เช่นเดียวกับในราชสำนักสยามที่แบ่งสตรีออกเป็นฝ่ายในและฝ่ายหน้า ในราชสำนักโชซอน เรียกเป็น “แน-มยองบู” (내명부 : 內命婦) และ “อึยมยองบู” (외명부 : 外命婦) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การแบ่งส่วนจะไม่เหมือนกับราชสำนักสยามเสียเลยทีเดียว
แน-มยองบู เป็นเสมือนหน่วยงานหนึ่งภายในราชสำนักโชซอน หมายถึงเหล่าสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในพระราชวัง ตั้งแต่สมเด็จพระอัยยิกา สมเด็จพระพันปี สมเด็จพระมเหสี พระชายารัชทายาท พระสนมนางห้าม นางใน ตลอดจนข้ารับใช้ และนางรำ
แนมยองบู สามารถแบ่งออกเป็นลำดับได้ดังนี้
แทวังแทบี (대왕대비: 大王大妃) เป็นอิสริยยศสำหรับอดีตพระมเหสี นับเนื่องไป 2 รัชกาล อาจจะมีศักดิ์เป็นพระอัยยิกา (ย่า) ในพระราชาองค์ปัจจุบันหรือไม่ก็ได้ บางรัชกาลเป็นพระมารดาตนเอง เช่น ในรัชสมัยพระเจ้ามยองจง แทวังแทบีในรัชกาลนี้คือ สมเด็จพระชนนีซองรยอล (สมเด็จพระราชินีมุนจอง) ในพระเจ้าจุงจง ในการแปลขั้นต้น แปลว่า “สมเด็จพระอัยยิกา”
วังแทบี (왕대비: 王大妃) เป็นอิสริยยศสำหรับอดีตพระมเหสี นับเนื่องขึ้นไป 1 รัชกาล อาจจะมีศักดิ์เป็นพระราชมารดาแท้ๆ ของพระราชาองค์ปัจจุบัน หรือเป็นพระราชมารดาเลี้ยงก็ได้ บางรัชกาล พระอนุชาครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา วังแทบีก็จะมีศักดิ์เป็นพี่สะใภ้ อนึ่ง พระราชมารดาของพระราชาที่พระสวามีมิเคยขึ้นครองราชย์ และตนไม่เคยดำรงตำแหน่งพระมเหสี หากพระราชาองค์ปัจจุบันสถาปนาย้อนหลังในขึ้นเป็นพระราชาและพระมเหสี ก็สามารถเป็น วังแทบี ได้ ในการแปล แปลว่า “สมเด็จพระพันปี”
โดยรวมๆ ออกพระนามทั้ง 2 พระยศว่า “แทบี” (대비) แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “มามา” (마마)
กุงโฮ (궁호 : 宫号) เป็นพระยศสำหรับพระราชมารดาในพระราชา อาจจะเป็นพระสนมในอดีตพระราชา แต่ไม่ได้สถาปนาย้อนหลังให้เป็นพระมเหสี หรือเป็นพระชายารัชทายาทซึ่งเป็นพระราชมารดาในพระราชา แต่ไม่ได้สถาปนาย้อนหลังให้ขึ้นเป็นพระมเหสี ในที่นี้ จะมีการสถาปนา “กุงโฮ” เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระราชมารดาในพระราชา เช่น พระนางแทบินกุง ฮีบิน ตระกูลจางแห่งอกซาน (대빈궁 희빈 장씨) พระราชมารดาในพระเจ้าคยองจง ซึ่งถูกปลดและพระราชทานยาพิษ
วังบี (왕비: 王妃) เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสีของพระราชาองค์ปัจจุบัน ถือเป็นผู้นำของแน-มยองบู มีศักดิ์และสิทธิที่จะพระราชทานยศ ตำแหน่งให้แก่สตรีที่ถวายตัว ในทำนองว่าภรรยาหลวงยินยอมและเห็นชอบในอนุภรรยาของสามี ในที่นี้จะแปลว่า “สมเด็จพระมเหสี”
พระมเหสี จะประทับอยู่ที่ ตำหนักคโยแท (교태전 : 交泰殿) ซึ่งเรียกกันว่า ตำหนักกลาง หรือจุงจอน (중전 : 中殿) จึงออกพระนามลำลองว่า “จุงจอน” แล้วต่อด้วยคำว่า “มามา”
แทซังวังบี (태상왕비 : 太上王妃) เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสีของอดีตพระราชาที่สละราชบัลลังก์หรือถูกถอดลงจากราชบัลลังก์แต่ยังประทับอยู่ ณ พระราชวัง ในนาม “แทซังวัง” (태상왕 : 太上王) เช่น สมเด็จพระราชินีวอน-กยอง (원경왕후) พระมเหสีในพระเจ้าแทจง ซึ่งสละราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจงมหาราช
เซจาบิน (세자빈 : 世子嫔) เป็นพระยศสำหรับองค์ชายรัชทายาท ซึ่งรัชทายาทนั้นอาจจะเป็นพระโอรสรัชทายาท “วังเซจา” (왕세자 : 王世子) , พระอนุชารัชทายาท “วังเซเจ” (왕세제 : 王世弟) หรือ พระนัดดารัชทายาท “วังเซซน” (왕세손 : 王世孙) ในการเรียก ก็จะเรียกพระชายานี้ว่า เซจาบิน , เซเจบิน , เซซนบิน ตามลำดับ เรียกกันลำลองว่า บินกุง (빈궁) ต่อท้ายด้วยคำว่า “มามา”
