..........แล้วระหว่างนั้นทางเชียงตุงเป็นอย่างไรบ้างคะ....
ช่วงเกิดสงครามฉันไม่ได้ข่าวจากทางเชียงตุงเลย มารู้ข่าวว่าเจ้าฉายเมือง กับ เจ้าขุนศึกน้องชายหนีพวกญี่ปุ่นไปอยู่กับพวกสัมพันธ์มิตรแล้ว ทั้งสองก็พูดออกอากาศทางวิทยุว่า เรามาอยู่ที่นี่สบายดีด้วยเหตุที่เขาหายไปโดยไม่มีใครรู้เรื่องแต่เขาต้องออกหนีโดยไม่ให้ญี่ปุ่นรู้ตัวเลยกลัวทุกคนเป็นห่วง ต้องประกาศทางวิทยุแทน พอเราได้ยินเสียงเขาทางวิทยุก็สบายใจ
............แต่หลังสงครามยิ่งแย่กว่า......
ตอนนั้นแต่งงานมาอยู่ที่นี่มาหลายปีแล้ว นายพลอูนุ นายกรัฐมนตรีพม่ายุคนั้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเมืองต่างๆที่มีอิทธิพลสูงถูกพวกที่ทำการปฏวัติจับเข้าคุก เจ้าฟ้าย็องหุ่ย ซึ่งตอนแรกเป็นประธานาธิบดีของพม่าภายหลังมาสิ้นพระชมน์ในคุก คนที่ไปรับพระศพมาเห็นแต่รอยรองเท้าและรอยช้ำเต็มพระวรกาย เดี๋ยวนี้ที่นั่นเหลือเพียงน้องชายคนหนึ่งกับน้องสาวสองคน เจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายต้องย้ายไปเมืองต่องกีหมดเพราะเกรงว่าพวกข้าบ้าน คนเมืองที่ยังจงรักภักดีอยู่จะก่อกบฎ คุ้มที่ฉันเคยอยู่ เดี๋ยวนี้ก็โดนรื้อทิ้งไปแล้ว เขาเล่าว่ามีคนไปดูเวลาที่เขารื้อแล้วไปพูดคัดค้านว่า รื้อทิ้งทำมัย...เสียดาย เลยโดนจับเข้าคุกแบบขังลืมก็มี
..............ท่านได้กลับไปเยี่ยมเชียงตุงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่คะ.....
เมื่อสาบสิบกว่าปีก่อนตอนที่แม่ตาย แม่ฉันตายเมื่ออายุได้เจ็ดสิบกว่าปี ส่วนเจ้าพ่อสิ้นพระชมน์เมื่อพระชนมายุได้ประมาณหกสิบพรรษา เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว ทั้งโรคหืดและนิ่ว รวมทั้งได้ยาไม่ดีด้วย
.....เมื่อเจ้าฟ้าองค์ใดสิ้นพระชมน์เขาจะไม่เผาศพ แต่ก่อกู่เป็นฐานปูนทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เจาะช่องตรงกลาง สลักเสลาลวดลายสวยงาม จากนั้นจึงนำพระศพบรรจุไว้ในกู่ ปิดให้สนิท แล้วเอาปราสาทที่ทำด้วยกระดาษมาครอบไว้บนกู่ เมื่อเสร็จพิธีแล้วสัปเหล่อจะเป็นคนมาเผาปราสาทนั้น ที่กู่จะจารึกชื่อไว้ว่าทีเจ้าฟ้าองค์ใดบ้าง ถ้าหากว่า มหาเทวีหรือพระโอรสธิดาสิ้นพระชมน์จะแยกศพไว้ต่างหาก เพื่อบรรจุไว้ในกู่อีกแห่งหนึ่ง โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากุดสุสาน ในเชียงตุงจึงมีหลายแห่ง สุสานสำหรับเจ้านายแห่งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดาแห่งหนึ่ง มีสุสานในเชียงตุงห้าแห่งเท่านั้นเอง
..........ลูกๆตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ.......
เขารักแม่กันหมดทุกคน ตอนที่พวกเขายังเล็ก ไม่ได้ส่งไปเรียนหนังสือที่เมืองนอกหรอก แต่ส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯกันหมด ตอนนี้ลูกสาวคนหนึ่งทำงานที่กรุงเทพฯ ลูกชายคนหนึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาแม่สาย ลูกชายคนเล็กเป็นผู้จัดการธนาคารที่สันกำแพง ลูกสาวอีกคนก็ทำงานที่เชียงใหม่ เขาก็พอมีพอกิน ส่วนลูกชายคนโตที่เสียไปเขาก็เป็นปู่คนแล้ว
...........ถ้าอย่างนั้นท่านก็เป็นทวดแล้วซิคะ..
