วรรณกรรมจะมาสัมพันธ์กันได้อย่างไร? ไทยกับมาเลเซียอยู่ติดกันเป็นเพื่อนบ้านที่ดีกันมาตลอด แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักว่าวัฒนธรรมของชาวมาเลเซียเป็นอย่างไร? จะมีใครสักกี่คนที่เคยอยู่มาแล้วทั้งสองประเทศ? จริงๆ แล้วคนไทยกับคนมาเลย์หน้าตาคล้ายๆ กัน ผิวพรรณแทบไม่ต่างกันมาก แต่วัฒนธรรมและภาษาที่บ้านเขาแตกต่างจากบ้านเรามาก สิ่งหนึ่งที่จะทำให้เรารู้จักประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ดีขึ้น ก็คือการจับมือกัน ใช่แล้วครับ .. จับมือร่วมกันทางวรรณกรรม เราแลกเปลี่ยนเรื่องเล่าซึ่งกันและกัน โดยเรื่องเล่าที่มีบริบทอันหลากหลายนั้นเองที่ทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้จักอีกฝ่ายได้มากขึ้น
“นี่คือการบรรลุข้อตกลงทางวรรณกรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ในการคัดสรรผลงานของนักเขียนรางวัลซีไรต์ประเทศละ 7 คน 7 เรื่องสั้น ได้นำเอาเรื่องสั้นของทั้งสองประเทศมาประชันกัน เพื่อขยายขอบเขตการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ร่วมกัน โดยมีงานวรรณกรรมเป็นสะพานเชื่อม”
จากคำโปรยปกหลัง
สำหรับในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “กำปงลามา รวมเรื่องสั้นนักเขียนรางวัลซีไรต์ไทย-มาเลเซีย” หนังสือที่เป็นวรรณกรรมสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ที่จัดพิมพ์โดย กองทุนกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ที่เปิดตัวในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เมื่อวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “กำปงลามา วรรณกรรมสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ อาจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ หรือกวีซีไรต์ที่ชื่อ ไพฑูรย์ ธัญญา , มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค ผู้อำนวยการสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซีย , มร. ซาอิด มูฮัมหมัด ซากีร์ ซาอิด อ็อธมัน หรือคุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ นักเขียนและบรรณาธิการฝั่งมาเลเซีย , อาจารย์วนิดา เต๊ะหลง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำหน้าที่ล่ามบนเวทีเสวนา ดำเนินการเสวนาโดยอาจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์ ดร.ธเนศ - หนังสือ “กำปงลามา” ถือว่ามีบทบาทสำคัญที่เป็นจุดมุ่งหมายอันบรรลุถึงเป้าหมายสำคัญของรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ ที่ปรารถนาจะเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ในประเด็นนี้ได้ชัดเจนมาก
-ขอถามคุณซากีร์ บรรณาธิการผู้คัดสรรเรื่องจากมาเลเซีย ขอถามว่ากระบวนการคัดเลือกเรื่องสั้นทั้ง 7 เรื่องของทางฝั่งมาเลเซียมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร?
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – สำหรับการคัดเลือกเรื่องสั้นของทางมาเลเซีย เราจะคัดเลือกจากนักเขียนที่เป็นตัวแทนของยุคสมัย เป็นตัวแทนจากทางภูมิภาคต่างๆ จากทุกภาคส่วน รวมทั้งมีการเลือกนักเขียนในรุ่นหลังๆ มาด้วย รวมทั้งเลือกจากตัวแทนนักเขียนทึ่เป็นศิลปินแห่งชาติด้วย
อาจารย์ ดร.ธเนศ – ของทางประเทศไทยคัดเลือกจากตัวบุคคล ซึ่งกระบวนการคัดสรรคงแตกต่างจากทางมาเลเซียมาก จึงขอถามอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา อยากให้พูดถึงบรรยากาศความร่วมมือกันระหว่างไทยกับมาเลเซีย
อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา – ตัวหนังสือ “กำปงลามา” เล่มนี้เพิ่งจะพิมพ์เสร็จไม่นานนัก ในส่วนเรื่องสั้นของนักเขียนไทยพวกเราคงเคยได้อ่านมาเกือบทุกเรื่องแล้ว ดังนั้นจึงจะขอพูดถึงเรื่องสั้นทางฝั่งมาเลเซียมากกว่า
-ในส่วนนี้เราต้องขอชื่นชมทางมาเลเซียด้วย ที่เขามีการร่วมมือกันทางวรรณกรรมอย่างนี้ไม่ใช่เขาจะทำเฉพาะแค่อาเซ๊ยน แต่เขายังได้ทำร่วมกับประเทศทางละตินอเมริกาด้วย
-สำหรับเรื่องสั้นในกำปงลามานี้ เรื่องสั้นของฝ่ายไทยจะคล้ายๆ กับของมาเลเซีย คือมีประเด็นที่พูดถึงบริบทของความเป็นเมืองเหมือนกัน แต่ของทางมาเลเซียเขาจะมีการพูดถึงความเป็นท้องถิ่นมากกว่าของไทยเรา หรืออาจจะเป็นเพราะสังคมไทยถูกทำให้เหมือนกันจนไม่มีความแตกต่างกันแล้วก็ได้
-ของทางมาเลเซียเขามีการเลือกนักเขียนที่มีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เรื่องสั้นของมาเลเซียจะมีประเด็นที่พูดกันมากคือประเด็นเรื่องความคิดที่อคติต่อชาติพันธุ์ ความขัดแย้งระหว่างคนจีนกับคนมลายู โดยคนมลายูเป็นชนดั้งเดิมในพื้นที่ที่ต่อสู้กับการปลดปล่อยความเป็นอนานิคมจากอังกฤษ แต่คนจีนไม่ได้ต่อสู้เลยเป็นคนพวกที่มาทีหลัง
-อย่างเช่นเรื่องสั้นชื่อ “ปลิง” (เรื่องสั้นของมาเลเซีย) จะพูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยบอกว่าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
-หรือเรื่องสั้นชื่อ “มันโตจับปลาชะโด” (เรื่องสั้นของมาเลเซีย) เรื่องนี้สนุกมาก อ่านแล้วรู้สึกถึงความเป็นท้องถิ่นมาก เป็นเรื่องการจับปลาชะโดในท้องถิ่นสมัยโบราณ เรื่องนี้จะคล้ายๆ กับบ้านเราที่เวลาจะพูดถึงผู้นำประเทศเราจะมองถึงความล้มเหลวของเขาเท่านั้น ไม่ค่อยมองไปที่ผลงานเขาเลย
-เรื่องสั้นของมาเลเซียบางเรื่องจะพูดถึงมาเลเซียในมิติที่แตกตางออกไป พูดถึงความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ความเชื่อเก่ากับความเชื่อใหม่ คติของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ อย่างเช่นเรื่องสั้นชื่อ “โลกลวงหลอก” จะพูดถึงคนมลายูรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจในประวัติศาสตร์ และพูดถึงคนมลายูรุ่นโบราณที่ต่อสู้กับอังกฤษในการปลดปล่อยจากความเป็นอนานิคม โดยที่คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นเก่าเลย
-เรื่องสั้นของทางมาเลเซียก็มีการพูดถึงประเด็นคอรัปชั่นเหมือนกัน แต่จะพูดโดยมีความคิดใหม่เข้ามา มีความเป็นมลายูแบบเสรีนิยม
-เรื่องสั้นชื่อ “กำปงลามา” เป็นเรื่องที่มีจุดเด่นจึงถูกยกมาเป็นชื่อหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มนี้ โดยในเรื่องพูดถึงความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน พูดถึงหมู่บ้านโบราณ กำปงลามาที่เป็นตำนานของนักสู้กู้ชาติ ในเรื่องมีความคิดใหม่แบบเสรีนิยมคล้ายๆ ว่าจะรับมาจากทางอินโดนีเซีย เหมือนมีน้ำเสียงที่แสดงประเด็นความขัดแย้งอยู่ในเรื่อง ที่คนหนึ่งยึดในความคิดแบบเสรีนิยม ส่วนอีกคนหนึ่งยึดถือความเป็นคนมลายูดั้งเดิมที่เป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลาม
-มีการพูดถึงอัตลักษณ์ทางสังคมของคนในพื้นที่ด้วย โดยคนรุ่นเก่าพยายามจะรักษาความเป็นอัตลักษณ์ไว้ สุดท้ายที่กำปงลามามันถูกเปลี่ยนไปสู่ความเป็นมายาคติ ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ตีความกันเอาเอง
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามคุณซากีร์ถึงบรรยากาศของวรรณกรรมในมาเลเซียตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? เบื้องหลังและภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง?
