กว่าจะเป็นโครงการใหญ่ของไทยต้องใช้เวลาแค่ไหนมาดูกัน

มาดูประวัติความเป็นมา ระยะเวลาของโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ ต่างๆ ในประเทศไทย ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มคิด และจนกระทั้งเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการเท่าไรกันบ้าง
เริ่มด้วยอันแรก

1. สนามบินสุวรรณภูมิ



แนวคิดในการสร้างสนามบินนี้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2502 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อสร้างสนามบินแห่งใหม่แทนท่าอากาศยานนานชาติดอนเมือง ในช่วงปี 2502 - 2545 เป็นช่วงที่อยู่ในการศึกษาหาข้อมูล การเวณคืนที่ดิน แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ และประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมือง  ทำให้เกิดความล่าช้า จนกระทั่งในปี 2545 ได้มีการวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างและ เปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2549 รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 47 ปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

2. ท่าเรือแหลมฉบัง



แนวคิดริเริ่มในการสร้างโครงการ คือในปี 2491 ในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม เพื่อเป็นท่าเรือหลักแห่งใหม่ของประเทศ ทดแทนท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย)  ช่วงปี 2491 - 2534 ระยะเวลาในการหาศึกษาโครงการ ซึ่งมีปัญหาเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการหาทำเลที่ตั้งของท่าเรือ การจัดหางบประมาณ และการก่อสร้าง โดยท่าเรือได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2534 รวมระยะเวลาของโครงการคือ 43 ปี

3. สนามราชมังคลากีฬาสถาน



แนวคิดในการสร้างสนามกีฬาแห่งนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร โดยเห็นชอบให้มีการก่อสร้างสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่มีความจุหนึ่งแสนคน เพื่อเป็นสนามกีฬาแห่งชาติเช่นเดียวกับสนามศุภชลาศัย แต่เนื่องด้วยมีปัญหาเรื่องงบประมาณ จึงทำให้เกิดความล่าช้า จึงทำให้เริ่มก่อสร้างในปี 2531 และแล้วเสร็จในปี 2538 รวมระยะเวลา จากปี 2512 - 2538 เป็นเวลาทั้งสิ้น 26 ปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

4. รถไฟฟ้า BTS



โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพได้มีแนวคิดที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับในกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ พ.ศ. 2522  โดยที่ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยศึกษาโครงการ จนมีโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน แต่โครงการก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีปัญหามากมายหลายด้านโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ทำให้มีการเปลี่ยนโครงการ เปลี่ยนแปลงแบบ การเวณคืนที่ดิน และเปลี่ยนแปลงเส้นทางกันหลายครั้ง จนมาเป็นโครงการรถไฟฟ้า BTS ในที่สุด โดยเปิดบริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 20 ปี

5.สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม



ด้วยวิสัยทัศน์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เล็งเห็นถึงการสร้างโครงข่ายถนนจากท่าเรือกรุงเทพไปยังเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดสุมทรปราการและภูมิภาคอื่นๆ โดยไม่ต้องให้รถบรรทุกวิ่งเข้าไปในตัวเมือง จึงมีพระราชดำริให้ ก่อสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อระหว่างเขตยานนาวา และเขตราษฏร์บูรณะ เข้ากับอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานชื่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 แห่ง โดยด้านทิศเหนือเชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ ว่า "สะพานภูมิพล 1" ส่วนด้านทิศใต้เชื่อมอำเภอพระประแดงกับตำบลสำโรงใต้ พระราชทานชื่อว่า "สะพานภูมิพล 2" เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552
โดยสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา รูปแบบเป็นแบบสะพานขึง ขนาด 7 ช่องการจราจร โดยเริ่มโครงการเมื่อปี 2539 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปี
ปล.เฉพาะตัวสะพานนั้นใช้เวลาเพียง 4 เดือน จากกำหนด 6 เดือน เป็นสะพานที่สร้างเสร็จเร็วที่สุดในโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จริงๆ มีมากกว่านี้ครับ แต่ว่ามีเวลาน้อยและบางแห่งไม่ค่อยมีข้อมูล เดี๋ยวครั้งหน้าจะเพิ่มให้นะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่