[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"สมมติ ฉุดวังวน"
-----------------------------------------------------
บทนำ : https://ppantip.com/topic/37668769
ตอนที่ 1 แม่ : https://ppantip.com/topic/37672331
...
ตอนที่ 3 กายละเอียด : https://m.ppantip.com/topic/37683661
บ้านพักของผู้มาฝึก สร้างไว้ข้างบริเวณวัดห่างจากตัวโบสถ์ไม่ถึง 10เมตร มีอยู่ 20 ห้อง เรามาทราบภายหลังจากแม่ของแจงว่าป้าดาคือผู้ที่ออกเงินสร้างที่พักให้วัดทั้งหมด และค่อยๆบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้จนสวยงาม โดยไปจ้างจิตรกรชื่อดังแห่งหนึ่งช่วยออกแบบ และช่างฝีมือดีจากทั่วสารทิศ มาบรรจงสร้างอย่างเงียบๆ ในกลางผืนป่าแห่งนี้
ป้าดาเป็นลูกสาวของเศรษฐีขายเพชรที่เยาวราช สมบัติที่พ่อแม่ยกให้ก่อนตาย ป้าดาแบ่งนำมาใช้ทำนุบำรุงให้วัดอยู่เสมอ แต่ก่อนวัดนี้มีแค่โบสถ์หลังเดียวและกุฏิไม้เก่าๆหลังคาสังกะสีของพระในวัด ไม่รู้เหตุใดป้าดาถึงได้มาอยู่ที่นี่ ถ้ามีเวลาฉันจะลองถามดู
พอเห็นชีวิตป้าดา ทำให้ฉันคิดว่า หลายคนต่างก็หาเลี้ยงชีพเพื่อให้ได้เงินทองมาหล่อเลี้ยงชีวิต เพราะต้นทุนของแต่ละคนไม่เท่ากัน ในขณะเดียวกันคนที่มีอันจะกินหรือร่ำรวยบางคนกลับเห็นว่าเงินทองคือของภายนอกกาย แม้ว่าจะได้มันมาจากบุญเก่า ก็ใช้เปลี่ยนแปลงทรัพย์ที่จับต้องได้ให้เป็นทรัพย์เสบียงบุญไว้ใช้ในชาติหน้า
"พรุ่งนี้พวกเราจะตื่นกันตอนตี 3.30 น. หนูอาบน้ำแปรงฟันแล้วมาพร้อมกันที่โบสถ์ตอนตี 4 นะลูก เราจะสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิกัน คืนนี้อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและลองนั่งสมาธิหรือดูลมหายใจไปก่อนนอนนะลูก ป้าไปละ มีอะไรมาถามป้าได้ ป้าอยู่ติดกับห้องหนูเลย ฝันดีกันนะจ๊ะ”
พวกเรายกมือและกล่าวขอบคุณป้าดา และเข้ามาในห้องพัก เมื่อถึงห้องเราทยอยกันอาบน้ำ ซึ่งมีห้องน้ำรวมที่เดินออกไปหลังที่ตากผ้า ก่อนนอนเราไหว้พระสวดมนตร์กัน แจงนั่งสมาธิดูลมหายใจไปตามที่ป้าดาบอก ส่วนฉันขอนอนดูลมหายใจไปเพราะเมื่อยขา สักพักหลับไปตอนไหนไม่รู้ตัว
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ตอนนี้ฉันรู้สึกว่า ฉันอยู่ในถ้ำที่ไหนสักแห่งในภวังค์ ถ้ำค่อนข้างมืดและไม่ค่อยมีอากาศหายใจ ข้างหน้าฉันมีแท่นหินซึ่งมีพระพุทธรูปทองคำขนาดเท่าตัวคนจริงส่องแสงสีทองอร่าม ฉันเดินเข้าไปกราบท่าน และมองหน้าท่านที่เหมือนกำลังยิ้มให้กำลังใจฉัน ทันใดนั้นเอง ฉันเห็นมีงูขนาดใหญ่มากเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณสามคนโอบสีดำ ความยาวที่ประมาณไม่ได้เหมือนในหนังฝรั่ง เลื้อยมาอยู่ข้างๆทางขวา แต่ไม่ได้หันมันสนใจฉัน ขณะที่งูใหญ่เลื้อยไปมาเพื่อเข้าไปในรูหลังแท่นหินที่วางพระพุทธรูปทองคำ ลำตัวงูได้มาสัมผัสแขนฉันจนขนลุก ความหนาวเย็น ชื้นแฉะคล้ายๆ งูหลามที่ฉันเคยไปจับที่สวนสัตว์
