ซิกข์ ศาสดา ศิริ คุรุ นานัก: ต้นตระกูล บรรพบุรุษ บ้านเกิด และ การประสูติของพระองค์

ติดตามได้ที่: https://m.facebook.com/เรื่องเล่าชาวซิกข์-1759914770734217/?tsid=0.6152689773267053&source=result

พระศาสดา ศรี คุรุ นานัก
ต้นตระกูล บรรพบุรุษ บ้านเกิด และ การประสูติของพระองค์


ตามที่พระศาสดาองค์ที่ 10 ศรี คุรุ โควินท์ สิงห์ (Sri Guru Gobind Singh) ลิขิตใน อัตชีวประวัติของพระองค์ ด้วยพระเมตตากรุณาของเอกพระผู้เป็นเจ้าในการระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต ของชาติก่อนๆ นั้น คุรุท่านเปิดเผยว่า เชื้อสายบรรพบุรุษ ของ ศิริคุรุ นานัก เทพ (และซิกข์ศาสดาอีกทั้ง 9 พระองค์) คือ ราชวงศ์รฆุ หรือ สุริยวงศ์ (Raghuvanshi or Sun Dynasty) แห่งกรุงอโยธยา (Ayodhya) เช่น ท้าวรฆุ (Raghu), ท้าวอัชบาล (Aj) ท้าวทศรถ (Dasharatha) พระราม (Lord Rama) พระลบ (Luv) และ พระมงกุฎ (Kush) ฯลฯ

คุรุศาสดาเล่าเรื่องราวคร่าวๆ ให้ฟังเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ หลังจากที่พระลบทรงก่อตั้งกรุงลาฮอร์ Lahore (ใน ปากีสถาน Pakistan ปัจจุบัน) และ พระมงกุฎทรงก่อตั้งเมือง กซูร์ (Kasur/ Kasoor) เมืองปัจจุบันในปากีสถาน เช่นกัน ทั้งพระมงกุฎและพระลบ เติบโตไม่ใกลจากเมืองอมฤตสาร์ (Amritsar) นัก ซึ่ง มีมณเฑียร (วัดพราหมณ์-ฮินดู) ประวัติศาสตร์ (Ram Tirath Mandir) ถูกสร้างขึ้นมาในสถานที่ ที่กำเนิดของพระบุตรทั้งสอง ห่างออกไปประมาณ 13 ก.ม. ในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่ง อยู่ครึ่งทางระหว่างเมืองอมฤตสาร์ กับ ชายแดนของสองประเทศในรัฐปัญจาบฝั่งอินเดีย

[ส่วนเชื้อสายรฆุวงศ์ หรือ สุริยวงศ์ มาอยู่ในแดนปัญจาบจากกรุงอโยธยาได้อย่างไร ก็ตอนนางสีดาถูกคำสั่งเนรเทศ และพระลักษมณ์ถูกพระรามสั่งให้มาปล่อยนางในป่า เธอได้พบเจอกับ ฤาษีวาลมีกิ (Valmiki) ผู้เขียน รามเกียรติ (Ramayana) และได้อยู่ภายใต้การดูแลของท่าน ในแคว้นปัญจาบ]

คุรุศาสดาจำเป็นต้องเล่า อันเนื่องมาจากว่า ศรีคุรุศาสดา นานัก (องค์ที่ 1) กับ ศรีคุรุศาสดา รามทาส (องค์ที่ 4) มีความผูกสัมพันธ์กันในชาติก่อนๆ จากกรรมเก่าที่ก่อไว้อย่างไร แล้วทั้ง 4 นามสกุลตะกูล ของ เหล่าคุรุศาสดาทั้ง 10 พระองค์ เริ่มต้นมาจากไหน

ถึงแม้เหล่าซิกข์ศาสดาไม่เชื่อในระบบชนชั้น และ วรรณะ  หรือในความบริสุทธิ์ของเชื้อสาย เพราะเชื่อในความเท่าเที่ยมกันของมวลมนุษย์อย่างเคร่งครัด และมิได้บูชานับถือเหล่าเทพเทวาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเลย แต่จำเป็นต้องเล่าอดีตการเป็นมาของเหล่าคุรุท่านเอง เพื่อความกระจ่างแจ้งในบางบทสวด ซึ่งจะพบเจอในเหล่าคัมภีร์ของซิกข์ (ก่อนที่จะมีศาสนาอื่นๆ ขึ้นมาในอนุทวีป ศาสนาดั้งเดิมอันเก่าแก่ของอนุทวีป ก็เป็นศาสนาพราหมณ์อยู่แล้ว)

