ในประสบการณ์การดูทีวีอันน้อยนิด คิดว่าไม่เคยมีละครไทยเรื่องไหนนำเสนอเรื่องกลบทมาก่อนเลย จนกระทั่งในเรื่อง “กาหลมหรทึก” ที่กำลังออกอากาศในช่องวัน
ตอนต้นของนิยายเรื่อง “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” ก็มีการกล่าวถึง ตอนที่แมงเม่าเจ้าตัวซนต่อปากต่อคำกับพี่ม่วงซึ่งเป็นพี่ชาย มีกลบทชื่อแปลกหูโผล่มาทักทาย ทำให้จขกท. (เจ้าของกระทู้) เริ่มสนใจเรื่องกลบทไทย
ด้วยความอยากรู้เลยไปค้นหาข้อมูลก่อนว่ากลบทคืออะไร หนึ่งในหนังสือเล่มที่พอจะหาอ่านเกี่ยวกับกลบทได้คือ “จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล” ซึ่งมีเนื้อหาเริ่มตั้งแต่สอนการประสมคำพื้นฐาน และแม่ตัวสะกด เพิ่มระดับภาษาขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงการแต่งกาพย์กลอน เป็นตำราสอนภาษาไทยที่มีตัวอย่างกลอนสอนแม่ตัวสะกด สำนวนน่ารักเหมือนครูมาคุยให้ฟัง ไม่ตรงๆ ทื่อๆ แบบหนังสือวิชาการ
เรื่องกาพย์กลอนเป็นภาษาไทยขั้นสูงแล้ว “กลบท” จึงไปอยู่ท้ายๆ เล่ม จขกท.เลยเพิ่งได้รู้ว่า “กลบท” โดยทั่วไปแล้วก็คือโคลงกลอนที่แต่งตามรูปแบบที่กำหนดนั่นเอง
“กบเต้น”
เจ็บคำ จำคิด จิตรขวย
หลงเชย เลยชม ลมชวย
ดูรวย ด้วยรวน ด่วนร้าว (จินดามณี)
ถ้าอ่านแบบเอาความหมาย ต้องงงเป็นไก่ตาแตกแน่ แต่ถ้าอ่านเอา “รส” จะได้ความรู้สึกเต็มๆ กลบทนี้มีรูปแบบสัมผัสอักษรเป็นคู่ๆ (จ-ค / ล-ช / ด-ร) และกำหนดให้คำที่ติดกันของแต่ละคู่สัมผัสสระกัน (คำ-จำ/คิด-จิตร) จึงมีชื่อว่า “กบเต้น” อ่านแล้ว “รู้สึก” ได้ถึงการ “กระโดด” ไปมาของคำ
“กบเต้นกลางสระ”
หมายชิด มิตรเชือน ไม่เหมือนหมาย
อายจิตร อิดใจ ด้วยได้อาย
นึกหวร นวลหาย แต่ลายนึก (จินดามณี)
กลบทนี้เพิ่มบังคับรูปแบบให้ต้องใช้คำเดียวกันประกบหน้า-หลังในแต่ละวรรค สัมผัสในเหมือนกลบทกบเต้น กลบทนี้จึงมีชื่อว่า “กบเต้นกลางสระ” โดยมีคำบังคับเปรียบเสมือน “สระน้ำ” ที่มาครอบไว้
“ครอบจักรวาฬ”
ขามจิตร คิดข้อหมาง รคางขาม
ความจริงใจ นี่ไฉน จึ่งแหนงความ
ควรจะถาม ไม่ถาม กันตามควร (จินดามณี)
กลบทอีกรูปแบบที่ดูเหมือนจะคล้ายกับข้างบน คือตั้งคำมากั้นไว้หน้า-หลัง ต่างกันตรงที่ในหนึ่งวรรคไม่ได้บังคับให้อักษรหรือสระในวรรคต้องสัมผัสกัน กลบทนี้จึงมีชื่อว่า “ครอบจักรวาฬ”
