สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดงานวันนักเขียนขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2561 งานจัดขึ้นที่ ณ ห้องเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (แยกปทุมวัน - ตรงข้ามมาบุญครอง)
ในงานมีนักเขียนมาร่วมงานกันมากมาย ทั้งนักเขียนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มีการพบปะแลกเปลี่ยนทัศนะในวงการวรรณกรรมกันอย่างหลากหลาย ถือว่าเป็นงานใหญ่ประจำปีที่นักเขียนจะได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างสัมพันธ์อันแนบแน่นและยืนยาวตลอดไปในโอกาสดีที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยครบรอบ 50 ปีในปีนี้พอดี
ในงานมีพิธีการมอบรางวัล "ศรีบูรพา" เกียรติยศ ประจำปี ๒๕๖๑ ซึ่งผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาในปีนี้คือ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ผู้เป็นครู นักปรัชญา และนักเขียนผู้อุทิศตนเพื่อคนอื่น
คำประกาศเชิดชูเกียรติ รางวัลศรีบูรพา
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑
แด่ นายประมวล เพ็งจันทร์
ครู นักปรัชญา และนักเขียนผู้อุทิศตนเพื่อคนอื่น
นายประมวล เพ็งจันทร์ เป็นครู นักปรัชญา และนักเขียน ผู้เรียนรู้และทำความเข้าใจชีวิตได้อย่างชัดเจนผ่านการศึกษาและการปฏิบัติ สามารถถ่ายทอดเป็นตัวอักษรผ่านถ้อยวาจาและผ่านผลงานประพันธ์ได้เป็นอย่างดี ส่งผลสะเทือนทางความคิดให้เกิดความรักและความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่แท้ได้อย่างกว้างขวาง
นายประมวล เพ็งจันทร์ เกิดที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ บวชเรียน เสริมต่อด้วยการศึกษานอกโรงเรียนจนจบชั้นมัธยม ๖ แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านปรัชญาที่อินเดีย เพราะได้แรงบันดาลใจจากการอ่าน “พบถิ่นอันเดีย” ของ กรุณา กุศลาสัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นำดินจากบ้านเกิดติดตัวไปด้วยในฐานะสัญลักษณ์ของชีวิต จบปริญญาโท ลาสิกขและเรียนต่อปริญญาเอกจนจบ
นายประมวลมีชีวิตอุทิศตนเพื่อนคนอื่น อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ช่วงแรก ๑๖ ปีแรก เขาเป็นครูผู้รู้และเข้าใจชีวิต นายประมวลเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาต่อทิ่อินเดียทำให้นายประมวลได้เรียนรู้ และเห็นว่า ชีวิตยึดโยงและผูกพันกับคนอื่น และมนุษย์ไม่มีทางพบอะไรที่ประเสริฐได้ด้วยตัวคนเดียวอย่างโดดเดี่ยวเด็ดขาด เพราะในอินเดียมีเรื่องของความทุกข์ยากของประชาชน ความขัดแย้งทางสังคมมากมาย ในขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบความง่าย ความอดทน การรอคอย ความเพียรพยายามและความมุ่งมั่น อันเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ชีวิตของเขางดงาม สามารถเป็นครูสอนผู้อื่นได้ เขาจึงสอนหนังสืออยู่ ๑๖ ปี มีผลงานเป็นคำสอนและความเจริญเติบโตอย่างงดงามในใจและตัวตนของบรรดาศิษย์
ช่วงที่สอง การเป็นนักปรัชญาภาคปฏิบัติ
นายประมวลลาออกจากราชการในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของเขาและเริ่มออกเดินทางไปสมุยในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันครบรอบการแต่งงานกับสมปอง เพ็งจันทร์ เขาเดินทางด้วยเท้าจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุยบ้านเกิด โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะนำดินจากบ้านเกิดไปคืนแผ่นดินเกิด และเพื่อการทำสมาธิขณะเดิน กับการใคร่ครวญขบคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในขณะที่หยุดพัก กฎสองข้อในการเดินทางของเขาก็คือไม่ใช้เงิน และไม่ติดต่อกับใครทั้งนั้นเพื่อให้การใคร่ครวญทางจิตได้ผล
เขาใช้เวลาเดินทางทั้งหมด ๖๖ วัน และค้นพบว่า ความสุขของมนุษย์คือความพร้อมความพอใจที่จะทำอะไรให้คนอื่น เขาบันทึกเรื่องราวการเดินทางตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดไว้ในหนังสือชื่อ ‘เดินสู่อิสรภาพ’ หนังสือที่แสดงถึงจิตสำนึกด้านดีของมนุษย์โดยไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง เป็นสารคดีเชิงวรรณศิลป์ที่งดงามที่สุดเล่มหนึ่ง และได้รับรางวัลมากที่สุดเล่มหนึ่ง