ส่วนหนึ่ง (ตระกูลหนึ่ง) ของเชื้อสายนี้ ซึ่งสืบทอดมาจากราชวงศ์นี้ ได้กลายมาเป็นนักปราชญ์และมีชื่อเสียงเป็นบัณฑิตเกียรติคุณ เป็นผู้ชี้แจงอธิบายเหล่าเวทคัมภีร์และศาสนา เพราะความเชี่ยวชาญในเหล่าคัมภีร์พระเวท ซึ่งได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียมของตระกูลย่อยนี้ จึงได้ขนานนามสกุลเป็น เบดี/เบที (Bedi) ซึ่ง ศรีคุรุ นานัก ประสูติในตระกูลย่อยนี้ ภายหลัง ในปี พ.ศ. 2012 (ค.ศ. 1469)

===

ไม่มีใครสามารถบรรลุถึงความลึกลับและภูริปัญญาของ พระผู้สร้าง ผู้รอบรู้ ผู้ทรงก่อให้นักบุญ/ภคต ศรี ปฺรหฺลาท (Prahlad) กำเนิดในคฤหาสน์ของอสูรราชา หิรัณยกศิปุ (Hiranyakashipu) ได้ หรือ ให้นักบุญ/ภคต ศรี กบีรฺ (Kabir) และ นักบุญ/ภคต ศรี นามเทพ (Nam Dev) และ นักบุญ/ภคต ศรี รวีทาส (Ravi Das) ให้กำเนิดในเหล่าครัวเรือนของชนชั้นวรรณะศูทร (ต่ำ) ได้ แล้วก่อให้เหล่าคุรุศาสดาของซิกข์กำเนิดในตระกูลย่อยต่างๆ ของ เบดี/เบที (Bedi) เตฤหน (Trehn) ภัลลา (Bhalla) และ โสฑี (Sodhi) ของ สุริยวงศ์ที่มีเกียรติคุณ ได้

(คำสอนของเหล่า นักบุญ/ภคต ดังกล่าว ซึ่ง มาก่อนเหล่าซิกข์ศาสดาหลายปี และมีทัศนคติเดียวกันกับเหล่าซิกข์ศาสดาในการเห็นความเป็น หนึ่งเดียวของพระเจ้า/สัจธรรม เหนือบรรดาองค์กรศาสนาต่างๆ ก็ได้ถูกรวบรวมอยู่ในพระคัมภีร์ของซิกข์โดยคุรุศาสดาท่านเอง เช่นกัน เพื่อให้มนุษยชาติเห็นและเข้าใจว่า ไม่มีใครมีลิขสิทธิ์บนพระเจ้า ว่าพระเจ้าสามารถเปิดเผยพระองค์ให้แก่ใครก็ได้ ในทุกยุคทุกสมัย แล้วแต่พระประสงค์ของพระองค์ โดยที่ทุกท่านที่ได้รับการเปิดเผยจากพระองค์นั้น ก็ไม่จำเป็นต้องมาเป็นศาสดาก่อตั้งศาสนาใหม่ทุกท่านเช่นกัน อย่างเช่นเหล่า ภคต/สาวกของพระเจ้า ดังกล่าว)

แต่ อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจว่า เชื้อสายและบรรพบุรุษของเหล่านักบุญและคุรุศาสดาจะมาจากไหนก็ตาม บุคลิกลักษณะของแต่ละท่านจะถูกตัดสินตามสิ่งที่เหล่าท่านเชื่อถือ ยึดมั่น และ สั่งสอน

จากบทสุดท้าย ที่ 14 ของ บิจิตร นาฏัก (Bachittar Naatak หรือ ละครวิจิตร)  ของอัตชีวประวัติของ ศรี คุรุ โควินท สิงห์ ทรงโองการว่า:

“พระผู้ทรงเที่ยงแท้ถาวร ทรงปลดเหล่านักบุญของพระองค์ทั้งมวล ส่วนเหล่าคนชั่วได้เผชิญกับความทุกข์ทรมานจนสิ้นลมปราณ
โอ้ พระองค์ ด้วยพฤติกรรมอัศจรรย์ของพระองค์
ทรงได้คุ้มครองเหล่าสาวกของพระองค์จากความทุกข์ยากลำบาง ||1||

พระองค์ทรงคุ้มครองเหล่านักบุญจากอุปสรรคต่างๆ แล้วได้บทขยี้พวกเลวทรามเสมือนกับพวกหนามเล็กๆ ที่ถูกบทขยี้เละ ทรงได้น้อมรับข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระองค์ แล้วด้วยพระเมตตาของพระองค์ ทรงปกป้องและคุ้มครองข้า ||2||

กับทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเป็นประจักษ์พยาน เราจะเล่าให้ฟัง โอ้ พระองค์ หากพระองค์เมตตาความสามารถในการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง ทาส (ของพระองค์) ก็จะเล่าให้ฟัง ||3||

ทุอย่างที่เราได้เห็น เราประสงค์ที่จะเล่าให้ฟังทุกสิ่งที่เราเป็นพยานในชาติก่อนๆ ด้วยพระเมตตาของพระเจ้า เราจะเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ||4||

พระสรรพกาล (พระเจ้าแห่งความตายของทุกคน) เป็นพระบิดาของเรา และพระองค์เอง ผู้เป็นพระเจ้าแห่งกาลเวลา เป็นพระมารดาของเราเช่นกัน จิตใจที่รู้แจ้งแล้ว ได้กลายมาเป็นพระครู (คุรุ) ของเรา และ นิสัยที่ได้เกิด ให้เราทำแต่ความดี ได้กลายมาเป็นมารดาของเรา ||5||

เมื่อจิตใจได้รับรู้แจ้งแล้ว และได้เปี่ยมล้นด้วยการไตร่ตรอง จึงได้กลายมาเป็นพระครู (คุรุ) ของเรา และ (จากความหยั่งรู้ที่เกิดขึ้น จึง) ได้เล่าทุกอย่างให้เราฟังอย่างชัดเจน กับทุกอย่างที่เราได้เป็นพยานในชาติก่อนๆ ตอนนี้ เราประสงค์จะเล่าให้ฟัง ||6||

เมื่อพระผู้เที่ยงแท้ถาวรแห่งความเมตตาปราณีทรงแสดงความเมตตาต่อเรา เราจึงสามารถระลึกความจำของชาติก่อนๆ ได้ ||7||

เราสามารถรับรู้ภูริปัญญาได้ ด้วยพระเมตตาของพระองค์เท่านั้น พระผู้เป็นสัจจะ ทรงเมตตาต่อเรา ทรงเป็นพระโลหะ แล้วคุ้มครองปกป้องพวกเราในทุกยามเวลา ||8||

เราอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระเจ้า ในทุกเวลา โอ้ พระผู้เป็นเจ้า ผู้เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณแห่งโลหะ เพียงพระองค์เท่านั้น ผู้ซึ่ง เป็นผู้คุ้มครองข้าในทุกช่วงเวลา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เราไร้ความกลัวแล้ว และบางที่ได้ภาคภูมิใจในการเป็นผู้นำของมนุษย์เช่นกัน ||9||

เมื่อใด ซึ่ง ความจำของชาติก่อนๆ ได้กลับเข้ามา เราได้บรรยายมันลงไปใน คฤนถะ/ครันถะ (คัมภีร์) ตามนั้น....”