ข้างบนคือตัวอย่างกลบทแค่บางส่วนจาก “จินดามณี” จะเห็นได้ว่าเป็นการ “โชว์ลีลาภาษาคำประพันธ์” ในรูปแบบกาพย์กลอนตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว ถ้าแต่งกลอนตามรูปแบบนี้ ก็จะกลายเป็นกลบทที่เน้นเรื่องการ “เล่นคำและสัมผัส” ให้ตรงตามรูปแบบ ส่วนความหมายนั้นเป็นผลพลอยได้
ส่วนนี้แหละที่จขกท.คิดว่าการพยายามแปลกลอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติเข้าใจอาจทำได้แค่เพียงผิวเผิน ถึงจะแปลความหมายออกมาได้บางส่วน แต่ยังไงก็ไม่ได้ “รส” ของภาษาที่เกิดการการเล่นคำและเสียงสัมผัส ถ้าจะแปลก็อาจต้องใส่เป็นเสียงคาราโอเกะให้อ่านได้ นับเป็นเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย
กลโคลงปริศนา ภูมิปัญญาไทยที่ใกล้จะถูกลืม
แฟนๆ “กาหลมหรทึก” น่าจะได้เห็นตัวอย่างไปแล้ว นอกจากนักสืบโซเชียลจะได้สนุกกับการเอาใจช่วยตัวละครไขคดี นักเลงภาษายังได้สนุกไปกับการค้นหาภาพกลโคลงที่แทรกอยู่ในเรื่องราว กลโคลงเหล่านี้มีจารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนประดับไว้รอบบริเวณของวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม วัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เห็นแล้วก็ชื่นใจว่ายังมีคนสนใจหยิบเรื่องนี้มาผูกเป็นละครสืบสวนสอบสวนให้ได้ดูกันก่อนจะเลือนหาย
เรื่องภาพกลโคลงแบบต่างๆ พร้อมเฉลย หาอ่านได้ในนี้เลย
http://www.homelittlegirl.com/index.php?topic=7715.0
กลอักษรซ่อนความลับ รหัส Enigma แบบไทยๆ
จุดนี้เองที่ทำให้ “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” แตกต่างจากนิยายพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่นๆ เพิ่มเส้นเรื่องแนวสืบสวนสอบสวนเข้ามาด้วยการใช้กลบท
กลบทชนิดนี้เป็นการเข้ารหัสตัวอักษรให้เป็นข้อความที่รู้กันในกลุ่ม จขกท.ค้นหาตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งกลบทไทสาม ไทหลง ฤาษีแปลงสาร ฯลฯ (คล้ายๆ รหัส enigma ช่วงสงครามโลก) มีใช้ในราชการงานสงคราม พอลองถอดตามจนเข้าใจหลักการแล้ว ก็จะพบว่าไม่ยาก ใช้เป็นแล้ว เอามาเขียนเล่นเป็นข้อความที่คนอื่นอ่านแล้วไม่เข้าใจก็สนุกดี ขอคัดมาให้ดูนิดหน่อยพอเป็นน้ำจิ้ม
กลบท “ฤษีแปลงสาร” น่าจะง่ายที่สุด เพียงแค่กลับตัวอักษรในพยางค์เดียวกันจากหลังมาไว้หน้า
ตัวอย่างกลบทฤษีแปลงสาร