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – นักเขียนรุ่นเก่าส่วนใหญ่จะเขียนเรื่องต่างๆ จากในทั้องถิ่นของตัวเอง จากในหมู่บ้านของตัวเองรวมถึงพื้นที่นอกเมืองด้วย แต่นักเขียนรุ่นใหม่จะออกทางเสรีนิยมเยอะ โดยความเป็นอยู่ของหมู่บ้านที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจะหายไป
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามคุณเค ว่ามีปัญหาในการแปลอย่างไรบ้าง? และปัญหาเรื่องการข้ามวัฒนธรรมมีความยากง่ายอย่างไรบ้าง?
มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค – การทำโครงการหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่โครงการแรกที่ทางสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซียเคยทำ ที่ผ่านมาเคยทำโครงการร่วมกันระหว่างมาเลเซ๊ยกับอินโดนีเซีย , มาเลเซียกับสิงคโปร์ , มาเลเซียกับรัสเซีย ฯลฯ
-สำหรับปัญหาเรื่องการแปลสิ่งที่ยากคือภาษามันแตกต่างกัน อย่างเช่นจำนวนเรื่องสั้น 7 เรื่องเท่ากัน แต่เรื่องสั้นของมาเลเซียดูว่าบางกว่า ส่วนของไทยดูว่าหนากว่า คือว่าภาษามันแตกต่างกัน จำนวนพยัญชนะมันจึงต่างกันด้วย
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามต่อว่า บรรยากาศของการเสพวรรณกรรมต่างชาติของมาเลเซียเป็นอย่างไรบ้าง?
มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค – สำหรับวรรณกรรมต่างประเทศที่ชาวมาเลเซียอ่าน เราจะถนัดเรื่องที่มาจากภาษาอังกฤษมากกว่า สำหรับที่มาเลเซียก็ต้องมีการโปรโมทหนังสือก่อนถึงจะมีคนอ่านเช่นกัน คุณเคจะเอาหนังสือเล่มนี้ (กำปงลามา ฉบับภาษามาเลเซีย) ไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนต่างๆ ในมาเลเซีย เพื่อให้เด็กๆ ได้อ่านกันด้วย
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – มองว่าปัญหาจะเหมือนกับที่คุณเคบอกมา คือในมาเลเซียจะมีกลุ่มคนที่อ่านเฉพาะแต่เรื่องแปลเท่านั้น ทางสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซีย (ITBM) จึงต้องไปหาผลงานจากประเทศต่างๆ เอามาแปล เช่นเรื่องจากทางไต้หวัน , เวเนซูเอล่า , รัสเซีย ฯลฯ ต้องเอาเรื่องมาแปลให้คนกลุ่มนี้ได้อ่านกัน
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามอาจารย์ไพฑูรย์ ว่าอยากจะให้ฝากอะไรไว้กับสมาคมต่างๆ มีประเด็นใดบ้างที่อยากจะฝากไว้
อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา – ถ้าดูเรื่องสั้นในเล่มนี้จะเห็นว่าเนื้อหาไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะถ้าไปอ่านเรื่องของนักเขียนมาเลเซียทางภาคเหนือ บริบทในเรื่องจะคล้ายกับภาคใต้ของเรามากเลย มีพูดถึงทั้งสะตอ ลูกเนียง ฯลฯ ซึ่งคล้ายกับของบ้านเรามาก
-แต่เรื่องสั้นของมาเลเซียยังไม่มีความซับซ้อนในการเล่าเรื่องเท่าของไทยเรา ประเด็นคือนักเขียนไทยเรามีความเป็นสากลในการเล่าเรื่องมากกว่า นักเขียนไทยเป็นนักเขียนที่มีความสามารถในการเล่าเรื่อง แต่ของไทยเรายังไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของการแปล นักเขียนไทยมีผลงานไม่ด้อยไปกว่าใครเลย แต่เรื่องของนักเขียนไทยไม่ได้รับการแปลเพื่อเผยแพร่ในระดับสากลเลย
-ทางสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยเคยจับมือร่วมกันกับหลายประเทศในอาเซียน เพื่อแปลเรื่องเป็นวรรณกรรมร่วมกันสองภาษา แต่เราไม่ได้ทำต่อเนื่องโดยตลอด ดังนั้นถ้าเรายืมโมเดลสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซียมาใช้ เรื่องของไทยคงได้รับการเผยแพร่มากกว่านี้แน่
-ซึ่งเรื่องพวกนี้ทางรัฐบาลควรจะทำการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำเป็นแผนพัฒนาฯ แห่งชาติไปเลย จะได้เป็นแนวรบด้านวรรณกรรม ด้านการแสดง ด้านเพลง เพื่อให้ผลงานของไทยมันออกไปในทิศทางเดียวกันให้ได้
อาจารย์ ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย - ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทางสมาคมนักแปลฯ ได้พยายามทำเรื่องนี้มาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลของนายกชวน แต่ตอนนี้เลิกทำไปแล้วเราจึงต้องทำต่อกันเอง ต้องหาผู้สนับสนุน ต้องหาเงินทุนกันเอง แต่พอทำแล้วต้องดูด้วยว่าหนังสือมันจะขายได้มากน้อยขนาดไหน
-จริงๆ แล้วเราต้องส่งเสริมการอ่านการเขียน เพื่อให้การอ่านมันกลายเป็นนิสัยประจำตัวของเด็กไทยให้ได้ อย่างเช่นเรื่อง “นกกางเขน” ที่เป็นหนังสือดีซึ่งไม่ได้รับการเสนอให้เด็กได้อ่านกันอย่างต่ดเนื่อง ตอนนี้ทางสมาคมนักแปลฯ ได้จัดพิมพ์เป็นสองภาษาออกมาเพื่ออยากให้เด็กไทยได้อ่านกัน แต่ปรากฏว่าขายไม่ได้ เราจึงต้องไปใช้วิธีอื่นเพื่อให้เด็กหันมาอ่านให้ได้
-จริงๆ แล้วการสร้างนักอ่านเราต้องสร้างตั้งแต่เด็กๆ แต่อุปสรรคสำคัญที่เราทุกคนรู้กันดีก็คือรัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนเลย เราอยากให้ทุกสมาคมฯ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นสมาพันธ์ขึ้นมาเพื่อต่อสู้เรียกร้องจากรัฐบาล
-ตอนนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมมีโครงการคัดสรรหนังสือดีทุกช่วงวัย เพื่อจะทำการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ (แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเรื่องเลย) โดยหนังสือที่แนะนำในแต่ละหมวดจะย้อนหลังได้ไม่จำกัดระยะเวลา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการส่งเสริมการอ่านในบ้านเรา
กำปงลามา วรรณกรรมสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย
“นี่คือการบรรลุข้อตกลงทางวรรณกรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ในการคัดสรรผลงานของนักเขียนรางวัลซีไรต์ประเทศละ 7 คน 7 เรื่องสั้น ได้นำเอาเรื่องสั้นของทั้งสองประเทศมาประชันกัน เพื่อขยายขอบเขตการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ร่วมกัน โดยมีงานวรรณกรรมเป็นสะพานเชื่อม”
จากคำโปรยปกหลัง
สำหรับในวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “กำปงลามา รวมเรื่องสั้นนักเขียนรางวัลซีไรต์ไทย-มาเลเซีย” หนังสือที่เป็นวรรณกรรมสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ที่จัดพิมพ์โดย กองทุนกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ที่เปิดตัวในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 46 เมื่อวันศุกร์ที่ 6 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “กำปงลามา วรรณกรรมสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ อาจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ หรือกวีซีไรต์ที่ชื่อ ไพฑูรย์ ธัญญา , มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค ผู้อำนวยการสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซีย , มร. ซาอิด มูฮัมหมัด ซากีร์ ซาอิด อ็อธมัน หรือคุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ นักเขียนและบรรณาธิการฝั่งมาเลเซีย , อาจารย์วนิดา เต๊ะหลง อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายู จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ทำหน้าที่ล่ามบนเวทีเสวนา ดำเนินการเสวนาโดยอาจารย์ ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยรายละเอียดที่น่าสนใจมีดังนี้
(รายละเอียดจากเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผมจดเป็นบันทึกช่วยจำย่อ (จดเลคเชอร์) แล้วจึงนำมาเรียบเรียงใหม่ โดยมีการคัดสรรตัดย่อเพื่อเขียนสรุปเป็นประเด็น ดังนั้นถ้ามีรายละเอียดประการใดที่ผิดพลาด หรือคาดเคลื่อนผิดไปจากที่ท่านวิทยากรพูด ผมก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
อาจารย์ ดร.ธเนศ - หนังสือ “กำปงลามา” ถือว่ามีบทบาทสำคัญที่เป็นจุดมุ่งหมายอันบรรลุถึงเป้าหมายสำคัญของรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ ที่ปรารถนาจะเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน ซึ่งหนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ในประเด็นนี้ได้ชัดเจนมาก
-ขอถามคุณซากีร์ บรรณาธิการผู้คัดสรรเรื่องจากมาเลเซีย ขอถามว่ากระบวนการคัดเลือกเรื่องสั้นทั้ง 7 เรื่องของทางฝั่งมาเลเซียมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร?
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – สำหรับการคัดเลือกเรื่องสั้นของทางมาเลเซีย เราจะคัดเลือกจากนักเขียนที่เป็นตัวแทนของยุคสมัย เป็นตัวแทนจากทางภูมิภาคต่างๆ จากทุกภาคส่วน รวมทั้งมีการเลือกนักเขียนในรุ่นหลังๆ มาด้วย รวมทั้งเลือกจากตัวแทนนักเขียนทึ่เป็นศิลปินแห่งชาติด้วย
อาจารย์ ดร.ธเนศ – ของทางประเทศไทยคัดเลือกจากตัวบุคคล ซึ่งกระบวนการคัดสรรคงแตกต่างจากทางมาเลเซียมาก จึงขอถามอาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา อยากให้พูดถึงบรรยากาศความร่วมมือกันระหว่างไทยกับมาเลเซีย
อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา – ตัวหนังสือ “กำปงลามา” เล่มนี้เพิ่งจะพิมพ์เสร็จไม่นานนัก ในส่วนเรื่องสั้นของนักเขียนไทยพวกเราคงเคยได้อ่านมาเกือบทุกเรื่องแล้ว ดังนั้นจึงจะขอพูดถึงเรื่องสั้นทางฝั่งมาเลเซียมากกว่า
-ในส่วนนี้เราต้องขอชื่นชมทางมาเลเซียด้วย ที่เขามีการร่วมมือกันทางวรรณกรรมอย่างนี้ไม่ใช่เขาจะทำเฉพาะแค่อาเซ๊ยน แต่เขายังได้ทำร่วมกับประเทศทางละตินอเมริกาด้วย
