กระทู้นี้อาจจะไม่พาเที่ยวจ๋าๆเหมือนกระทู้รีวิวอื่นในบอร์ด แต่คิดว่าน่าอ่านนะ(ชมตัวเอง 555) เป็นกระทู้ที่เราเขียนจากความประทับใจที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งส่งผลต่อสไตล์การท่องเที่ยวของตัวเองอย่างมากในเวลาต่อมาค่ะ
เรื่องเกิดจากเราไปเที่ยวสิงคโปร์ แล้วไปเจอรูปปั้นช้างโดยบังเอิญ
และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้ไปสิงคโปร์อีกครั้ง แล้วก็กลับไปหารูปปั้นช้างอีกครั้ง
เริ่มเรื่องกันเลยค่ะ
-----
เมื่อ 10 ปีก่อน เรามีโอกาสไปเที่ยวสิงคโปร์ช่วงสั้นๆ ตอนนั้นได้พบรูปปั้นช้างโดยบังเอิญ หน้าตาท่าทางดูเป็นของไทยแน่ๆ เข้าไปใกล้ๆ เห็นมีจารึกเป็นภาษาไทย ความว่าเป็นของที่ระลึก ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ประทานให้เกาะสิงคโปร์ ยามที่พระองค์เสด็จเยือนเกาะแห่งนี้
แต่ในหลวงร.5 เคยเยือนสิงคโปร์ด้วยเหรอ?
เรื่องนี้เราไม่รู้มาก่อน อ่านในไกด์บุคก็ไม่มีบอกไว้ ในรีวิวท่องเที่ยวตามเว็บไซต์ก็ไม่เคยเห็น (สมัยนั้นนะคะ) สิ่งนั้นติดใจเราจนกลับมาหาข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นจุดเริ่มของการชอบเที่ยวแบบอินกับอะไร ที่คนอื่นเค้าไม่อินกันของเราค่ะ
ที่จริงเรื่องนี้น่าสนใจสำหรับคนชอบเที่ยวทุกคนมาก คนส่วนใหญ่มักรู้ว่า ท่านประพาสยุโรปมาถึงสองครั้ง ไปด้วยเหตุผลทางการเมือง เกี่ยวพันกับการรักษาเอกราชของไทย อันเป็นสิ่งที่เราควรภูมิใจมาจนปัจจุบัน แต่ส่วนน้อยจะทราบว่า ที่จริงท่านเคยเสด็จประเทศอื่นตั้งแต่ครั้งยังเป็นยุวกษัตริย์ด้วย ว่าภาษาชาวบ้านก็อายุราวๆเด็กม.ปลาย ออกเดินทางไปเรียนรู้เรื่องโลกกว้าง คล้ายกันกับเด็กสมัยนี้ รวมทั้งสิ้นสองครั้ง ซึ่งนักประวัติศาสตร์มองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในชีวิตของพระองค์ และส่งผลต่อประวัติศาสตร์ไทยในกาลต่อมา
เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ในหลวงร.4 ยังทรงพระชนม์ ด้วยว่าโลกเปลี่ยนไปมาก พระองค์สัมผัสได้ถึงความต่าง ระหว่างเรากับชาติตะวันตกที่ถ่างกว้างออกเรื่อยๆ แต่ยังมองภาพไม่ออก ว่าจะเป็นไปเช่นใด จึงมีดำริจะเดินทางไป ยังแผ่นดินใต้อาณัติของชาติตะวันตกบ้าง ประจวบเหมาะกับขณะนั้น พระองค์ได้พบเจ้าเมืองสิงคโปร์(คนของอังกฤษ) มาร่วมชมสุริยุปราคาที่หว้ากอด้วย เรื่องประพาสสิงคโปร์จึงชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตาม หว้ากอก็มอบไข้ป่าแก่พระองค์ และพระองค์ก็เสด็จจากไปในเวลาไม่นานจากนั้น
อันที่จริง ร.5 ท่านก็ติดไข้ป่าด้วยค่ะ เรื่องราวช่วงผลัดแผ่นดินก็น่ากลัวและตึงเครียด แต่ท้ายสุดแล้ว ในหลวงร.5 ก็รอดจากไข้ป่าและครองราชย์สืบมาอย่างปลอดภัยจนได้
ขณะนั้นพระองค์อยู่ในฐานะยุวกษัตริย์ พระชนมายุ 15-16 ชันษาเท่านั้น พอนึกไปถึงที่บิดาเคยดำริไว้ เห็นว่าตนยังเยาว์ มีผู้สำเร็จราชการ ราชกิจไม่ยุ่งนัก น่าจะใช้เวลานี้ออกเดินทางเรียนรู้เรื่องราวของโลกตะวันตกได้ ผู้สำเร็จราชการขณะนั้น (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์) ก็คิดอ่านเช่นเดียวกัน ท้ายสุดการเดินทางจึงเกิดขึ้น
ตรงนี้เคยอ่านพบว่า ท่านเจ้าพระยาเล็งเห็นว่า ร.5เรียนภาษาอังกฤษมาแต่เด็ก พูดภาษาได้ อาจจะตรัสโดยไม่ต้องใช้ล่ามได้ ซึ่งเท่ากับจะได้ฝึกฝน ทั้งยังจะกลายเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ สำหรับคนต่างชาติยุคนั้นเลยค่ะ