*กอัรษรวณษกลันวล้ งลพเลาพ
อชื่รีษฤงลปแราส บสืว้ไ
ดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกราก ยาลกบลัก
นสห์ท่เห์ล่เบลัห้ใ นาอ่นล้หเนป็เมษกเ
ถอดได้เป็น
อักษรวรลักษณล้วน เพลงพาล
ชื่อฤษรีแปลงสาร สืบไว้
ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ กลายกลับ
สนเท่ห์เล่ห์ลับให้ อ่านเหล้นเป็นเกษม
*ตรงนี้จขกท.มาแก้ไขโจทย์เดิมนิดหน่อยนะคะ ดูจากหลักการโดยรวมแล้ว น่าจะเรียงจากหลังไปหน้า แต่มีบางคำที่เพี้ยนๆ ขอแก้ให้ จะได้ไม่งงเนอะ
กลบท “ไทหลง” ใช้คำแทนตามสูตร ต้องรู้สูตรถึงจะถอดได้ เรียกว่า "สูตรไทหลง" คิดขึ้นโดยพระปิฎกโกสล (อ่วม)
ก == ง ข == ค ฃ == ฅ ฆ == ฌ
จ == ย ฉ == ช ซ == ฒ ญ == ฑ
ฏ == ฐ ฎ == ณ ด == ถ ต == น
ท == บ ธ == ฝ ป == ม ผ == พ
ฟ == ฮ ภ == ฬ ร == ล ว == ส,ศ,ษ
ห == อ
ตัวอย่างกลบทไทหลง
หังวลสลวาลวล้หจ วีวสัวถิ์
สติถาตาลีลันต์ แน่กไส้
จทุรงรโขรกผลัถ เผี้จตนิ
ขืหไบอรกพยกใอ้ หายห้ากเม็ตพร
ถอดออกมาเป็น
อักษรวรสารสร้อย สีสวัสดิ์
วนิดานารีรัตน์ แต่งไว้
ยบุลกลโคลงพรัด เพี้ยนติ
คือไทหลงผจงให้ อาจอ้างเป็นผล
กลบท “ไทนับ ๓”
นับครั้งละ ๓ อักษร แล้วเก็บตัวอักษรออกมาหนึ่งตัว เมื่อหมดแถวก็นับทวนต้นใหม่จนครบอักษรทุกตัวในแถว
เช่น มจ้ไบงทอตนักมบเอัสาเถ แยกตัวอักษรไว้ก่อน --> ม / จ้ / ไ / บ / ง / ท / อ / ต / นั / ก / ม / บ / เ / อั / สา / เ / ถ
นับครั้งที่ ๑ จะได้ตัวอักษร ไทนับสา แล้วเหลืออักษร ๒ ตัว ต้องนับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๒ จะได้ตัวอักษร มบอกแ แล้วเหลือตัวอักษร ๑ ตัว นับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๓ ได้ตัวอักษร จ้งตามอัถ ครบทุกตัวอักษร นำมาเรียงกัน
กลายเป็น --> “ไทนับสามบอกแจ้ง ตามอัถ”
หมายเหตุ: ถ้าอักษรตัวใดมี "สระ -า"ตาม เช่น "สา" ให้นับเป็น ๑ ตัว
ตัวอย่างกลบทไทนับ ๓
มจ้ไบงทอตานักมบเอัสาเถ
ศสาถทุมอกสัดถ้นทีอทัลย
กวัใสสนสาติเร่พเสจ
ยบเงสิ้สสนนาะร้สุสำอนเยทนีซาร
ถอดออกมาเป็น
ไทนับสามบอกแจ้ง ตามอัถ
ถอดทีล(ะ)สามสันทัศ ทุกถ้อย
ในแกสสารสวัส ติพจ
เสนาะสำเนียงสร้อย ซาบสิ้นสุนทร
(จินดามณี)
นอกจากไทนับ ๓ ก็มีไทนับ ๕ ด้วย ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน
ถ้าอยากอ่านเรื่องกลบทเพิ่มเติม ก็จิ้มกงนี้หนา จขกท.คัดมาจากลิงก์นี้ :
