หญิงนางโลม คณิกา หรือไม่ว่าจะใช้คำไหนเรียกก็ตามที เป็นอาชีพหนึ่งในอาณาจักรโชซอนที่มีมานานหลายร้อยปี โดยเรียกกันว่า “กีแซง” (기생 : 妓生) ตามประวัติศาสตร์ว่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โครยอ (ค.ศ.918-ค.ศ.1392) เลยทีเดียว
ในสังคมสมัยโชซอน แบ่งชนชั้นไว้ด้วยกันทั้งหมด 4 ชนชั้น คือ ยังบัน ชนชั้นสูง , จุงอิน ชนชั้นกลาง , ซังมิน ชนชั้นสามัญ และ ชอนมิน ชนชั้นต่ำ โดยกีแซง จัดอยู่ในชนชั้นซอนมิน ร่วมกันกับทาส กรรมกร คนฆ่าสัตว์ หมอดู ร่างทรง
กีแซง จึงเป็นอาชีพที่ตกทอดมาโดยชาติกำเนิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ นักโทษทางการที่ถูกขายเข้าหอนางโลมก็ต้องอยู่ในชนชั้นนี้ไปชั่วลูกชั่วหลาน
การศึกษาเล่าเรียนของกีแซง เริ่มต้นตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยเรียนดนตรีคีตศิลป์ การเขียนพู่กัน การระบำ วรรณคดี การเย็บปักถักร้อย หรือแม้กระทั่งวิชาการแพทย์ เพื่อเตรียมตัวบำเรอเหล่าแขกในหอนางโลมหรือในงานสังสรรค์ของผู้ว่าจ้างที่เป็นชนชั้นสูง
เมื่อถึงวัยอันควรก็จะมีการ “รับแขก” ครั้งแรก ซึ่งถือเป็นพิธีอย่างหนึ่งของกีแซง หากผ่านการรับแขกครั้งแรกแล้ว ก็จะถือว่าเป็นกีแซงอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถสวมวิกผมคาเช (가체 : 加髢) ได้แล้ว
การแต่งงานของกีแซง มีกฎอยู่ว่า หากแต่งงานกับขุนนาง จะเป็นได้แต่เพียงอนุภรรยา ยอกเสียจากจะแต่งงานกับชนชั้นชอนมินเหมือนกัน โดยสถานภาพนี้จะตกสู่ลูกหลาน แม้สามีจะเป็นขุนนางชั้นยังบัน แต่บุตรที่เกิดจะเป็นได้เพียงชอนมิน นี่เป็นกฎที่ไม่มีผู้ใดละเมิดได้ ยกเว้นสตรี 2 นาง คือ จางนกซู (장녹수) พระสนมซุกยงในองค์ชายยอนซัน พระราชาผู้เหลวแหลก และชองนานจอง (정난정) สตรีผู้เฉลียวฉลาด อนุภรรยาของยุนวอนฮยอง ที่ช่วยสมเด็จพระมเหสีมุนจองจนได้รับแต่งตั้งเป็น จองคยองบูอิน ฮูหยินระดับ 1 ขั้นเอก
ชองนานจอง
รัชสมัยองค์ชายยอนซัน เคยถึงขนาดสั่งการให้แพทย์หญิง (의녀 : 女医) ในสำนักแพทย์หลวงแนอึยวอน (내의원 : 内医院) ซึ่งถือเป็นชนชั้นต่ำในสังคมสมัยนั้นเช่นกัน ต้องทำหน้าที่เป็นหญิงนางโลมด้วย จึงเกิดเป็นคำว่า “กีแซงแห่งโรงหมอ” (약방기생 : 药方妓生) ขึ้นมา
องค์ชายยอนซันและพระสนมจางนกซู
กีแซงในแต่ละพื้นที่ของอาณาจักรโชซอน มีจุดเด่นต่างกัน เช่น กีแซงในเมืองจินจู เชี่ยวชาญการรำกระบี่ , กีแซงในเมืองเจจู ขึ้นชื่อวิชาการขี่ม้า กีแซงในเมืองจอนลา ถนัดการแสดงพื้นบ้านที่ชื่อว่า พันโซรี (판소리 : 盘索里)
การแสดงพันโซรี