ช่วงที่ ๓ การเป็นนักเขียนผู้ใช้ประสบการณ์ด้านในสื่อสาร
หลังจากตีพิมพ์ “เดินสู่อิสรภาพ”เมื่อปี ๒๕๕๐ แล้ว นายประมวลมีผลงานเขียนต่อเนื่องมาอีก ๑๕ เล่ม ทั้งหมดเป็นการอ่านประสบการณ์ด้านใน และถ่ายmอดออกมาเป็นตัวอักษร บางเล่มถ่ายทอดในรูปของการเสวนา และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในภายหลัง
ผลงานทั้งหมดแบ่งเป็น
สารคดีเชิงปรัชญา ๕ เล่มคือ เดินสู่อิสรภาพ อินเดียจาริกด้านใน ๓ เล่มต่อเนื่องคือ การศึกษาที่งดงาม คารวะภารตคุรุเทพ ทบทวนชีวิตพินิจตน และ ไกรลาส การจาริกบนวิถีแห่งศรัทธา
สารคดีสนทนาเพื่อเรียนรู้ชีวิต ๙ เล่มคือ ประมวลความรัก. ปาฐกถาโกมล คีมทอง: การเดินทางสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้, ก้าวผ่านความรุนแรง, เราจะเดินไปไหนกัน, เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง, จาริกทางจิตวิญญาณบนแดนพุทธภูมิ, ภาวนาเริ่มต้น ณ กม.0, บ่มเพาะความรัก ความเมตตาและความกรุณา และ พรอันประเสริฐ
หนังสือภาพอีก ๒ เล่มคือ สมุดภาพพุทธประวัติ กับ อินเดีย ความจริง ความดี ความงาม
ปัจจุบัน นายประมวลยังเป็นอาจารย์นอกห้องเรียน สนทนา เสวนา และพร้อมอภิปรายให้ความรู้ ความเข้าใจชีวิตแก่นักศีกษาและผู้สนใจ ทั้งยังเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวทั้งความคิดและความเป็นไปในสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลงานและความเป็นประมวล เพ็งจันทร์ ทำให้คนในสังคมเกิดจิตสำนึกการอุทิศตนเพื่อคนอื่น เช่นเดียวกับศรีบูรพา เกิดการเข้าถึงชีวิตที่แท้จริง ทำให้ความรักมนุษย์ปรากฏเป็นรูปธรรม และแผ่ไปในสังคมอย่างกว้างขวาง
กองทุนศรีบูรพา จึงขอประกาศเกียรติมอบรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๑ แด่ นายประมวล เพ็งจันทร์ และขอเป็นพลังใจให้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าต่อไปอย่างเต็มกำลัง
ลงชื่อ นายประยอม ซองทอง
ประธานกองทุนศรีบูรพา
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑
วันนักเขียน 5 พฤษภาคม 2561 "มิตรน้ำหมึก ผนึกสัมพันธ์ 61"
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดงานวันนักเขียนขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม 2561 งานจัดขึ้นที่ ณ ห้องเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (แยกปทุมวัน - ตรงข้ามมาบุญครอง)
ในงานมีนักเขียนมาร่วมงานกันมากมาย ทั้งนักเขียนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มีการพบปะแลกเปลี่ยนทัศนะในวงการวรรณกรรมกันอย่างหลากหลาย ถือว่าเป็นงานใหญ่ประจำปีที่นักเขียนจะได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างสัมพันธ์อันแนบแน่นและยืนยาวตลอดไปในโอกาสดีที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยครบรอบ 50 ปีในปีนี้พอดี
ในงานมีพิธีการมอบรางวัล "ศรีบูรพา" เกียรติยศ ประจำปี ๒๕๖๑ ซึ่งผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาในปีนี้คือ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ผู้เป็นครู นักปรัชญา และนักเขียนผู้อุทิศตนเพื่อคนอื่น
คำประกาศเชิดชูเกียรติ รางวัลศรีบูรพา
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑
แด่ นายประมวล เพ็งจันทร์
ครู นักปรัชญา และนักเขียนผู้อุทิศตนเพื่อคนอื่น
นายประมวล เพ็งจันทร์ เป็นครู นักปรัชญา และนักเขียน ผู้เรียนรู้และทำความเข้าใจชีวิตได้อย่างชัดเจนผ่านการศึกษาและการปฏิบัติ สามารถถ่ายทอดเป็นตัวอักษรผ่านถ้อยวาจาและผ่านผลงานประพันธ์ได้เป็นอย่างดี ส่งผลสะเทือนทางความคิดให้เกิดความรักและความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่แท้ได้อย่างกว้างขวาง
นายประมวล เพ็งจันทร์ เกิดที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ บวชเรียน เสริมต่อด้วยการศึกษานอกโรงเรียนจนจบชั้นมัธยม ๖ แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านปรัชญาที่อินเดีย เพราะได้แรงบันดาลใจจากการอ่าน “พบถิ่นอันเดีย” ของ กรุณา กุศลาสัย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ นำดินจากบ้านเกิดติดตัวไปด้วยในฐานะสัญลักษณ์ของชีวิต จบปริญญาโท ลาสิกขและเรียนต่อปริญญาเอกจนจบ