เราอ่านถึงตรงนี้ก็คิดถึงตัวเองกับเด็กๆรุ่นใหม่ขึ้นมา เวลาไปเที่ยวต่างประเทศก็นึกแต่เรื่องสนุก จะเที่ยวจะกินจะช้อปปิ้งที่ไหน ถ่ายรูปสวยๆอัพภาพ แต่ไม่ได้นึกว่าจะไปเรียนรู้หรือไปหาประสบการณ์ใหม่ๆอย่างไรบ้าง อาจเพราะสมัยก่อนเดินทางลำบาก สมัยนี้เดินทางง่าย เราก็นึกแต่จะพักผ่อนเที่ยวเล่น ไม่ได้คิดใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ในเรื่องอื่นๆเลย
เมื่อถึงสิงคโปร์ พระองค์เสด็จประพาสดูงานหลายแห่ง มีทั้งกลุ่มสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไปรษณีย์ สถานีดับเพลิง โรงทำก๊าซหุงต้ม ศาล คุก ฯลฯ กลุ่มสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลคนเสียจริต กลุ่มการศึกษา โรงเรียนต่างๆ ไปจนถึง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทหาร ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ในการนี้พระองค์ได้พระราชทานรูปปั้นช้าง จารึกเหตุการณ์เดินทางเยือนสิงคโปร์โดยคร่าวไว้ตรงฐานสี่ด้าน ด้วยสี่ภาษาที่ใช้กันมากในยุคนั้น (ไทย, อังกฤษ, จีน, และอาหรับ)
หลังจากนั้น พระองค์เสด็จต่อไปยังชวา ซึ่งอยู่ในอาณัติของฮอลันดา ก่อนจะเสด็จกลับ และประพาสต่างประเทศอีกครั้ง ในอีกราว 2 ปีถัดมา ครั้งนี้แวะพม่า ก่อนจะไปขึ้นฝั่งที่อินเดีย
การเดินทางทั้งสองครั้ง นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เปิดโลกทรรศน์หลายประการแก่พระองค์ พระองค์ได้พบเห็นบ้านเมือง อันได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก มีประวัติศาสตร์ที่บ้างปะทะบ้างร่วมกันไปกับชาติตะวันตก ได้เห็นทั้งความดีงาม และความเสื่อมทราม ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นดินทั้งหลายเหล่านั้น ได้เห็นการพัฒนา วิทยาการ และการเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ผู้คนบ้างอยู่ดีกินดี บ้างแร้นแค้นอดอยาก ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและดำเนินอยู่ บนแผ่นดินที่เติบโตร่วมกันมากับสยาม แต่บัดนั้นได้เดินไปบนเส้นทางที่แตกต่างออกไปแล้ว เหลือเพียงสยาม ณ เวลานั้น จะถูกยุคสมัยพัดพาไปในทางใด
สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ยุวกษัตริย์ในขณะนั้น มีสายตาที่มองทะลุปรุโปร่งและเฉียบคมขึ้น
แต่การปฏิรูปประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยวัยและฐานอำนาจที่ไม่มั่นคง ด้วยสภาพสังคมและบุคลากร ที่อาจยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พระองค์ใช้เวลาถึง 20 ปี เตรียมพื้นฐานทั้งหมดนั้นให้เข้มแข็ง ก่อนจะปฏิรูปประเทศ ซึ่งยังอยู่ในโลกยุคโบราณ ให้เข้าสู่ระบบการบริหารที่ทันสมัย(สำหรับยุคนั้น)
พระองค์ยกเลิกจตุสดมภ์ จัดตั้งระบบกระทรวงให้สอดรับกับโลกยุคใหม่ ยกเลิกระบบประเทศราช แล้วจัดตั้งระบบการบริหารส่วนภูมิภาคที่สอดส่องได้จากส่วนกลางเข้าไป ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อปรับปรุงและปิดจุดอ่อน ที่อาจเป็นเหตุให้เราเพลี่ยงพล้ำ ซึ่งหมายถึงเอกราชในยุคล่าอาณานิคมนั้น
ทั้งหมดทั้งมวลนั้น เริ่มจากจุดเล็กๆวันหนึ่ง ที่พระองค์ขึ้นฝั่ง และได้พบเห็นความศรีวิไล กับเรื่องราวน้อยใหญ่บนเกาะสิงคโปร์แห่งนี้ และรูปปั้นช้างนี้ ก็เป็นประหนึ่งหลักหิน ที่บอกให้เราทราบถึงจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติเรา ที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้
