สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ที่คุณคิดว่าเพียงพอแล้ว อาจจะเป็นเพราะว่า คุณพอใจกับสิ่งที่แค่เห็น แค่เป็น แค่ในคอมฟอร์ทโซน แค่ในความคุ้นเคย
แค่ในกรอบภายในแผนที่ ปท ไทย แค่นี้หรือเปล่า? เราแค่เดาเอา?
//
สำหรับเรา เราคิดว่า สภาพแวดล้อม และ ระบบการศึกษาไทย ไม่สอนให้คนคิด วิเคราะห์ แยกแยะเป็น
และ มักจะโฟกัสให้ความสำคัญผิดจุด เช่น โฟกัสไปที่เรื่องของทรงผม เครื่องแบบ เรื่องส่วนตัว
ระบบการศึกษาแบบไทยๆ รวมไปถึงระบบสังคมแบบไทยๆ ระบบครอบครัวแบบไทยๆ ไม่เน้นการสร้างคนโดยการดึงศักยภาพ
และจุดเด่นของแต่ละคนออกมา ไม่เน้นการสร้างคนที่แตกต่าง ไม่เน้นการสร้างให้คนมีความมั่นใจในตัวเอง ไม่เน้นสร้างผู้นำ
ไม่เน้นสร้างผู้ริเริ่ม ไม่เน้นการปฏิบัติจริง แต่เน้นการท่องจำ เน้นความจำ
เน้นที่เป้าหมายสูงสุด คือ แผ่นกระดาษใบปริญญา และ ให้ความสำคัญกับการถ่ายรูปในชุดครุย และ ให้ความสำคัญมากกับโพรไฟล์
ให้ความสำคัญกับสถาบัน
หรือ ในระบบสังคมแบบไทยๆ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโพรไฟล์ และ ใบปริญญา มันคือ คอนเน็คชั่น และ การรู้หลบเป็นปีก
รู้หลีกเป็นหาง ถ้าตีสองหน้าเก่ง เล่นการเมืองเก่ง คอนเน็คชั่นดี แค่นี้ก็โอเคแล้ว
เพราะสังคมเป็นสภาพสังคมแบบพวกพ้อง ส่วนตนมาก่อน ส่วนรวมมาทีหลัง ทุกคนต้องทำเพื่อความอยู่รอด
//
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีกระทู้หัวเรื่อง " ทำไมเด็กต่างประเทศถึงรู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไร เมื่อเรียนจบ "
ลิ้งค์ https://ppantip.com/topic/37632703/comment10
เราเคยไปตอบเอาไว้ที่ คห 10 ดังนี้ ...
//
" ตอบของเฉพาะ ปท ที่พัฒนาแล้วโดยทั่วๆ ไป และ ของครอบครัวปกติทั่วๆ ไป และ ของคนปกติทั่วๆ ไป ที่เป็นคนมีคุณภาพ
เพราะหลายสาเหตุ จากปัจจัยหลายด้านของเขา ที่หล่อหลอมให้เขาคิดเป็น กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีความมั่นใจในตัวเอง มีความเคารพตนเอง
รู้จักตนเอง ไม่ขี้กลัว ไม่ขี้ขลาด ไม่ขี้ตกใจ ไม่อาฆาต ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่มีลับลมคมใน ไม่ปากหนัก ไม่เก็บกด ไม่เครียด ไม่ต้องแอ๊บ
ไม่ต้องพูดอย่างคิดอย่าง สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ตัดสินใจชีวิตเองได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมสูง อาทิเช่น
1. ระบบครอบครัว ระบบเครือญาติ
• พ่อ แม่ ลูก สามารถคุยกันได้ มีความเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
• พ่อแม่ไม่บังคับกดขี่ข่มเหงลูก
• พ่อแม่ไม่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของชีวิตลูก
• พ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงลูกเพื่อเอาลูกไว้กับตัวตลอดชีวิต ไม่ได้หวังพึ่งลูก
• ทุกคนในครอบครัวมีสิทธิมีเสียงแทบจะเท่าเทียมกัน รับฟังกัน
• ญาติไม่เข้ามาก้าวก่ายเรื่องในครอบครัว โดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่
