เรื่องก็มีอยู่ว่า
ข้อ 1. แม้นเมืองเป็นลูกจ้างทำงานในบริษัทของมิ่งหล้า ตำแหน่งหัวหน้าส่วนคลังสินค้า ทำหน้าที่ตรวจสอบและเซ็นอนุญาตให้นำสินค้าออกนอกบริเวณโรงงาน ได้รับเงินเดือนๆ ละ 24,000 บาท มีวัน - เวลาทำงานปกติ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. (เวลาพัก 12.00 – 13.00 น.) ปรากฏว่า มิ่งหล้าขอให้แม้นเมืองมาทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โดยขอให้แม้นเมืองมาทำงานในวันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 – 24.00 น. (เวลาพัก 17.01 - 17.30 น. และ 21.01 – 21.30 น.) ให้วินิจฉัยว่า มิ่งหล้าจะต้องจ่ายเงินอื่นๆ นอกเหนือจากค่าจ้างให้แก่แม้นเมืองจำนวนเท่าใด และเงินดังกล่าวเรียกว่าอะไรบ้าง?
ข้อ2. องอาจเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. จำกัด ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT ได้รับค่าจ้างในอัตราเดือนละ 30,000 บาท มีกำหนดการจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน โดยองอาจปฏิบัติงานมาแล้ว 3 ปี 10 เดือน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า องอาจติดนิสัยชอบเล่นการพนันอย่างหนัก เกือบทุกวันหลังเลิกงานจะต้องเข้าบ่อนและเล่นพนันจนเกือบถึงเช้า ติดหนี้สินที่บ่อนเป็นเงินหลายแสนบาท องอาจเกิดความเครียดจึงดื่มเหล้าจนเมามายทุกวัน ส่งผลให้ตื่นมาทำงานสายถึง 10 ครั้ง ลาหยุดเพราะไปทำงานไม่ไหวอีก 5 ครั้ง และแอบหลับในเวลางานเป็นประจำ แม้นายจ้างจะตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้ว แต่องอาจก็ไม่สนใจ ยังคงมีพฤติกรรมเช่นเดิม นายจ้างจึงบอกเลิกจ้างองอาจในวันที่ 29 มกราคม 2560 โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างทันที ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า องอาจมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ถ้าได้ เรียกได้เท่าใด เพราะเหตุใด? และองอาจมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ถ้าได้ เรียกได้เท่าใด เพราะเหตุใด?
ข้อ 3. ลูกจ้างบริษัท ต้นกล้าเติบโต จำกัด ได้เข้าร่วมในการยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน โดยมี นายสักและนายไม้ เป็นแกนนำในการยื่นข้อเรียกร้อง ในระหว่างกระบวนการเจรจา นายสักได้ขโมยต้นกล้าไม้ของบริษัทไป นายจ้างจึงมีคำสั่งเลิกจ้างนายสัก ส่วนนายไม้ได้ขอลางานเป็นเวลา 2 วัน นายจ้างเห็นว่านายไม้เป็นแกนนำในการเข้าร่วมเจรจา จึงถือโอกาสมีคำสั่งลดวันทำงานของนายไม้จาก เดิมสัปดาห์ละ 6 วัน เป็นให้ทำงานสัปดาห์ละ 2 วัน และจ่ายค่าจ้างให้เฉพาะวันที่มาทำงานเท่านั้น
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งเลิกจ้างนายสัก และคำสั่งลดวันทำงานนายไม้นั้น คำสั่งดังกล่าวของนายจ้างชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หรือไม่ และการเลิกจ้างนายสักด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
ข้อ 4. นายทศพล (ลูกจ้าง) เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทนาคี จำกัด (นายจ้าง) เป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 200,000 บาท จำเลยให้การว่า จำเลยได้มีคำสั่งย้ายโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานการเงินให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินโดยให้ไปนั่งทำงานที่โกดัง แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้ ในวันนัดพิจารณาโจทก์แถลงรับว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยให้การ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งย้ายของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตาม
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งย้ายของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
รบกวนหน่อยนะค่ะ. ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
สวัสดีค่ะใครที่พอสามารถช่วยตอบโจทย์เกี่ยวกับเรื่อง กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงานบ้างค่ะ
ข้อ 1. แม้นเมืองเป็นลูกจ้างทำงานในบริษัทของมิ่งหล้า ตำแหน่งหัวหน้าส่วนคลังสินค้า ทำหน้าที่ตรวจสอบและเซ็นอนุญาตให้นำสินค้าออกนอกบริเวณโรงงาน ได้รับเงินเดือนๆ ละ 24,000 บาท มีวัน - เวลาทำงานปกติ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.00 - 17.00 น. (เวลาพัก 12.00 – 13.00 น.) ปรากฏว่า มิ่งหล้าขอให้แม้นเมืองมาทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โดยขอให้แม้นเมืองมาทำงานในวันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 – 24.00 น. (เวลาพัก 17.01 - 17.30 น. และ 21.01 – 21.30 น.) ให้วินิจฉัยว่า มิ่งหล้าจะต้องจ่ายเงินอื่นๆ นอกเหนือจากค่าจ้างให้แก่แม้นเมืองจำนวนเท่าใด และเงินดังกล่าวเรียกว่าอะไรบ้าง?
