รัฐบาลญี่ปุ่นผ่านกฎหมายธุรกิจให้เช่าห้องพัก โดยให้สิทธิ์รัฐบาลท้องถิ่นในการควบคุมการนำที่พักส่วนบุคคลให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก เช่น ให้เช่าห้องได้เฉพาะช่วงสุดสัปดาห์, จำกัดจำนวนวันให้เช่าห้องไม่เกิน 180 วันต่อปีเป็นต้น
บริษัทอย่างเช่น Airbnb ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากธุรกิจนำที่พักส่วนบุคคลออกให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก ต้องพบกับข้อจำกัดสำคัญเมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายควบคุมธุรกิจบ้านเช่า และจะบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนนี้
ธุรกิจให้เช่าบ้านนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่า “มินพะคุ” หรือ “โฮมสเตย์” ซึ่งตามกฎหมายแล้วไม่สามารถทำได้ และมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2020 ของกรุงโตเกียว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาญี่ปุ่นจนจำนวนโรงแรมที่มีอยู่ไม่อาจรองรับได้
แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้กลับตาลปัตรโดยควบคุมการนำที่พักส่วนบุคคลออกให้เช่า โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสงบสุขของชุมชน เช่น ห้ามนำที่พักออกให้เช่าเกินกว่า 180 วันต่อปี ซึ่งทำให้เจ้าของห้องพักบ่นว่า “อยู่ได้ยาก”
กฎหมายยังให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดข้อบังคับต่างๆ เช่น เขตชูโอของกรุงโตเกียวใกล้กับย่านกินซ่า ห้ามนำห้องออกให้เช่าในวันธรรมดา เพราะเกรงว่าหากคนแปลกหน้าเข้ามาในอะพาร์ตเมนต์ในช่วงวันทำงานอาจเกิดความไม่ปลอดภัย
เขตชิบุยะในกรุงโตเกียวอนุญาตให้เช่าห้องเฉพาะช่วงปิดเทอม เพื่อไม่ให้เด็กนักเรียนต้องพบกับคนแปลกหน้าในเส้นทางที่ไปโรงเรียน
นครเกียวโต ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 50 ล้านคนต่อปีอนุญาตให้เช่าห้องเฉพาะช่วงวันที่ 15 มกราคมถึง 16 มีนาคม เพื่อควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวมากเกินไปในช่วงฤดูชมซากุระและใบไม้เปลี่ยนสี
กฎหมายใหม่ของญี่ปุ่นยังกำหนดให้เจ้าของห้องที่ต้องการนำที่พักออกให้เช่าต้องขึ้นทะเบียนกับทางการท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยจากไฟไหม้ และตรวจประวัติของเจ้าของห้อง
กฎหมายนี้จะส่งผลสะเทือนต่อเจ้าของห้องพัก, บริษัทนายหน้าทั้ง Airbnb และบริษัทญี่ปุ่นในแบบเดียวกัน รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวต่าง โดยเจ้าของห้องจะได้รับค่าเช่าเพียงแค่ 1 ใน3 หากให้เช่าห้องแบบรายเดือน ส่วนนักท่องเที่ยวต้องพบกับความยากลำบากในการหาที่พัก เพราะเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนญี่ปุ่นมากถึง 28.7 ล้านคน และจำนวนไม่น้อยใช้ที่พักแบบห้องเช่า ไม่ใช่โรงแรม
ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวระบุว่า การมองว่าชาวต่างชาติอันตรายและก่อกวนความสงบเป็นความคิดที่ล้าสมัย
ขณะที่ Jake Wilczynski โฆษกของ Airbnb ประจำเอเชีย แปซิฟิก ระบุว่า “แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเราเชื่อว่าชุมชนในญี่ปุ่นสามารถได้ประโยชน์จากโอกาสทางเศรษฐกิจจากการการนำที่พักออกให้เช่า”
ทั้งนี้ในญี่ปุ่นมีที่พักที่ขึ้นทะเบียนกับ Airbnb ราว 62,000 แห่ง น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น อิตาลีที่มีที่พักในเครือข่ายถึง 354,400 แห่ง และในฝรั่งเศสมีที่พักให้เช่า 490,000 แห่ง
Airbnb ผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมทั้งไทย แต่ได้อาศัยช่องว่างทางกฎหมายสร้างรายได้ให้กับเจ้าของห้องมากมาย ในญี่ปุ่นมีบริษัท Hyakusenrenma ทำธุรกิจแบบเดียวกันนี้ และยังมีเว็บไซต์ Booking.com รวมทั้งบริษัทจากจีนก็ทำธุรกิจให้เช่าห้องพักเช่นกัน
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่านิติบุคคล ผู้บริหารอะพาร์ตเมนต์ในญี่ปุ่น ไม่สนับสนุนการนำห้องออกให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก ด้วยเหตุด้านความปลอดภัย, ความสงบสุข และสุขอนามัย โดยมีผู้สนับสนุนเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น.
ป้ายข้อความ ห้ามใช้อาคารแห่งนี้เป็นที่พักชั่วคราว
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/japan/detail/9610000040991
ญี่ปุ่นดับฝัน Airbnb ออกกม.ควบคุมธุรกิจห้องเช่า
รัฐบาลญี่ปุ่นผ่านกฎหมายธุรกิจให้เช่าห้องพัก โดยให้สิทธิ์รัฐบาลท้องถิ่นในการควบคุมการนำที่พักส่วนบุคคลให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก เช่น ให้เช่าห้องได้เฉพาะช่วงสุดสัปดาห์, จำกัดจำนวนวันให้เช่าห้องไม่เกิน 180 วันต่อปีเป็นต้น
บริษัทอย่างเช่น Airbnb ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากธุรกิจนำที่พักส่วนบุคคลออกให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก ต้องพบกับข้อจำกัดสำคัญเมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายควบคุมธุรกิจบ้านเช่า และจะบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนนี้
ธุรกิจให้เช่าบ้านนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่า “มินพะคุ” หรือ “โฮมสเตย์” ซึ่งตามกฎหมายแล้วไม่สามารถทำได้ และมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมายให้ชัดเจน เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2020 ของกรุงโตเกียว ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาญี่ปุ่นจนจำนวนโรงแรมที่มีอยู่ไม่อาจรองรับได้
แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้กลับตาลปัตรโดยควบคุมการนำที่พักส่วนบุคคลออกให้เช่า โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสงบสุขของชุมชน เช่น ห้ามนำที่พักออกให้เช่าเกินกว่า 180 วันต่อปี ซึ่งทำให้เจ้าของห้องพักบ่นว่า “อยู่ได้ยาก”
กฎหมายยังให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดข้อบังคับต่างๆ เช่น เขตชูโอของกรุงโตเกียวใกล้กับย่านกินซ่า ห้ามนำห้องออกให้เช่าในวันธรรมดา เพราะเกรงว่าหากคนแปลกหน้าเข้ามาในอะพาร์ตเมนต์ในช่วงวันทำงานอาจเกิดความไม่ปลอดภัย
เขตชิบุยะในกรุงโตเกียวอนุญาตให้เช่าห้องเฉพาะช่วงปิดเทอม เพื่อไม่ให้เด็กนักเรียนต้องพบกับคนแปลกหน้าในเส้นทางที่ไปโรงเรียน
นครเกียวโต ที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 50 ล้านคนต่อปีอนุญาตให้เช่าห้องเฉพาะช่วงวันที่ 15 มกราคมถึง 16 มีนาคม เพื่อควบคุมไม่ให้นักท่องเที่ยวมากเกินไปในช่วงฤดูชมซากุระและใบไม้เปลี่ยนสี
กฎหมายใหม่ของญี่ปุ่นยังกำหนดให้เจ้าของห้องที่ต้องการนำที่พักออกให้เช่าต้องขึ้นทะเบียนกับทางการท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยจากไฟไหม้ และตรวจประวัติของเจ้าของห้อง
กฎหมายนี้จะส่งผลสะเทือนต่อเจ้าของห้องพัก, บริษัทนายหน้าทั้ง Airbnb และบริษัทญี่ปุ่นในแบบเดียวกัน รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวต่าง โดยเจ้าของห้องจะได้รับค่าเช่าเพียงแค่ 1 ใน3 หากให้เช่าห้องแบบรายเดือน ส่วนนักท่องเที่ยวต้องพบกับความยากลำบากในการหาที่พัก เพราะเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนญี่ปุ่นมากถึง 28.7 ล้านคน และจำนวนไม่น้อยใช้ที่พักแบบห้องเช่า ไม่ใช่โรงแรม
ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวระบุว่า การมองว่าชาวต่างชาติอันตรายและก่อกวนความสงบเป็นความคิดที่ล้าสมัย
ขณะที่ Jake Wilczynski โฆษกของ Airbnb ประจำเอเชีย แปซิฟิก ระบุว่า “แต่ละเมืองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเราเชื่อว่าชุมชนในญี่ปุ่นสามารถได้ประโยชน์จากโอกาสทางเศรษฐกิจจากการการนำที่พักออกให้เช่า”
ทั้งนี้ในญี่ปุ่นมีที่พักที่ขึ้นทะเบียนกับ Airbnb ราว 62,000 แห่ง น้อยกว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น อิตาลีที่มีที่พักในเครือข่ายถึง 354,400 แห่ง และในฝรั่งเศสมีที่พักให้เช่า 490,000 แห่ง
Airbnb ผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมทั้งไทย แต่ได้อาศัยช่องว่างทางกฎหมายสร้างรายได้ให้กับเจ้าของห้องมากมาย ในญี่ปุ่นมีบริษัท Hyakusenrenma ทำธุรกิจแบบเดียวกันนี้ และยังมีเว็บไซต์ Booking.com รวมทั้งบริษัทจากจีนก็ทำธุรกิจให้เช่าห้องพักเช่นกัน
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่านิติบุคคล ผู้บริหารอะพาร์ตเมนต์ในญี่ปุ่น ไม่สนับสนุนการนำห้องออกให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก ด้วยเหตุด้านความปลอดภัย, ความสงบสุข และสุขอนามัย โดยมีผู้สนับสนุนเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น.
ป้ายข้อความ ห้ามใช้อาคารแห่งนี้เป็นที่พักชั่วคราว
ข่าวจาก : MGR Online
https://mgronline.com/japan/detail/9610000040991