บทว่า " อสุตวา ผู้มิได้สดับ" ได้แก่ ผู้เว้นจากการเรียน
การสอบถามและการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ
อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐานเป็นต้น .
บทว่า " ปุถุชฺชโน ปุถุชน" ได้แก่ ชื่อว่าปุถุชน
เพราะเหตุที่ยังกิเลสมากนานัปการเป็นต้นให้เกิด.
จริงอยู่ ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด.
ข้อความทั้งปวงนั้น ควรทำให้พิสดาร.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในของพวกชนจำนวนมาก
คือนับไม่ได้ หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ
อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้ชื่อว่าปุถุ เพราะถึงการนับไว้แผนกหนึ่งทีเดียว
ชื่อว่าชน เพราะแยกจาก พระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น
ฉะนั้น จึงชื่อว่าปุถุชน.ด้วยบททั้งสอง คือ อสุตวา ปุถุชฺชโน ดังกล่าวแล้วนี้นั้น
ท่านถือเอาอันธปุถุชน ในจำนวนปุถุชน ๒ จำพวก
ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ตรัสไว้ว่า ปุถุชนมี ๒ จำพวก
คืออันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.
ด้วยบทว่า อิมสฺมึ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
กายที่เห็น ประจักษ์อยู่ในปัจจุบัน.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺมึ แปลว่า
ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔.
อธิบายว่า บังเกิดแต่มหาภูตรูป ๔
ชื่อว่าสำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔.
บทว่า นิพฺพินฺเทยฺย แปลว่า พึงหน่าย.
บทว่า วิรชฺเชยฺย. แปลว่า ไม่พึงยินดี.
บทว่า วิมุจฺเจยฺย แปลว่า พึงเป็นผู้ใคร่จะพ้น.
บทว่า อาจโย แปลว่า ความเจริญ.
บทว่า อปจโยแปลว่า ความเสื่อม.
บทว่า อาทานํ แปลว่า การบังเกิด.
บทว่านิกฺเขปนํ แปลว่า ความแตกสลาย.
บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่มหาภูตรูป ๔ เหล่านี้
ย่อมปรากฏ เพราะมีความเจริญ ความเสื่อม ความบังเกิด และความแตกสลาย.
อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำรูปที่
มิได้ประกอบ (ในการ) เ
พื่อกำหนดรูปในกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔
แล้วทรงกระทำรูปที่ประกอบแล้วในกาย เพื่อกำหนดว่า ไม่มีรูป.
เพราะเหตุไร.
เพราะว่าการถือมั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้น
มีกำลังเกินประมาณ. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่การถือ
มั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นรูปที่ไม่ควรกำหนด เมื่อจะทรงนำออก
จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อทรงตั้งไว้ในความไม่มีรูป.
ปุถุชน เพราะยังกิเลสหนา
การสอบถามและการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ
อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐานเป็นต้น .
บทว่า " ปุถุชฺชโน ปุถุชน" ได้แก่ ชื่อว่าปุถุชน
เพราะเหตุที่ยังกิเลสมากนานัปการเป็นต้นให้เกิด.
จริงอยู่ ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่าปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด.
ข้อความทั้งปวงนั้น ควรทำให้พิสดาร.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในของพวกชนจำนวนมาก
คือนับไม่ได้ หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ
อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้ชื่อว่าปุถุ เพราะถึงการนับไว้แผนกหนึ่งทีเดียว
ชื่อว่าชน เพราะแยกจาก พระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น
ฉะนั้น จึงชื่อว่าปุถุชน.ด้วยบททั้งสอง คือ อสุตวา ปุถุชฺชโน ดังกล่าวแล้วนี้นั้น
ท่านถือเอาอันธปุถุชน ในจำนวนปุถุชน ๒ จำพวก
ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ตรัสไว้ว่า ปุถุชนมี ๒ จำพวก
คืออันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.
ด้วยบทว่า อิมสฺมึ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
กายที่เห็น ประจักษ์อยู่ในปัจจุบัน.
บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺมึ แปลว่า
ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔.
อธิบายว่า บังเกิดแต่มหาภูตรูป ๔
ชื่อว่าสำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔.
บทว่า นิพฺพินฺเทยฺย แปลว่า พึงหน่าย.
บทว่า วิรชฺเชยฺย. แปลว่า ไม่พึงยินดี.
บทว่า วิมุจฺเจยฺย แปลว่า พึงเป็นผู้ใคร่จะพ้น.
บทว่า อาจโย แปลว่า ความเจริญ.
บทว่า อปจโยแปลว่า ความเสื่อม.
บทว่า อาทานํ แปลว่า การบังเกิด.
บทว่านิกฺเขปนํ แปลว่า ความแตกสลาย.
บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่มหาภูตรูป ๔ เหล่านี้
ย่อมปรากฏ เพราะมีความเจริญ ความเสื่อม ความบังเกิด และความแตกสลาย.
อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำรูปที่
มิได้ประกอบ (ในการ) เพื่อกำหนดรูปในกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔
แล้วทรงกระทำรูปที่ประกอบแล้วในกาย เพื่อกำหนดว่า ไม่มีรูป.
เพราะเหตุไร.
เพราะว่าการถือมั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้น
มีกำลังเกินประมาณ. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่การถือ
มั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นรูปที่ไม่ควรกำหนด เมื่อจะทรงนำออก
จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อทรงตั้งไว้ในความไม่มีรูป.