• ไม่เอาการศึกษามาคุยอวดข่มแข่งขันเปรียบเทียบกันในหมู่เครือญาติ
2. ระบบการศึกษา
• เด็กๆ ถูกสอนให้คิดเองเป็น
• ถูกสอนให้รู้จักค้นคว้า
• ถูกสอนให้ลงมือปฏิบัติจริง
• ถูกสอนให้แสดงความคิดเห็น โดยที่ไม่ต้องคิดไม่ต้องเห็นเหมือนกับผู้อื่น
• เด็กๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกบังคับให้แต่งตัวเหมือนกัน ไม่ได้ถูกบังคับเรื่องทรงผม
• สามารถซักถามครูได้ หากสงสัย
• สามารถโต้แย้งครูได้ ด้วยเหตุผล
• ไม่ต้องเรียนในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ เพียงเพราะว่าต้องเรียนตามผู้อื่น หรือ เพียงเพราะว่าต้องเรียนตามใจผู้ปกครอง
• ไม่มีความกดดันว่าจะต้องมีรูปถ่ายในชุดครุยรับปริญญา เพื่อที่จะเอามาติดฝาบ้าน หรือ โพสท์ลงโซเชี่ยลเพื่อความมีหน้ามีตาหรือเพื่อดราม่ากตัญญู
• เด็กๆ ถูกสอนให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็น
• เด็กๆ ถูกสอนให้รับผิดชอบดูแลช่วยเหลือตนเองได้ หิ้วกระเป๋าเองได้ ทำอาหารง่ายๆ ได้ ซักผ้าเป็น
• เด็กๆ ถูกสอนให้เล่นกีฬาต่างๆ ให้อภิเชษฐ์ธรรมชาติ รักธรรมชาติ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
• ถูกสอนให้มีจิตสาธารณะ
3. ระบบความคิดของคน
• ไม่งมงาย ไม่ไสยศาสตร์ ไม่พิธีกรรม
• สามารถคิดแบบมีตรรกะที่ดีมีเหตุผลได้
• ไม่เพ้อฝัน ไม่เพ้อเจ้อ ไม่เวิ่นเว้อ
• ไม่คิดซับซ้อน คิดตรงๆ ทำตรงๆ
• คนไม่ได้ถูกควบคุมทางความคิด ร่างกาย จิตใจ
• ไม่ถูกครอบงำไม่ถูกชักจูงได้ง่าย โดนสะกดจิตหมู่ยาก
4. . ระบบสังคม ระบบชุมชน เพื่อนบ้าน
• คนเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
• คนเคารพส่วนรวม เคารพสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ
• คนเคารพในอาชีพของผู้อื่น (เช่น หมอ อาจจะมีเพื่อนบ้านเป็นคนขับแท็กซี่, ตำรวจ พยาบาล มีเพื่อนบ้านเป็นคนทำงานโรงงาน,
หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยดังที่เป็น ดร อาจจะมีเพื่อนบ้านเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงแกะ แต่คนในชุมชน ในหมู่บ้าน
สามารถช่วยเหลือ สังสรรค์ พูดคุย ทักทาย ไปมาหาสู่กันได้ แบบปกติธรรมดา หรือ ปิ้งบาร์บีคิวกินด้วยกันได้ ตามประสาเพื่อนบ้าน เป็นต้น)
• ระบบชนชั้นวรรณะไม่มี หรือ ถ้าหากมีก็มีน้อยมาก และ ไม่แรง ไม่ชัดเจน
• คนไม่ตัดสินกันที่เสื้อผ้า รถ นาฬิกา เครื่องประดับ
• คนสามารถไปไหนมาไหน ทำอะไรคนเดียวได้ โดยที่ไม่มีใครมานินทาว่าร้ายว่าเป็นคนไม่มีเพื่อนไม่มีสังคม
• เยาวชนถูกส่งเสริมให้ทำงานพาร์ทไทม์ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ แค่วัยมัธยมต้น วัยมัธยมปลายก็ต้องเริ่มรู้จักทำงานแล้ว
• เยาวชนสามารถแยกจากครอบครัวออกมาอยู่ด้วยตนเองได้ โดยไม่มีใครมานินทาว่าร้ายอะไร
• เยาวชนถูกส่งเสริมให้เดินทาง โดยเฉพาะเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ก็ต้องเดินทาง ก่อนทำงานจริงๆ จังๆ หรือ ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