ค่ะ (หัวเราะ) แล้วถ้าเหลนแต่งงานไปจะเป็นอะไรอีกหล่ะ
...........ทราบมาว่าท่านนั่งกรรมฐานด้วย......
ค่ะเริ่มนั่งกรรมฐานมาเมื่ออายุสี่สิบกว่าๆ ตอนนั้นใจอยากเข้าวัด เริ่มปล่อยทางโลกแล้ว เนื่องจากฉันสนใจธรรมมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ที่แม่เคยพาไปวัด เลยไปหาเอาเองว่าวัดไหนดี ในเชียงใหม่นี้มีวัดดีๆหลายแห่ง ฉันไปวัดพระศีรเป็นแห่งแรก แล้วเจ้าคุณวัดพระศรี ท่านนิมนต์พระอาจารย์ ทองวัดบางวาน มาเป็นผู้สอนกรรมฐานให้ ฉันเห็นว่าวิธีการกำหนดลมหายใจเข้าออกของท่านนั้นถูกกับนิสัยเรา เลยติดตามท่านนั่งกรรมฐานมาตลอดช่วงนั้นใครจะหาตัวฉันได้ต้องไปที่วัด ให้คนเอากับข้าวไปส่งให้ บางทีไปอยุ่วัดถึงสามเดือน ไปอยุ่วัดสนุกดี เดี๋ยวนี้ฉันก็นั่งกรรมฐานอยู่แต่นั้งอยู่ที่บ้านทุกเช้าหลังจากตื่นนอนแล้วบางทีถึงกับเห็นตัวเราลอยอยู่บนเพดานและยังเห็นตัวเราอีกคนยังนั่งอยู่กับพื้นแต่พระอาจารย์บอกว่าไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่เห็น ฉันเลยไม่สนใจว่าว่าเราจะนั่งถึงขั้นไหนแล้ว เพียงแต่นั่งกรรมฐานเพื่อให้จิตใจเราสงบเท่านั้น
...............บันทึกชีวิตความยาวเกือบสามชั่วโมงนี้อาจเป็นเพียงประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งในจำนวนหลายล้านหน้า และอาจะเป็นเพียงมุมมองหนึ่งจากสมาชิกราชนิกุลลำดับสุดท้ายของสองราชวงศ์ทั้งเชียงตุง และเชียงใหม่
........แต่ก็เป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของกาลเวลาที่ไม่น่าผ่านเลย..........ขอขอบคุณเจ้าของบทสัมภาษณ์และรูปทุกท่านครับ
.....เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง ประสูติเมื่อพ.ศ. 2456 โดยเป็นพระธิดาแห่งเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าหอคำเชียงตุงกับเจ้านางทิพย์หลวงหรือเจ้านางบัวทิพย์หลวงในหอคำนครเชียงตุง โดยเจ้านางเรียกเจ้าพ่อว่า "ฟ้าหม่อม" มีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน ได้แก่
-เจ้าแว่นแก้ว ณ เชียงตุง
-เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่
-เจ้าแว่นทิพย์ ณ เชียงตุง
-เจ้าสิงห์ไชย ณ เชียงตุง
-เจ้าแก้วเมืองมา ณ เชียงตุง
.....เจ้านางสุคันธา ได้เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งราชสำนักเชียงใหม่ คือ เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ. หอคำเชียงตุง โดยมีเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเจ้าหอคำและเจ้านางปทุมมหาเทวีเป็นเจ้าภาพเมื่อ พ.ศ. 2476และมีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษผู้กำกับราชการนครเชียงตุงร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส เจ้านางสุคันธาและเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ จึงเป็นสายใยแห่งราชสำนักเชียงใหม่-เชียงตุง เป็นราชโอรสและราชธิดา "เจ้าหลวงและเจ้าฟ้า" แห่งสองราชสำนัก โดยทั้งสองมีโอรสธิดา 5 พระองค์ คือ
-เจ้ารัตนนินดนัย ณ เชียงใหม่
-เจ้าวิไลวรรณ ณ เชียงใหม่
-เจ้าสรรพสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่
-เจ้าไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่
-เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสันป่าตอง
.....วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ ได้สุรคตเมื่อชันษา 90 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลที่วัดเจดีย์หลวง ส่งสการ ณ. ฌาปนกิจสถานสันกู่เหล็กในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546
คัดเนื้อหาและเรียบเรียงโดย :ใหม่สูงค่า เชียงตุง
สายสัมพันธ์ ตอนที่ 3 เชียงใหม่-เชียงตุง
ช่วงเกิดสงครามฉันไม่ได้ข่าวจากทางเชียงตุงเลย มารู้ข่าวว่าเจ้าฉายเมือง กับ เจ้าขุนศึกน้องชายหนีพวกญี่ปุ่นไปอยู่กับพวกสัมพันธ์มิตรแล้ว ทั้งสองก็พูดออกอากาศทางวิทยุว่า เรามาอยู่ที่นี่สบายดีด้วยเหตุที่เขาหายไปโดยไม่มีใครรู้เรื่องแต่เขาต้องออกหนีโดยไม่ให้ญี่ปุ่นรู้ตัวเลยกลัวทุกคนเป็นห่วง ต้องประกาศทางวิทยุแทน พอเราได้ยินเสียงเขาทางวิทยุก็สบายใจ
............แต่หลังสงครามยิ่งแย่กว่า......
