"Reporting standards for quantitative research in psychology" ปี 2018 180413 สรายุทธ กันหลง

"Reporting standards for quantitative research in psychology" ปี 2018 180413
https://ppantip.com/topic/37559815

Cr: Fast Forward Statistics  https://www.facebook.com/FastForwardStat/
     and   @tawe nop

บทความภาษาไทยสำหรับนักวิชาการที่ต้องการเขียนบทความวิจัย ไปดูข้างล่างครับ มีลิงค์ต้นฉบับและอ้างอิงด้วย
... สรายุทธ ศุกร์ 13/4/2561


ว่าด้วย - มาตรฐานการเขียนบทความวิจัยจาก American Psychological Association (ตอนที่ 1)
.
ประกอบด้วย Title, Abstract, Introduction, and Method -
ต้องขอบคุณนักวิชาการชาวไทยที่ไม่ประสงค์ออกนามจากแดนไกล (ให้ credit ทั้งหมดครับ) ที่ได้ส่ง Paper จาก American Psychologist ให้ได้แบ่งปันกัน มาตรฐานนี้ได้ถูกนำไปใช้แล้ว ดังนั้นอย่าตกหล่นประเด็นเหล่านี้เด็ดขาดในการเขียนบทความวิจัย

ในปี 2018 American Psychological Association (APA) ได้ออกมาตรฐานการตีพิมพ์บทความวิจัยเชิงปริมาณในวารสารวิชาการ ซึ่งได้พยายามรวบรวมแนวทางจากหลายสาขา เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Medical Science) ทางด้านจิตวิทยา (Psychology) รวมถึงสาขาการศึกษาและสังคมศาสตร์ โดยคณะกรรมชุดย่อยที่เรียกว่า Publications and Communications (P&C) Board ของ APA เป็นผู้นำเสนอและเห็นชอบ
..
วัตถุประสงค์หลักของการออกมาตรฐานนี้เพื่อให้ผู้วิจัยอธิบายและยืนยันความโปร่งใสของการวิจัย (Research Transparency) ได้ มาตรฐานนี้นักวิจัยในสาขาต่างๆ (Medical Science, Psychology, Education, and Social Science) ที่ทำวิจัยเชิงปริมาณ ก็สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการเขียนและพิจารณาบทความวิจัยนั้นๆ ได้เหมือนกัน
.
แปลว่าจากนี้ไปถ้าเขียน Paper ส่งไปที่ Journal ในสาขาที่เกี่ยวข้องและไม่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ก็จะถูก Reject ทันที เกณฑ์นี้สามารถใช้ได้กับทั้ง ผู้เขียน ผู้วิจัย Reviewer/Editor ของวารสารต่างๆ
..
จากรูป (ลำดับ 1-5 ) ที่ได้แสดงด้านล่าง (ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่นำเสนอเป็น Section โดยแนะนำให้ Download ฉบับเต็มมาอ่าน) สามารถสรุปได้ดังนี้
.
1. Title and Title Page : ในชื่อเรื่องควรระบุตัวแปรหลักและประเด็นทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ทำวิจัย รวมถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา
..
2. Abstract (บทคัดย่อ): จะประกอบไปด้วย
.
a. วัตถุประสงค์ที่ระบุปัญหาที่ทำการวิจัยและสมมุติฐานหลักของการวิจัย
b. กลุ่มตัวอย่าง/ประชากรที่ศึกษา โดยรายละเอียดจะต้องอธิบายในบทความ
c. วิธีศึกษา อธิบายวิธีศึกษา ประกอบไปด้วย การออกแบบการวิจัยว่าเป็นแบบใด ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวัดตัวแปร รวมถึงการเก็บข้อมูลว่าเก็บข้อมูลมาจากแหล่งใด (ถ้าเป็นการวิจัยจาก Secondary data ต้องมีการระบุ)
d. ผลการวิจัย จะต้องรายงานผลการวิจัย มีการระบุระดับความเชื่อมั่น (Confidence Interval) และ Effect sizes รวมถึงระดับของนัยสำคัญ
e. สรุปผล ระบุข้อสรุปของการวิจัยที่มากกว่าเพียงผลการวิจัย (ผู้เขียน: ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง คำว่า Result และ Finding ของวิจัย) รวมถึงการนำประโยชน์ไปใช้จากการวิจัย
..
3. Introduction (บทนำ): จะประกอบไปด้วย
.
a. ปัญหา ระบุความสำคัญของปัญหา ทั้งทางด้านทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติ
.
b. ทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีต รวมถึงความแตกต่างของงานวิจัยที่เปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีต อะไรคือสิ่งที่แตกต่าง
.
c. สมมุติฐานและวัตถุประสงค์การวิจัย ระบุสมมุติฐานที่เจาะจง วัตถุประสงค์การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีหรือแนวทางอื่นๆ ในการพัฒนาสมมุติฐานนั้นๆ รวมถึงสมมุติฐานรองที่เกี่ยวข้อง ต้องอธิบายแนวทางการวางแผนการวิเคราะห์ อีกประเด็นที่สำคัญ คือ จะต้องอธิบายความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันของสมมุติฐานย่อยๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรกับสมมุติฐานหลัก
..
..
4. Method (วิธีวิจัย): จะประกอบไปด้วย
.
a. Inclusion and Exclusion ระบุว่ารวมเกณฑ์อะไรและไม่รวมเกณฑ์อะไรที่จะนำมาใช้ในเป็นข้อกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย
.
b. ลักษณะของประชากรที่นำมาศึกษา รายงานลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่สำคัญ รวมถึงคุณลักษณะที่เจาะจง เป็นต้น
.
c. ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง อธิบายขั้นตอนการเลือกตัวอย่างที่นำมาวิจัย เช่น วิธีการเลือกตัวอย่าง (Sampling) โดยเฉพาะถ้ามีการสุ่มเลือกอย่างมีระบบ อีกทั้งเปอร์เซนต์ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบจริง สถานที่หรือแหล่ง รวมถึงวันเวลาที่ทำการเก็บตัวอย่าง มีการจ่ายค่าตอบแทนหรือรางวัลให้กับผู้ร่วมวิจัยหรือไม่ ข้อตกลงของผู้เข้าร่วมวิจัยรวมถึงข้อกำหนดด้านจริยธรรมต่างๆ ในการเก็บข้อมูล
.
d.จำนวนตัวอย่าง ความเที่ยงตรง (Precision) และ ระดับความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง (Power) จะต้องอธิบายขนาดกลุ่มตัวอย่าง ความเที่ยงตรงและ ระดับความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจจะเก็บข้อมูล ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เก็บได้จริง การวิเคราะห์ความมั่นใจของกลุ่มตัวอย่างที่นำไประบุวิธีในการประมาณค่าความเที่ยงตรงของพารามิเตอร์ แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างทางก่อนที่จะสิ้นสุดการศึกษาและการพิจรณายุติการศึกษาก่อนกำหนด (Interim analyses and stopping rules)
.
e.การวัดตัวแปรและตัวแปรที่เกี่ยวข้อง (Covariates) ระบุการวัดตัวแปรหลักและตัวแปรรอง รวมถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้อง หรือตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องจากการเก็บข้อมูลแต่ไม่ระบุในรายงานวิจัย
.
f.การเก็บข้อมูล อธิบายวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน
.
g.คุณภาพของการวัดตัวแปร อธิบายวิธีที่ใช้ในการยืนยันคุณภาพของการวัดตัวแปร ประกอบไปด้วย ผู้เก็บข้อมูลมีทักษะอย่างไรมีความน่าเชื่อถืออย่างไร หรือมีการเก็บข้อมูลจากการสังเกตหลายครั้งหรือไม่
.
h.เครื่องมือในการเก็บข้อมูล อธิบาย/ให้ข้อมูลในส่วนของความตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
.
i.Masking อธิบายและรายงานในกรณีที่มีการเก็บข้อมูลแบบ Masking ทำอย่างไร สำเร็จอย่างไรและมีการประเมินอย่างไร
.
j.สมบัติของการวัด (Psychometrics) รายงานและประมาณค่า Reliability coefficient รวมถึงการประมาณค่า Convergent and Discriminant validity อีกทั้งรายงานคุณสมบัติด้าน Reliability เช่น Interrater reliability โดยเฉพาะกับ subjectively score measures ในกรณีข้อมูลแบบ Longitudinal ให้รายงาน Test-retest coefficients และให้รายงาน Internal consistency coefficients สำหรับตัวแปรแบบ Composite scales ที่มีตัววัดที่เหมาะสมกับเครื่องมือที่ใช้วัดในการศึกษานั้นๆ
.
k.การตรวจสอบข้อมูล อธิบายแผนการตรวจสอบข้อมูล ประกอบด้วย เกณฑ์การเก็บข้อมูลของ post-data ที่ไม่รวมข้อมูลที่มีอยู่ อธิบายการวิเคราะห์ Missing data และพิจารณาว่าควรจะใช้วิธีการในการจัดการ Missing data อะไรบ้างและจะทำอย่างไร อธิบายและระบุการจัดการข้อมูลที่เป็น Outlier รวมถึงการแจกแจงข้อมูลว่าเป็นในลักษณะใด ระบุและอิบายว่ามีการ Transform ข้อมูลหรือไม่ อย่างไร (ในกรณีที่มี)
.
l.กลยุทธ์การวิเคราะห์ อธิบายวิธีการของสถิติ Inferential และข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถก่อให้เกิดการผิดพลาดของการทดสอบสมมุติฐานทั้งหลักและรองทุกอัน
.
.
อันนี้พึ่งส่วนแรก ยังมีต่อในส่วนของ Results และ Discussion ซึ่งจะขอเขียนต่อในวันพุธ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่จะเขียนบทความหรือรายงานวิจัย ในทุกสาขาที่ต้องมีการทำวิจัยเชิงปริมาณในลักษณะนี้ครับ
..

