นโยบายbuild build build ของฟิลิปปินส์จะทำให้ฟิลลิปปินส์กลับมาพัฒนาเหนือไทยเราได้มั้ย

ดูเตอร์เตขึ้นมาเป็นผู้นำให้ฟิลิปปินส์สร้างนโยบายbuild build buildสร้างสนามบิน ถนน สะพานเชื่อมระหว่างเกาะ  รถไฟฟ้า ท่าเรือต่างๆนานาเค้าบอกว่าถ้าสิ่งเหล่านี้ทำสำเร็จจรงปินส์จะกลับมานำในอาเซียรได้อีกครั้งมีโอกาสเป็นไปได้มั้ยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
เท่าที่ทราบ ตอนนี้ไทยได้เปรียบประเทศอาเซียนอื่นๆเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งต่างแข่งกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานกันยกใหญ่ ในด้านของเงินทุนนี่แหละครับ

ตัวเลขล่าสุดพึ่งแถลงหมาดๆเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานี้เองของหนี้สาธารณะของไทยคือ 41.04%ของGDP ประมาณ6.45ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน9พันกว่าล้านบาท เป็นหนี้ในประเทศเกือบ96%(ส่วนใหญ่คือพันธบัตรที่ขายให้ธนาคาร/ธนาคารเอาไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน) และเป็นหนี้ต่างประเทศราว 2.7แสนล้านบาทหรือประมาณ 8.4พันล้านดอลล่าเท่านั้น(ไม่ถึง4%ของจีดีพี) หนี้ต่างประเทศของไทยขณะนี้นั้น น้อยกว่าเงินที่บริษัทเบียร์ช้างเพียงบริษัทเดียวใช้เงินซื้อบิ๊กซี+บริษัทเบียร์ในเวียดนาม เมื่อปีที่แล้วซะอีก

ในขณะที่ไทยมีทุนสำรองราวสองแสนสามหมื่นล้านดอลล่า และถ้ารวมสัญญาฟอร์เวิร์ดด้วย เห็นว่าปาเข้าไปเกือบสองแสนเจ็ดหมื่นล้านดอลล่าแล้ว ทุนสำรองฯตอนนี้มากเป็นอันดับ12ของโลกมั๊ง มันเงยทำให้ค่าเงินบาทแข็งโป๊ก เพราะแบงค์ชาติก็คงหาวิธีทำให้เงินบาทอ่อนไม่ได้(โดยไม่ถูกตอบโต้) ถึงจะรีบร้อนใช้หนี้ต่างประเทศที่เหลือทันที(8.4พันล้านดอลล่า) ก็คงไม่ช่วยให้ค่าเงินบาทอ่อนลงได้ซักเท่าไหร่ ความหวังเดียวคือให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยเยอะๆ(แล้วไทยคงดอกเบี้ยนโยบายที่1.5%เอาไว้ให้นานที่สุด)

ข้อได้เปรียบของไทยอีกข้อหนึ่งก็คือ บริษัทเอกชนของไทยมีขนาดใหญ่มากพอ และมีเงินเหลือมากเช่นกัน รัฐบาลไทยจึงสามารถออกนโยบายสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยกำหนดเงินทุนคือ 15%มาจากงบประมาณแผ่นดิน 60%เป็นการร่วมทุนกับเอกชน(PPP) 5%จากรัฐวิสาหกิจ ที่เหลือเป็นเงินกู้(ส่วนใหญ่ในประเทศ/ธนาคารไทยมีสภาพคล่องมากกว่า2ล้านล้านบาท) ซึ่งในอาเซียนยกเว้นสิงคโปร์แล้ว ตอนนี้คงมีไทยเท่านั้นที่รัฐบาลและเอกชนต่างก็มีเงินเหลือมีสภาพคล่องมากพอที่จะสร้างเมกกะโปรเจ็คได้เองโดยไม่ต้องปาดเหงื่อมากนัก หรือต้องไปพึ่งใคร

สาเหตุหลักที่ทำให้ไทยมีสภาพคล่องดีกว่าก็น่าจะมาจากการเกินดุลการค้า ราวๆหมื่นล้านดอลล่าต่อปี และการท่องเที่ยวที่ได้เงิน(เฉพาะจากต่างชาติ)มาสบายๆอีก7หมื่นล้านเหรียญต่อปี และคาดว่าในอีก7-10ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีอะไรทำให้สะดุดอีก ไทยจะมีนักท่องเที่ยวถึงปีละ60ล้านคน(สถาบันต่างชาติแห่งหนึ่งคาดการณ์ไว้/ไม่ใช่ไทยคิดเอง) ได้เงินจากการท่องเที่ยวเข้ากระเป๋าปีละไม่น้อยกว่า1.5แสนล้านเหรียญต่อปี มีผู้โดยสารมาลงสามสนามบิน(สุวรรณภูมิเฟส3-ดอนเมือง-อู่ตะเภาเฟส2)รวมกันปีละ200ล้านคน(2เท่าของสนามบินชางงี) เป็นท็อป20ของโลก(ไทยมีประชากรแค่1%ของโลก คนมาใช้สนามบินส่วนใหญ่จึงเป็นต่างชาติ ไม่เหมือน จีน อินเดีย ฯลฯ) ซึ่งตอนนั้นไทยจะยิ่งมีเงินสภาพคล่องใช้ลงทุนมากกว่านี้อีกเยอะเลย..คิดว่านะครับ

ด้วยเหตุนี้ จึงพออนุมานได้ว่า แม้ช่วงนี้ฟิลิปปินส์จะBuild Build Build แต่เงินเขายังน้อยอยู่ คงตามไทยให้ทันได้ยาก หรือแม้แต่มาเลเซียซึ่งเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องในประเทศมากขึ้น ขนาดที่ยอมให้จีนเข้ามาทำโปรเจ็คใหญ่ๆแล้วยอมรับเงินกู้ดอกเบี้ย3.5%จากจีน(ขณะที่จีนเสนอปล่อยกู้โครงการรถไฟความเร็วสูงให้ไทย2% ไทยเรายังบอกแพงไป,ไม่เอา)

ซึ่งถ้าไม่มีอะไรมาทำให้สะดุดอย่างแรงจนล้มอีกครั้ง ในอีก5-7ปีข้างหน้า ไทยเราคงพลิกโฉมหน้าประเทศจนโดดเด่นกว่าเพื่อนบ้านอาเซียนพอสมควรเลยทีเดียว

และถึงตอนนั้น ค่าเงินบาทของไทยอาจจะแข็งค่ากลับมาที่เดิมหรือต่ำกว่า(27บาทต่อดอลล่าก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง/ หรือ23บาทต่อดอลล่าเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน)

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลเสียเราท่านคงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ผลดีอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้รายได้จีดีพีต่อหัวของคนไทยเมื่อเทียบกับดอลล่าเพ่ิมขึ้นอีก20-40%(เมื่อเทียบกับดอลล่า) การมีรายได้ต่อหัวเกิน12,000ดอลล่า/ปี จึงอาจจะมาถึงเร็วกว่าที่คาดกันไว้ก็ได้(คาดไว้ปี2575)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่