สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ทำไมถึงต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนประกาศของ สคบ.?
เหตผลสำคัญเลย ก็คือ การที่ประกาศฉบับใหม่ห้ามมิให้มีข้อความว่า "ถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าและถูกบอกเลิกสัญญาแล้ว ให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าคืนการครองครองทรัพย์สินที่เช่า และมีสิทธิทำลายกุญแจหรือสิ่งกีดกั้นของผู้เช่าที่นำมาติดตั้งไว้หน้าห้องเช่า มีสิทธิขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกมา และล็อกห้องไม่ให้ผู้เช่ากลับเข้าไปในห้องเช่าได้อีก"
ข้อนี้เองที่จะเป็นจุดตายของผู้ประกอบการ ไม่ใช่ข้อที่ห้ามเรื่องค่าน้ำค่าไฟห้ามเรียกเก็บเกินจริง เพราะเรื่องนี้ สามารถแก้ไขง่ายๆ โดยการเพิ่มค่าเช่า แต่การที่ห้ามผู้ให้เช่ากลับเข้าไปในห้องเช่า และขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกมา อันนี้แหละสำคัญ
ผู้ประกอบการอาจจะคิดว่า ถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า อย่างมากก็แค่ตัดน้ำตัดไฟ เท่านี้เค้าก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องย้ายออก
แต่อย่าลืมว่า หากผู้เช่าอยู่ไม่ได้ เลยย้ายออกไป แต่ไม่ได้ขนของออกไปด้วย แล้วล็อกห้องทิ้งไว้อย่างนั้น ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร จะกล้ารื้อทำลายกุญแจหรือ ถ้าทำอย่างนั้น ก็อาจจะโดนผู้เช่าหัวหมอ ไปแจ้งความข้อหาบุกรุกได้ เป็นคดีความได้อีก
สุดท้าย ถ้าไม่อยากโดนแจ้งความ ผู้ให้เช่าก็ต้องฟ้องศาลเพื่อขับไล่ผู้เช่าออกไป ซึ่งกว่าคดีจะจบ จะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี เสียเงินเสียทองเสียเวลาอีกมากมายเท่าไหร่ แล้วยังไม่นับค่าเสียโอกาสในการนำห้องเช่าออกหารายได้อีก
เหตผลสำคัญเลย ก็คือ การที่ประกาศฉบับใหม่ห้ามมิให้มีข้อความว่า "ถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าและถูกบอกเลิกสัญญาแล้ว ให้ผู้ให้เช่ามีสิทธิกลับเข้าคืนการครองครองทรัพย์สินที่เช่า และมีสิทธิทำลายกุญแจหรือสิ่งกีดกั้นของผู้เช่าที่นำมาติดตั้งไว้หน้าห้องเช่า มีสิทธิขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกมา และล็อกห้องไม่ให้ผู้เช่ากลับเข้าไปในห้องเช่าได้อีก"
ข้อนี้เองที่จะเป็นจุดตายของผู้ประกอบการ ไม่ใช่ข้อที่ห้ามเรื่องค่าน้ำค่าไฟห้ามเรียกเก็บเกินจริง เพราะเรื่องนี้ สามารถแก้ไขง่ายๆ โดยการเพิ่มค่าเช่า แต่การที่ห้ามผู้ให้เช่ากลับเข้าไปในห้องเช่า และขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกมา อันนี้แหละสำคัญ
ผู้ประกอบการอาจจะคิดว่า ถ้าผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่า อย่างมากก็แค่ตัดน้ำตัดไฟ เท่านี้เค้าก็อยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องย้ายออก
แต่อย่าลืมว่า หากผู้เช่าอยู่ไม่ได้ เลยย้ายออกไป แต่ไม่ได้ขนของออกไปด้วย แล้วล็อกห้องทิ้งไว้อย่างนั้น ผู้ให้เช่าจะทำอย่างไร จะกล้ารื้อทำลายกุญแจหรือ ถ้าทำอย่างนั้น ก็อาจจะโดนผู้เช่าหัวหมอ ไปแจ้งความข้อหาบุกรุกได้ เป็นคดีความได้อีก