http://learnkaweethai.blogspot.com/p/blog-page_15.html
จขกท.ยังแอบไปเจอ
“โคลงอักขระทดเลข” ที่ใช้ “ตัวเลข” แทนสระ ต้องรู้ก่อนว่าเลขไหนแทนสระอะไร จึงจะไขออก (พิมพ์ออกมาให้ดูไม่ได้ เพราะเป็นตัวเลขกับตัวอักษรปนกัน ขออนุญาต crop มาแสดงไว้ตรงนี้ พร้อมระบุแหล่งที่มา)
http://www.sac.or.th/databases/manuscripts/main.php?m=article&p=item&id=35
ถ้าใครสนใจเรื่องกลบทแบบต่างๆ สามารถเข้าไปอ่านได้จากฐานข้อมูลเอกสารตัวจริงในเว็บนี้
http://www.sac.or.th/databases/manuscripts/main.php?m=article&p=blog&page=2
อย่ากระนั้นเลย ก่อนละครจะมา มีของฝากมาให้เล่นกัน เป็นกลบทสามชุดขำๆ เผื่อใครแก้ได้เก่งๆ จะขอตัวไปเป็นจารบุรษ ช่วยราชการงานแผ่นดินนะเจ้าคะ
ใครยังไม่คล่อง แอบกดสปอยล์ดูสูตรได้ ส่วนใครที่คล่องแล้ว ก็ลองเล่นดูได้เลย
ใบ้ให้นิดนึงว่ากลบทแรก (๑) คือ “ฤษีแปลงสาร” กลบทที่สอง (๒) คือ “ไทหลง” ในกลบทที่สอง ถ้าถอดได้แล้วมี Key word ที่เอามาเรียงได้เป็นอีกประโยคหนึ่งซ่อนไว้ ใครหาเจอถือว่าตาดี
ส่วนกลบทที่สาม (๓) พิเศษหน่อย ขอฝากไว้เป็นอภินันทนาการแด่แฟนๆ กาหลมหรทึก กลโคลงรูปแบบนี้น่าจะออกอากาศไปแล้ว คงเดาได้ไม่ยาก ใบ้ให้ว่าชื่อกลโคลงอยู่สูงๆ ส่องแสงวิบวับบนฟ้า
- ๑ -
มลิฉเะรพติรยกีเ
มสจด็เะรพาจ้เกาตนสิาหมชาร
บรคงอสยอร้าห้บสิปี ดยึยาค่ธิ์พโมาสนต้
บอกกู้งรุกรีศายธยุอบลักนคื
เฉลย (๑)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เป็น "ฤษีแปลงสาร" เรียงแต่ละคำกลับหน้ามาหลัง
เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ครบสองร้อยห้าสิบปี ยึดค่ายโพธิ์สามต้น
กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืน
- ๒ -
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ก == ง ข == ค ฃ == ฅ ฆ == ฌ
จ == ย ฉ == ช ซ == ฒ ญ == ฑ
ฏ == ฐ ฎ == ณ ด == ถ ต == น
ท == บ ธ == ฝ ป == ม ผ == พ
ฟ == ฮ ภ == ฬ ร == ล ว == ส, ศ, ษ
ห == อ
ยาลทุลุวพู้ จหปผรี
ตาปส่าหหงผละวลี เหงห้าก
วิแธกเผวคัตบี วืทค่าส บุลฉต
คัตบิตปุ่กปร้าก หลิลาฉ ใตแถต
แหทลังงรั ถหงไส้ เตาตาต
อปาจปิ่กเจาสปารจ์ พ่หกแพ่ส
มหกใธ่โชปวะขลาฑ เขีจกขู่ มัฑฑา
แปกเป่าเมลีจทถสกแง้ส อตึ่กตี้ ตากเถีจก
