ก่อนหน้านี้ "กัญชา" ที่ได้ชื่อว่าเป็นพืชที่มีสารเสพติด แต่ด้วยการศึกษาวิจัยที่พบว่ามีสรรคุณทางยา และต่างประเทศมีการใช้เพื่อรักษาโรคบางโรค ที่ผ่านมาจึงได้ยินข่าวว่าจะมีการ ศึกษาวิจัยกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ยังคงมีข้อกังวลถึงการควบคุม
ล่าสุดมีความคืบหน้า เมื่อกระทรวงสาธารณสุขเตรียมใช้ตึกองค์การเภสัชกรรม เป็นพื้นที่ทดลองปลูกกัญชา ... เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ บอกถึงการตั้ง คณะทำงาน 4 คณะ กำหนดกรอบการดำเนินงานนำกัญชาใช้ศึกษาวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ
โดยองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. จะรับผิดชอบด้านการพัฒนาการปลูกและปรับปรุงสายพันธ์ กัญชาคู่กับการพัฒนา การสกัด และการตรวจวิเคราะห์ / ขณะที่กรมการแพทย์ , กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะรับผิดชอบการพิจารณาการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในแง่ของสรรพคุณและโรคที่ตอบสนอง ซึ่งในต่างประเทศพบว่ามีการใช้ในโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ลมชัก รวมถึงบรรเทาความเจ็บปวดเรื้อรัง และจะมีการวิจัยต่อในผลการรักษาโรคมะเร็ง
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.พิจารณาวางระบบการควบคุมการศึกษาวิจัยและการใช้ยา เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล
โดยระยะแรก องค์การเภสัชกรรม จะขออนุญาต อย.ปลูกกัญชาเพื่อการศึกษาวิจัย ให้ทันกับที่ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลบังคับใช้ เปิดให้มีการศึกษาวิจัยใช้กัญชาในคนได้ ซึ่งตอนนี้กฎหมายอยู่ระหว่างเตรียมนำเข้าที่ประชุมครม. พิจารณา ก่อนเสนอต่อสนช. และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ส่วนสถานที่ปลูกกัญชาเพื่อการศึกษาวิจัย เบื้องต้นพิจารณาใช้สถานที่อาคารขององค์การเภสัชกรรมที่ถนนพระราม 6 เนื้อที่ 1100 ตร.ม. ปลูกในระบบปิด คาดได้กัญชาแห้งเพื่อใช้ในการสกัด 500 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในงานวิจัยในคน ได้ประมาณ 500 คน โดยสายพันธุ์กัญชาที่จะนำมาพัฒนา มีทั้งสายพันธุ์ไทยซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก เข้ากับสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนต่ำ รวมถึงสายพันธุ์ต่างประเทศที่มีต้นทุนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 2 ถึง 300 บาท
นับเป็นความคืบหน้า ที่ชัดเจนครั้งแรก ตั้งแต่มีการพูดถึงว่าจะนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ !!
ปลูก "กัญชา" วิจัยทางการแพทย์
ล่าสุดมีความคืบหน้า เมื่อกระทรวงสาธารณสุขเตรียมใช้ตึกองค์การเภสัชกรรม เป็นพื้นที่ทดลองปลูกกัญชา ... เรื่องนี้ถูกเปิดเผยโดย นายแพทย์โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ บอกถึงการตั้ง คณะทำงาน 4 คณะ กำหนดกรอบการดำเนินงานนำกัญชาใช้ศึกษาวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ
โดยองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. จะรับผิดชอบด้านการพัฒนาการปลูกและปรับปรุงสายพันธ์ กัญชาคู่กับการพัฒนา การสกัด และการตรวจวิเคราะห์ / ขณะที่กรมการแพทย์ , กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะรับผิดชอบการพิจารณาการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ในแง่ของสรรพคุณและโรคที่ตอบสนอง ซึ่งในต่างประเทศพบว่ามีการใช้ในโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ลมชัก รวมถึงบรรเทาความเจ็บปวดเรื้อรัง และจะมีการวิจัยต่อในผลการรักษาโรคมะเร็ง
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส.พิจารณาวางระบบการควบคุมการศึกษาวิจัยและการใช้ยา เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล
โดยระยะแรก องค์การเภสัชกรรม จะขออนุญาต อย.ปลูกกัญชาเพื่อการศึกษาวิจัย ให้ทันกับที่ประมวลกฎหมายยาเสพติด มีผลบังคับใช้ เปิดให้มีการศึกษาวิจัยใช้กัญชาในคนได้ ซึ่งตอนนี้กฎหมายอยู่ระหว่างเตรียมนำเข้าที่ประชุมครม. พิจารณา ก่อนเสนอต่อสนช. และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ส่วนสถานที่ปลูกกัญชาเพื่อการศึกษาวิจัย เบื้องต้นพิจารณาใช้สถานที่อาคารขององค์การเภสัชกรรมที่ถนนพระราม 6 เนื้อที่ 1100 ตร.ม. ปลูกในระบบปิด คาดได้กัญชาแห้งเพื่อใช้ในการสกัด 500 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในงานวิจัยในคน ได้ประมาณ 500 คน โดยสายพันธุ์กัญชาที่จะนำมาพัฒนา มีทั้งสายพันธุ์ไทยซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลก เข้ากับสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนต่ำ รวมถึงสายพันธุ์ต่างประเทศที่มีต้นทุนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 2 ถึง 300 บาท
นับเป็นความคืบหน้า ที่ชัดเจนครั้งแรก ตั้งแต่มีการพูดถึงว่าจะนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ !!