เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปี พ.ศ.๒๔๙๓ มิได้ทรงเสด็จเลียบพระนคร มีแต่การเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารคเพื่อไปประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเท่านั้น
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินด้วยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารคไปประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ (ภาพจากวิกิพีเดีย)
จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ได้เสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมพระบารมี
รัชกาลที่ ๙ ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ (ชุดครุยสีทอง)
พสกนิกรเฝ้าชมพระบารมี
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าห่มพระพุทธชินสีห์ พระประธานวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๔ เฝ้ารับเสด็จด้วย
คลิปต้นฉบับ
คนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคมากกว่า นั่นคือการเสด็จพระราชดำเนินโดยทางน้ำ หรือทางเรือนั่นเอง ส่วนสถลมารคคือการเสด็จพระราชดำเนินทางบก และในการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคนั้น จะเป็นการเสด็จไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถ้าหากมีพระมหากษัตริย์เสด็จด้วย จะเรียกว่ากระบวนพยุหยาตราทางชลมารค แต่หากไม่มีพระมหากษัตริย์เสด็จ เป็นแค่การซ้อม หรือการแสดง อย่างเช่นในการประชุมเอเปคในปี พ.ศ.๒๕๔๖ หรือในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ปี ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ จะเรียกว่ากระบวนเรือพระราชพิธีเฉย ๆ
ภาพเหตุการณ์ เมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค พ.ศ.๒๕๐๖