มารู้จัก ประวัติ เจ้าจายหลวงเจ้าฟ้าผู้อาภัพแห่งเชียงตุง กันเถอะ


บรรดาเหล่าเจ้าชายในสมัยก่อน เจ้านายของพวกเรา มีหลายพระองค์ที่รูปโฉมงดงามดังเช่น เจ้าชายองค์นี้ คือเจ้าจายหลวง เป็นพระราชบุตรในเจ้าฟ้ากองไท เจ้าฟ้าแห่งเชียงตุง ประสูติในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ราชบุตรในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ส่วนพระมารดาคือเจ้านางจ่ายุ้นท์ แววตาของพระองค์มีเสน่ห์ที่จับจ้องออกมาอย่างเหลือล้นรูปหน้า และริมฝีปากอวบอิ่ม ครบองค์ประกอบชายรูปงามในยุคสมัยปัจจุบันยิ่งนัก


      เจ้าจายหลวงมีพระพี่น้องด้วยกัน ๕ พระองค์ ส่วนพระมหาเทวีของพระองค์ คือเจ้านางจันแก้วมหาเทวี มีพระทายาทด้วยกัน ๒ องค์ เจ้าพ่อของเจ้าจายหลวง คือเจ้าฟ้ากองไท ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ตั้งแต่เจ้าจายหลวงยังพระเยาว์อยู่ เมืองเชียงตุงจึงมีผู้สำเร็จราชการแทน โดยเจ้าจายหลวงได้ไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ปีต่อมาจึงได้บวชเป็นเจ้าส่างที่วัดหัวข่วงเป็นเวลา ๑๕ วัน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๙๐ เจ้าจายหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย

  เจ้าเชียงตุงองค์ที่ชื่อเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ส่งลูกชาย ๒ คนไปเรียนที่อังกฤษ คนโตเกิดจากหญิงสามัญชน องค์รองเกิดจากมเหสี ทั้งสองคนร่ำเรียน จนวันหนึ่ง เชียงตุงเกิดระส่ำระส่ายทางการเมือง เขาเลยเรียกลูกกลับมาที่บ้าน.. ลูกชายคนโตชื่อกองไท คนรองชื่อเจ้าพรหมลือ.. เจ้ากองไท ไปสมัครเป็นทหารอังกฤษ.. เจ้าพรหมลือไปรับตำแหน่งสำคัญอื่นอยู่ (เจ้าเมืองเหล็ก..ประมาณเจ้าหัวเมือง).. เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงทรงไม่พอพระทัยมากที่เจ้ากองไทไปเข้ากับทหารอังกฤษ.. จึงเรียกตัวกับมาเป็นเจ้าแกมเมือง (เจ้าแกมเมืองคือตำแหน่งรัชทายาท) พอเจ้าเชียงตุงสิ้น เจ้ากองไทจึงได้เป็นเจ้าเมือง.. คนในประเทศก็แอบงงว่าทำไมไม่ตั้งเจ้าพรหมลือเป็น..เพราะเจ้าพรหมลือเกิดจากมเหสี ครองราชย์อยู่ได้พักหนึ่งเจ้ากองไทก็โดนลอบปลงพระชนม์.. ทหารอังกฤษจับตัวคนร้ายได้..ซักทอดไปที่เจ้าพรหมลือ.. แต่ไม่มีหลักฐานอะไรบ่งบอกว่าเจ้าพรหมลือทำ..ก็ไม่มีใครรู้ว่าทำจริงๆหรือถูกใส่ร้าย

            เจ้าจายหลวงไปร่ำเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย .. ช่วงที่กลับมาเป็นเจ้าเชียงตุง บ้านเมืองเชียงตุงระส่ำระส่ายอีกครั้ง พม่ามีอำนาจมาก.. ตรงกับราวๆสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงขอลี้ภัย ขอสัญชาติมาเป็นคนไทย แต่ไม่ได้ .. พม่าสั่งกักบริเวณอยู่ย่างกุ้ง (สมัยนายพลเนวิน)
        ต้นสกุล ขุนศึกเม็งราย คือ เจ้าฟ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม โอรสของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงกับเจ้าแม่จามฟอง ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเจ้าจายหลวง เจ้าฟ้าองค์สุดท้ายของเชียงตุง ในระหว่างที่เจ้าจายหลวงศึกษาอยู่ที่ออสเตรเลีย ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเจ้าฟ้าขุนศึกฯ ท่านรับราชการทหารกับกองทัพอังกฤษ และเป็นกงสุลอังกฤษประจำเชียงใหม่ท่านแรกจนก่อนที่พม่าจะเกิดการปฏิวัติล้ม ระบอบเจ้าฟ้า ท่านอยู่ในประเทศไทยรัฐบาลพม่าประกาศให้ท่านเป็นบุคคลต้องห้าม ท่านจึงพำนักอยู่ในเมืองไทยและขอรับสัญชาติไทยจนถึงวาระสุดท้าย เจ้าฟ้าขุนศึกฯ สมรสกับ หม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย มีโอรสและธิดาคือ
๑. แพทย์หญิงเจ้านางเขมรัสมี ขุนศึกเม็งราย
๒. เจ้านางเขมวดี ขุนศึกเม็งราย
๓. เจ้าชายเขมรัฐ ขุนศึกเม็งราย

ส่วนบุตรของเจ้าจายหลวง คือ เจ้าอู่เมือง ณ เชียงตุง หรือเจ้าอู่ เมิง ประสูติราวพ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นบุตรในเจ้าจายหลวง กับ เจ้านางจันแก้วมหาเทวี เขาเป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง (แต่ในนาม) คนปัจจุบัน ต่อจากบิดา


  เจ้าจายหลวงได้ถูกคุมองค์ไปคุมขัง ณ ย่างกุ้ง เป็นเวลา 6 ปี และหลังจากนั้นมา ทางการพม่าก็ให้เจ้าจายหลวงประทับอยู่ในย่างกุ้งต่อมา จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2540 และได้รับการถวายพระเพลิงพระศพที่ย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2540 โดยพระอัฐิของท่านได้นำมาบรรจุภายในกู่เจ้าฟ้าเชียงตุง


เจ้านางปิมปา แห่ง เมืองเชียงตุง

ท่านเป็นพี่สาว ของ เจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง แห่ง เชียงตุง
สาวสะพรั่ง ถ่ายภาพในชุดไทเขิน
สวมซิ่นไหมคำลายบัว
ที่มีลวดลายละเอียด สวยงามมาก
แบบฉบับ คุ้มหลวงเชียงตุง
นั่งอย่างสง่างามท่ามกลางข้ารับใช้ ที่รวมหมู่ถ่ายภาพ
ราวปี ค.ศ.1890
เด็กที่ยืนเคียงข้างเจ้านางปิมปา ในภาพนั้น
คือเจ้านางทิพย์ธิดา ในวัยเยาว์
ท่านเป็นน้องสาวเจ้านางปิมปา
เมื่อ เติบโตเป็นสาว ก็สวยงามโดดเด่นที่สุด
ไม่แพ้เจ้านางองค์ใด ในยุคนั้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอคลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tnews.co.th/ ด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่