——
ไม่นานมานี้ เราได้กลับไปที่สิงคโปร์อีกครั้ง และได้กลับไปเยี่ยมรูปปั้นช้างจนได้ ความรู้สึกทุกอย่างยังคงคล้ายเดิม
นึกถึงตอนนั้น(ตอนนั้นยังอยู่มหา’ลัย) พอได้เห็นรูปปั้นช้าง ได้รู้ความเป็นมา เราก็ตั้งปณิธานว่า ถ้าเราจะได้ไปเที่ยว หรือไปพบเห็นสิ่งใหม่ๆที่ไหนอีก นอกจากเรื่องเที่ยวสนุกแล้ว ก็จะพยายามทำให้การไปเที่ยวนั้นเป็นประโยชน์บ้าง เหมือนอย่างที่ในหลวงร.5 แม้ขณะนั้นท่านยังเยาว์ยังวัยรุ่นมาก แต่ก็เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านพบ มาไตร่ตรองพิจารณา จนนำไปสู่การปฏิรูปประเทศในภายหลัง ส่วนเรา ถึงจะเป็นคนธรรมดา ตลอดชีวิตคงไม่มีโอกาสทำอะไรใหญ่โต แต่ถ้ารู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักหาความรู้ใส่ตัว แล้วตั้งใจทำหน้าที่ทุกวันของตัวเองให้ดี ก็น่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นได้บ้าง และอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมเราดีขึ้นได้ก็ได้
.
.
.
.
หมายเหตุ:
-ทั้งหมดเราอ่านจากหลายที่มาเรื่อยๆ ตอนจะหาต้นตอที่ตัวเองอ่านไว้ ก็หาไม่เจอแล้ว แต่เจองานวิจัยล่าสุดที่น่าเชื่อถือและน่าอ่าน ใช้เป็นอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ (เอาไว้ด้านล่าง)
-อาจจะใช้คำราชาศัพท์ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ และก็พยายามจะเลี่ยงคำมากๆกลัวอ่านยาก (>.,<)
-รูปปั้นช้างนี่ อยู่ที่ The Art House (ซึ่งเป็นรัฐสภามาก่อน) ถ้าจะไปเที่ยว ก็ตั้งต้นจากเมอร์ไลอ้อนตัวใหญ่สุดที่พ่นน้ำได้ (ที่คนไปถ่ายรูปกันเยอะๆ) เดินย้อนมานิดนึง แล้วข้าม Anderson bridge ไปค่ะ จะไปเจอตรงที่อาคารเก่าๆเยอะมาก จากนั้นจะมีป้ายบอกทางแล้ว เดินหาไม่เกิน 5 นาทีเจอแน่นอน
อ้างอิง:
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2017). การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ประสบการณ์จากสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย พ.ศ. 2413 - 2415. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(1), 1–30. Retrieved from
https://www.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/88481/69566
------
บทความนี้เราลงในเพจตัวเองด้วย โฆษณากันแบบตรงๆ
https://www.facebook.com/crazyindailylife/
เพจเราเขียนบทความ 2 หัวข้อ คือการท่องเที่ยวแนวๆนี้ กับบ้าดาราค่ะ 555 ไม่มีเรื่องพาณิชย์เรียกไลค์อะไรมาเกี่ยวข้อง แค่อยากเขียนอะไรให้คนอ่านเท่านั้นเอง ถ้าสนใจขอเชิญไปร่วมพูดคุยกันได้ค่ะ (>,.<)/
"รูปปั้นช้างนี้มาจากไหน" - เมื่อฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่าในหลวงร.5 เคยเสด็จมาสิงคโปร์
เรื่องเกิดจากเราไปเที่ยวสิงคโปร์ แล้วไปเจอรูปปั้นช้างโดยบังเอิญ
และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้ไปสิงคโปร์อีกครั้ง แล้วก็กลับไปหารูปปั้นช้างอีกครั้ง
เริ่มเรื่องกันเลยค่ะ
-----
เมื่อ 10 ปีก่อน เรามีโอกาสไปเที่ยวสิงคโปร์ช่วงสั้นๆ ตอนนั้นได้พบรูปปั้นช้างโดยบังเอิญ หน้าตาท่าทางดูเป็นของไทยแน่ๆ เข้าไปใกล้ๆ เห็นมีจารึกเป็นภาษาไทย ความว่าเป็นของที่ระลึก ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ประทานให้เกาะสิงคโปร์ ยามที่พระองค์เสด็จเยือนเกาะแห่งนี้
แต่ในหลวงร.5 เคยเยือนสิงคโปร์ด้วยเหรอ?
เรื่องนี้เราไม่รู้มาก่อน อ่านในไกด์บุคก็ไม่มีบอกไว้ ในรีวิวท่องเที่ยวตามเว็บไซต์ก็ไม่เคยเห็น (สมัยนั้นนะคะ) สิ่งนั้นติดใจเราจนกลับมาหาข้อมูลเพิ่มเติม และเป็นจุดเริ่มของการชอบเที่ยวแบบอินกับอะไร ที่คนอื่นเค้าไม่อินกันของเราค่ะ
ที่จริงเรื่องนี้น่าสนใจสำหรับคนชอบเที่ยวทุกคนมาก คนส่วนใหญ่มักรู้ว่า ท่านประพาสยุโรปมาถึงสองครั้ง ไปด้วยเหตุผลทางการเมือง เกี่ยวพันกับการรักษาเอกราชของไทย อันเป็นสิ่งที่เราควรภูมิใจมาจนปัจจุบัน แต่ส่วนน้อยจะทราบว่า ที่จริงท่านเคยเสด็จประเทศอื่นตั้งแต่ครั้งยังเป็นยุวกษัตริย์ด้วย ว่าภาษาชาวบ้านก็อายุราวๆเด็กม.ปลาย ออกเดินทางไปเรียนรู้เรื่องโลกกว้าง คล้ายกันกับเด็กสมัยนี้ รวมทั้งสิ้นสองครั้ง ซึ่งนักประวัติศาสตร์มองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ในชีวิตของพระองค์ และส่งผลต่อประวัติศาสตร์ไทยในกาลต่อมา
เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ในหลวงร.4 ยังทรงพระชนม์ ด้วยว่าโลกเปลี่ยนไปมาก พระองค์สัมผัสได้ถึงความต่าง ระหว่างเรากับชาติตะวันตกที่ถ่างกว้างออกเรื่อยๆ แต่ยังมองภาพไม่ออก ว่าจะเป็นไปเช่นใด จึงมีดำริจะเดินทางไป ยังแผ่นดินใต้อาณัติของชาติตะวันตกบ้าง ประจวบเหมาะกับขณะนั้น พระองค์ได้พบเจ้าเมืองสิงคโปร์(คนของอังกฤษ) มาร่วมชมสุริยุปราคาที่หว้ากอด้วย เรื่องประพาสสิงคโปร์จึงชัดเจนขึ้น
อย่างไรก็ตาม หว้ากอก็มอบไข้ป่าแก่พระองค์ และพระองค์ก็เสด็จจากไปในเวลาไม่นานจากนั้น
อันที่จริง ร.5 ท่านก็ติดไข้ป่าด้วยค่ะ เรื่องราวช่วงผลัดแผ่นดินก็น่ากลัวและตึงเครียด แต่ท้ายสุดแล้ว ในหลวงร.5 ก็รอดจากไข้ป่าและครองราชย์สืบมาอย่างปลอดภัยจนได้
ขณะนั้นพระองค์อยู่ในฐานะยุวกษัตริย์ พระชนมายุ 15-16 ชันษาเท่านั้น พอนึกไปถึงที่บิดาเคยดำริไว้ เห็นว่าตนยังเยาว์ มีผู้สำเร็จราชการ ราชกิจไม่ยุ่งนัก น่าจะใช้เวลานี้ออกเดินทางเรียนรู้เรื่องราวของโลกตะวันตกได้ ผู้สำเร็จราชการขณะนั้น (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์) ก็คิดอ่านเช่นเดียวกัน ท้ายสุดการเดินทางจึงเกิดขึ้น
ตรงนี้เคยอ่านพบว่า ท่านเจ้าพระยาเล็งเห็นว่า ร.5เรียนภาษาอังกฤษมาแต่เด็ก พูดภาษาได้ อาจจะตรัสโดยไม่ต้องใช้ล่ามได้ ซึ่งเท่ากับจะได้ฝึกฝน ทั้งยังจะกลายเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ สำหรับคนต่างชาติยุคนั้นเลยค่ะ
เราอ่านถึงตรงนี้ก็คิดถึงตัวเองกับเด็กๆรุ่นใหม่ขึ้นมา เวลาไปเที่ยวต่างประเทศก็นึกแต่เรื่องสนุก จะเที่ยวจะกินจะช้อปปิ้งที่ไหน ถ่ายรูปสวยๆอัพภาพ แต่ไม่ได้นึกว่าจะไปเรียนรู้หรือไปหาประสบการณ์ใหม่ๆอย่างไรบ้าง อาจเพราะสมัยก่อนเดินทางลำบาก สมัยนี้เดินทางง่าย เราก็นึกแต่จะพักผ่อนเที่ยวเล่น ไม่ได้คิดใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ในเรื่องอื่นๆเลย