สุดท้าย ถ้าไม่อยากโดนแจ้งความ ผู้ให้เช่าก็ต้องฟ้องศาลเพื่อขับไล่ผู้เช่าออกไป ซึ่งกว่าคดีจะจบ จะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี เสียเงินเสียทองเสียเวลาอีกมากมายเท่าไหร่ แล้วยังไม่นับค่าเสียโอกาสในการนำห้องเช่าออกหารายได้อีก
ความคิดเห็นที่ 38
สิ่งสำคัญที่ต้องรีบทำโดยเร่งด่วนในตอนนี้ ไม่ใช่การหาทางเลี่ยงบาลีด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งไม่แน่ว่าจะได้ผล หรือหวังพึ่งคำปรึกษาจาก สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกประกาศฉบับนี้มาเอง
แต่คือการยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนประกาศฉบับนี้ ภายใน 16 พ.ค. นี้ ไม่อย่างนั้น ก็จะหมดอายุความ และหมดสิทธิ์ที่จะฟ้องคดีตลอดไป (แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่จะทำให้ยังมีสิทธิฟ้องได้อยู่)
และที่สำคัญ ตอนยื่นฟ้อง ควรต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว (ในคดีปกครอง จะเรียกว่า คำขอทุเลาการบังคับ) ไปพร้อมกันด้วยเพื่อให้ศาลปกครองสั่งระงับการใช้ประกาศฉบับนี้ออกไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
การฟ้องคดีในศาลปกครอง ไม่ได้ยุ่งยาก แต่ง่ายกว่าการฟ้องคดีในศาลแพ่งหรือศาลอาญาเสียอีก เพราะเป็นการสู้คดีกันทางเอกสาร ยื่นเอกสารและพยานหลักฐานต่างๆ ให้ศาลพิจารณาทางเอกสาร จากนั้น ก็รอศาลมีคำตัดสิน ไม่จำเป็นต้องเอาพยานหลักฐานไปนำสืบบลาๆๆ กันในศาล มีทนายหลายๆ คนที่ทำคดีปกครองได้เก่งๆ และชำนาญเยอะแยะ (แต่ไม่ใช่ผมแน่นอน ฉะนั้น ไม่ต้องหลังไมค์มาครับ) น่าจะลองรวมขันกันจ้างสักคนนะครับ เอาใจช่วย สู้ๆ
ผมแค่มาแนะนำเพราะไม่อยากให้พลาดเดดไลน์ในการฟ้องคดีไป ซึ่งจะน่าเสียดายมากที่ไม่ได้ลองสู้กันสักตั้ง (คิดดูว่าถ้าเจ๊ติ๋ม ทีวีพูลเป็นเหมือนกับทีวีดิจิตอลฃ่องอื่นคือถอดใจไม่สู้ คงต้องเสียเงินหลักหลายร้อยล้านพันล้านให้แก่ กสทช.ไปแล้ว แต่เจ๊แกไม่ถอดใจ เลือกที่จะสู้ จึงมีวันนี้ได้ อิอิ)
แต่คือการยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้เพิกถอนประกาศฉบับนี้ ภายใน 16 พ.ค. นี้ ไม่อย่างนั้น ก็จะหมดอายุความ และหมดสิทธิ์ที่จะฟ้องคดีตลอดไป (แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่จะทำให้ยังมีสิทธิฟ้องได้อยู่)
และที่สำคัญ ตอนยื่นฟ้อง ควรต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว (ในคดีปกครอง จะเรียกว่า คำขอทุเลาการบังคับ) ไปพร้อมกันด้วยเพื่อให้ศาลปกครองสั่งระงับการใช้ประกาศฉบับนี้ออกไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
การฟ้องคดีในศาลปกครอง ไม่ได้ยุ่งยาก แต่ง่ายกว่าการฟ้องคดีในศาลแพ่งหรือศาลอาญาเสียอีก เพราะเป็นการสู้คดีกันทางเอกสาร ยื่นเอกสารและพยานหลักฐานต่างๆ ให้ศาลพิจารณาทางเอกสาร จากนั้น ก็รอศาลมีคำตัดสิน ไม่จำเป็นต้องเอาพยานหลักฐานไปนำสืบบลาๆๆ กันในศาล มีทนายหลายๆ คนที่ทำคดีปกครองได้เก่งๆ และชำนาญเยอะแยะ (แต่ไม่ใช่ผมแน่นอน ฉะนั้น ไม่ต้องหลังไมค์มาครับ) น่าจะลองรวมขันกันจ้างสักคนนะครับ เอาใจช่วย สู้ๆ