ตอนนั้นแต่งงานมาอยู่ที่นี่มาหลายปีแล้ว นายพลอูนุ นายกรัฐมนตรีพม่ายุคนั้น รวมทั้งเจ้าฟ้าเมืองต่างๆที่มีอิทธิพลสูงถูกพวกที่ทำการปฏวัติจับเข้าคุก เจ้าฟ้าย็องหุ่ย ซึ่งตอนแรกเป็นประธานาธิบดีของพม่าภายหลังมาสิ้นพระชมน์ในคุก คนที่ไปรับพระศพมาเห็นแต่รอยรองเท้าและรอยช้ำเต็มพระวรกาย เดี๋ยวนี้ที่นั่นเหลือเพียงน้องชายคนหนึ่งกับน้องสาวสองคน เจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายต้องย้ายไปเมืองต่องกีหมดเพราะเกรงว่าพวกข้าบ้าน คนเมืองที่ยังจงรักภักดีอยู่จะก่อกบฎ คุ้มที่ฉันเคยอยู่ เดี๋ยวนี้ก็โดนรื้อทิ้งไปแล้ว เขาเล่าว่ามีคนไปดูเวลาที่เขารื้อแล้วไปพูดคัดค้านว่า รื้อทิ้งทำมัย...เสียดาย เลยโดนจับเข้าคุกแบบขังลืมก็มี
..............ท่านได้กลับไปเยี่ยมเชียงตุงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่คะ.....
เมื่อสาบสิบกว่าปีก่อนตอนที่แม่ตาย แม่ฉันตายเมื่ออายุได้เจ็ดสิบกว่าปี ส่วนเจ้าพ่อสิ้นพระชมน์เมื่อพระชนมายุได้ประมาณหกสิบพรรษา เนื่องจากสุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว ทั้งโรคหืดและนิ่ว รวมทั้งได้ยาไม่ดีด้วย
.....เมื่อเจ้าฟ้าองค์ใดสิ้นพระชมน์เขาจะไม่เผาศพ แต่ก่อกู่เป็นฐานปูนทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เจาะช่องตรงกลาง สลักเสลาลวดลายสวยงาม จากนั้นจึงนำพระศพบรรจุไว้ในกู่ ปิดให้สนิท แล้วเอาปราสาทที่ทำด้วยกระดาษมาครอบไว้บนกู่ เมื่อเสร็จพิธีแล้วสัปเหล่อจะเป็นคนมาเผาปราสาทนั้น ที่กู่จะจารึกชื่อไว้ว่าทีเจ้าฟ้าองค์ใดบ้าง ถ้าหากว่า มหาเทวีหรือพระโอรสธิดาสิ้นพระชมน์จะแยกศพไว้ต่างหาก เพื่อบรรจุไว้ในกู่อีกแห่งหนึ่ง โดยเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากุดสุสาน ในเชียงตุงจึงมีหลายแห่ง สุสานสำหรับเจ้านายแห่งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดาแห่งหนึ่ง มีสุสานในเชียงตุงห้าแห่งเท่านั้นเอง
..........ลูกๆตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ.......
เขารักแม่กันหมดทุกคน ตอนที่พวกเขายังเล็ก ไม่ได้ส่งไปเรียนหนังสือที่เมืองนอกหรอก แต่ส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯกันหมด ตอนนี้ลูกสาวคนหนึ่งทำงานที่กรุงเทพฯ ลูกชายคนหนึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพฯ สาขาแม่สาย ลูกชายคนเล็กเป็นผู้จัดการธนาคารที่สันกำแพง ลูกสาวอีกคนก็ทำงานที่เชียงใหม่ เขาก็พอมีพอกิน ส่วนลูกชายคนโตที่เสียไปเขาก็เป็นปู่คนแล้ว
...........ถ้าอย่างนั้นท่านก็เป็นทวดแล้วซิคะ..