-สำหรับเรื่องสั้นในกำปงลามานี้ เรื่องสั้นของฝ่ายไทยจะคล้ายๆ กับของมาเลเซีย คือมีประเด็นที่พูดถึงบริบทของความเป็นเมืองเหมือนกัน แต่ของทางมาเลเซียเขาจะมีการพูดถึงความเป็นท้องถิ่นมากกว่าของไทยเรา หรืออาจจะเป็นเพราะสังคมไทยถูกทำให้เหมือนกันจนไม่มีความแตกต่างกันแล้วก็ได้
-ของทางมาเลเซียเขามีการเลือกนักเขียนที่มีทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เรื่องสั้นของมาเลเซียจะมีประเด็นที่พูดกันมากคือประเด็นเรื่องความคิดที่อคติต่อชาติพันธุ์ ความขัดแย้งระหว่างคนจีนกับคนมลายู โดยคนมลายูเป็นชนดั้งเดิมในพื้นที่ที่ต่อสู้กับการปลดปล่อยความเป็นอนานิคมจากอังกฤษ แต่คนจีนไม่ได้ต่อสู้เลยเป็นคนพวกที่มาทีหลัง
-อย่างเช่นเรื่องสั้นชื่อ “ปลิง” (เรื่องสั้นของมาเลเซีย) จะพูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยบอกว่าไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
-หรือเรื่องสั้นชื่อ “มันโตจับปลาชะโด” (เรื่องสั้นของมาเลเซีย) เรื่องนี้สนุกมาก อ่านแล้วรู้สึกถึงความเป็นท้องถิ่นมาก เป็นเรื่องการจับปลาชะโดในท้องถิ่นสมัยโบราณ เรื่องนี้จะคล้ายๆ กับบ้านเราที่เวลาจะพูดถึงผู้นำประเทศเราจะมองถึงความล้มเหลวของเขาเท่านั้น ไม่ค่อยมองไปที่ผลงานเขาเลย
-เรื่องสั้นของมาเลเซียบางเรื่องจะพูดถึงมาเลเซียในมิติที่แตกตางออกไป พูดถึงความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ความเชื่อเก่ากับความเชื่อใหม่ คติของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ อย่างเช่นเรื่องสั้นชื่อ “โลกลวงหลอก” จะพูดถึงคนมลายูรุ่นใหม่ที่ไม่สนใจในประวัติศาสตร์ และพูดถึงคนมลายูรุ่นโบราณที่ต่อสู้กับอังกฤษในการปลดปล่อยจากความเป็นอนานิคม โดยที่คนรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นเก่าเลย
-เรื่องสั้นของทางมาเลเซียก็มีการพูดถึงประเด็นคอรัปชั่นเหมือนกัน แต่จะพูดโดยมีความคิดใหม่เข้ามา มีความเป็นมลายูแบบเสรีนิยม
-เรื่องสั้นชื่อ “กำปงลามา” เป็นเรื่องที่มีจุดเด่นจึงถูกยกมาเป็นชื่อหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มนี้ โดยในเรื่องพูดถึงความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน พูดถึงหมู่บ้านโบราณ กำปงลามาที่เป็นตำนานของนักสู้กู้ชาติ ในเรื่องมีความคิดใหม่แบบเสรีนิยมคล้ายๆ ว่าจะรับมาจากทางอินโดนีเซีย เหมือนมีน้ำเสียงที่แสดงประเด็นความขัดแย้งอยู่ในเรื่อง ที่คนหนึ่งยึดในความคิดแบบเสรีนิยม ส่วนอีกคนหนึ่งยึดถือความเป็นคนมลายูดั้งเดิมที่เป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลาม
-มีการพูดถึงอัตลักษณ์ทางสังคมของคนในพื้นที่ด้วย โดยคนรุ่นเก่าพยายามจะรักษาความเป็นอัตลักษณ์ไว้ สุดท้ายที่กำปงลามามันถูกเปลี่ยนไปสู่ความเป็นมายาคติ ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ตีความกันเอาเอง
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามคุณซากีร์ถึงบรรยากาศของวรรณกรรมในมาเลเซียตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? เบื้องหลังและภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง?
