การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า "บางบัว" เป็น "ศรีปทุม" ระบุเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยรอบ ไม่เกี่ยวเอื้อประโยชน์เอกชน เผย ที่ผ่านมาเคยเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้ามาแล้วหลายแห่ง
จากกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ร่วมกับชาวชุมชนบางบัว เข้ายื่นหนังสือต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ตั้งกรรมการสอบผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีบางบัว เป็นสถานีศรีปทุม เป็นการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจแก่เอกชนนั้น
ล่าสุด (26 เมษายน 2561) มีรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า ดังนี้
1. การตั้งชื่อสถานีจะพิจารณาจากที่มาของชื่อ และความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับย่านพื้นที่ซึ่งเป็นที่นิยมหรือคุ้นเคยของประชาชน ไม่เจาะจงเฉพาะชื่อ ถนน หมู่บ้าน ชุมชน ซอย หรือหน่วยงานราชการเท่านั้น เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้แก่ สถานีเมืองทองธานี สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสินแพทย์ และสถานีนพรัตน์
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถานีสัมมากร
2. ในระหว่างการออกแบบ ก่อสร้าง รฟม. อาจจะพิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อสถานีตามความเหมาะสมหรือตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ร้องขอได้ ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. ได้เคยเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้ามาแล้วหลายแห่ง เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีการเปลี่ยนจาก สถานีสมุทรปราการ เป็น สถานีปากน้ำ
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค มีการเปลี่ยนจาก สถานีวังบูรพา เป็น สถานีสามยอด
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน มีการเปลี่ยนจาก สถานีศรีพรสวรรค์ เป็น สถานีบางกระสอ
ทั้งนี้ รฟม. ได้นำแนวทางหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาตั้งชื่อสถานีศรีปทุม เพราะคำว่า "ศรีปทุม" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "ดอกบัวอันเป็นสิริมงคล" ซึ่งเป็นความหมายที่ดีและเป็นนามมงคล อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับชื่อของชุมชนในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย จึงเห็นว่าชื่อ "สถานีศรีปทุม" มีความเหมาะสมแล้ว
ภาพจาก spu.ac.th
ภาพและข้อมูลจาก workpointnews kapook
ฟังขึ้นไหม รฟม. แจงเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้า "บางบัว" เป็น "ศรีปทุม"
จากกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ร่วมกับชาวชุมชนบางบัว เข้ายื่นหนังสือต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ตั้งกรรมการสอบผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จากสถานีบางบัว เป็นสถานีศรีปทุม เป็นการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจแก่เอกชนนั้น
ล่าสุด (26 เมษายน 2561) มีรายงานว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตั้งชื่อสถานีรถไฟฟ้า ดังนี้
1. การตั้งชื่อสถานีจะพิจารณาจากที่มาของชื่อ และความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับย่านพื้นที่ซึ่งเป็นที่นิยมหรือคุ้นเคยของประชาชน ไม่เจาะจงเฉพาะชื่อ ถนน หมู่บ้าน ชุมชน ซอย หรือหน่วยงานราชการเท่านั้น เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ได้แก่ สถานีเมืองทองธานี สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสินแพทย์ และสถานีนพรัตน์
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสถานีสัมมากร
2. ในระหว่างการออกแบบ ก่อสร้าง รฟม. อาจจะพิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อสถานีตามความเหมาะสมหรือตามที่หน่วยงานต่าง ๆ ร้องขอได้ ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. ได้เคยเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้ามาแล้วหลายแห่ง เช่น
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีการเปลี่ยนจาก สถานีสมุทรปราการ เป็น สถานีปากน้ำ
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค มีการเปลี่ยนจาก สถานีวังบูรพา เป็น สถานีสามยอด
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน มีการเปลี่ยนจาก สถานีศรีพรสวรรค์ เป็น สถานีบางกระสอ
ทั้งนี้ รฟม. ได้นำแนวทางหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาตั้งชื่อสถานีศรีปทุม เพราะคำว่า "ศรีปทุม" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "ดอกบัวอันเป็นสิริมงคล" ซึ่งเป็นความหมายที่ดีและเป็นนามมงคล อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับชื่อของชุมชนในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย จึงเห็นว่าชื่อ "สถานีศรีปทุม" มีความเหมาะสมแล้ว
ภาพจาก spu.ac.th
ภาพและข้อมูลจาก workpointnews kapook