ช่วงนี้มีละครไทยที่ใช้กวีไทยถึงสองเรื่องสองรส ทั้ง
"กาหลมรทึก" ที่ขมวดปมเต็มที กับ
"หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" ที่เพิ่งเปิดตัว ถือเป็นการพลิกหน้าละครไทยที่เคยมีมา บันเทิงไปพร้อมกับลับสมองด้วยกลกวีไทย ซึ่งเป็นการดีที่ทำให้คนที่อาจลืมเลือนปริศนาอักษรได้กลับมาสนใจ และทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักได้รู้จักกับอีกด้านของกวีไทย ที่มีทั้งความสวยงามและความงงงวยในรูปแบบ
"กลบท" และ
"กลอักษร" มากขึ้น
คิดว่าหลายคนดูละครทั้งสองเรื่องนี้แล้ว อาจนึกสนใจกลบทอื่นๆ นอกเหนือจากนี้บ้าง เพราะจขกท.เองก็กลับไปรื้อค้นตำราเก่าสมัยเรียนม.ปลายเมื่อนานมาแล้ว เกิดหวนนึกถึงวันวานตอนคิดคำหัวแทบแตก จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะแบ่งตำราที่เคยเรียนให้ผู้ที่สนใจความงามและซับซ้อนทางวรรณศิลป์ไทยได้ศึกษากัน
ฉะนั้นจึงขอนำเสนอ "กลบท กลอักษร" ที่ไม่ใช่ "กลบท กลโคลง" ที่ปรากฏในละครทั้งสองเรื่องที่กำลังออนแอร์ เพราะสามารถหาอ่านได้ในกระทู้ "ถอดรหัส “กลบท” จาก กาหลมหรทึก สู่ >> หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" ของคุณ Pooh Of The Hundred Acre Wood
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/37585594
ทั้งนี้ขออ้างอิงจากตำราที่เคยใช้ชื่อ "หลายรสกลบทกลอน" ของ ผศ.ดร. โดม สว่างอารมณ์ ซึ่งเป็นอ.ผู้เปิดโลกกวีให้จขกท. และทำให้กลายเป็นคนชอบด้านภาษาในที่สุด ตำรานี้ได้รวบรวมกลบทเก่าที่อ.ท่านชื่นชอบและฝึกแต่ง และเขียนแนะนำผู้สนใจให้รู้จักกลบทไทยอย่างง่ายๆ แต่ไม่ได้รวมกลบทไทยทั้งหมดเพราะมีเยอะมาก
หวังว่ากระทู้นี้จะไม่สาระหนักเกินไปจนหนีไปกินยาพารากันเสียก่อน ส่วนใครอ่านแล้วนึกสนุกลองฝึกแต่ง สามารถนำแบ่งปันกันอ่านได้นะคะ
มาลับสมองประลองปัญญาไปด้วยกัน !!!
กลอักษร สามารถเลื่อนลงไปอ่านได้ที่ คห. 1 >>>
https://ppantip.com/topic/37607593/comment1
อะไรคือ “กลบท” ?