และ มักจะเป็นการเดินทางไป ตปท หลายเมือง หลายทวีป บ้างก็เดินทางแค่ไม่กี่เดือน หรือบ้างก็เดินทางเป็นปี
5. ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ระบบราชการ การคมนาคม
• คนไม่ถูกกดค่าแรง มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
• คนมีสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ ที่ดี ซึ่งได้มาจากภาษีที่ทุกคนจ่ายในรูปแบบต่างๆ แล้วถูกจัดสรรแบ่งปันคืนสู่สังคมอย่างเป็นธรรม
• ระบบการเมืองเสถียร โปร่งใส นักการเมืองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สังคม
• ระบบราชการ มีมาตรฐาน
• กฏหมายแข็งแรง ใช้ได้จริง คนเคารพกฏหมาย
• การคมนาคมทางด้านขนส่งสาธารณะดี ครอบคลุม แต่ถ้าจะมีรถ ก็คือมีเอาไว้ใช้งาน ใช้เป็นพาหนะ ไม่ใช่เอาไว้ประดับบารมี
หรือไม่ใช่เอาไว้แสดงสถานะทางเศรษฐกิจ แต่มีเอาไว้ใช้งานจริงๆ
• สภาพแวดล้อมดี
• คนพิการก็สามารถมีงานทำ มีสวัสดิการสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นาๆ
6. ระบบการทำงาน
• คนเคารพกันที่ผลงาน
• จะจบที่ไหนมาไม่สำคัญ ไม่มีปริญญาก็ได้ แต่ต้องมีศักยภาพ มีความสามารถในการทำงาน
• การเมืองในที่ทำงานไม่มี หรือ ถ้าหากมีก็มีน้อย ไม่ใช่แบบร้ายลึก ไม่ใช่แบบซับซ้อน
• คนไม่ยุ่งเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
• คนไม่ต้องแกล้งถ่อมตัว ไม่ต้องลดคุณค่าของตนเอง
• หากไปประชุม/สัมนา ที่ ตปท เพื่อนร่วมงานไม่อิจฉา ไม่ฝากซื้อของ ไม่คาดหวังของฝาก
• ไม่ต้องคอยหาพวกหาก๊วนหาแก๊งค์ ไม่ต้องคอยเกาะกลุ่ม
• ไปกินทานอาหารกลางวันคนเดียวได้ หรือ ไปกับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีกลุ่ม หรือ ถ้าสะดวกไปคนเดียว กินคนเดียวก็ไม่มีใครมานินทาว่าร้าย
• เลิกงานแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องทำเป็นว่ายังยุ่งอยู่หลังเลิกงาน หรือ หากหัวหน้ายังอยู่ แต่ถ้าคุณเลิกงานแล้ว คุณสามารถกลับบ้านได้
ไม่จำเป็นต้องกลับหลังหัวหน้าหรือเจ้านาย
• สามารถลาหยุดได้ตามสิทธิ โดยที่ไม่ต้องมีดราม่า ไม่มีใครมาจิกมาตามในช่วงที่หยุด ไม่มีใครมาโน้มน้าวกดดันให้ยกเลิกแผนการเดินทางพักผ่อน
• ไม่โทรจิก ไม่วุ่นวายนอกเวลางาน
• เคารพเวลาส่วนตัว
• ไม่ต้องถูกเกณฑ์ หรือ ไม่ต้องถูกกึ่งบังคับแบบไม่เต็มใจ ให้ไปร่วมงานต่างๆ ของคนที่ตนเองไม่รู้จัก ไม่ต้องคอยรับซองงานแต่ง งานบวช งานศพ
งานกฐิน งานผ้าป่า งานบริจาคเอาหน้า
• ไม่ต้องมาคอยทำความเคารพใครรอบออฟฟิส แต่แค่ทักทาย ก้มๆ ให้กันเป็นเชิงทัก หรือ ยิ้มๆ กัน หรือ โบกมือให้กัน ก็พอแล้ว
• สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในที่ประชุม
_______
ตอนนี้นึกออกแค่นี้นะ
ที่แจกแจงเป็นข้อๆ เพราะทุกๆ อย่างเกี่ยวข้องกันหมดเป็นวงจร เป็นธรรมชาติ เป็นปกติ
สิ่งเหล่านี้แหละ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้คนในแต่ละ ปท แตกต่างกัน
และ เขียนมาในมุมกว้างๆ ทั่วๆ ไปนะ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังมีคนใน ปท ที่พัฒนาแล้วส่วนหนึ่ง