เฉลย (๒)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จารบุรุษผู้ ยอมพลี
นามว่าออกพระศรีฯ เอกอ้าง
สิแฝงเพศขันที สืบข่าว ทุรชน
ขันทินมุ่งมล้าง อริราช ในแดน
แอบรักกลัดอกไว้ เนานาน
หมายมิ่งเยาวมาลย์ ผ่องแผ้ว
ปองใฝ่โฉมสะคราญ เคียงคู่ ปัญญา
แมงเม่าเปรียบดวงแก้ว หนึ่งนี้ นางเดียว
Keyword ที่ซ่อนไว้อยู่ตรงคำแรกของทุกบาท เรียงออกมาได้ว่า "จารบุรุษนามสิขันทินแอบหมายปองแมงเม่า"
- ๓ -
เฉลย (๓)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คือกลโคลง "ดาวล้อมเดือน" นั่นเอง
ก่อกรรมกรรมทดไว้ เป็นทุน
ก่อทุกข์ทุกข์เพิ่มพูน เดือดร้อน
ก่อบุญบุญนำหนุน แก่ตัว เจ้านา
ก่อเวรเวรสะท้อน แด่ผู้ ที่ทำ
ถอดรหัส “กลบท” จาก กาหลมหรทึก สู่ >> หนึ่งด้าวฟ้าเดียว
ตอนต้นของนิยายเรื่อง “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” ก็มีการกล่าวถึง ตอนที่แมงเม่าเจ้าตัวซนต่อปากต่อคำกับพี่ม่วงซึ่งเป็นพี่ชาย มีกลบทชื่อแปลกหูโผล่มาทักทาย ทำให้จขกท. (เจ้าของกระทู้) เริ่มสนใจเรื่องกลบทไทย
ด้วยความอยากรู้เลยไปค้นหาข้อมูลก่อนว่ากลบทคืออะไร หนึ่งในหนังสือเล่มที่พอจะหาอ่านเกี่ยวกับกลบทได้คือ “จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล” ซึ่งมีเนื้อหาเริ่มตั้งแต่สอนการประสมคำพื้นฐาน และแม่ตัวสะกด เพิ่มระดับภาษาขึ้นเรื่อยๆ จนไปถึงการแต่งกาพย์กลอน เป็นตำราสอนภาษาไทยที่มีตัวอย่างกลอนสอนแม่ตัวสะกด สำนวนน่ารักเหมือนครูมาคุยให้ฟัง ไม่ตรงๆ ทื่อๆ แบบหนังสือวิชาการ
เรื่องกาพย์กลอนเป็นภาษาไทยขั้นสูงแล้ว “กลบท” จึงไปอยู่ท้ายๆ เล่ม จขกท.เลยเพิ่งได้รู้ว่า “กลบท” โดยทั่วไปแล้วก็คือโคลงกลอนที่แต่งตามรูปแบบที่กำหนดนั่นเอง
“กบเต้น”
เจ็บคำ จำคิด จิตรขวย
หลงเชย เลยชม ลมชวย
ดูรวย ด้วยรวน ด่วนร้าว (จินดามณี)
ถ้าอ่านแบบเอาความหมาย ต้องงงเป็นไก่ตาแตกแน่ แต่ถ้าอ่านเอา “รส” จะได้ความรู้สึกเต็มๆ กลบทนี้มีรูปแบบสัมผัสอักษรเป็นคู่ๆ (จ-ค / ล-ช / ด-ร) และกำหนดให้คำที่ติดกันของแต่ละคู่สัมผัสสระกัน (คำ-จำ/คิด-จิตร) จึงมีชื่อว่า “กบเต้น” อ่านแล้ว “รู้สึก” ได้ถึงการ “กระโดด” ไปมาของคำ
“กบเต้นกลางสระ”
หมายชิด มิตรเชือน ไม่เหมือนหมาย
อายจิตร อิดใจ ด้วยได้อาย
นึกหวร นวลหาย แต่ลายนึก (จินดามณี)