กลบท คือ กวีนิพนธ์ที่แต่งให้พิสดารล้ำลึกทางภาษาศิลป์มากกว่ากลอนกวีปกติทั่วไป มีบังคับฉันทลักษณ์ตามปกติ แต่จะมีการเล่นคำ เล่นอักษร ซ่อนคำ/ ความหมาย เพิ่มสัมผัส อ่านเดินหน้าถอยหลัง ฯลฯ แล้วแต่คนประพันธ์จะครีเอทกัน เป็นการประลองปัญญาระหว่างผู้ประพันธ์กับผู้อ่าน ซึ่งแบ่งย่อยได้มากมาย แต่สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ “กลบท” และ “กลอักษร” โดยกลบทถือเป็นพื้นฐานในการสร้างกลอักษรอีกที เพราะบางทีมันก็มารวมตัวกันให้ปวดหัวกว่าเดิม
กลบท = การแต่งคำประพันธ์ที่เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และอื่นๆ โดยเล่นคำ เล่นอักษร ให้มีสัมผัสบังคับเพิ่มเติม เพื่อความวิจิตรบรรจงแห่งถ้อยคำ
กลอักษร = การแต่งคำประพันธ์โดยวางอักษรให้เป็นกล ซ่อนคำ ซ่อนวิธีอ่าน ผู้อ่านจะต้องรู้วิธีอ่านก่อน จึงจะถอดคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ ออกได้
1. กลบทใช้คำซ้ำ
กลบทประเภทนี้จะซ้ำคำเพื่อสร้างลักษณะเด่นของภายในวรรค ในวรรคหนึ่งอาจใช้คำซ้ำมากกว่า 1 คู่ แต่ละคู่อาจใช้คำซ้ำให้อยู่ชิดกัน หรือแยกกันก็ได้ ซึ่งมีหลายกลบทที่ใช้วิธีการซ้ำคำ อาทิ กลบทธงนำริ้ว กลบทร้อยรัก กลบทสะบัดสะบิ้ง กลบทอักขระโกศล กลบทหงส์คาบพวงแก้ว
1.1 กลบทธงนำริ้ว เป็นกลบทใช้คำซ้ำ โดยกำหนดให้มีการซ้ำคำคู่แรกของทุกวรรค
บังคับของกลบทธงนำริ้ว >>>
OOO OO OOO
ตัวอย่างกลบทธงนำริ้ว จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.2 กลบทรักร้อย เป็นกลบทใช้คำซ้ำอีกชนิด แต่เปลี่ยนตำแหน่งการซ้ำมาซ้ำคำภายในวรรคแทน โดยจะซ้ำคำท้ายของช่วงแรก และ คำแรกของช่วงกลาง
บังคับของกลบทธงนำริ้ว >>>
OOO OO OOO
ตัวอย่างกลบทรักร้อย จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.3 กลบทสะบัดสะบิ้ง เป็นกลบทใช้คำซ้ำที่สะบัดสะบิ้งสมชื่อ ลักษณะเด่นอยู่ที่ 4 คำท้ายวรรค เพราะจะใช้คำ 4 คำ ของท้ายวรรคทุกวรรคเล่นเสียงล้อกัน และต้องซ้ำคำและมีสัมผัสด้วย โดยใน 4 คำท้ายนั้น จะซ้ำคำในคำที่ 1 และ 3 ส่วนคำที่ 2 และ 4 นั้นเป็นสัมผัสพยัญชนะ และคำที่ 2 ใน 4 คำท้าย จะต้องสัมผัสสระกับคำสุดท้ายของช่วงกลางหรือคำที่ 5 ของวรรค
บังคับของกลบทสะบัดสะบิ้ง >>> สีแดง = คำซ้ำ/ เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสพยัญชนะ/ เส้นสีดำ = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทสะบัดสะบิ้ง จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.4 กลบทอักขระโกศล เป็นกลบทใช้คำซ้ำ โดยวางคำเป็นกลอนเจ็ด จะซ้ำคำที่ 1 และ 3 ในทุกต้นวรรค และมีสัมผัสพยัญชนะอีก 2 คู่ ซึ่งเป็นกลบทลักษณะตรงข้ามกับกลบทสะบัดสะบิ้งที่ซ้ำท้ายวรรค
บังคับของกลบทอักขระโกศล >>> สีแดง = คำซ้ำ/ เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสพยัญชนะ
ตัวอย่างกลบทอักขระโกศล จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
1.5 กลบทหงส์คาบพวงแก้ว เป็นกลบทใช้คำซ้ำ แต่กลบทนี้จะยากขึ้นกว่า 4 กลบทข้างต้นคือ กำหนดให้คำในแต่ละวรรคใช้ 9 คำ โดยมีคำซ้ำ 2 คู่ ในแต่ละวรรค ตำแหน่งที่ใช้คำซ้ำในวรรคคือ คำที่ 3 - 4 และ คำที่ 6 - 7