ที่อาจจะมีนิสัยบางอย่าง หรือ การกระทำบางอย่าง ที่เหมือน หรือ คล้ายกับคนใน ปท ที่กำลังพัฒนาแล้วได้
เอาเป็นว่า ที่เขียนมาใน คห นี้ เขียนถึงคนในระดับที่มีคุณภาพโดยทั่วๆ ไป
บ้านเมืองไหนก็แล้วแต่ จะสามารถจะพัฒนาได้ ก็ต้องมีการสร้างคนพัฒนาคนก่อน
เมื่อคุณภาพของคนส่วนใหญ่ดี สังคม สภาพแวดล้อม ประเทศ ก็จะดีไปตามคุณภาพของประชากรนั่นเอง
แล้วบ้านเมืองที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีคนที่จบปริญญาเยอะๆ เพราะบางบ้านเมืองมีคนจบปริญญาเยอะมาก แต่เมื่อมองไปรอบๆ
ไม่สามารถหาปัญญาชนเจอเลย หรือ หาปัญญาชนเจอยากมาก "
________
*- ตรงนี้กลับมา Edit เพิ่มเติมอีก 1 ประเด็น เพิ่มในข้อที่ 6 ในส่วนของการทำงาน
//
ระบบการทำงานที่เมืองไทย เท่าที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยอ่านๆ ตามกระทู้ เคยฟังคนใกล้ชิดเพื่อนฝูงคนในครอบครัวบ่นให้ฟัง หรือ
ที่เคยสัมผัสมาเอง
เห็นว่า ต่อให้เก่งแค่ไหน ต่อให้จบดีแค่ไหน ต่อให้จบโท จบเอกมาจากเมืองนอก หรือ จบมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทย
แต่ก็แทบจะถูกกลืนหมด เพราะต้องอยู่ในกรอบ ในระบบแบบไทยๆ ถึงจะรอด และ ถูกกดค่าแรงมาก สังคมในที่ทำงานก็เป็นไปตามวัฒนธรรม
ตามระบบความคิดของคนส่วนใหญ่
นอกจากจะถูกกดค่าแรงแล้ว ค่าครองชีพก็สูง ระบบการคมนาคมในการเดินทางไปทำงานก็ไม่ค่อยดีนัก สังคมในที่ทำงานก็ไม่ค่อยดี
สวัสดิการก็ไม่ค่อยดี ลาไปพักผ่อนยาวๆ ก็ยากมาก
อยากเห็นคนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ โดยเฉพาะคนในระดับปัญญาชน เพื่อให้สมกับที่เรียนๆ กันมา
คนไทยบางคน มีปริญญาหลายใบ ลงทุนลงเงินลงเวลากับการเรียนไปเยอะมาก ทำงานก็หนัก แต่เงินเดือนนิดเดียว ไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพเลย
คุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยดี ความเครียดสะสมสูง การแข่งขันสูง บางครั้งก็ใช้เวลากับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน มากกว่าจะใช้เวลาในการทำงานให้
มีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ
//
คุณ จขกท ถามถึงเรื่องระบบการศึกษา แต่ขอยกเรื่องระบบการทำงาน และ ระบบสังคมมาด้วย เพราะมันเกี่ยวข้องกันหมด
และ อีกทั้งเห็นคุณ จขกท พูดถึงโพรไฟล์ของตนเองในเรื่องงาน เรื่องของระดับของสถานศึกษา รวมไปถึงเรื่องเงินเดือนด้วย
จึงยกในจุดอื่นๆ นี้ขึ้นมาด้วย
คุณ จขกท ลองสำรวจตนเองดูในรายละเอียดนะ ว่าตรงกับข้อไหนบ้าง จุดไหนบ้าง ที่เราพิมพ์มาเป็นข้อๆ ที่ด้านบน
แล้วลองถามตัวเองว่า เรียนมาขนาดนี้ ทำงานขนาดนี้ แต่คุณภาพชีวิตโดยรวมเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งชีวิตในการทำงาน และ ชีวิตโดยทั่วๆ ไป
โดยเทียบกับในไทย (ไทยแลนด์ โอนลี่) แต่อย่าลืมเทียบคิดเทียบกับในระดับโลก (โกอินเตอร์, ไทยแลนด์สี่จุดศูนย์ )
โดยเฉพาะกับ ปท ที่พัฒนาแล้ว ที่นอกแผนที่ ปท ไทยด้วย
แค่ในกรอบภายในแผนที่ ปท ไทย แค่นี้หรือเปล่า? เราแค่เดาเอา?