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – นักเขียนรุ่นเก่าส่วนใหญ่จะเขียนเรื่องต่างๆ จากในทั้องถิ่นของตัวเอง จากในหมู่บ้านของตัวเองรวมถึงพื้นที่นอกเมืองด้วย แต่นักเขียนรุ่นใหม่จะออกทางเสรีนิยมเยอะ โดยความเป็นอยู่ของหมู่บ้านที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นจะหายไป
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามคุณเค ว่ามีปัญหาในการแปลอย่างไรบ้าง? และปัญหาเรื่องการข้ามวัฒนธรรมมีความยากง่ายอย่างไรบ้าง?
มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค – การทำโครงการหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่โครงการแรกที่ทางสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซียเคยทำ ที่ผ่านมาเคยทำโครงการร่วมกันระหว่างมาเลเซ๊ยกับอินโดนีเซีย , มาเลเซียกับสิงคโปร์ , มาเลเซียกับรัสเซีย ฯลฯ
-สำหรับปัญหาเรื่องการแปลสิ่งที่ยากคือภาษามันแตกต่างกัน อย่างเช่นจำนวนเรื่องสั้น 7 เรื่องเท่ากัน แต่เรื่องสั้นของมาเลเซียดูว่าบางกว่า ส่วนของไทยดูว่าหนากว่า คือว่าภาษามันแตกต่างกัน จำนวนพยัญชนะมันจึงต่างกันด้วย
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามต่อว่า บรรยากาศของการเสพวรรณกรรมต่างชาติของมาเลเซียเป็นอย่างไรบ้าง?
มร.โมฮัมหมัด คอยร์ งาดีรน หรือคุณเค – สำหรับวรรณกรรมต่างประเทศที่ชาวมาเลเซียอ่าน เราจะถนัดเรื่องที่มาจากภาษาอังกฤษมากกว่า สำหรับที่มาเลเซียก็ต้องมีการโปรโมทหนังสือก่อนถึงจะมีคนอ่านเช่นกัน คุณเคจะเอาหนังสือเล่มนี้ (กำปงลามา ฉบับภาษามาเลเซีย) ไปแจกจ่ายให้แก่โรงเรียนต่างๆ ในมาเลเซีย เพื่อให้เด็กๆ ได้อ่านกันด้วย
คุณเอส. เอ็ม. ซากีร์ – มองว่าปัญหาจะเหมือนกับที่คุณเคบอกมา คือในมาเลเซียจะมีกลุ่มคนที่อ่านเฉพาะแต่เรื่องแปลเท่านั้น ทางสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซีย (ITBM) จึงต้องไปหาผลงานจากประเทศต่างๆ เอามาแปล เช่นเรื่องจากทางไต้หวัน , เวเนซูเอล่า , รัสเซีย ฯลฯ ต้องเอาเรื่องมาแปลให้คนกลุ่มนี้ได้อ่านกัน
อาจารย์ ดร.ธเนศ - ขอถามอาจารย์ไพฑูรย์ ว่าอยากจะให้ฝากอะไรไว้กับสมาคมต่างๆ มีประเด็นใดบ้างที่อยากจะฝากไว้
อาจารย์ไพฑูรย์ ธัญญา – ถ้าดูเรื่องสั้นในเล่มนี้จะเห็นว่าเนื้อหาไม่แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะถ้าไปอ่านเรื่องของนักเขียนมาเลเซียทางภาคเหนือ บริบทในเรื่องจะคล้ายกับภาคใต้ของเรามากเลย มีพูดถึงทั้งสะตอ ลูกเนียง ฯลฯ ซึ่งคล้ายกับของบ้านเรามาก