ในตอนนั้นฉันตกใจมากและกลัวมาก แต่เหมือนมีอำนาจบางอย่างบังคับฉันไม่ให้เคลื่อนไหว
เสียงนาฬิกาปลุกดังแต่เช้า ฉันยังงัวเงียเพราะไม่ค่อยได้ตื่นเช้าขนาดนี้มานานมาก (ปกติจะตื่นเช้าขนาดนี้ในวันที่ต้องตื่นมาช่วยแม่ทำอาหารใส่บาตร) ส่วนแจงหลับจริงจังมากจนฉันต้องเขย่าตัวให้รีบไปล้างหน้าแปรงฟัน ขณะที่แปรงฟันภาพงูใหญ่ตัวนั้นยังตราตรึงในหัว ฉันเลยนึกถึงคำที่ป้าดาทักตั้งแต่ตอนที่เรามาถึงที่นี่ ลึกๆ ฉันกลัวมากแต่พยายามไม่ใส่ใจมากนัก
เรามาถึงโบสถ์กันเวลาเกือบตี4 เพื่อนๆ หลายคนเริ่มทยอยมากันในกุฏิ เมื่อครบ หลวงพ่อเจ้าอาวาส หรือพระอาจารย์ใหญ่นำสวดมนต์เกือบ 1 ชั่วโมง และสอนนั่งสมาธิอีก 45 นาที ก่อนที่พระสงฆ์จะออกไปบิณฑบาตตอน 6.30 น. และกลับมาฉันจังหัน
(ทานอาหาร) ตอน 8.00 น. โดยประมาณ
การทำวัตร หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ทำวัตร คือการทำกิจที่ต้องทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป หากจะไม่ทำจะเป็นการไม่สมควร เพราะถือเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้มุ่งแสวงบุญอย่างหนึ่ง การทำวัตรนิยมทำกันวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น เรียกว่า ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น
กิจที่ต้องทำในเวลาทำวัตรทั้งสองเวลานั้นคือ สวดบูชาพระรัตนตรัย สวดพิจารณาปัจจัยที่บริโภคทุกวัน สวดเจริญกรรมฐานและสวดแผ่ส่วนกุศล ซึ่งแต่ละที่จะมีความละเอียดและขั้นตอนแตกต่างกันไป ท้ายสุดแล้วเพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นในจิตใจ
หลังจากนั้นพระสงฆ์ทางด้านขวาของหลวงพ่อเริ่มแนะนำให้เรานั่งสมาธิ จึงให้เราลองนั่งสมาธิโดยกำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก โดยใครจะกำหนดคำภาวนา พุธ-โธ หรือ สัมมา-อรหัง หรือ เข้า-ออก ตามที่สะดวก การสอนของที่นี่จะไม่ปูพื้นอะไรมากนัก เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง หากสงสัยค่อยไปถามพระอาจารย์(พระสงฆ์) ได้ทุกรูป ป้าดาบอกไว้ ว่าจะสอนให้ง่าย ถ้ารู้เกี่ยวกับทฤษฎีมากไป จะทำให้เราไปยึดว่าจะต้องเกิดแบบนั้น เกิดแบบนี้ จนงานสมาธิไม่ก้าวหน้าได้
หลังจากที่เรานั่งสมาธิเสร็จ เราได้อุทิศบุญกุศลให้กับนายเวร ก็กินเวลาไปถึง 6 โมงเช้า แน่นอนว่าฉันกับแจงแอบงีบหลับไปหลายครั้ง