//
สำหรับเรา เราคิดว่า สภาพแวดล้อม และ ระบบการศึกษาไทย ไม่สอนให้คนคิด วิเคราะห์ แยกแยะเป็น
และ มักจะโฟกัสให้ความสำคัญผิดจุด เช่น โฟกัสไปที่เรื่องของทรงผม เครื่องแบบ เรื่องส่วนตัว
ระบบการศึกษาแบบไทยๆ รวมไปถึงระบบสังคมแบบไทยๆ ระบบครอบครัวแบบไทยๆ ไม่เน้นการสร้างคนโดยการดึงศักยภาพ
และจุดเด่นของแต่ละคนออกมา ไม่เน้นการสร้างคนที่แตกต่าง ไม่เน้นการสร้างให้คนมีความมั่นใจในตัวเอง ไม่เน้นสร้างผู้นำ
ไม่เน้นสร้างผู้ริเริ่ม ไม่เน้นการปฏิบัติจริง แต่เน้นการท่องจำ เน้นความจำ
เน้นที่เป้าหมายสูงสุด คือ แผ่นกระดาษใบปริญญา และ ให้ความสำคัญกับการถ่ายรูปในชุดครุย และ ให้ความสำคัญมากกับโพรไฟล์
ให้ความสำคัญกับสถาบัน
หรือ ในระบบสังคมแบบไทยๆ สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโพรไฟล์ และ ใบปริญญา มันคือ คอนเน็คชั่น และ การรู้หลบเป็นปีก
รู้หลีกเป็นหาง ถ้าตีสองหน้าเก่ง เล่นการเมืองเก่ง คอนเน็คชั่นดี แค่นี้ก็โอเคแล้ว
เพราะสังคมเป็นสภาพสังคมแบบพวกพ้อง ส่วนตนมาก่อน ส่วนรวมมาทีหลัง ทุกคนต้องทำเพื่อความอยู่รอด
//
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีกระทู้หัวเรื่อง " ทำไมเด็กต่างประเทศถึงรู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไร เมื่อเรียนจบ "
ลิ้งค์ https://ppantip.com/topic/37632703/comment10
เราเคยไปตอบเอาไว้ที่ คห 10 ดังนี้ ...
//
" ตอบของเฉพาะ ปท ที่พัฒนาแล้วโดยทั่วๆ ไป และ ของครอบครัวปกติทั่วๆ ไป และ ของคนปกติทั่วๆ ไป ที่เป็นคนมีคุณภาพ
เพราะหลายสาเหตุ จากปัจจัยหลายด้านของเขา ที่หล่อหลอมให้เขาคิดเป็น กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีความมั่นใจในตัวเอง มีความเคารพตนเอง
รู้จักตนเอง ไม่ขี้กลัว ไม่ขี้ขลาด ไม่ขี้ตกใจ ไม่อาฆาต ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่มีลับลมคมใน ไม่ปากหนัก ไม่เก็บกด ไม่เครียด ไม่ต้องแอ๊บ
ไม่ต้องพูดอย่างคิดอย่าง สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ ตัดสินใจชีวิตเองได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมสูง อาทิเช่น
1. ระบบครอบครัว ระบบเครือญาติ
• พ่อ แม่ ลูก สามารถคุยกันได้ มีความเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
• พ่อแม่ไม่บังคับกดขี่ข่มเหงลูก
• พ่อแม่ไม่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของชีวิตลูก
• พ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงลูกเพื่อเอาลูกไว้กับตัวตลอดชีวิต ไม่ได้หวังพึ่งลูก
• ทุกคนในครอบครัวมีสิทธิมีเสียงแทบจะเท่าเทียมกัน รับฟังกัน
• ญาติไม่เข้ามาก้าวก่ายเรื่องในครอบครัว โดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่
• ไม่เอาการศึกษามาคุยอวดข่มแข่งขันเปรียบเทียบกันในหมู่เครือญาติ
2. ระบบการศึกษา
• เด็กๆ ถูกสอนให้คิดเองเป็น
• ถูกสอนให้รู้จักค้นคว้า
• ถูกสอนให้ลงมือปฏิบัติจริง
• ถูกสอนให้แสดงความคิดเห็น โดยที่ไม่ต้องคิดไม่ต้องเห็นเหมือนกับผู้อื่น
• เด็กๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกบังคับให้แต่งตัวเหมือนกัน ไม่ได้ถูกบังคับเรื่องทรงผม