ผมแค่มาแนะนำเพราะไม่อยากให้พลาดเดดไลน์ในการฟ้องคดีไป ซึ่งจะน่าเสียดายมากที่ไม่ได้ลองสู้กันสักตั้ง (คิดดูว่าถ้าเจ๊ติ๋ม ทีวีพูลเป็นเหมือนกับทีวีดิจิตอลฃ่องอื่นคือถอดใจไม่สู้ คงต้องเสียเงินหลักหลายร้อยล้านพันล้านให้แก่ กสทช.ไปแล้ว แต่เจ๊แกไม่ถอดใจ เลือกที่จะสู้ จึงมีวันนี้ได้ อิอิ)
แสดงความคิดเห็น
ทำไมผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าอพาร์ทเม้นท์ไม่รวมกลุ่มกันยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศของ สคบ.
ในอดีต เคยมีหลายๆ กรณีที่หน่วยงานรัฐออกกฎหรือคำสั่งมาในลักษณะไม่เป็นธรรมหรือสร้างภาระให้แก่ผู้ประกอบการเกินควร แล้วผู้ประกอบการไม่ยอมรับชะตากรรม แต่กลับเลือกสู้โดยยื่นฟ้องศาลปกครอง สุดท้ายก็ชนะคดีในหลายๆ กรณี
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่กรมการขนส่งทางบกออกกฎเกณฑ์บังคับให้แท็กซี่ที่จะจดทะเบียนใหม่จะต้องใช้แก๊ส NGV เท่านั้น ถ้าไปติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่น จะไม่สามารถจดทะเบียนได้ ทางสมาคมผู้ประกอบการแท็กซี่ในขณะนั้น ก็ยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนกฎดังกล่าว โดยเห็นว่า เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่ผู้ประกอบการ สุดท้าย ศาลปกครองก็ตัดสินให้เพิกถอนกฎดังกล่าวเสีย
ถึงแม้การฟ้องคดีจะใช้เวลานานหลายปี แต่ระหว่างที่ฟ้อง เราก็สามารถยื่นคำร้องคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลเพื่อขอให้ระงับการใช้กฎหรือคำสั่งทางปกครองดังกล่าวไปได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ที่สำคัญ การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วันนับแต่วันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ซึ่งหากผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าที่พักอาศัย จะยื่นฟ้องศาลปกครอง ก็จะเหลือเวลาจนถึงวันที่ 16 พ.ค. 61 ซึ่งเป็นที่ครบ 90 วันพอดี
-----------------------------------------------------------
ดีใจด้วยกับข้อสรุปของที่ประชุมของผู้ประกอบกิจการวันนี้ (2 พ.ค.61) ที่ลงมติกันว่า จะยื่นฟ้องศาลปกครอง นะครับ
เอาใจช่วย สู้ๆ
ผมไม่ได้รับประกันว่าจะต้องชนะแน่ๆ 100% แต่อย่างน้อยก็ควรลองดูสักตั้ง
ที่สำคัญ อย่าลืมขอให้ทนายยื่นคำร้องพร้อมกันไปกับคำฟ้อง เพื่อขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจาณาโดยขอให้ชลอการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ออกไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งหากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับคำขอนี้ ช่วงนี้ พวกผู้ประกอบการก็ยังสามารถปฏิบัติไปเหมือนเดิมที่เคยทำได้ ไปจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5-8 ปีข้างหน้า
ดูอย่างคดีแท็กซีฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งของกรมการขนส่งทางบก ฟ้องปี 2551 กว่าคดีจะถึงที่สุด ก็ปี 2558