กลบทนี้เพิ่มบังคับรูปแบบให้ต้องใช้คำเดียวกันประกบหน้า-หลังในแต่ละวรรค สัมผัสในเหมือนกลบทกบเต้น กลบทนี้จึงมีชื่อว่า “กบเต้นกลางสระ” โดยมีคำบังคับเปรียบเสมือน “สระน้ำ” ที่มาครอบไว้
“ครอบจักรวาฬ”
ขามจิตร คิดข้อหมาง รคางขาม
ความจริงใจ นี่ไฉน จึ่งแหนงความ
ควรจะถาม ไม่ถาม กันตามควร (จินดามณี)
กลบทอีกรูปแบบที่ดูเหมือนจะคล้ายกับข้างบน คือตั้งคำมากั้นไว้หน้า-หลัง ต่างกันตรงที่ในหนึ่งวรรคไม่ได้บังคับให้อักษรหรือสระในวรรคต้องสัมผัสกัน กลบทนี้จึงมีชื่อว่า “ครอบจักรวาฬ”
ข้างบนคือตัวอย่างกลบทแค่บางส่วนจาก “จินดามณี” จะเห็นได้ว่าเป็นการ “โชว์ลีลาภาษาคำประพันธ์” ในรูปแบบกาพย์กลอนตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว ถ้าแต่งกลอนตามรูปแบบนี้ ก็จะกลายเป็นกลบทที่เน้นเรื่องการ “เล่นคำและสัมผัส” ให้ตรงตามรูปแบบ ส่วนความหมายนั้นเป็นผลพลอยได้
ส่วนนี้แหละที่จขกท.คิดว่าการพยายามแปลกลอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติเข้าใจอาจทำได้แค่เพียงผิวเผิน ถึงจะแปลความหมายออกมาได้บางส่วน แต่ยังไงก็ไม่ได้ “รส” ของภาษาที่เกิดการการเล่นคำและเสียงสัมผัส ถ้าจะแปลก็อาจต้องใส่เป็นเสียงคาราโอเกะให้อ่านได้ นับเป็นเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย
กลโคลงปริศนา ภูมิปัญญาไทยที่ใกล้จะถูกลืม
แฟนๆ “กาหลมหรทึก” น่าจะได้เห็นตัวอย่างไปแล้ว นอกจากนักสืบโซเชียลจะได้สนุกกับการเอาใจช่วยตัวละครไขคดี นักเลงภาษายังได้สนุกไปกับการค้นหาภาพกลโคลงที่แทรกอยู่ในเรื่องราว กลโคลงเหล่านี้มีจารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนประดับไว้รอบบริเวณของวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม วัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เห็นแล้วก็ชื่นใจว่ายังมีคนสนใจหยิบเรื่องนี้มาผูกเป็นละครสืบสวนสอบสวนให้ได้ดูกันก่อนจะเลือนหาย
เรื่องภาพกลโคลงแบบต่างๆ พร้อมเฉลย หาอ่านได้ในนี้เลย http://www.homelittlegirl.com/index.php?topic=7715.0
กลอักษรซ่อนความลับ รหัส Enigma แบบไทยๆ
จุดนี้เองที่ทำให้ “หนึ่งด้าวฟ้าเดียว” แตกต่างจากนิยายพีเรียดอิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่นๆ เพิ่มเส้นเรื่องแนวสืบสวนสอบสวนเข้ามาด้วยการใช้กลบท
