่เปรี้ยว อาหารฮังการีมักจะใส่หอมหัวใหญ่ กระเทียม ซอร์ครีม และไขมัน ในการทำอาหาร คนฮังการีดื่มทุกอย่าง แต่ที่เป็นเครื่องดื่มประจำบ้านของที่นี่ เป็นเหล้ากลั่นผลไม้ มีชื่อว่า ปาลิงก้า วิธีทำก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ก็เอาผลไม้ไปหมักแล้วกลั่นไอเป็นน้ำเหมือนเหล้าขาวของประเทศไทย หน้าร้อนในฮังการีมีเทศกาลปาลิงก้าทุกปี คนที่นี่ชอบถึงขนาดที่ว่าแต่งเพลงให้ไอ้ปาลิงก้านี่เลบ
คนฮังการีนั้นมีความชาตินิยมสูงมาก การบริโภคอาหารหรือสิ่งของใช้สอยต่างๆนั้น คนฮังการีมักจะเลือกซื้อของที่ผลิตในประเทศมากกว่า คนฮังการีโหยหาอดีตของตัวเองมาก เมื่อก่อนประเทศฮังการีเคยมีขนาดใหญ่โต แต่หลังสงครามโลกครั้งที่1 ประเทศก็โดนแบ่งออก เหลือเพียง30% ทำให้มีคนฮังการีพลัดถิ่นอยู่มาก โดยเฉพาะในทรานซิลเวเนีย และสโลวาเกียตอนล่าง คนฮังการีจัดงานรำลึกทุกปีถการเสียดินแดน คนฮังการีถือว่าบทกลอน บทประพันธ์ของประเทศฮังการีนั้นไพเราะ
และการเต้นพื้นเมืองฮังการีนั้นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวฮังการีหวงแหนอนุรักษ์ไว้ ฮังการีมีประชากรเพียง10ล้านคนเท่ากรุงเทพฯ แต่มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง14คนเลยทีเดียว และมักจะได้เหรียญทองโอลิมปิกโปโลน้ำและสเก็ตน้ำแข็งเสมอ
ประเทศฮังการีเป็นเหมือนศูนย์กลางของวัฒนธรรมยุโรป ทั้งเยอรมัน และสลาฟวิก ชาวฮั่น รวมไปถึงตุรกีเข้าไว้ด้วยกัน เป็นมนตร์เสน่ห์แห่งยุโรปกลาง ที่ควรค่าแก่การมาเยี่ยมเยือนสักครั้ง ทั้งกรุงบูดาเปสต์ เมืองสองฟากแม่น้ำดานูบ ที่ในสมัยตอมมิวนิสต์ คนรัสเซียถึงกับเรียกเมืองนี้ว่าไข่มุกแห่งยุโรปตะวันออก ทะเลสาบบอลอโต็นที่กว้างสุดขอบฟ้า ล่องลำน้ำดานูบ ทานกูยาช อาหารประจำชาติ หากได้มาเที่ยวยุโรป ฮังการีเป็นอีกหนึ่งปลายทางที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบ็กแพ้กอีกที่หนึ่งที่คุณไม่ควรพลาดเลย!
อาหารฮังการีนั้นมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนประเทศยุโรปกลางประเทศอื่น อาหารฮังการีใช้ปาปริก้าเป็นส่วนผสมเยอะมาก และมีการใส่เครื่องเทศอื่นๆให้เข้มข้น หน้าตาคล้ายแกงไทย แต่ไม่เปรี้ยว อาหารฮังการีมักจะใส่หอมหัวใหญ่ กระเทียม ซอร์ครีม และไขมัน ในการทำอาหาร คนฮังการีดื่มทุกอย่าง แต่ที่เป็นเครื่องดื่มประจำบ้านของที่นี่ เป็นเหล้ากลั่นผลไม้ มีชื่อว่า ปาลิงก้า วิธีทำก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ก็เอาผลไม้ไปหมักแล้วกลั่นไอเป็นน้ำเหมือนเหล้าขาวของประเทศไทย หน้าร้อนในฮังการีมีเทศกาลปาลิงก้าทุกปี คนที่นี่ชอบถึงขนาดที่ว่าแต่งเพลงให้ไอ้ปาลิงก้านี่เลบ
คนฮังการีนั้นมีความชาตินิยมสูงมาก การบริโภคอาหารหรือสิ่งของใช้สอยต่างๆนั้น คนฮังการีมักจะเลือกซื้อของที่ผลิตในประเทศมากกว่า คนฮังการีโหยหาอดีตของตัวเองมาก เมื่อก่อนประเทศฮังการีเคยมีขนาดใหญ่โต แต่หลังสงครามโลกครั้งที่1 ประเทศก็โดนแบ่งออก เหลือเพียง30% ทำให้มีคนฮังการีพลัดถิ่นอยู่มาก โดยเฉพาะในทรานซิลเวเนีย และสโลวาเกียตอนล่าง คนฮังการีจัดงานรำลึกทุกปีถการเสียดินแดน คนฮังการีถือว่าบทกลอน บทประพันธ์ของประเทศฮังการีนั้นไพเราะ
และการเต้นพื้นเมืองฮังการีนั้นถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวฮังการีหวงแหนอนุรักษ์ไว้ ฮังการีมีประชากรเพียง10ล้านคนเท่ากรุงเทพฯ แต่มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการีที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง14คนเลยทีเดียว และมักจะได้เหรียญทองโอลิมปิกโปโลน้ำและสเก็ตน้ำแข็งเสมอ
ประเทศฮังการีเป็นเหมือนศูนย์กลางของวัฒนธรรมยุโรป ทั้งเยอรมัน และสลาฟวิก ชาวฮั่น รวมไปถึงตุรกีเข้าไว้ด้วยกัน เป็นมนตร์เสน่ห์แห่งยุโรปกลาง ที่ควรค่าแก่การมาเยี่ยมเยือนสักครั้ง ทั้งกรุงบูดาเปสต์ เมืองสองฟากแม่น้ำดานูบ ที่ในสมัยตอมมิวนิสต์ คนรัสเซียถึงกับเรียกเมืองนี้ว่าไข่มุกแห่งยุโรปตะวันออก ทะเลสาบบอลอโต็นที่กว้างสุดขอบฟ้า ล่องลำน้ำดานูบ ทานกูยาช อาหารประจำชาติ หากได้มาเที่ยวยุโรป ฮังการีเป็นอีกหนึ่งปลายทางที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบ็กแพ้กอีกที่หนึ่งที่คุณไม่ควรพลาดเลย!
แสดงความคิดเห็น
ใครรู้บ้างว่าทำไมประเทศฮังการีถึงแปลกไปจากประเทศอื่นๆในยุโรป
ภาษาก็มีเป็นของตัวเอง วัฒนธรรมก็มีเป็นของตัวเอง
และเหมือนว่าจะเป็นประเทศเก่าแก่ที่ไม่ค่อยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอาณาเขตด้วย
และอีกอย่างมันแปลกตรงที่ฮังการีเป็นพวกยุโรปที่สมัยโบราณขี่ม้าเก่งคล้ายๆพวกรัสเซียและมองโกล อาจเป็นเพราะภูมิประเทศใช่มั้ยครับ
ตอนเจงกิสข่านบุกยุโรปก็จำได้ว่ามาตายตอนถึงฮังการีด้วย
ดูแล้วประเทศมันน่าสนใจอย่างบอกไม่ถูก ใครรู้รายละเอียดประเทศนี้ช่วยบอกหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