หลวงปู่มั่น
หลวงปู่เป็นพระธุดงค์ จึงไม่มีสมบัติติดตัวนอกจากเครื่องบริขารที่จำเป็น การไป-การมาจึงง่ายเหมือนนกบิน ท่านเดินทางจากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพฯโดยรถไฟ มาพำนักที่วัดบรมนิวาส สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าอาวาสได้มาสนทนาธรรมกับหลวงปู่เป็นประจำ
คราวหนึ่ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถามหลวงปู่ว่า “เธอเข้าไปอยู่ในป่า ไม่มีตำรา จะหาธรรมะที่ถูกต้องได้อย่างไร ?”
หลวงปู่ถวายคำตอบว่า “ธรรมนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา”
สมเด็จฯ ถามว่า “หมายความว่าอย่างไร ?”
หลวงปู่ขยายความว่า “จิตได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้ว ปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยยานิกธรรม ทั้งสิ้น ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป
ส่วนผู้ที่มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรมเป็นยอดพระไตรปิฎกได้ ยกตัวอย่างเช่น สังกิจจะสามเณรไปบิณฑบาต เห็นเขาไขน้ำเข้านาก็น้อมเอามาเป็นอุบายจนเกิดปัญญา แล้วท่านก็สามารถบรรลุพระอรหัตผลได้ เพราะเหตุที่ท่านได้นำเอาดินที่ชาวนากำลังไถมาเป็นอุบายว่า ดินไม่มีใจทำไมเขาจึงนำเอาไปทำตามประสงค์ได้ น้ำไม่มีใจทำไมเขาจึงนำเอาไปทำตามประสงค์ได้ เรามีใจ ทำไมไม่ทำใจให้เป็นไปตามประสงค์ เพราะเหตุนั้น ธรรมจึงมีทุกหย่อมหญ้ามิใช่หรือ”
“ธรรมนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา”
หลวงปู่เป็นพระธุดงค์ จึงไม่มีสมบัติติดตัวนอกจากเครื่องบริขารที่จำเป็น การไป-การมาจึงง่ายเหมือนนกบิน ท่านเดินทางจากเชียงใหม่เข้ากรุงเทพฯโดยรถไฟ มาพำนักที่วัดบรมนิวาส สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าอาวาสได้มาสนทนาธรรมกับหลวงปู่เป็นประจำ
คราวหนึ่ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถามหลวงปู่ว่า “เธอเข้าไปอยู่ในป่า ไม่มีตำรา จะหาธรรมะที่ถูกต้องได้อย่างไร ?”
หลวงปู่ถวายคำตอบว่า “ธรรมนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา”
สมเด็จฯ ถามว่า “หมายความว่าอย่างไร ?”
หลวงปู่ขยายความว่า “จิตได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้ว ปัญญาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยยานิกธรรม ทั้งสิ้น ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป
ส่วนผู้ที่มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรมเป็นยอดพระไตรปิฎกได้ ยกตัวอย่างเช่น สังกิจจะสามเณรไปบิณฑบาต เห็นเขาไขน้ำเข้านาก็น้อมเอามาเป็นอุบายจนเกิดปัญญา แล้วท่านก็สามารถบรรลุพระอรหัตผลได้ เพราะเหตุที่ท่านได้นำเอาดินที่ชาวนากำลังไถมาเป็นอุบายว่า ดินไม่มีใจทำไมเขาจึงนำเอาไปทำตามประสงค์ได้ น้ำไม่มีใจทำไมเขาจึงนำเอาไปทำตามประสงค์ได้ เรามีใจ ทำไมไม่ทำใจให้เป็นไปตามประสงค์ เพราะเหตุนั้น ธรรมจึงมีทุกหย่อมหญ้ามิใช่หรือ”