• สามารถซักถามครูได้ หากสงสัย
• สามารถโต้แย้งครูได้ ด้วยเหตุผล
• ไม่ต้องเรียนในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ เพียงเพราะว่าต้องเรียนตามผู้อื่น หรือ เพียงเพราะว่าต้องเรียนตามใจผู้ปกครอง
• ไม่มีความกดดันว่าจะต้องมีรูปถ่ายในชุดครุยรับปริญญา เพื่อที่จะเอามาติดฝาบ้าน หรือ โพสท์ลงโซเชี่ยลเพื่อความมีหน้ามีตาหรือเพื่อดราม่ากตัญญู
• เด็กๆ ถูกสอนให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็น
• เด็กๆ ถูกสอนให้รับผิดชอบดูแลช่วยเหลือตนเองได้ หิ้วกระเป๋าเองได้ ทำอาหารง่ายๆ ได้ ซักผ้าเป็น
• เด็กๆ ถูกสอนให้เล่นกีฬาต่างๆ ให้อภิเชษฐ์ธรรมชาติ รักธรรมชาติ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
• ถูกสอนให้มีจิตสาธารณะ
3. ระบบความคิดของคน
• ไม่งมงาย ไม่ไสยศาสตร์ ไม่พิธีกรรม
• สามารถคิดแบบมีตรรกะที่ดีมีเหตุผลได้
• ไม่เพ้อฝัน ไม่เพ้อเจ้อ ไม่เวิ่นเว้อ
• ไม่คิดซับซ้อน คิดตรงๆ ทำตรงๆ
• คนไม่ได้ถูกควบคุมทางความคิด ร่างกาย จิตใจ
• ไม่ถูกครอบงำไม่ถูกชักจูงได้ง่าย โดนสะกดจิตหมู่ยาก
4. . ระบบสังคม ระบบชุมชน เพื่อนบ้าน
• คนเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน
• คนเคารพส่วนรวม เคารพสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ
• คนเคารพในอาชีพของผู้อื่น (เช่น หมอ อาจจะมีเพื่อนบ้านเป็นคนขับแท็กซี่, ตำรวจ พยาบาล มีเพื่อนบ้านเป็นคนทำงานโรงงาน,
หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยดังที่เป็น ดร อาจจะมีเพื่อนบ้านเป็นเจ้าของฟาร์มเลี้ยงแกะ แต่คนในชุมชน ในหมู่บ้าน
สามารถช่วยเหลือ สังสรรค์ พูดคุย ทักทาย ไปมาหาสู่กันได้ แบบปกติธรรมดา หรือ ปิ้งบาร์บีคิวกินด้วยกันได้ ตามประสาเพื่อนบ้าน เป็นต้น)
• ระบบชนชั้นวรรณะไม่มี หรือ ถ้าหากมีก็มีน้อยมาก และ ไม่แรง ไม่ชัดเจน
• คนไม่ตัดสินกันที่เสื้อผ้า รถ นาฬิกา เครื่องประดับ
• คนสามารถไปไหนมาไหน ทำอะไรคนเดียวได้ โดยที่ไม่มีใครมานินทาว่าร้ายว่าเป็นคนไม่มีเพื่อนไม่มีสังคม
• เยาวชนถูกส่งเสริมให้ทำงานพาร์ทไทม์ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ แค่วัยมัธยมต้น วัยมัธยมปลายก็ต้องเริ่มรู้จักทำงานแล้ว
• เยาวชนสามารถแยกจากครอบครัวออกมาอยู่ด้วยตนเองได้ โดยไม่มีใครมานินทาว่าร้ายอะไร
• เยาวชนถูกส่งเสริมให้เดินทาง โดยเฉพาะเมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ก็ต้องเดินทาง ก่อนทำงานจริงๆ จังๆ หรือ ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย
และ มักจะเป็นการเดินทางไป ตปท หลายเมือง หลายทวีป บ้างก็เดินทางแค่ไม่กี่เดือน หรือบ้างก็เดินทางเป็นปี
5. ระบบเศรษฐกิจ การเมือง ระบบราชการ การคมนาคม
• คนไม่ถูกกดค่าแรง มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
• คนมีสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ ที่ดี ซึ่งได้มาจากภาษีที่ทุกคนจ่ายในรูปแบบต่างๆ แล้วถูกจัดสรรแบ่งปันคืนสู่สังคมอย่างเป็นธรรม