ช่วงประมาณ 6-7 โมงเช้าจะมีชาวบ้านมาถวายอาหารให้พระ ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา พระบางส่วนจะเดินออกไปบิณฑบาตถ้าฝนไม่ตกหนักในตอนเช้าเพื่อเป็นการไปโปรดให้ญาติโยมได้ทำบุญ ส่วนพระที่มีอายุมากจะอยู่รับอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวาย
อาหารเช้าที่นี่เริ่มตอน 8.30 น. ส่วนมากคืออาหารที่ทางวัดแบ่งให้หลังจากที่พระทุกรูปฉันอิ่มหมดแล้ว ถ้าไม่พอเรายังมีโรงครัวที่จะทำเพิ่มให้ แต่ส่วนมากชาวบ้านจะทำอาหารมาเผื่อผู้มาปฏิบัติกันคนละเล็กละน้อย
ป้าดาพาพวกเราและเพื่อนๆอีก 12 คนมานั่งหลังวัด พร้อมพี่สายและพี่อีก 3 คนซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของพวกเรา ที่ทานข้าวเป็นที่นั่งไม้ยาวต่อกันหลายตัว ป้าดาสอนพวกเราทานอาหารอย่างมีสติ สอนกำหนดอริยาบทในการทานข้าวตั้งแต่ เห็นข้าวแล้วพิจารณาว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ตักข้าว เอาข้าวใส่ปาก เอาลิ้นรับรสข้าวว่ามีรสชาติอย่างไร เคี้ยวข้าวช้าๆ การพิจารณาแบบนี้ทำให้เรามีสติในการทานข้าวมากขึ้น ไม่หลงไปกับรสชาติอาหาร ไม่ติดในรสชาติอาหาร กินเพื่อประทังชีวิตเพียงเท่านั้น
ช่วงสายๆเราช่วยกันทำความสะอาดห้องน้ำและบริเวณหลังโบสถ์ จนเสร็จจึงไปพักผ่อนกันตามอัธยาศัย พวกเราสองคนสงสัยในการปฏิบัติจึงเก็บคำถามมากมายไปถามหลวงพี่ท่านหนึ่งที่กำลังทำความสะอาดพระพุทธรูปทองเหลืองตรงม้าหินอ่อนข้างๆรั้วโบสถ์ มาทราบภายหลังท่านชื่อ หลวงพี่เอก
"เป็นอย่างไรบ้างโยม เพิ่งมาใหม่สินะ มีอะไรถามมาได้เลยนะ ไม่ต้องเรื่องปฏิบัติก็ถามได้"
หลวงพี่ท่านนี้ดูแล้วไม่น่าใช่คนแถวนี้ จากรูปร่างหน้าตาที่ดูเหมือนคนภาคเหนือ ท่านทักเรามาแต่ไกลทั้งที่เราสองคนเดินมาจากข้างหลังท่าน
พวกเรากราบนมัสการหลวงพี่ และนั่งลงที่พื้นปูนตรงนั้นห่างไปสักเมตร เรายกมือพนมไว้แล้วถามถึงปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างสงสัยกัน
"หลวงพี่คะ สมาธิที่เรานั่งกันนี่มันมีกี่ระดับคะ เมื่อคืนดิฉันนั่งไปสักพักแล้วคำที่ท่องว่า พุทโธๆ ในใจ หายไปเฉยๆ แต่ลมหายใจกลับชัดขึ้นมาแทน ทำไมหล่ะคะ ถ้าเจอแบบนี้ต้องไปกำหนดคำภาวนาใหม่รึเปล่าคะ"
แจงถามด้วยความตั้งใจ ส่วนฉันไม่เข้าใจที่แจงถามเลยว่ามันคืออาการของอะไร
"โยมไปถูกทางแล้วนะ เอาอย่างนี้นะ หลวงพี่จะสอนคร่าวๆก่อนเพราะเหมือนเพื่อนโยมกำลังงงเพราะที่นี่เราไม่ได้ปูพื้นฐานกันเลย"
หลวงพี่หันมามองที่ฉันแล้วพูดต่อว่า
"ถ้าโยมไปเปิดพจนานุกรม สมาธิ แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง คล้ายๆเหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้แบบนั้นแหละโยม