บังคับของกลบทหงส์คาบพวงแก้ว >>>
OOO OOO OOO
ตัวอย่างกลบทหงส์คาบพวงแก้ว จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
1.6 กลบทฉัตรสามชั้น เป็นกลบทใช้คำซ้ำอีกชนิด ซึ่งมีทั้งแบบวรรคละ 8 คำ และ 9 คำ โดยทุกวรรคจะใช้คำ 3 คำต้นวรรค ซ้ำกับ 3 คำท้ายวรรคโดยอ่านถอยกลับจากคำสุดท้าย อ่านวิธีการแล้วมึนระเบิด ดูผังดีกว่าค่ะ
บังคับของกลบทฉัตรสามชั้น >>>
ตัวอย่างกลบทฉัตรสามชั้น จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
1.7 กลบทกระแตไต่ไม้ เป็นกลบทใช้คำซ้ำเช่นเดียวกับกลบทฉัตรสามชั้นที่อ่านถอยหลัง แต่วิธีการก็ปวดหัวขึ้นมาอีก มีเงื่อนไขดังนี้
1. วรรคที่ 1 ใช้คำซ้ำ 3 คำ ต้นวรรค กับ 3 คำ ท้ายวรรค
2. วรรคที่ 2 ใช้คำซ้ำ 2 คำ ต้นวรรค กับ 2 คำ ท้ายวรรค
3. วรรคที่ 3 ใช้คำซ้ำ 1 คำ ต้นวรรค กับ 1 คำ ท้ายวรรค
4. วรรคที่ 4 ใช้คำซ้ำ 3 คำ ต้นวรรค กับ 3 คำ ท้ายวรรคใหม่อีกรอบหนึ่งเหมือนวรรคที่ 1 และ วรรคที่ 5 ก็ไล่เรียงตามลำดับไป
อ่านวิธีการแล้วก็ยังงงงวย ไม่เป็นไรค่ะ ตามมาดูผังค่ะ
บังคับของกลบทกระแตไต่ไม้ >>>
ตัวอย่างกลบทกระแตไต่ไม้ จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
2. กลบทเล่นพยัญชนะ
กลบทประเภทนี้จะเพิ่มบังคับพยัญชนะ บังคับการซ้ำเสียงพยัญชนะ อาจเป็นการซ้ำพยัญชนะต้นวรรค กลางวรรค หรือท้ายวรรค โดยจะซ้ำพยัญชนะในทุกวรรคหรือทุกบาทตลอดการแต่ง กลบทประเภทนี้ก็มีอยู่มากมายหลายแบบ อาทิ กลบทเบญจวรรณห้าสี กลบทอักษรสลับล้วน กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง ฯลฯ
2.1 กลบทเบญจวรรณห้าสี ลักษณะบังคับในกลบทนี้คือ ในทุกต้นวรรคต้องใช้พยัญชนะเรียงซ้ำติดกัน 5 คำ โดยเลือกใช้พยัญชนะใดก็ได้ ทั้งนี้ลักษณะกลบทที่ใช้บังคับด้วยเสียงพยัญชนะ มักใช้อักษรสูงและอักษรต่ำร่วมกันได้ และพยัญชนะ "ศ ษ ส" ก็ใช้ร่วมกันได้เช่นกัน ดังเช่นตัวอย่างในวรรคที่ 1 และ 2
บังคับกลบทเบญจวรรณห้าสี >>>
OOOOO OOO
ตัวอย่างกลบทเบญจวรรณห้าสี จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (หลวงนายชาญภูเบศร์)
2.2 กลบทอักษรสลับล้วน เป็นกลบทบังคับพยัญชนะ โดยจัดให้ภายในวรรคมีเสียงพยัญชนะซ้ำกันเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 3 คำ และในวรรคจะต้องมีสัมผัสสระอีก 2 คู่ คือระหว่างคำท้ายช่วงที่ 1 กับ คำต้นช่วงที่ 2 และ คำท้ายช่วงที่ 3 กับ คำต้นช่วงที่ 4
บังคับของกลบทอักษรสลับล้วน >>>
ก ก ก ข ข ข ค ค ค
*ขีดเส้นใต้ = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทอักษรสลับล้วน จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
2.3 กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง เป็นกลบทบังคับพยัญชนะที่กำหนดให้ภายในวรรคหนึ่งมี 9 คำ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 3 คำ แต่ 3 คำในช่วงแรกต้องใช้พยัญชนะซ้ำกับ 3 คำในช่วงที่ 2 และ 3 คำสุดท้ายไม่บังคับ
บังคับของกลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง >>> เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทกลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (นายเกต)
3. กลบทบังคับครุ-ลหุ
กลบทประเภทนี้มีลักษณะเด่นที่เสียงหนักเบาสลับกันไป ทำให้บทกลอนมีทำนองสูงต่ำสลับกัน ซึ่งผู้แต่งต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องคำครุ-ลหุ อ.โดม สว่างอารมณ์ ถึงกับเขียนไว้ในตำราว่า "ถ้าผู้แต่งที่ไม่คล่องในเรื่อง ครุ-ลหุ จะแต่งเล่นบ้าง คงพบกับมหันตภัยทางความคิด"
จขกท.ก็คิดว่ามันนรกมากจริงๆ เพราะไม่สันทัดเรื่องครุ-ลหุเอาเสียเลย มันปวดหัวคิดคำไม่ออก และไม่แน่ใจว่ามันครุหรือลหุกันแน่ ฉะนั้นขออธิบายเรื่องคำครุ-ลหุ คร่าวๆ สักนิด เผื่อคนไม่เข้าใจจะได้ตามทัน ทั้งนี้หากใครเชี่ยวชาญเรื่องครุ-ลหุ สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ จะได้เข้ามาแก้ไขให้ถูกต้อง ขอบอกว่าเกลียดมันมาก ครุ-ลหุ เนี่ย
ครุ = เสียงหนัก หลักสังเกต คือ คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ -ำ / ใ- / ไ- / เ-า
หรือ คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดทุกแม่
ลหุ = เสียงเบา หลักสังเกต คือ คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด หรือพยางค์ที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียว เช่น ณ ธ บ่
กลบทตะเข็บไต่ขอน เป็นกลบทที่ใช้บังคับครุ-ลหุ โดยนำพื้นฐานการแต่งฉันท์เข้าประกอบ ซึ่งจะใช้ "ลหุ-ครุ" สลับกันไปตลอดวรรค จำนวน 6 คู่ วรรคหนึ่งจะมี 12 พยางค์ และใช้เสียง "ลหุ" ซึ่งเป็นเสียงเบานำ แล้วใช้เสียง "ครุ" ซึ่งเป็นเสียงหนักตาม
บังคับของกลบทตะเข็บไต่ขอน >>>
ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ
ตัวอย่างกลบทตะเข็บไต่ขอน จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลายรสกลบทกลอน ของ ผศ.ดร. โดม สว่างอารมณ์
เว็บบ้านกลอนน้อย http://www.homelittlegirl.com/index.php?board=40.0
"กลบท กลอักษร" ปัญญากวีไทย
คิดว่าหลายคนดูละครทั้งสองเรื่องนี้แล้ว อาจนึกสนใจกลบทอื่นๆ นอกเหนือจากนี้บ้าง เพราะจขกท.เองก็กลับไปรื้อค้นตำราเก่าสมัยเรียนม.ปลายเมื่อนานมาแล้ว เกิดหวนนึกถึงวันวานตอนคิดคำหัวแทบแตก จึงถือเป็นโอกาสดีที่จะแบ่งตำราที่เคยเรียนให้ผู้ที่สนใจความงามและซับซ้อนทางวรรณศิลป์ไทยได้ศึกษากัน
ฉะนั้นจึงขอนำเสนอ "กลบท กลอักษร" ที่ไม่ใช่ "กลบท กลโคลง" ที่ปรากฏในละครทั้งสองเรื่องที่กำลังออนแอร์ เพราะสามารถหาอ่านได้ในกระทู้ "ถอดรหัส “กลบท” จาก กาหลมหรทึก สู่ >> หนึ่งด้าวฟ้าเดียว" ของคุณ Pooh Of The Hundred Acre Wood [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทั้งนี้ขออ้างอิงจากตำราที่เคยใช้ชื่อ "หลายรสกลบทกลอน" ของ ผศ.ดร. โดม สว่างอารมณ์ ซึ่งเป็นอ.ผู้เปิดโลกกวีให้จขกท. และทำให้กลายเป็นคนชอบด้านภาษาในที่สุด ตำรานี้ได้รวบรวมกลบทเก่าที่อ.ท่านชื่นชอบและฝึกแต่ง และเขียนแนะนำผู้สนใจให้รู้จักกลบทไทยอย่างง่ายๆ แต่ไม่ได้รวมกลบทไทยทั้งหมดเพราะมีเยอะมาก
หวังว่ากระทู้นี้จะไม่สาระหนักเกินไปจนหนีไปกินยาพารากันเสียก่อน ส่วนใครอ่านแล้วนึกสนุกลองฝึกแต่ง สามารถนำแบ่งปันกันอ่านได้นะคะ
มาลับสมองประลองปัญญาไปด้วยกัน !!!