เมื่อถึงสิงคโปร์ พระองค์เสด็จประพาสดูงานหลายแห่ง มีทั้งกลุ่มสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไปรษณีย์ สถานีดับเพลิง โรงทำก๊าซหุงต้ม ศาล คุก ฯลฯ กลุ่มสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลคนเสียจริต กลุ่มการศึกษา โรงเรียนต่างๆ ไปจนถึง กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทหาร ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ในการนี้พระองค์ได้พระราชทานรูปปั้นช้าง จารึกเหตุการณ์เดินทางเยือนสิงคโปร์โดยคร่าวไว้ตรงฐานสี่ด้าน ด้วยสี่ภาษาที่ใช้กันมากในยุคนั้น (ไทย, อังกฤษ, จีน, และอาหรับ)
หลังจากนั้น พระองค์เสด็จต่อไปยังชวา ซึ่งอยู่ในอาณัติของฮอลันดา ก่อนจะเสด็จกลับ และประพาสต่างประเทศอีกครั้ง ในอีกราว 2 ปีถัดมา ครั้งนี้แวะพม่า ก่อนจะไปขึ้นฝั่งที่อินเดีย
การเดินทางทั้งสองครั้ง นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เปิดโลกทรรศน์หลายประการแก่พระองค์ พระองค์ได้พบเห็นบ้านเมือง อันได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก มีประวัติศาสตร์ที่บ้างปะทะบ้างร่วมกันไปกับชาติตะวันตก ได้เห็นทั้งความดีงาม และความเสื่อมทราม ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นบนแผ่นดินทั้งหลายเหล่านั้น ได้เห็นการพัฒนา วิทยาการ และการเสื่อมสลายของวัฒนธรรม ผู้คนบ้างอยู่ดีกินดี บ้างแร้นแค้นอดอยาก ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและดำเนินอยู่ บนแผ่นดินที่เติบโตร่วมกันมากับสยาม แต่บัดนั้นได้เดินไปบนเส้นทางที่แตกต่างออกไปแล้ว เหลือเพียงสยาม ณ เวลานั้น จะถูกยุคสมัยพัดพาไปในทางใด
สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ยุวกษัตริย์ในขณะนั้น มีสายตาที่มองทะลุปรุโปร่งและเฉียบคมขึ้น
แต่การปฏิรูปประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยวัยและฐานอำนาจที่ไม่มั่นคง ด้วยสภาพสังคมและบุคลากร ที่อาจยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พระองค์ใช้เวลาถึง 20 ปี เตรียมพื้นฐานทั้งหมดนั้นให้เข้มแข็ง ก่อนจะปฏิรูปประเทศ ซึ่งยังอยู่ในโลกยุคโบราณ ให้เข้าสู่ระบบการบริหารที่ทันสมัย(สำหรับยุคนั้น)
พระองค์ยกเลิกจตุสดมภ์ จัดตั้งระบบกระทรวงให้สอดรับกับโลกยุคใหม่ ยกเลิกระบบประเทศราช แล้วจัดตั้งระบบการบริหารส่วนภูมิภาคที่สอดส่องได้จากส่วนกลางเข้าไป ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อปรับปรุงและปิดจุดอ่อน ที่อาจเป็นเหตุให้เราเพลี่ยงพล้ำ ซึ่งหมายถึงเอกราชในยุคล่าอาณานิคมนั้น