• ระบบการเมืองเสถียร โปร่งใส นักการเมืองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สังคม
• ระบบราชการ มีมาตรฐาน
• กฏหมายแข็งแรง ใช้ได้จริง คนเคารพกฏหมาย
• การคมนาคมทางด้านขนส่งสาธารณะดี ครอบคลุม แต่ถ้าจะมีรถ ก็คือมีเอาไว้ใช้งาน ใช้เป็นพาหนะ ไม่ใช่เอาไว้ประดับบารมี
หรือไม่ใช่เอาไว้แสดงสถานะทางเศรษฐกิจ แต่มีเอาไว้ใช้งานจริงๆ
• สภาพแวดล้อมดี
• คนพิการก็สามารถมีงานทำ มีสวัสดิการสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นาๆ
6. ระบบการทำงาน
• คนเคารพกันที่ผลงาน
• จะจบที่ไหนมาไม่สำคัญ ไม่มีปริญญาก็ได้ แต่ต้องมีศักยภาพ มีความสามารถในการทำงาน
• การเมืองในที่ทำงานไม่มี หรือ ถ้าหากมีก็มีน้อย ไม่ใช่แบบร้ายลึก ไม่ใช่แบบซับซ้อน
• คนไม่ยุ่งเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
• คนไม่ต้องแกล้งถ่อมตัว ไม่ต้องลดคุณค่าของตนเอง
• หากไปประชุม/สัมนา ที่ ตปท เพื่อนร่วมงานไม่อิจฉา ไม่ฝากซื้อของ ไม่คาดหวังของฝาก
• ไม่ต้องคอยหาพวกหาก๊วนหาแก๊งค์ ไม่ต้องคอยเกาะกลุ่ม
• ไปกินทานอาหารกลางวันคนเดียวได้ หรือ ไปกับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีกลุ่ม หรือ ถ้าสะดวกไปคนเดียว กินคนเดียวก็ไม่มีใครมานินทาว่าร้าย
• เลิกงานแล้วกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องทำเป็นว่ายังยุ่งอยู่หลังเลิกงาน หรือ หากหัวหน้ายังอยู่ แต่ถ้าคุณเลิกงานแล้ว คุณสามารถกลับบ้านได้
ไม่จำเป็นต้องกลับหลังหัวหน้าหรือเจ้านาย
• สามารถลาหยุดได้ตามสิทธิ โดยที่ไม่ต้องมีดราม่า ไม่มีใครมาจิกมาตามในช่วงที่หยุด ไม่มีใครมาโน้มน้าวกดดันให้ยกเลิกแผนการเดินทางพักผ่อน
• ไม่โทรจิก ไม่วุ่นวายนอกเวลางาน
• เคารพเวลาส่วนตัว
• ไม่ต้องถูกเกณฑ์ หรือ ไม่ต้องถูกกึ่งบังคับแบบไม่เต็มใจ ให้ไปร่วมงานต่างๆ ของคนที่ตนเองไม่รู้จัก ไม่ต้องคอยรับซองงานแต่ง งานบวช งานศพ
งานกฐิน งานผ้าป่า งานบริจาคเอาหน้า
• ไม่ต้องมาคอยทำความเคารพใครรอบออฟฟิส แต่แค่ทักทาย ก้มๆ ให้กันเป็นเชิงทัก หรือ ยิ้มๆ กัน หรือ โบกมือให้กัน ก็พอแล้ว
• สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในที่ประชุม
_______
ตอนนี้นึกออกแค่นี้นะ
ที่แจกแจงเป็นข้อๆ เพราะทุกๆ อย่างเกี่ยวข้องกันหมดเป็นวงจร เป็นธรรมชาติ เป็นปกติ
สิ่งเหล่านี้แหละ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้คนในแต่ละ ปท แตกต่างกัน
และ เขียนมาในมุมกว้างๆ ทั่วๆ ไปนะ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ยังมีคนใน ปท ที่พัฒนาแล้วส่วนหนึ่ง
ที่อาจจะมีนิสัยบางอย่าง หรือ การกระทำบางอย่าง ที่เหมือน หรือ คล้ายกับคนใน ปท ที่กำลังพัฒนาแล้วได้
เอาเป็นว่า ที่เขียนมาใน คห นี้ เขียนถึงคนในระดับที่มีคุณภาพโดยทั่วๆ ไป
บ้านเมืองไหนก็แล้วแต่ จะสามารถจะพัฒนาได้ ก็ต้องมีการสร้างคนพัฒนาคนก่อน
เมื่อคุณภาพของคนส่วนใหญ่ดี สังคม สภาพแวดล้อม ประเทศ ก็จะดีไปตามคุณภาพของประชากรนั่นเอง
แล้วบ้านเมืองที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีคนที่จบปริญญาเยอะๆ เพราะบางบ้านเมืองมีคนจบปริญญาเยอะมาก แต่เมื่อมองไปรอบๆ