ทุกตำแหน่งที่ว่ามานี้ ไม่นับเข้าในลำดับขั้นของแน-มยองบู
[ประวัติศาสตร์เกาหลี] สตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยโชซอน
แน-มยองบู เป็นเสมือนหน่วยงานหนึ่งภายในราชสำนักโชซอน หมายถึงเหล่าสตรีผู้มีบรรดาศักดิ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในพระราชวัง ตั้งแต่สมเด็จพระอัยยิกา สมเด็จพระพันปี สมเด็จพระมเหสี พระชายารัชทายาท พระสนมนางห้าม นางใน ตลอดจนข้ารับใช้ และนางรำ
แนมยองบู สามารถแบ่งออกเป็นลำดับได้ดังนี้
แทวังแทบี (대왕대비: 大王大妃) เป็นอิสริยยศสำหรับอดีตพระมเหสี นับเนื่องไป 2 รัชกาล อาจจะมีศักดิ์เป็นพระอัยยิกา (ย่า) ในพระราชาองค์ปัจจุบันหรือไม่ก็ได้ บางรัชกาลเป็นพระมารดาตนเอง เช่น ในรัชสมัยพระเจ้ามยองจง แทวังแทบีในรัชกาลนี้คือ สมเด็จพระชนนีซองรยอล (สมเด็จพระราชินีมุนจอง) ในพระเจ้าจุงจง ในการแปลขั้นต้น แปลว่า “สมเด็จพระอัยยิกา”
วังแทบี (왕대비: 王大妃) เป็นอิสริยยศสำหรับอดีตพระมเหสี นับเนื่องขึ้นไป 1 รัชกาล อาจจะมีศักดิ์เป็นพระราชมารดาแท้ๆ ของพระราชาองค์ปัจจุบัน หรือเป็นพระราชมารดาเลี้ยงก็ได้ บางรัชกาล พระอนุชาครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา วังแทบีก็จะมีศักดิ์เป็นพี่สะใภ้ อนึ่ง พระราชมารดาของพระราชาที่พระสวามีมิเคยขึ้นครองราชย์ และตนไม่เคยดำรงตำแหน่งพระมเหสี หากพระราชาองค์ปัจจุบันสถาปนาย้อนหลังในขึ้นเป็นพระราชาและพระมเหสี ก็สามารถเป็น วังแทบี ได้ ในการแปล แปลว่า “สมเด็จพระพันปี”
โดยรวมๆ ออกพระนามทั้ง 2 พระยศว่า “แทบี” (대비) แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “มามา” (마마)
กุงโฮ (궁호 : 宫号) เป็นพระยศสำหรับพระราชมารดาในพระราชา อาจจะเป็นพระสนมในอดีตพระราชา แต่ไม่ได้สถาปนาย้อนหลังให้เป็นพระมเหสี หรือเป็นพระชายารัชทายาทซึ่งเป็นพระราชมารดาในพระราชา แต่ไม่ได้สถาปนาย้อนหลังให้ขึ้นเป็นพระมเหสี ในที่นี้ จะมีการสถาปนา “กุงโฮ” เพื่อให้ทราบว่าเป็นพระราชมารดาในพระราชา เช่น พระนางแทบินกุง ฮีบิน ตระกูลจางแห่งอกซาน (대빈궁 희빈 장씨) พระราชมารดาในพระเจ้าคยองจง ซึ่งถูกปลดและพระราชทานยาพิษ
วังบี (왕비: 王妃) เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสีของพระราชาองค์ปัจจุบัน ถือเป็นผู้นำของแน-มยองบู มีศักดิ์และสิทธิที่จะพระราชทานยศ ตำแหน่งให้แก่สตรีที่ถวายตัว ในทำนองว่าภรรยาหลวงยินยอมและเห็นชอบในอนุภรรยาของสามี ในที่นี้จะแปลว่า “สมเด็จพระมเหสี”
พระมเหสี จะประทับอยู่ที่ ตำหนักคโยแท (교태전 : 交泰殿) ซึ่งเรียกกันว่า ตำหนักกลาง หรือจุงจอน (중전 : 中殿) จึงออกพระนามลำลองว่า “จุงจอน” แล้วต่อด้วยคำว่า “มามา”
แทซังวังบี (태상왕비 : 太上王妃) เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสีของอดีตพระราชาที่สละราชบัลลังก์หรือถูกถอดลงจากราชบัลลังก์แต่ยังประทับอยู่ ณ พระราชวัง ในนาม “แทซังวัง” (태상왕 : 太上王) เช่น สมเด็จพระราชินีวอน-กยอง (원경왕후) พระมเหสีในพระเจ้าแทจง ซึ่งสละราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเซจงมหาราช
เซจาบิน (세자빈 : 世子嫔) เป็นพระยศสำหรับองค์ชายรัชทายาท ซึ่งรัชทายาทนั้นอาจจะเป็นพระโอรสรัชทายาท “วังเซจา” (왕세자 : 王世子) , พระอนุชารัชทายาท “วังเซเจ” (왕세제 : 王世弟) หรือ พระนัดดารัชทายาท “วังเซซน” (왕세손 : 王世孙) ในการเรียก ก็จะเรียกพระชายานี้ว่า เซจาบิน , เซเจบิน , เซซนบิน ตามลำดับ เรียกกันลำลองว่า บินกุง (빈궁) ต่อท้ายด้วยคำว่า “มามา”
ทุกตำแหน่งที่ว่ามานี้ ไม่นับเข้าในลำดับขั้นของแน-มยองบู