=======
ข้อเท็จจริงตาม บิจิตร นาฏัก ของคุรุศาสดาองค์ที่ 10

บรรพบุรุษของเหล่าซิกข์คุรุศาสดา เป็นผู้ปกครองปัญจาบ มาก่อนนี้ (แดนแห่งแม่น้ำห้าสาย) ซึ่ง สืบทอดมาจากกษัตริย์แห่งสุริยวงศ์

ท้าวรฆุ (Raghu) และ ท้าวอัชบาล (Aj) มิได้เป็นเพียงผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ แต่เป็นผู้มีความรู้ เป็นนักปราชญ์ บัณฑิตที่ยิ่งใหญ่ของรฆุวงศ์ เช่นกัน ท้าวอัชบาลได้ยกพระราชบัลลังก์ให้แก่ท้าวทศรถ (Dasharatha) ผู้ซึ่ง เป็นมือธนูยอดเยี่ยม

จากพระมเหสีทั้งสามพระนาง พระราชโอรสทั้งสี่ ของท้าวทศรถคือ พระราม (Lord Rama นารายณ์อวตาร) พระลักษมณ์ (Lakshman) พระพรต (Bharat) และ พระสัตรุต (Shatrugan) ทั้งสี่ได้ครองราชยาวนาน พระมเหสีของพระรามคือนางสีดา (Sita) พระราชโอรสทั้งสองของพระรามกับนางสีดาคือ พระลบกับพระมงกุฎ (Luv and Kush) ทั้งสองพระราชโอรสของนางสีดาได้ครองราชย์ และได้สร้างสองเมืองในแคว้นปัญจาบ เมืองลาฮอร์ โดยพระลบ และ เมือง กซูร์ โดยพระมงกุฎ ทั้งสองพระองค์มีชื่อเสียงแล้วครองราชอย่างยาวนาน เหล่าลูกๆ หลานๆ ของทั้งสองพระองค์ได้ครองราชเช่นกัน

กาลเกต (Kalket) ผู้สืบทอดจากพระลบ และ กาลราย (Kalrai) ผู้สืบทอดจากพระมงกุฎ มีลูกมากมาย กาลเกต ทรงอำนาจไร้คู่แข่ง แล้วได้ขับไล่ กาลราย ออกจากกรุงลาฮอร์ ซึ่ง ได้หลบนี้ไปแดน สนอธ (Sanaudh) อยู่ภาคใต้ของกรุงเดลี กาลราย ได้แต่งงานกับพระราชธิดาของกษัตริย์เมืองนี้ บุตรชายที่กำเนิดจากการสมรสนี้ ถูกตั้งชื่อเป็น โซดี/โสฑี ราย(Sodhi Rai) ตระกูล โสฑี จึงริเริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนนั้น เหล่าลูก หลาน เหลน ของ โสฑี ราย จึงถูกเรียกเป็นพวก โสฑี (Sodhis)

ทายาทเหล่านี้เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังและร่ำรวยมากขึ้นทุกวัน จนเริ่มครองราชหลายประเทศ (ท้องถิ่น) เขาเผยแพร่ศาสนาทุกแห่งเช่นกัน และเพิ่มบารมีของตนมากขึ้นเรื่อยๆ

โสฑี ราย ผู้ซึ่ง ได้มาเป็นราชา มีลูกชายสองคน นามว่า ชคต ราย (Jagat Rai) กับ ปฤฐวี/ปริฐวี ราย (Prithvi Rai) หลังได้สถาปนา ปฤฐวี ราย บนราชบัลลังก์ โสฑี ราย ได้นำบุตรคนโต ชคต ราย ไปบุกครองกรุงลาฮอร์ เขาจำความเป็นปรปักษ์เดิมที่มีต่อกันแล้วหวังที่จะเอาคืนโดยยึดครองเมืองลาฮอร์กลับมา แล้วก็ได้ยึดมันกลับมาหลังสึกนองเลือด

เหล่าทายาทของพระมงกุฎ ผู้ซึ่ง ได้รอดชีวิตมา ก็หนีไปอยู่ กาศี (Kashi) หรือ เมือง พาราณสี (Benares) ที่นี่เขาได้กลายมาเป็นผู้เทศนาเกี่ยวกับเหล่าคัมภีร์พระเวทอย่างละเอียด และได้กลายมาเป็นนักท่องพระเวทคัมภีร์เช่นกัน ทายาทเหล่านี้ของพระมงกุฎ ผู้ซึ่ง ถูกขับไล่ แล้วได้กลายมาเป็นนักท่องอ่านพระเวทคัมภีร์ จึงได้รับขนานนามเป็นพวก เบที/เบดี (Bedis/Baidis) เขาได้ตั้งใจทำหน้าที่ศาสนกิจจนได้มีชื่อเสียง