นายประมวลมีชีวิตอุทิศตนเพื่อนคนอื่น อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
ช่วงแรก ๑๖ ปีแรก เขาเป็นครูผู้รู้และเข้าใจชีวิต นายประมวลเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การศึกษาต่อทิ่อินเดียทำให้นายประมวลได้เรียนรู้ และเห็นว่า ชีวิตยึดโยงและผูกพันกับคนอื่น และมนุษย์ไม่มีทางพบอะไรที่ประเสริฐได้ด้วยตัวคนเดียวอย่างโดดเดี่ยวเด็ดขาด เพราะในอินเดียมีเรื่องของความทุกข์ยากของประชาชน ความขัดแย้งทางสังคมมากมาย ในขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบความง่าย ความอดทน การรอคอย ความเพียรพยายามและความมุ่งมั่น อันเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ชีวิตของเขางดงาม สามารถเป็นครูสอนผู้อื่นได้ เขาจึงสอนหนังสืออยู่ ๑๖ ปี มีผลงานเป็นคำสอนและความเจริญเติบโตอย่างงดงามในใจและตัวตนของบรรดาศิษย์
ช่วงที่สอง การเป็นนักปรัชญาภาคปฏิบัติ
นายประมวลลาออกจากราชการในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของเขาและเริ่มออกเดินทางไปสมุยในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันครบรอบการแต่งงานกับสมปอง เพ็งจันทร์ เขาเดินทางด้วยเท้าจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุยบ้านเกิด โดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะนำดินจากบ้านเกิดไปคืนแผ่นดินเกิด และเพื่อการทำสมาธิขณะเดิน กับการใคร่ครวญขบคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในขณะที่หยุดพัก กฎสองข้อในการเดินทางของเขาก็คือไม่ใช้เงิน และไม่ติดต่อกับใครทั้งนั้นเพื่อให้การใคร่ครวญทางจิตได้ผล
เขาใช้เวลาเดินทางทั้งหมด ๖๖ วัน และค้นพบว่า ความสุขของมนุษย์คือความพร้อมความพอใจที่จะทำอะไรให้คนอื่น เขาบันทึกเรื่องราวการเดินทางตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดไว้ในหนังสือชื่อ ‘เดินสู่อิสรภาพ’ หนังสือที่แสดงถึงจิตสำนึกด้านดีของมนุษย์โดยไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินเงินทอง เป็นสารคดีเชิงวรรณศิลป์ที่งดงามที่สุดเล่มหนึ่ง และได้รับรางวัลมากที่สุดเล่มหนึ่ง
ช่วงที่ ๓ การเป็นนักเขียนผู้ใช้ประสบการณ์ด้านในสื่อสาร
หลังจากตีพิมพ์ “เดินสู่อิสรภาพ”เมื่อปี ๒๕๕๐ แล้ว นายประมวลมีผลงานเขียนต่อเนื่องมาอีก ๑๕ เล่ม ทั้งหมดเป็นการอ่านประสบการณ์ด้านใน และถ่ายmอดออกมาเป็นตัวอักษร บางเล่มถ่ายทอดในรูปของการเสวนา และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในภายหลัง
ผลงานทั้งหมดแบ่งเป็น
สารคดีเชิงปรัชญา ๕ เล่มคือ เดินสู่อิสรภาพ อินเดียจาริกด้านใน ๓ เล่มต่อเนื่องคือ การศึกษาที่งดงาม คารวะภารตคุรุเทพ ทบทวนชีวิตพินิจตน และ ไกรลาส การจาริกบนวิถีแห่งศรัทธา
สารคดีสนทนาเพื่อเรียนรู้ชีวิต ๙ เล่มคือ ประมวลความรัก. ปาฐกถาโกมล คีมทอง: การเดินทางสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้, ก้าวผ่านความรุนแรง, เราจะเดินไปไหนกัน, เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง, จาริกทางจิตวิญญาณบนแดนพุทธภูมิ, ภาวนาเริ่มต้น ณ กม.0, บ่มเพาะความรัก ความเมตตาและความกรุณา และ พรอันประเสริฐ
หนังสือภาพอีก ๒ เล่มคือ สมุดภาพพุทธประวัติ กับ อินเดีย ความจริง ความดี ความงาม
ปัจจุบัน นายประมวลยังเป็นอาจารย์นอกห้องเรียน สนทนา เสวนา และพร้อมอภิปรายให้ความรู้ ความเข้าใจชีวิตแก่นักศีกษาและผู้สนใจ ทั้งยังเขียนหนังสือเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวทั้งความคิดและความเป็นไปในสังคมอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลงานและความเป็นประมวล เพ็งจันทร์ ทำให้คนในสังคมเกิดจิตสำนึกการอุทิศตนเพื่อคนอื่น เช่นเดียวกับศรีบูรพา เกิดการเข้าถึงชีวิตที่แท้จริง ทำให้ความรักมนุษย์ปรากฏเป็นรูปธรรม และแผ่ไปในสังคมอย่างกว้างขวาง
กองทุนศรีบูรพา จึงขอประกาศเกียรติมอบรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๖๑ แด่ นายประมวล เพ็งจันทร์ และขอเป็นพลังใจให้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าต่อไปอย่างเต็มกำลัง
ลงชื่อ นายประยอม ซองทอง
ประธานกองทุนศรีบูรพา
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