ทั้งหมดทั้งมวลนั้น เริ่มจากจุดเล็กๆวันหนึ่ง ที่พระองค์ขึ้นฝั่ง และได้พบเห็นความศรีวิไล กับเรื่องราวน้อยใหญ่บนเกาะสิงคโปร์แห่งนี้ และรูปปั้นช้างนี้ ก็เป็นประหนึ่งหลักหิน ที่บอกให้เราทราบถึงจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติเรา ที่ครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้
——
ไม่นานมานี้ เราได้กลับไปที่สิงคโปร์อีกครั้ง และได้กลับไปเยี่ยมรูปปั้นช้างจนได้ ความรู้สึกทุกอย่างยังคงคล้ายเดิม
นึกถึงตอนนั้น(ตอนนั้นยังอยู่มหา’ลัย) พอได้เห็นรูปปั้นช้าง ได้รู้ความเป็นมา เราก็ตั้งปณิธานว่า ถ้าเราจะได้ไปเที่ยว หรือไปพบเห็นสิ่งใหม่ๆที่ไหนอีก นอกจากเรื่องเที่ยวสนุกแล้ว ก็จะพยายามทำให้การไปเที่ยวนั้นเป็นประโยชน์บ้าง เหมือนอย่างที่ในหลวงร.5 แม้ขณะนั้นท่านยังเยาว์ยังวัยรุ่นมาก แต่ก็เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านพบ มาไตร่ตรองพิจารณา จนนำไปสู่การปฏิรูปประเทศในภายหลัง ส่วนเรา ถึงจะเป็นคนธรรมดา ตลอดชีวิตคงไม่มีโอกาสทำอะไรใหญ่โต แต่ถ้ารู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักหาความรู้ใส่ตัว แล้วตั้งใจทำหน้าที่ทุกวันของตัวเองให้ดี ก็น่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นได้บ้าง และอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมเราดีขึ้นได้ก็ได้
.
.
.
.
หมายเหตุ:
-ทั้งหมดเราอ่านจากหลายที่มาเรื่อยๆ ตอนจะหาต้นตอที่ตัวเองอ่านไว้ ก็หาไม่เจอแล้ว แต่เจองานวิจัยล่าสุดที่น่าเชื่อถือและน่าอ่าน ใช้เป็นอ้างอิงและอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ (เอาไว้ด้านล่าง)
-อาจจะใช้คำราชาศัพท์ไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ และก็พยายามจะเลี่ยงคำมากๆกลัวอ่านยาก (>.,<)
-รูปปั้นช้างนี่ อยู่ที่ The Art House (ซึ่งเป็นรัฐสภามาก่อน) ถ้าจะไปเที่ยว ก็ตั้งต้นจากเมอร์ไลอ้อนตัวใหญ่สุดที่พ่นน้ำได้ (ที่คนไปถ่ายรูปกันเยอะๆ) เดินย้อนมานิดนึง แล้วข้าม Anderson bridge ไปค่ะ จะไปเจอตรงที่อาคารเก่าๆเยอะมาก จากนั้นจะมีป้ายบอกทางแล้ว เดินหาไม่เกิน 5 นาทีเจอแน่นอน
อ้างอิง:
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2017). การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ประสบการณ์จากสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย พ.ศ. 2413 - 2415. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 6(1), 1–30. Retrieved from https://www.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/88481/69566
------
บทความนี้เราลงในเพจตัวเองด้วย โฆษณากันแบบตรงๆ
https://www.facebook.com/crazyindailylife/
เพจเราเขียนบทความ 2 หัวข้อ คือการท่องเที่ยวแนวๆนี้ กับบ้าดาราค่ะ 555 ไม่มีเรื่องพาณิชย์เรียกไลค์อะไรมาเกี่ยวข้อง แค่อยากเขียนอะไรให้คนอ่านเท่านั้นเอง ถ้าสนใจขอเชิญไปร่วมพูดคุยกันได้ค่ะ (>,.<)/