สมมติฉุดวังวน - ตอนที่ 2 กัลยาณมิตร
บ้านพักของผู้มาฝึก สร้างไว้ข้างบริเวณวัดห่างจากตัวโบสถ์ไม่ถึง 10เมตร มีอยู่ 20 ห้อง เรามาทราบภายหลังจากแม่ของแจงว่าป้าดาคือผู้ที่ออกเงินสร้างที่พักให้วัดทั้งหมด และค่อยๆบูรณะซ่อมแซมโบสถ์หลังนี้จนสวยงาม โดยไปจ้างจิตรกรชื่อดังแห่งหนึ่งช่วยออกแบบ และช่างฝีมือดีจากทั่วสารทิศ มาบรรจงสร้างอย่างเงียบๆ ในกลางผืนป่าแห่งนี้
ป้าดาเป็นลูกสาวของเศรษฐีขายเพชรที่เยาวราช สมบัติที่พ่อแม่ยกให้ก่อนตาย ป้าดาแบ่งนำมาใช้ทำนุบำรุงให้วัดอยู่เสมอ แต่ก่อนวัดนี้มีแค่โบสถ์หลังเดียวและกุฏิไม้เก่าๆหลังคาสังกะสีของพระในวัด ไม่รู้เหตุใดป้าดาถึงได้มาอยู่ที่นี่ ถ้ามีเวลาฉันจะลองถามดู
พอเห็นชีวิตป้าดา ทำให้ฉันคิดว่า หลายคนต่างก็หาเลี้ยงชีพเพื่อให้ได้เงินทองมาหล่อเลี้ยงชีวิต เพราะต้นทุนของแต่ละคนไม่เท่ากัน ในขณะเดียวกันคนที่มีอันจะกินหรือร่ำรวยบางคนกลับเห็นว่าเงินทองคือของภายนอกกาย แม้ว่าจะได้มันมาจากบุญเก่า ก็ใช้เปลี่ยนแปลงทรัพย์ที่จับต้องได้ให้เป็นทรัพย์เสบียงบุญไว้ใช้ในชาติหน้า
"พรุ่งนี้พวกเราจะตื่นกันตอนตี 3.30 น. หนูอาบน้ำแปรงฟันแล้วมาพร้อมกันที่โบสถ์ตอนตี 4 นะลูก เราจะสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิกัน คืนนี้อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและลองนั่งสมาธิหรือดูลมหายใจไปก่อนนอนนะลูก ป้าไปละ มีอะไรมาถามป้าได้ ป้าอยู่ติดกับห้องหนูเลย ฝันดีกันนะจ๊ะ”
พวกเรายกมือและกล่าวขอบคุณป้าดา และเข้ามาในห้องพัก เมื่อถึงห้องเราทยอยกันอาบน้ำ ซึ่งมีห้องน้ำรวมที่เดินออกไปหลังที่ตากผ้า ก่อนนอนเราไหว้พระสวดมนตร์กัน แจงนั่งสมาธิดูลมหายใจไปตามที่ป้าดาบอก ส่วนฉันขอนอนดูลมหายใจไปเพราะเมื่อยขา สักพักหลับไปตอนไหนไม่รู้ตัว
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ตอนนี้ฉันรู้สึกว่า ฉันอยู่ในถ้ำที่ไหนสักแห่งในภวังค์ ถ้ำค่อนข้างมืดและไม่ค่อยมีอากาศหายใจ ข้างหน้าฉันมีแท่นหินซึ่งมีพระพุทธรูปทองคำขนาดเท่าตัวคนจริงส่องแสงสีทองอร่าม ฉันเดินเข้าไปกราบท่าน และมองหน้าท่านที่เหมือนกำลังยิ้มให้กำลังใจฉัน ทันใดนั้นเอง ฉันเห็นมีงูขนาดใหญ่มากเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณสามคนโอบสีดำ ความยาวที่ประมาณไม่ได้เหมือนในหนังฝรั่ง เลื้อยมาอยู่ข้างๆทางขวา แต่ไม่ได้หันมันสนใจฉัน ขณะที่งูใหญ่เลื้อยไปมาเพื่อเข้าไปในรูหลังแท่นหินที่วางพระพุทธรูปทองคำ ลำตัวงูได้มาสัมผัสแขนฉันจนขนลุก ความหนาวเย็น ชื้นแฉะคล้ายๆ งูหลามที่ฉันเคยไปจับที่สวนสัตว์