-แต่เรื่องสั้นของมาเลเซียยังไม่มีความซับซ้อนในการเล่าเรื่องเท่าของไทยเรา ประเด็นคือนักเขียนไทยเรามีความเป็นสากลในการเล่าเรื่องมากกว่า นักเขียนไทยเป็นนักเขียนที่มีความสามารถในการเล่าเรื่อง แต่ของไทยเรายังไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังในเรื่องของการแปล นักเขียนไทยมีผลงานไม่ด้อยไปกว่าใครเลย แต่เรื่องของนักเขียนไทยไม่ได้รับการแปลเพื่อเผยแพร่ในระดับสากลเลย
-ทางสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยเคยจับมือร่วมกันกับหลายประเทศในอาเซียน เพื่อแปลเรื่องเป็นวรรณกรรมร่วมกันสองภาษา แต่เราไม่ได้ทำต่อเนื่องโดยตลอด ดังนั้นถ้าเรายืมโมเดลสถาบันการแปลแห่งชาติมาเลเซียมาใช้ เรื่องของไทยคงได้รับการเผยแพร่มากกว่านี้แน่
-ซึ่งเรื่องพวกนี้ทางรัฐบาลควรจะทำการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำเป็นแผนพัฒนาฯ แห่งชาติไปเลย จะได้เป็นแนวรบด้านวรรณกรรม ด้านการแสดง ด้านเพลง เพื่อให้ผลงานของไทยมันออกไปในทิศทางเดียวกันให้ได้
อาจารย์ ดร.ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล นายกสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย - ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ทางสมาคมนักแปลฯ ได้พยายามทำเรื่องนี้มาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลของนายกชวน แต่ตอนนี้เลิกทำไปแล้วเราจึงต้องทำต่อกันเอง ต้องหาผู้สนับสนุน ต้องหาเงินทุนกันเอง แต่พอทำแล้วต้องดูด้วยว่าหนังสือมันจะขายได้มากน้อยขนาดไหน
-จริงๆ แล้วเราต้องส่งเสริมการอ่านการเขียน เพื่อให้การอ่านมันกลายเป็นนิสัยประจำตัวของเด็กไทยให้ได้ อย่างเช่นเรื่อง “นกกางเขน” ที่เป็นหนังสือดีซึ่งไม่ได้รับการเสนอให้เด็กได้อ่านกันอย่างต่ดเนื่อง ตอนนี้ทางสมาคมนักแปลฯ ได้จัดพิมพ์เป็นสองภาษาออกมาเพื่ออยากให้เด็กไทยได้อ่านกัน แต่ปรากฏว่าขายไม่ได้ เราจึงต้องไปใช้วิธีอื่นเพื่อให้เด็กหันมาอ่านให้ได้
-จริงๆ แล้วการสร้างนักอ่านเราต้องสร้างตั้งแต่เด็กๆ แต่อุปสรรคสำคัญที่เราทุกคนรู้กันดีก็คือรัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนเลย เราอยากให้ทุกสมาคมฯ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นสมาพันธ์ขึ้นมาเพื่อต่อสู้เรียกร้องจากรัฐบาล
-ตอนนี้ทางกระทรวงวัฒนธรรมมีโครงการคัดสรรหนังสือดีทุกช่วงวัย เพื่อจะทำการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ (แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเรื่องเลย) โดยหนังสือที่แนะนำในแต่ละหมวดจะย้อนหลังได้ไม่จำกัดระยะเวลา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับการส่งเสริมการอ่านในบ้านเรา