ข้อ2. องอาจเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. จำกัด ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT ได้รับค่าจ้างในอัตราเดือนละ 30,000 บาท มีกำหนดการจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง คือ ทุกวันที่ 15 และวันสิ้นเดือน โดยองอาจปฏิบัติงานมาแล้ว 3 ปี 10 เดือน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า องอาจติดนิสัยชอบเล่นการพนันอย่างหนัก เกือบทุกวันหลังเลิกงานจะต้องเข้าบ่อนและเล่นพนันจนเกือบถึงเช้า ติดหนี้สินที่บ่อนเป็นเงินหลายแสนบาท องอาจเกิดความเครียดจึงดื่มเหล้าจนเมามายทุกวัน ส่งผลให้ตื่นมาทำงานสายถึง 10 ครั้ง ลาหยุดเพราะไปทำงานไม่ไหวอีก 5 ครั้ง และแอบหลับในเวลางานเป็นประจำ แม้นายจ้างจะตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้ว แต่องอาจก็ไม่สนใจ ยังคงมีพฤติกรรมเช่นเดิม นายจ้างจึงบอกเลิกจ้างองอาจในวันที่ 29 มกราคม 2560 โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างทันที ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า องอาจมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ถ้าได้ เรียกได้เท่าใด เพราะเหตุใด? และองอาจมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ ถ้าได้ เรียกได้เท่าใด เพราะเหตุใด?
ข้อ 3. ลูกจ้างบริษัท ต้นกล้าเติบโต จำกัด ได้เข้าร่วมในการยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน โดยมี นายสักและนายไม้ เป็นแกนนำในการยื่นข้อเรียกร้อง ในระหว่างกระบวนการเจรจา นายสักได้ขโมยต้นกล้าไม้ของบริษัทไป นายจ้างจึงมีคำสั่งเลิกจ้างนายสัก ส่วนนายไม้ได้ขอลางานเป็นเวลา 2 วัน นายจ้างเห็นว่านายไม้เป็นแกนนำในการเข้าร่วมเจรจา จึงถือโอกาสมีคำสั่งลดวันทำงานของนายไม้จาก เดิมสัปดาห์ละ 6 วัน เป็นให้ทำงานสัปดาห์ละ 2 วัน และจ่ายค่าจ้างให้เฉพาะวันที่มาทำงานเท่านั้น
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งเลิกจ้างนายสัก และคำสั่งลดวันทำงานนายไม้นั้น คำสั่งดังกล่าวของนายจ้างชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หรือไม่ และการเลิกจ้างนายสักด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
ข้อ 4. นายทศพล (ลูกจ้าง) เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทนาคี จำกัด (นายจ้าง) เป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 200,000 บาท จำเลยให้การว่า จำเลยได้มีคำสั่งย้ายโจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานการเงินให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินโดยให้ไปนั่งทำงานที่โกดัง แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างได้ ในวันนัดพิจารณาโจทก์แถลงรับว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยให้การ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งย้ายของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตาม
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งย้ายของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และการเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
รบกวนหน่อยนะค่ะ. ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