ค่ะ (หัวเราะ) แล้วถ้าเหลนแต่งงานไปจะเป็นอะไรอีกหล่ะ
...........ทราบมาว่าท่านนั่งกรรมฐานด้วย......
ค่ะเริ่มนั่งกรรมฐานมาเมื่ออายุสี่สิบกว่าๆ ตอนนั้นใจอยากเข้าวัด เริ่มปล่อยทางโลกแล้ว เนื่องจากฉันสนใจธรรมมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ที่แม่เคยพาไปวัด เลยไปหาเอาเองว่าวัดไหนดี ในเชียงใหม่นี้มีวัดดีๆหลายแห่ง ฉันไปวัดพระศีรเป็นแห่งแรก แล้วเจ้าคุณวัดพระศรี ท่านนิมนต์พระอาจารย์ ทองวัดบางวาน มาเป็นผู้สอนกรรมฐานให้ ฉันเห็นว่าวิธีการกำหนดลมหายใจเข้าออกของท่านนั้นถูกกับนิสัยเรา เลยติดตามท่านนั่งกรรมฐานมาตลอดช่วงนั้นใครจะหาตัวฉันได้ต้องไปที่วัด ให้คนเอากับข้าวไปส่งให้ บางทีไปอยุ่วัดถึงสามเดือน ไปอยุ่วัดสนุกดี เดี๋ยวนี้ฉันก็นั่งกรรมฐานอยู่แต่นั้งอยู่ที่บ้านทุกเช้าหลังจากตื่นนอนแล้วบางทีถึงกับเห็นตัวเราลอยอยู่บนเพดานและยังเห็นตัวเราอีกคนยังนั่งอยู่กับพื้นแต่พระอาจารย์บอกว่าไม่ให้ยึดติดในสิ่งที่เห็น ฉันเลยไม่สนใจว่าว่าเราจะนั่งถึงขั้นไหนแล้ว เพียงแต่นั่งกรรมฐานเพื่อให้จิตใจเราสงบเท่านั้น
...............บันทึกชีวิตความยาวเกือบสามชั่วโมงนี้อาจเป็นเพียงประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งในจำนวนหลายล้านหน้า และอาจะเป็นเพียงมุมมองหนึ่งจากสมาชิกราชนิกุลลำดับสุดท้ายของสองราชวงศ์ทั้งเชียงตุง และเชียงใหม่
........แต่ก็เป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของกาลเวลาที่ไม่น่าผ่านเลย..........ขอขอบคุณเจ้าของบทสัมภาษณ์และรูปทุกท่านครับ
.....เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง ประสูติเมื่อพ.ศ. 2456 โดยเป็นพระธิดาแห่งเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าหอคำเชียงตุงกับเจ้านางทิพย์หลวงหรือเจ้านางบัวทิพย์หลวงในหอคำนครเชียงตุง โดยเจ้านางเรียกเจ้าพ่อว่า "ฟ้าหม่อม" มีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน ได้แก่
-เจ้าแว่นแก้ว ณ เชียงตุง
-เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่
-เจ้าแว่นทิพย์ ณ เชียงตุง
-เจ้าสิงห์ไชย ณ เชียงตุง
-เจ้าแก้วเมืองมา ณ เชียงตุง
.....เจ้านางสุคันธา ได้เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งราชสำนักเชียงใหม่ คือ เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ. หอคำเชียงตุง โดยมีเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลงเจ้าหอคำและเจ้านางปทุมมหาเทวีเป็นเจ้าภาพเมื่อ พ.ศ. 2476และมีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษผู้กำกับราชการนครเชียงตุงร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส เจ้านางสุคันธาและเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ จึงเป็นสายใยแห่งราชสำนักเชียงใหม่-เชียงตุง เป็นราชโอรสและราชธิดา "เจ้าหลวงและเจ้าฟ้า" แห่งสองราชสำนัก โดยทั้งสองมีโอรสธิดา 5 พระองค์ คือ
-เจ้ารัตนนินดนัย ณ เชียงใหม่
-เจ้าวิไลวรรณ ณ เชียงใหม่
-เจ้าสรรพสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่
-เจ้าไพฑูรย์ศรี ณ เชียงใหม่
-เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสันป่าตอง
.....วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2546 เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ ได้สุรคตเมื่อชันษา 90 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลที่วัดเจดีย์หลวง ส่งสการ ณ. ฌาปนกิจสถานสันกู่เหล็กในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546
คัดเนื้อหาและเรียบเรียงโดย :ใหม่สูงค่า เชียงตุง