อันนี้ดิฉัน (ในฐานะคนโสด) ไปสืบข้อมูลมาว่า เรื่อง การพระราชทานน้ำสังข์ในวันพิธีสมรสพระราชทานนั้น มี 2 ประเภท คือ แบบเป็นทางการ และ แบบส่วนพระองค์ (น้ำสังข์ข้างที่) โดยแบบทางการ จะมี ในหลวงรัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช), พระราชินี (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ), สมเด็จพระโอรสาธิราชวชิราลงกรณ์ (ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 10) และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มารดน้ำให้ ส่วนน้ำสังข์ข้างที่ จะมี พระบรมวงศานุวงศ์ (ที่คู่บ่าวสาวไปขอ) มารดน้ำให้ เช่น องค์สิริวัณณวรีนารีรัตน์ เป็นต้น
ขอเรียนถามเป็นข้อๆ นะคะ
1. ใครจะเป็นผู้พระราชทานน้ำสังข์แบบเป็นทางการแก่คู่บ่าวสาวเหล่านั้น ณ รัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลปัจจุบัน = รัชกาลที่ 10) ?
2. ในกรณีที่มี คู่บ่าวสาวที่ท้องก่อนแต่ง หรือ เคยท้องก่อนแต่งและคลอดลูกแล้ว ดิฉันเข้าใจว่าไม่สมควรทูลขอสมรสพระราชทานทุกกรณี จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และในรัชกาลที่ 10 จะมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้หรือไม่ อย่างไร ?
3. น้ำสังข์แบบเป็นทางการ กับ น้ำสังข์ข้างที่ มีวิธีการขอแตกต่างกันหรือไม่ และหากเทียบในสมัยรัชกาลที่ 9 แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร ?
ช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะคะ
ข้อสงสัยว่าด้วยเรื่องสมรสพระราชทาน ในรัชกาลที่ 10
ขอเรียนถามเป็นข้อๆ นะคะ
1. ใครจะเป็นผู้พระราชทานน้ำสังข์แบบเป็นทางการแก่คู่บ่าวสาวเหล่านั้น ณ รัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลปัจจุบัน = รัชกาลที่ 10) ?
2. ในกรณีที่มี คู่บ่าวสาวที่ท้องก่อนแต่ง หรือ เคยท้องก่อนแต่งและคลอดลูกแล้ว ดิฉันเข้าใจว่าไม่สมควรทูลขอสมรสพระราชทานทุกกรณี จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด และในรัชกาลที่ 10 จะมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้หรือไม่ อย่างไร ?
3. น้ำสังข์แบบเป็นทางการ กับ น้ำสังข์ข้างที่ มีวิธีการขอแตกต่างกันหรือไม่ และหากเทียบในสมัยรัชกาลที่ 9 แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร ?
ช่วยให้ความกระจ่างด้วยนะคะ