ในตอนนั้นฉันตกใจมากและกลัวมาก แต่เหมือนมีอำนาจบางอย่างบังคับฉันไม่ให้เคลื่อนไหว
เสียงนาฬิกาปลุกดังแต่เช้า ฉันยังงัวเงียเพราะไม่ค่อยได้ตื่นเช้าขนาดนี้มานานมาก (ปกติจะตื่นเช้าขนาดนี้ในวันที่ต้องตื่นมาช่วยแม่ทำอาหารใส่บาตร) ส่วนแจงหลับจริงจังมากจนฉันต้องเขย่าตัวให้รีบไปล้างหน้าแปรงฟัน ขณะที่แปรงฟันภาพงูใหญ่ตัวนั้นยังตราตรึงในหัว ฉันเลยนึกถึงคำที่ป้าดาทักตั้งแต่ตอนที่เรามาถึงที่นี่ ลึกๆ ฉันกลัวมากแต่พยายามไม่ใส่ใจมากนัก
เรามาถึงโบสถ์กันเวลาเกือบตี4 เพื่อนๆ หลายคนเริ่มทยอยมากันในกุฏิ เมื่อครบ หลวงพ่อเจ้าอาวาส หรือพระอาจารย์ใหญ่นำสวดมนต์เกือบ 1 ชั่วโมง และสอนนั่งสมาธิอีก 45 นาที ก่อนที่พระสงฆ์จะออกไปบิณฑบาตตอน 6.30 น. และกลับมาฉันจังหัน
(ทานอาหาร) ตอน 8.00 น. โดยประมาณ
การทำวัตร หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ทำวัตร คือการทำกิจที่ต้องทำจนเป็นกิจวัตรประจำวัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป หากจะไม่ทำจะเป็นการไม่สมควร เพราะถือเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้มุ่งแสวงบุญอย่างหนึ่ง การทำวัตรนิยมทำกันวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น เรียกว่า ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น
กิจที่ต้องทำในเวลาทำวัตรทั้งสองเวลานั้นคือ สวดบูชาพระรัตนตรัย สวดพิจารณาปัจจัยที่บริโภคทุกวัน สวดเจริญกรรมฐานและสวดแผ่ส่วนกุศล ซึ่งแต่ละที่จะมีความละเอียดและขั้นตอนแตกต่างกันไป ท้ายสุดแล้วเพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นในจิตใจ
หลังจากนั้นพระสงฆ์ทางด้านขวาของหลวงพ่อเริ่มแนะนำให้เรานั่งสมาธิ จึงให้เราลองนั่งสมาธิโดยกำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก โดยใครจะกำหนดคำภาวนา พุธ-โธ หรือ สัมมา-อรหัง หรือ เข้า-ออก ตามที่สะดวก การสอนของที่นี่จะไม่ปูพื้นอะไรมากนัก เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง หากสงสัยค่อยไปถามพระอาจารย์(พระสงฆ์) ได้ทุกรูป ป้าดาบอกไว้ ว่าจะสอนให้ง่าย ถ้ารู้เกี่ยวกับทฤษฎีมากไป จะทำให้เราไปยึดว่าจะต้องเกิดแบบนั้น เกิดแบบนี้ จนงานสมาธิไม่ก้าวหน้าได้
หลังจากที่เรานั่งสมาธิเสร็จ เราได้อุทิศบุญกุศลให้กับนายเวร ก็กินเวลาไปถึง 6 โมงเช้า แน่นอนว่าฉันกับแจงแอบงีบหลับไปหลายครั้ง
ช่วงประมาณ 6-7 โมงเช้าจะมีชาวบ้านมาถวายอาหารให้พระ ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าพรรษา พระบางส่วนจะเดินออกไปบิณฑบาตถ้าฝนไม่ตกหนักในตอนเช้าเพื่อเป็นการไปโปรดให้ญาติโยมได้ทำบุญ ส่วนพระที่มีอายุมากจะอยู่รับอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวาย
อาหารเช้าที่นี่เริ่มตอน 8.30 น. ส่วนมากคืออาหารที่ทางวัดแบ่งให้หลังจากที่พระทุกรูปฉันอิ่มหมดแล้ว ถ้าไม่พอเรายังมีโรงครัวที่จะทำเพิ่มให้ แต่ส่วนมากชาวบ้านจะทำอาหารมาเผื่อผู้มาปฏิบัติกันคนละเล็กละน้อย
ป้าดาพาพวกเราและเพื่อนๆอีก 12 คนมานั่งหลังวัด พร้อมพี่สายและพี่อีก 3 คนซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงของพวกเรา ที่ทานข้าวเป็นที่นั่งไม้ยาวต่อกันหลายตัว ป้าดาสอนพวกเราทานอาหารอย่างมีสติ สอนกำหนดอริยาบทในการทานข้าวตั้งแต่ เห็นข้าวแล้วพิจารณาว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ตักข้าว เอาข้าวใส่ปาก เอาลิ้นรับรสข้าวว่ามีรสชาติอย่างไร เคี้ยวข้าวช้าๆ การพิจารณาแบบนี้ทำให้เรามีสติในการทานข้าวมากขึ้น ไม่หลงไปกับรสชาติอาหาร ไม่ติดในรสชาติอาหาร กินเพื่อประทังชีวิตเพียงเท่านั้น
ช่วงสายๆเราช่วยกันทำความสะอาดห้องน้ำและบริเวณหลังโบสถ์ จนเสร็จจึงไปพักผ่อนกันตามอัธยาศัย พวกเราสองคนสงสัยในการปฏิบัติจึงเก็บคำถามมากมายไปถามหลวงพี่ท่านหนึ่งที่กำลังทำความสะอาดพระพุทธรูปทองเหลืองตรงม้าหินอ่อนข้างๆรั้วโบสถ์ มาทราบภายหลังท่านชื่อ หลวงพี่เอก
"เป็นอย่างไรบ้างโยม เพิ่งมาใหม่สินะ มีอะไรถามมาได้เลยนะ ไม่ต้องเรื่องปฏิบัติก็ถามได้"
หลวงพี่ท่านนี้ดูแล้วไม่น่าใช่คนแถวนี้ จากรูปร่างหน้าตาที่ดูเหมือนคนภาคเหนือ ท่านทักเรามาแต่ไกลทั้งที่เราสองคนเดินมาจากข้างหลังท่าน
พวกเรากราบนมัสการหลวงพี่ และนั่งลงที่พื้นปูนตรงนั้นห่างไปสักเมตร เรายกมือพนมไว้แล้วถามถึงปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างสงสัยกัน
"หลวงพี่คะ สมาธิที่เรานั่งกันนี่มันมีกี่ระดับคะ เมื่อคืนดิฉันนั่งไปสักพักแล้วคำที่ท่องว่า พุทโธๆ ในใจ หายไปเฉยๆ แต่ลมหายใจกลับชัดขึ้นมาแทน ทำไมหล่ะคะ ถ้าเจอแบบนี้ต้องไปกำหนดคำภาวนาใหม่รึเปล่าคะ"
แจงถามด้วยความตั้งใจ ส่วนฉันไม่เข้าใจที่แจงถามเลยว่ามันคืออาการของอะไร
"โยมไปถูกทางแล้วนะ เอาอย่างนี้นะ หลวงพี่จะสอนคร่าวๆก่อนเพราะเหมือนเพื่อนโยมกำลังงงเพราะที่นี่เราไม่ได้ปูพื้นฐานกันเลย"
หลวงพี่หันมามองที่ฉันแล้วพูดต่อว่า
"ถ้าโยมไปเปิดพจนานุกรม สมาธิ แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือจิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดนิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง คล้ายๆเหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกัน ย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้แบบนั้นแหละโยม