กลบทชนิดนี้เป็นการเข้ารหัสตัวอักษรให้เป็นข้อความที่รู้กันในกลุ่ม จขกท.ค้นหาตามแหล่งข้อมูลต่างๆ ไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งกลบทไทสาม ไทหลง ฤาษีแปลงสาร ฯลฯ (คล้ายๆ รหัส enigma ช่วงสงครามโลก) มีใช้ในราชการงานสงคราม พอลองถอดตามจนเข้าใจหลักการแล้ว ก็จะพบว่าไม่ยาก ใช้เป็นแล้ว เอามาเขียนเล่นเป็นข้อความที่คนอื่นอ่านแล้วไม่เข้าใจก็สนุกดี ขอคัดมาให้ดูนิดหน่อยพอเป็นน้ำจิ้ม
กลบท “ฤษีแปลงสาร” น่าจะง่ายที่สุด เพียงแค่กลับตัวอักษรในพยางค์เดียวกันจากหลังมาไว้หน้า
ตัวอย่างกลบทฤษีแปลงสาร
*กอัรษรวณษกลันวล้ งลพเลาพ
อชื่รีษฤงลปแราส บสืว้ไ
ดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกราก ยาลกบลัก
นสห์ท่เห์ล่เบลัห้ใ นาอ่นล้หเนป็เมษกเ
ถอดได้เป็น
อักษรวรลักษณล้วน เพลงพาล
ชื่อฤษรีแปลงสาร สืบไว้
ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ กลายกลับ
สนเท่ห์เล่ห์ลับให้ อ่านเหล้นเป็นเกษม
*ตรงนี้จขกท.มาแก้ไขโจทย์เดิมนิดหน่อยนะคะ ดูจากหลักการโดยรวมแล้ว น่าจะเรียงจากหลังไปหน้า แต่มีบางคำที่เพี้ยนๆ ขอแก้ให้ จะได้ไม่งงเนอะ
กลบท “ไทหลง” ใช้คำแทนตามสูตร ต้องรู้สูตรถึงจะถอดได้ เรียกว่า "สูตรไทหลง" คิดขึ้นโดยพระปิฎกโกสล (อ่วม)
ก == ง ข == ค ฃ == ฅ ฆ == ฌ
จ == ย ฉ == ช ซ == ฒ ญ == ฑ
ฏ == ฐ ฎ == ณ ด == ถ ต == น
ท == บ ธ == ฝ ป == ม ผ == พ
ฟ == ฮ ภ == ฬ ร == ล ว == ส,ศ,ษ
ห == อ
ตัวอย่างกลบทไทหลง
หังวลสลวาลวล้หจ วีวสัวถิ์
สติถาตาลีลันต์ แน่กไส้
จทุรงรโขรกผลัถ เผี้จตนิ
ขืหไบอรกพยกใอ้ หายห้ากเม็ตพร
ถอดออกมาเป็น
อักษรวรสารสร้อย สีสวัสดิ์
วนิดานารีรัตน์ แต่งไว้
ยบุลกลโคลงพรัด เพี้ยนติ
คือไทหลงผจงให้ อาจอ้างเป็นผล
กลบท “ไทนับ ๓”
นับครั้งละ ๓ อักษร แล้วเก็บตัวอักษรออกมาหนึ่งตัว เมื่อหมดแถวก็นับทวนต้นใหม่จนครบอักษรทุกตัวในแถว
เช่น มจ้ไบงทอตนักมบเอัสาเถ แยกตัวอักษรไว้ก่อน --> ม / จ้ / ไ / บ / ง / ท / อ / ต / นั / ก / ม / บ / เ / อั / สา / เ / ถ
นับครั้งที่ ๑ จะได้ตัวอักษร ไทนับสา แล้วเหลืออักษร ๒ ตัว ต้องนับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๒ จะได้ตัวอักษร มบอกแ แล้วเหลือตัวอักษร ๑ ตัว นับรวมแล้วตั้งต้นใหม่
นับครั้งที่ ๓ ได้ตัวอักษร จ้งตามอัถ ครบทุกตัวอักษร นำมาเรียงกัน
กลายเป็น --> “ไทนับสามบอกแจ้ง ตามอัถ”