กลอักษร สามารถเลื่อนลงไปอ่านได้ที่ คห. 1 >>> https://ppantip.com/topic/37607593/comment1
อะไรคือ “กลบท” ?
กลบท คือ กวีนิพนธ์ที่แต่งให้พิสดารล้ำลึกทางภาษาศิลป์มากกว่ากลอนกวีปกติทั่วไป มีบังคับฉันทลักษณ์ตามปกติ แต่จะมีการเล่นคำ เล่นอักษร ซ่อนคำ/ ความหมาย เพิ่มสัมผัส อ่านเดินหน้าถอยหลัง ฯลฯ แล้วแต่คนประพันธ์จะครีเอทกัน เป็นการประลองปัญญาระหว่างผู้ประพันธ์กับผู้อ่าน ซึ่งแบ่งย่อยได้มากมาย แต่สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ได้ 2 ประเภท คือ “กลบท” และ “กลอักษร” โดยกลบทถือเป็นพื้นฐานในการสร้างกลอักษรอีกที เพราะบางทีมันก็มารวมตัวกันให้ปวดหัวกว่าเดิม
กลบท = การแต่งคำประพันธ์ที่เป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และอื่นๆ โดยเล่นคำ เล่นอักษร ให้มีสัมผัสบังคับเพิ่มเติม เพื่อความวิจิตรบรรจงแห่งถ้อยคำ
กลอักษร = การแต่งคำประพันธ์โดยวางอักษรให้เป็นกล ซ่อนคำ ซ่อนวิธีอ่าน ผู้อ่านจะต้องรู้วิธีอ่านก่อน จึงจะถอดคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ ออกได้
1. กลบทใช้คำซ้ำ
กลบทประเภทนี้จะซ้ำคำเพื่อสร้างลักษณะเด่นของภายในวรรค ในวรรคหนึ่งอาจใช้คำซ้ำมากกว่า 1 คู่ แต่ละคู่อาจใช้คำซ้ำให้อยู่ชิดกัน หรือแยกกันก็ได้ ซึ่งมีหลายกลบทที่ใช้วิธีการซ้ำคำ อาทิ กลบทธงนำริ้ว กลบทร้อยรัก กลบทสะบัดสะบิ้ง กลบทอักขระโกศล กลบทหงส์คาบพวงแก้ว
1.1 กลบทธงนำริ้ว เป็นกลบทใช้คำซ้ำ โดยกำหนดให้มีการซ้ำคำคู่แรกของทุกวรรค
บังคับของกลบทธงนำริ้ว >>> OOO OO OOO
ตัวอย่างกลบทธงนำริ้ว จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.2 กลบทรักร้อย เป็นกลบทใช้คำซ้ำอีกชนิด แต่เปลี่ยนตำแหน่งการซ้ำมาซ้ำคำภายในวรรคแทน โดยจะซ้ำคำท้ายของช่วงแรก และ คำแรกของช่วงกลาง
บังคับของกลบทธงนำริ้ว >>> OOO OO OOO
ตัวอย่างกลบทรักร้อย จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.3 กลบทสะบัดสะบิ้ง เป็นกลบทใช้คำซ้ำที่สะบัดสะบิ้งสมชื่อ ลักษณะเด่นอยู่ที่ 4 คำท้ายวรรค เพราะจะใช้คำ 4 คำ ของท้ายวรรคทุกวรรคเล่นเสียงล้อกัน และต้องซ้ำคำและมีสัมผัสด้วย โดยใน 4 คำท้ายนั้น จะซ้ำคำในคำที่ 1 และ 3 ส่วนคำที่ 2 และ 4 นั้นเป็นสัมผัสพยัญชนะ และคำที่ 2 ใน 4 คำท้าย จะต้องสัมผัสสระกับคำสุดท้ายของช่วงกลางหรือคำที่ 5 ของวรรค
บังคับของกลบทสะบัดสะบิ้ง >>> สีแดง = คำซ้ำ/ เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสพยัญชนะ/ เส้นสีดำ = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทสะบัดสะบิ้ง จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