ชื่อเสียงของตระกูล เบที โด่งดังไปถึงญาติๆ โสฑี ของพวกเขาที่ปกครองกรุงลาฮอร์อยู่ กษัตริย์ของลาฮอร์เป็นคนมีความเวทนา จึงได้ส่งจดหมายประนีประนอมไปถึงเหล่า เบที ให้ลืม ละทิ้งความเป็นปรปักษ์ที่มีต่อกันให้หมดไป

เมื่อมาถึงเมืองพาราณสี ผู้ส่งสารของกษัตริย์ลาฮอร์ได้อธิบายเนื้อหาข้อความจดหมายให้เหล่าเบทีฟัง ในโอกาศนี้ เหล่าเบที จึงเดินทางไปสู่ปัญจาบ

หลังถึงกรุงลาฮอร์ เหล่านักท่องพระเวทก็ได้แสดงความเคารพต่อกษัตริย์ แล้วได้ริเริ่มการท่องพระเวทแต่ละคัมภีร์ ตามคำขอของกษัตริย์ ให้ฟัง ซึ่ง ท่านได้ก่อให้พี่น้องทั้งหลายของท่าน นั่งใกล้ๆ รอบๆ ท่าน

หลังจากที่แต่ละคัมภีร์ของพระเวท ได้แก่ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และ ตามด้วย อาถรรพเวท ถูกท่องให้ผู้คนในราชวังฟังจนจบสิ้น ซึ่ง ประกอบไปด้วยการแสดงออกท่าทางไปด้วยนั้น กษัตริย์ โสฑี พอพระทัยมากจนท่านได้ยกทรัพย์สมบัติของพระองค์ ให้แก่เหล่าเบทีทันที และเลือกที่จะไปอาศัยอยู่ในป่า เพื่อที่จะเลื่อมใส จงรักภักดี และ ศรัทธาต่อเอกพระผู้เป็นเจ้าอย่างบริบูรณ์ต่อไป

ในขณะที่กษัตริย์ท่านกำลังยกทั้งพระราชบัลลังก์และราชอาณาจักรให้กับเหล่าเบที คนรอบข้างพระองค์ก็พยายามหยุดยั้งท่าน แต่ท่านไม่สนใจหรือเสียใจอะไรทั้งสิ้น แล้วเข้าสู่สหัชสมานในความรักของพระเจ้าต่อไป

ผู้นำกลุ่มเบธี ซาบซึ้งในการได้รับราชบัลลังก์ แล้วด้วยความปีติยินดี ท่านได้อวยพรกษัตริย์โสฑีว่า “ เวลาเรากลับชาติมาเกิดใหม่ในกลียุค ในนามของนานัก เราจะทำให้ท่านเป็นผู้น่าเคารพบูชานับถือในโลก และจะมอบฐานันดรศักดิ์อันสูงที่สุดให้แก่ท่าน ท่านได้ฟังพระเวททั้งสามคัมภีร์จากเรา แล้วพอได้ฟังคัมภีร์ที่สี่ ท่านได้ยกทั้งราชอาณาจักรให้เรา ฉะนั้น หลังจากได้กลับชาติเกิดในสามรูป ใน ชาติ/รูป ที่สี่ เราจะสถาปนาท่านเป็นพระคุรู”

เหล่าเบที ซาบซึ้งในการได้รับราชอาณาจักรเป็นของตน แต่ภายหลัง ความขัดแย้งก็ได้เกิดเพิ่มขึ้นมาอีก ระหว่างเหล่าเบทีด้วยกันเอง ซึ่งไม่มีใครสามารถแก้ไขได้ มันเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าว่า อำนาจอธิปไตยการปกครองต้องผ่านพ้นมือจากครอบครัวเขาไป จึงมีเหลือเพียง 20 หมู่บ้านเท่านั้น ที่ยังอยู่ภายใต้การครอบครองของเหล่าเบที ซึ่งก็ได้เตรียมไว้เพื่อทำนา

(ติดตามต่อไป)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่