หมายเหตุ: ถ้าอักษรตัวใดมี "สระ -า"ตาม เช่น "สา" ให้นับเป็น ๑ ตัว
ตัวอย่างกลบทไทนับ ๓
มจ้ไบงทอตานักมบเอัสาเถ
ศสาถทุมอกสัดถ้นทีอทัลย
กวัใสสนสาติเร่พเสจ
ยบเงสิ้สสนนาะร้สุสำอนเยทนีซาร
ถอดออกมาเป็น
ไทนับสามบอกแจ้ง ตามอัถ
ถอดทีล(ะ)สามสันทัศ ทุกถ้อย
ในแกสสารสวัส ติพจ
เสนาะสำเนียงสร้อย ซาบสิ้นสุนทร
(จินดามณี)
นอกจากไทนับ ๓ ก็มีไทนับ ๕ ด้วย ซึ่งใช้หลักการเดียวกัน
ถ้าอยากอ่านเรื่องกลบทเพิ่มเติม ก็จิ้มกงนี้หนา จขกท.คัดมาจากลิงก์นี้ : http://learnkaweethai.blogspot.com/p/blog-page_15.html
จขกท.ยังแอบไปเจอ “โคลงอักขระทดเลข” ที่ใช้ “ตัวเลข” แทนสระ ต้องรู้ก่อนว่าเลขไหนแทนสระอะไร จึงจะไขออก (พิมพ์ออกมาให้ดูไม่ได้ เพราะเป็นตัวเลขกับตัวอักษรปนกัน ขออนุญาต crop มาแสดงไว้ตรงนี้ พร้อมระบุแหล่งที่มา)
http://www.sac.or.th/databases/manuscripts/main.php?m=article&p=item&id=35
ถ้าใครสนใจเรื่องกลบทแบบต่างๆ สามารถเข้าไปอ่านได้จากฐานข้อมูลเอกสารตัวจริงในเว็บนี้ http://www.sac.or.th/databases/manuscripts/main.php?m=article&p=blog&page=2
อย่ากระนั้นเลย ก่อนละครจะมา มีของฝากมาให้เล่นกัน เป็นกลบทสามชุดขำๆ เผื่อใครแก้ได้เก่งๆ จะขอตัวไปเป็นจารบุรษ ช่วยราชการงานแผ่นดินนะเจ้าคะ
ใครยังไม่คล่อง แอบกดสปอยล์ดูสูตรได้ ส่วนใครที่คล่องแล้ว ก็ลองเล่นดูได้เลย
ใบ้ให้นิดนึงว่ากลบทแรก (๑) คือ “ฤษีแปลงสาร” กลบทที่สอง (๒) คือ “ไทหลง” ในกลบทที่สอง ถ้าถอดได้แล้วมี Key word ที่เอามาเรียงได้เป็นอีกประโยคหนึ่งซ่อนไว้ ใครหาเจอถือว่าตาดี
ส่วนกลบทที่สาม (๓) พิเศษหน่อย ขอฝากไว้เป็นอภินันทนาการแด่แฟนๆ กาหลมหรทึก กลโคลงรูปแบบนี้น่าจะออกอากาศไปแล้ว คงเดาได้ไม่ยาก ใบ้ให้ว่าชื่อกลโคลงอยู่สูงๆ ส่องแสงวิบวับบนฟ้า
มลิฉเะรพติรยกีเ
มสจด็เะรพาจ้เกาตนสิาหมชาร
บรคงอสยอร้าห้บสิปี ดยึยาค่ธิ์พโมาสนต้
บอกกู้งรุกรีศายธยุอบลักนคื
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยาลทุลุวพู้ จหปผรี
ตาปส่าหหงผละวลี เหงห้าก
วิแธกเผวคัตบี วืทค่าส บุลฉต
คัตบิตปุ่กปร้าก หลิลาฉ ใตแถต
แหทลังงรั ถหงไส้ เตาตาต
อปาจปิ่กเจาสปารจ์ พ่หกแพ่ส
มหกใธ่โชปวะขลาฑ เขีจกขู่ มัฑฑา
แปกเป่าเมลีจทถสกแง้ส อตึ่กตี้ ตากเถีจก
เฉลย (๒)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เฉลย (๓)