1.4 กลบทอักขระโกศล เป็นกลบทใช้คำซ้ำ โดยวางคำเป็นกลอนเจ็ด จะซ้ำคำที่ 1 และ 3 ในทุกต้นวรรค และมีสัมผัสพยัญชนะอีก 2 คู่ ซึ่งเป็นกลบทลักษณะตรงข้ามกับกลบทสะบัดสะบิ้งที่ซ้ำท้ายวรรค
บังคับของกลบทอักขระโกศล >>> สีแดง = คำซ้ำ/ เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสพยัญชนะ
ตัวอย่างกลบทอักขระโกศล จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
1.5 กลบทหงส์คาบพวงแก้ว เป็นกลบทใช้คำซ้ำ แต่กลบทนี้จะยากขึ้นกว่า 4 กลบทข้างต้นคือ กำหนดให้คำในแต่ละวรรคใช้ 9 คำ โดยมีคำซ้ำ 2 คู่ ในแต่ละวรรค ตำแหน่งที่ใช้คำซ้ำในวรรคคือ คำที่ 3 - 4 และ คำที่ 6 - 7
บังคับของกลบทหงส์คาบพวงแก้ว >>> OOO OOO OOO
ตัวอย่างกลบทหงส์คาบพวงแก้ว จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
1.6 กลบทฉัตรสามชั้น เป็นกลบทใช้คำซ้ำอีกชนิด ซึ่งมีทั้งแบบวรรคละ 8 คำ และ 9 คำ โดยทุกวรรคจะใช้คำ 3 คำต้นวรรค ซ้ำกับ 3 คำท้ายวรรคโดยอ่านถอยกลับจากคำสุดท้าย อ่านวิธีการแล้วมึนระเบิด ดูผังดีกว่าค่ะ
บังคับของกลบทฉัตรสามชั้น >>>
ตัวอย่างกลบทฉัตรสามชั้น จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
1.7 กลบทกระแตไต่ไม้ เป็นกลบทใช้คำซ้ำเช่นเดียวกับกลบทฉัตรสามชั้นที่อ่านถอยหลัง แต่วิธีการก็ปวดหัวขึ้นมาอีก มีเงื่อนไขดังนี้
1. วรรคที่ 1 ใช้คำซ้ำ 3 คำ ต้นวรรค กับ 3 คำ ท้ายวรรค
2. วรรคที่ 2 ใช้คำซ้ำ 2 คำ ต้นวรรค กับ 2 คำ ท้ายวรรค
3. วรรคที่ 3 ใช้คำซ้ำ 1 คำ ต้นวรรค กับ 1 คำ ท้ายวรรค
4. วรรคที่ 4 ใช้คำซ้ำ 3 คำ ต้นวรรค กับ 3 คำ ท้ายวรรคใหม่อีกรอบหนึ่งเหมือนวรรคที่ 1 และ วรรคที่ 5 ก็ไล่เรียงตามลำดับไป
อ่านวิธีการแล้วก็ยังงงงวย ไม่เป็นไรค่ะ ตามมาดูผังค่ะ
บังคับของกลบทกระแตไต่ไม้ >>>
ตัวอย่างกลบทกระแตไต่ไม้ จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
2. กลบทเล่นพยัญชนะ
กลบทประเภทนี้จะเพิ่มบังคับพยัญชนะ บังคับการซ้ำเสียงพยัญชนะ อาจเป็นการซ้ำพยัญชนะต้นวรรค กลางวรรค หรือท้ายวรรค โดยจะซ้ำพยัญชนะในทุกวรรคหรือทุกบาทตลอดการแต่ง กลบทประเภทนี้ก็มีอยู่มากมายหลายแบบ อาทิ กลบทเบญจวรรณห้าสี กลบทอักษรสลับล้วน กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง ฯลฯ
2.1 กลบทเบญจวรรณห้าสี ลักษณะบังคับในกลบทนี้คือ ในทุกต้นวรรคต้องใช้พยัญชนะเรียงซ้ำติดกัน 5 คำ โดยเลือกใช้พยัญชนะใดก็ได้ ทั้งนี้ลักษณะกลบทที่ใช้บังคับด้วยเสียงพยัญชนะ มักใช้อักษรสูงและอักษรต่ำร่วมกันได้ และพยัญชนะ "ศ ษ ส" ก็ใช้ร่วมกันได้เช่นกัน ดังเช่นตัวอย่างในวรรคที่ 1 และ 2
บังคับกลบทเบญจวรรณห้าสี >>> OOOOO OOO
ตัวอย่างกลบทเบญจวรรณห้าสี จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (หลวงนายชาญภูเบศร์)