รูป/แปลจาก:
.
Appelbaum, M., Cooper, H., Kline, R. B., Mayo-Wilson, E., Nezu, A. M., & Rao, S. M. (2018). Journal article reporting standards for quantitative research in psychology: The APA Publications and Communications Board task force report. American Psychologist, 73(1), 3.

Full text in pdf
http://psycnet.apa.org/fulltext/2018-00750-002.pdf
หรือ  https://bit.ly/2JI33sz

ไปดูต้นฉบับที่..

http://psycnet.apa.org/record/2018-00750-002

Citation
Appelbaum, M., Cooper, H., Kline, R. B., Mayo-Wilson, E., Nezu, A. M., & Rao, S. M. (2018). Journal article reporting standards for quantitative research in psychology: The APA Publications and Communications Board task force report. American Psychologist, 73(1), 3-25.
http://dx.doi.org/10.1037/amp0000191
Abstract
Following a review of extant reporting standards for scientific publication, and reviewing 10 years of experience since publication of the first set of reporting standards by the American Psychological Association (APA; APA Publications and Communications Board Working Group on Journal Article Reporting Standards, 2008), the APA Working Group on Quantitative Research Reporting Standards recommended some modifications to the original standards. Examples of modifications include division of hypotheses, analyses, and conclusions into 3 groupings (primary, secondary, and exploratory) and some changes to the section on meta-analysis. Several new modules are included that report standards for observational studies, clinical trials, longitudinal studies, replication studies, and N-of-1 studies. In addition, standards for analytic methods with unique characteristics and output (structural equation modeling and Bayesian analysis) are included. These proposals were accepted by the Publications and Communications Board of APA and supersede the standards included in the 6th edition of the Publication Manual of the American Psychological Association (APA, 2010). (PsycINFO Database Record (c) 2018 APA, all rights reserved)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่