ไม่สามารถหาปัญญาชนเจอเลย หรือ หาปัญญาชนเจอยากมาก "
________
*- ตรงนี้กลับมา Edit เพิ่มเติมอีก 1 ประเด็น เพิ่มในข้อที่ 6 ในส่วนของการทำงาน
//
ระบบการทำงานที่เมืองไทย เท่าที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยอ่านๆ ตามกระทู้ เคยฟังคนใกล้ชิดเพื่อนฝูงคนในครอบครัวบ่นให้ฟัง หรือ
ที่เคยสัมผัสมาเอง
เห็นว่า ต่อให้เก่งแค่ไหน ต่อให้จบดีแค่ไหน ต่อให้จบโท จบเอกมาจากเมืองนอก หรือ จบมหาวิทยาลัยชั้นนำในไทย
แต่ก็แทบจะถูกกลืนหมด เพราะต้องอยู่ในกรอบ ในระบบแบบไทยๆ ถึงจะรอด และ ถูกกดค่าแรงมาก สังคมในที่ทำงานก็เป็นไปตามวัฒนธรรม
ตามระบบความคิดของคนส่วนใหญ่
นอกจากจะถูกกดค่าแรงแล้ว ค่าครองชีพก็สูง ระบบการคมนาคมในการเดินทางไปทำงานก็ไม่ค่อยดีนัก สังคมในที่ทำงานก็ไม่ค่อยดี
สวัสดิการก็ไม่ค่อยดี ลาไปพักผ่อนยาวๆ ก็ยากมาก
อยากเห็นคนไทยส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ โดยเฉพาะคนในระดับปัญญาชน เพื่อให้สมกับที่เรียนๆ กันมา
คนไทยบางคน มีปริญญาหลายใบ ลงทุนลงเงินลงเวลากับการเรียนไปเยอะมาก ทำงานก็หนัก แต่เงินเดือนนิดเดียว ไม่สมดุลย์กับค่าครองชีพเลย
คุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยดี ความเครียดสะสมสูง การแข่งขันสูง บางครั้งก็ใช้เวลากับเรื่องการเมืองในที่ทำงาน มากกว่าจะใช้เวลาในการทำงานให้
มีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ
//
คุณ จขกท ถามถึงเรื่องระบบการศึกษา แต่ขอยกเรื่องระบบการทำงาน และ ระบบสังคมมาด้วย เพราะมันเกี่ยวข้องกันหมด
และ อีกทั้งเห็นคุณ จขกท พูดถึงโพรไฟล์ของตนเองในเรื่องงาน เรื่องของระดับของสถานศึกษา รวมไปถึงเรื่องเงินเดือนด้วย
จึงยกในจุดอื่นๆ นี้ขึ้นมาด้วย
คุณ จขกท ลองสำรวจตนเองดูในรายละเอียดนะ ว่าตรงกับข้อไหนบ้าง จุดไหนบ้าง ที่เราพิมพ์มาเป็นข้อๆ ที่ด้านบน
แล้วลองถามตัวเองว่า เรียนมาขนาดนี้ ทำงานขนาดนี้ แต่คุณภาพชีวิตโดยรวมเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งชีวิตในการทำงาน และ ชีวิตโดยทั่วๆ ไป
โดยเทียบกับในไทย (ไทยแลนด์ โอนลี่) แต่อย่าลืมเทียบคิดเทียบกับในระดับโลก (โกอินเตอร์, ไทยแลนด์สี่จุดศูนย์ )
โดยเฉพาะกับ ปท ที่พัฒนาแล้ว ที่นอกแผนที่ ปท ไทยด้วย
แสดงความคิดเห็น
การศึกษาไทยมันไม่ดีตรงไหนหรอครับ แล้วคุณคาดหวังอะไรหรอครับ
ผมเคย.....
1. เรียนโรงเรียนวัด
2. เรียนเอกชนอันดับ 1 ของจังหวัด
3. เรียนโรงเรียนรัฐบาลประจำ
4. เรียนมหาลัย 3 พระจอม
การทำงาน ปัจจุบัน อายุ 29
ทำงานมา 3 บริษัท
Sr. Engineer บริษัทประกอบรถยนต์
รายได้รวมๆ
45++k (ขอดูสลิปได้นะ)
สิ่งที่สงสัย:
โดยส่วนตัว ผมมองว่าการศึกษาไทยก็ไม่ได้แย่ตรงไหน
1) ผมอยากทราบว่า ทุกคนคาดหวังว่าอยากให้การศึกษาในอนาคต
เป็นแบบไหนครับ อะไรคือ KPI ว่าการศึกษาไทยประสบผลสำเร็จแล้ว?
2) จากสถานะปัจจุบันของผม และประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งการเรียน
และการทำงาน ผมคิดว่ามันเพียงพอกับการทำงานในปัจจุบัน
แล้วอะไร คือสิ่งที่ทุกคนบ่งชี้ว่ามันไม่พอ มันต้องปรับปรุงหรอครับ?