2.2 กลบทอักษรสลับล้วน เป็นกลบทบังคับพยัญชนะ โดยจัดให้ภายในวรรคมีเสียงพยัญชนะซ้ำกันเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 3 คำ และในวรรคจะต้องมีสัมผัสสระอีก 2 คู่ คือระหว่างคำท้ายช่วงที่ 1 กับ คำต้นช่วงที่ 2 และ คำท้ายช่วงที่ 3 กับ คำต้นช่วงที่ 4
บังคับของกลบทอักษรสลับล้วน >>> ก ก ก ข ข ข ค ค ค
*ขีดเส้นใต้ = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทอักษรสลับล้วน จากกลบทศิริวิบุลกิตติ์
2.3 กลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง เป็นกลบทบังคับพยัญชนะที่กำหนดให้ภายในวรรคหนึ่งมี 9 คำ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 3 คำ แต่ 3 คำในช่วงแรกต้องใช้พยัญชนะซ้ำกับ 3 คำในช่วงที่ 2 และ 3 คำสุดท้ายไม่บังคับ
บังคับของกลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง >>> เส้นสีน้ำเงิน = สัมผัสสระ
ตัวอย่างกลบทกลบทละลอกแก้วกระทบฝั่ง จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (นายเกต)
3. กลบทบังคับครุ-ลหุ
กลบทประเภทนี้มีลักษณะเด่นที่เสียงหนักเบาสลับกันไป ทำให้บทกลอนมีทำนองสูงต่ำสลับกัน ซึ่งผู้แต่งต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเรื่องคำครุ-ลหุ อ.โดม สว่างอารมณ์ ถึงกับเขียนไว้ในตำราว่า "ถ้าผู้แต่งที่ไม่คล่องในเรื่อง ครุ-ลหุ จะแต่งเล่นบ้าง คงพบกับมหันตภัยทางความคิด"
จขกท.ก็คิดว่ามันนรกมากจริงๆ เพราะไม่สันทัดเรื่องครุ-ลหุเอาเสียเลย มันปวดหัวคิดคำไม่ออก และไม่แน่ใจว่ามันครุหรือลหุกันแน่ ฉะนั้นขออธิบายเรื่องคำครุ-ลหุ คร่าวๆ สักนิด เผื่อคนไม่เข้าใจจะได้ตามทัน ทั้งนี้หากใครเชี่ยวชาญเรื่องครุ-ลหุ สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้นะคะ จะได้เข้ามาแก้ไขให้ถูกต้อง ขอบอกว่าเกลียดมันมาก ครุ-ลหุ เนี่ย
ครุ = เสียงหนัก หลักสังเกต คือ คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระ -ำ / ใ- / ไ- / เ-า
หรือ คำหรือพยางค์ที่มีตัวสะกดทุกแม่
ลหุ = เสียงเบา หลักสังเกต คือ คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด หรือพยางค์ที่มีพยัญชนะเพียงตัวเดียว เช่น ณ ธ บ่
กลบทตะเข็บไต่ขอน เป็นกลบทที่ใช้บังคับครุ-ลหุ โดยนำพื้นฐานการแต่งฉันท์เข้าประกอบ ซึ่งจะใช้ "ลหุ-ครุ" สลับกันไปตลอดวรรค จำนวน 6 คู่ วรรคหนึ่งจะมี 12 พยางค์ และใช้เสียง "ลหุ" ซึ่งเป็นเสียงเบานำ แล้วใช้เสียง "ครุ" ซึ่งเป็นเสียงหนักตาม
บังคับของกลบทตะเข็บไต่ขอน >>> ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ
ตัวอย่างกลบทตะเข็บไต่ขอน จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้