การประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านวรรณกรรม ไทย-จีน





เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน  2561  เวลา 13.00 – 16.00 น.  สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับคณะนักเขียนจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งประกอบด้วย

1.) Mr. Wu Yiqin, Member of Secretariat of China Writers Association, Director General of Managing Committee of China Writers Publishing Group and that of Writers Publishing House (หัวหน้าคณะ)

2.) Mr. Yan Yan’an, Executive Chief Editor of Magazine Yan He

3.) Mr. Zhu Xiongwei, Vice President of Zhejiang Provincial Writers Association and President of Hangzhou Municipal Writers Association

4.) Ms. Yu Yan, Vice President of Hunan Provincial Writers Association and President of Hunan Provincial Internet Writers Association

5.) Ms. Wang Ping, Associate Professor of the College of Literature and Journalism, Inner Mongolia University

6.) Mr. Li Qiang, Director of Asian & African Affairs Section, International Liaison Department, China Writers Association

โดยทั้งหมดได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ก่อนเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงานวรรณกรรมของทั้งสองประเทศ

ในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง ‘เอกลักษณ์และความเป็นสากลในวรรณกรรมไทย รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน: การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อขยายพื้นที่วรรณกรรมไทยออกสู่ประชาคมอาเซียน’ โดย ผศ.ดร. อรองค์ ชาคร คณะภาษาและการสื่อสาร นิด้า
















ผมขออนุญาตนำความคิดเห็นของนักเขียนไทยท่านหนึ่งที่มีโอกาสเข้ารับฟังการการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนด้านวรรณกรรม ไทย-จีน ในครั้งนี้  มาแสดงให้ท่านทราบเพื่อให้ท่านเห็ฯภาพรวมของการพูดคุยในครั้งนี้ครับ

@@@@@@@@@@@@

วันนี้..คณะนักเขียนจากประเทศจีนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวรรณกรรมกับนักเขียนไทย  เวลาบ่ายที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

เรื่องที่คุยกัน...มีหลายเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ

-เรื่องสำคัญคือนักเขียนจีนซึ่งส่วนที่มานั้น  สนใจงานเขียนไทยที่มีความเหมาะสมจะพิมพ์งานในประเทศจีน โดยหลักการแล้ว  ยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งอาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักเขียนไทย-จีน ซึ่งจะออกมาในรูปแบบไหนยังต้องรอไปอีก...

-โดยจีนให้ความสนใจอาเซียนมาก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้ให้ความรู้รื่องการประกวดงานซีไรต์แก่คณะนักเขียนจีน  โดยบอกว่ามีสิบประเทศในอาเซียนจะมาที่ประเทศไทยเพื่อนำเสนองานเขียนกัน ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีร่วมกันในอาเซียน  ซึ่งางจีนให้ความสนใจอาเซียนการเขียนของอาเซียน อยากมีการแปลเป็นภาษาจีนให้อ่าน  ประเด็นนี้ฟังแล้วเล็งเห็นว่า  น่าจะเป็นโอกาสดีของนักเขียนไทยที่จะนำผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศจีนได้

-หลักๆ ในประเทศจีนก็มีปัญหาคล้ายไทยเรื่องคนอ่านหนังสือน้อยลง แต่กระแสหลักนักเขียนจีนมีการพิมพ์หนังสือปีละ 9 พันเล่ม ประเทศจีนใหญ่มากมีประชากรโลกมากอยู่อันดับต้นๆ มีนายกสมาคมนักเขียนประจำมณฑลและรวมตัวกันหนียวแน่น  รวมทั้งรัฐบาลมีการช่วยเหลือเรื่องการเขียนอย่างออกหน้าออกตา และให้เงินสำหรับนักเขียนที่มีผลงานดีเด่น (แต่ของไทยนั้นยังมืดมน)

-รัฐบาลจีนมีการดูแลนักเขียนเป็นอย่างดี ประมาณว่า...นักเขียนจงเขียนหนังสือออกมากันเถอะ ขอให้เขียน.. ประมาณนี้  ล่ามที่แปลบอกว่า นักเขียนจีนที่มีรายได้มากที่สุดบางคนถึงหนึ่งล้านหยวน ให้คูณ 5 บาทไปเลย เพราะนักเขียนจะทำงานเขียนหลายหลากด้วยเขียนเวป การ์ตูน อานิเมชั่น อีกมากมาย รัฐเป็นผู้สนับสนุน และหนังสือเป็นวัฒนธรรมของจีนที่จะสืบสานกันต่อไป

-วันนี้  ได้ความรู้และฝันอยากให้นักเขียนได้รับการสนับสนุนบ้าง อยากได้การสนับสนุนจากภาครัฐด้วย อย่าให้เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ เลย

รายงานและถ่ายทอดความรู้สึกโดย ...  ครูรติรัตน์  รถทอง  (นักเขียนร่วมสมัยของไทย)

@@@@@@@@@@@@



















คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



ในช่วงท้ายของการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้านวรรณกรรมมีการถ่ายภาพร่วมกัน  และแลกเปลี่ยนของที่ระลึกและหนังสือให้แก่กัน














@@@@@@@@@@

และในช่วงเย็นประมาณ 17.00 น.  มีนักเขียนชาวอังกฤษเข้าพบกับคณะกรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการแปลวรรณกรรมไทยเป็นภาษาต่างประเทศ


มร.เจมส์  คริสโตเฟอร์  ครูสอนภาษาอังกฤษ (โรงเรียนวชิราวุธ)  นักเขียนเรื่องสั้นชาวอังกฤษ และบรรณาธิการนิตยสาร BKKLIT


-มร.เจมส์  คริสโตเฟอร์   เข้าพบกับคณะกรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย  เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการคัดสรรวรรณกรรมร่วมสมัยของไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานี้   ว่ามีวรรณกรรมเรื่องใดบ้างที่เหมาะสมสำหรับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ   เพื่อสื่อสารความเป็นไทย  ความเป็นเอกลักษณ์ไทยที่มีลักษณะพิเศษบางประการ  ให้แก่ชาวตะวันตกได้รับทราบ

-ซึ่งในการจัดทำครั้งนี้ (การแปลวรรณกรรมไทย) วัตถุประสงค์ในการสร้างหน้าตาของวรรณกรรมไทยร่วมสมัย เพราะเมื่อพูดถึงงานวรรณกรรมไทยแล้วชาวตะวันตกจะนึกภาพไม่ออก  ว่าวรรณกรรมไทยมีหน้าตาเป็นอย่างไร? ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างภาพจำบางอย่างที่เป็นหน้าตาของวรรณกรรมไทย เพื่อให้ชาวตะวันตกได้รู้  เข้าใจและเข้าถึงได้มากขึ้น














แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่