กีแซงที่มีชื่อเสียง เช่น ฮวางจินอี (황진이 : 黄真伊) กีแซงผู้เป็นกวีเลื่องชื่อแห่งสมัยพระเจ้าจุงจง , อีแมชัง (이매창 : 李梅窻) กีแซงและกวีดังสมัยพระเจ้าซอนโจ
[ประวัติศาสตร์เกาหลี] หญิงนางโลมสมัยโชซอน
ในสังคมสมัยโชซอน แบ่งชนชั้นไว้ด้วยกันทั้งหมด 4 ชนชั้น คือ ยังบัน ชนชั้นสูง , จุงอิน ชนชั้นกลาง , ซังมิน ชนชั้นสามัญ และ ชอนมิน ชนชั้นต่ำ โดยกีแซง จัดอยู่ในชนชั้นซอนมิน ร่วมกันกับทาส กรรมกร คนฆ่าสัตว์ หมอดู ร่างทรง
กีแซง จึงเป็นอาชีพที่ตกทอดมาโดยชาติกำเนิด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ นักโทษทางการที่ถูกขายเข้าหอนางโลมก็ต้องอยู่ในชนชั้นนี้ไปชั่วลูกชั่วหลาน
การศึกษาเล่าเรียนของกีแซง เริ่มต้นตั้งแต่อายุน้อยๆ โดยเรียนดนตรีคีตศิลป์ การเขียนพู่กัน การระบำ วรรณคดี การเย็บปักถักร้อย หรือแม้กระทั่งวิชาการแพทย์ เพื่อเตรียมตัวบำเรอเหล่าแขกในหอนางโลมหรือในงานสังสรรค์ของผู้ว่าจ้างที่เป็นชนชั้นสูง
เมื่อถึงวัยอันควรก็จะมีการ “รับแขก” ครั้งแรก ซึ่งถือเป็นพิธีอย่างหนึ่งของกีแซง หากผ่านการรับแขกครั้งแรกแล้ว ก็จะถือว่าเป็นกีแซงอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถสวมวิกผมคาเช (가체 : 加髢) ได้แล้ว
การแต่งงานของกีแซง มีกฎอยู่ว่า หากแต่งงานกับขุนนาง จะเป็นได้แต่เพียงอนุภรรยา ยอกเสียจากจะแต่งงานกับชนชั้นชอนมินเหมือนกัน โดยสถานภาพนี้จะตกสู่ลูกหลาน แม้สามีจะเป็นขุนนางชั้นยังบัน แต่บุตรที่เกิดจะเป็นได้เพียงชอนมิน นี่เป็นกฎที่ไม่มีผู้ใดละเมิดได้ ยกเว้นสตรี 2 นาง คือ จางนกซู (장녹수) พระสนมซุกยงในองค์ชายยอนซัน พระราชาผู้เหลวแหลก และชองนานจอง (정난정) สตรีผู้เฉลียวฉลาด อนุภรรยาของยุนวอนฮยอง ที่ช่วยสมเด็จพระมเหสีมุนจองจนได้รับแต่งตั้งเป็น จองคยองบูอิน ฮูหยินระดับ 1 ขั้นเอก
รัชสมัยองค์ชายยอนซัน เคยถึงขนาดสั่งการให้แพทย์หญิง (의녀 : 女医) ในสำนักแพทย์หลวงแนอึยวอน (내의원 : 内医院) ซึ่งถือเป็นชนชั้นต่ำในสังคมสมัยนั้นเช่นกัน ต้องทำหน้าที่เป็นหญิงนางโลมด้วย จึงเกิดเป็นคำว่า “กีแซงแห่งโรงหมอ” (약방기생 : 药方妓生) ขึ้นมา
กีแซงในแต่ละพื้นที่ของอาณาจักรโชซอน มีจุดเด่นต่างกัน เช่น กีแซงในเมืองจินจู เชี่ยวชาญการรำกระบี่ , กีแซงในเมืองเจจู ขึ้นชื่อวิชาการขี่ม้า กีแซงในเมืองจอนลา ถนัดการแสดงพื้นบ้านที่ชื่อว่า พันโซรี (판소리 : 盘索里)
กีแซงที่มีชื่อเสียง เช่น ฮวางจินอี (황진이 : 黄真伊) กีแซงผู้เป็นกวีเลื่องชื่อแห่งสมัยพระเจ้าจุงจง , อีแมชัง (이매창 : 李梅窻) กีแซงและกวีดังสมัยพระเจ้าซอนโจ