พึ่งได้อ่านกระทู้เกี่ยวกับพระที่เข้าไปเข้าพัวพันกับการเมืองเมื่อวานนี้ อยากจะเข้าไปร่วมแจมแต่เห็นว่าตลาดวายไปแล้ว จึงขออนุญาตตั้งกระทู้นี้ เพื่อแสดงคหสต. ว่าการเข้าไปพัวพันการเมืองของศาสนา(พุทธ) นั้นไม่ใช่มีแต่พระสงฆ์ แต่ศาสนสถานอย่างวัด โบสถ์ สถูป เจดีย์ หรือสิ่งสักการะอย่างพระพุทธรูป ก็ถูกการเมืองดึงเข้าไปเกี่ยวโยงด้วยมาตั้งแต่โบราณ ขอไล่เป็นอย่างๆ ไปนะครับ-:
....
วัด
เมื่อวัดได้กลายเป็นสาธารณะสถานและแหล่งให้ความรู้ที่สามารถดึงดูศาสนิกชนได้อย่างมากมาย การใช้วัดเป็นฐานเสียงของคนใหญ่คนโตในระดับชุมชน ตำบลและแว่นแคว้นก็เริ่มเป็นที่นิยม มีการสร้างวัดแข่งบารมีกันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสมัยอยุธยาช่วงปลายลงมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ปัจจุบันที่มีวัดประจำรัชกาล ในส่วนของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ คหบดี หรือไม่เว้นแม้แต่แม่เล้าซ่องโสเภณีก็สร้างวัดเสริมบารมีเป็นฐานเสียงและบารมีของตน เช่นวัดพิชัยญาติ (ของขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)) วัดประยูรฯ (ของสมเด็จเจ้าพระยาประยูรวงศ์ ดิศ (บุนนาค)) วัดคณิกาผล (เป็นวัดที่สร้างจากรายได้ของกิจการของนางคณิกา(โสเภณี) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหม่ยายแฟง) มีวัดวาอารามเกิดขึ้นมากมายทั้งในกรุงและหัวเมืองเพื่อบุญกุศลทางพุทธศาสนาและบารมีทางการเมืองของตนในละแวกนั้น ต่อมาก็มีการแบ่งแยก "ศักดิ์" ของแต่ละวัดให้ชัดเจนขึ้นอีก "วัดราษฏร์" และ "วัดหลวง" โดยเฉพาะวัดหลวงมีการใส่ "ยศ" ตามลำดับชั้นไปอีกพระอารามหลวงชั้นตรี โท เอก เรียกได้ว่าวัดหลวงแต่ละแห่งเพียบทั้งยศและศักดิ์กันทีเดียว!! คงจะไม่เกินความจริงกระมัง ที่จขกท. มองว่าหลายเหตุการณ์วัดถูกการเมืองใช้เป็นฐานนิยมทางการเมือง
การสร้างวัดพระเชตุพนในยุคเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์ คุณศาสตราจารย์สายชล สัตยานุกรักษ์ อาจารย์ประวัติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ วิเคราะห์ไว้ในหนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมือง” ว่าอีกนัยยะหนึ่งนั้นเป็นการสร้างเพื่อแข่งบารมีระหว่างร.๑ กับพระอนุชาที่เป็นวังหน้า และเป็นการพยายามคานอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชที่วัดพระศรีสรรเพชญ์(หรือต่อมาคือวัดมหาธาตุยุวรางรังสฤษดิ์ ท่าพระจันทร์:วชรน) ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จรพระอนุชาของร.๑ ทรงอุปถัมถ์มาตลอด จะเห็นว่าระหว่างวัดมหาธาตุกับวัดพระเชตุพนจึงเป็นเสมือนหนึ่งสัญญลักษณ์/ตัวแทนของอำนาจและบารมีของร.๑ กับพระอนุชา พระบรมรูปสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หน้าวัดมหาธาุตที่ยืนถือดาบบ่ายพระพักตร์สู่พระบรมมหาราชวังนั้นก็น่าจะมีนัยยะสำหรับคนที่สนใจเหตุการณ์ในช่วงนั้นพอสมควร
...บทบาท ของวัด..พระสงฆ์..พระพุทธรูป ในทางการเมือง..../วัชรานนท์
....วัด
เมื่อวัดได้กลายเป็นสาธารณะสถานและแหล่งให้ความรู้ที่สามารถดึงดูศาสนิกชนได้อย่างมากมาย การใช้วัดเป็นฐานเสียงของคนใหญ่คนโตในระดับชุมชน ตำบลและแว่นแคว้นก็เริ่มเป็นที่นิยม มีการสร้างวัดแข่งบารมีกันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสมัยอยุธยาช่วงปลายลงมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ปัจจุบันที่มีวัดประจำรัชกาล ในส่วนของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ คหบดี หรือไม่เว้นแม้แต่แม่เล้าซ่องโสเภณีก็สร้างวัดเสริมบารมีเป็นฐานเสียงและบารมีของตน เช่นวัดพิชัยญาติ (ของขุนนางชั้นผู้ใหญ่อย่างสมเด็จเจ้าพระยาบรมพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค)) วัดประยูรฯ (ของสมเด็จเจ้าพระยาประยูรวงศ์ ดิศ (บุนนาค)) วัดคณิกาผล (เป็นวัดที่สร้างจากรายได้ของกิจการของนางคณิกา(โสเภณี) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหม่ยายแฟง) มีวัดวาอารามเกิดขึ้นมากมายทั้งในกรุงและหัวเมืองเพื่อบุญกุศลทางพุทธศาสนาและบารมีทางการเมืองของตนในละแวกนั้น ต่อมาก็มีการแบ่งแยก "ศักดิ์" ของแต่ละวัดให้ชัดเจนขึ้นอีก "วัดราษฏร์" และ "วัดหลวง" โดยเฉพาะวัดหลวงมีการใส่ "ยศ" ตามลำดับชั้นไปอีกพระอารามหลวงชั้นตรี โท เอก เรียกได้ว่าวัดหลวงแต่ละแห่งเพียบทั้งยศและศักดิ์กันทีเดียว!! คงจะไม่เกินความจริงกระมัง ที่จขกท. มองว่าหลายเหตุการณ์วัดถูกการเมืองใช้เป็นฐานนิยมทางการเมือง
การสร้างวัดพระเชตุพนในยุคเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์ คุณศาสตราจารย์สายชล สัตยานุกรักษ์ อาจารย์ประวัติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ วิเคราะห์ไว้ในหนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมือง” ว่าอีกนัยยะหนึ่งนั้นเป็นการสร้างเพื่อแข่งบารมีระหว่างร.๑ กับพระอนุชาที่เป็นวังหน้า และเป็นการพยายามคานอำนาจของสมเด็จพระสังฆราชที่วัดพระศรีสรรเพชญ์(หรือต่อมาคือวัดมหาธาตุยุวรางรังสฤษดิ์ ท่าพระจันทร์:วชรน) ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จรพระอนุชาของร.๑ ทรงอุปถัมถ์มาตลอด จะเห็นว่าระหว่างวัดมหาธาตุกับวัดพระเชตุพนจึงเป็นเสมือนหนึ่งสัญญลักษณ์/ตัวแทนของอำนาจและบารมีของร.๑ กับพระอนุชา พระบรมรูปสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หน้าวัดมหาธาุตที่ยืนถือดาบบ่ายพระพักตร์สู่พระบรมมหาราชวังนั้นก็น่าจะมีนัยยะสำหรับคนที่สนใจเหตุการณ์ในช่วงนั้นพอสมควร